วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 01:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2022, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ciel-bleu-et-orange-de-coucher-du-soleil-67636320.jpg
ciel-bleu-et-orange-de-coucher-du-soleil-67636320.jpg [ 71.24 KiB | เปิดดู 1009 ครั้ง ]
การเกิดวิปัสสนาในอานาปานะ
จากข้อความฎีกาข้างตัน พึงทราบว่า การที่ท่านกล่าวเจาะจงเพียงการกำหนด
ลมหายใจเข้าออกเท่านั้น ก็เนื่องจากเป็นช่วงที่ท่านไขความปาฐะในคัมภีรัครรถกถา
ที่ว่า โส มานา วุฎฺฐหิตฺวา อสฺสาสปสฺสาเส วา ปริคฺคณฺหาติ ฌานงฺคานิ วา
"ภิกษุนั้น เมื่อออกจากฌานแล้วย่อมกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกหรือไม่ก็องค์ฌานนั้น"
ซึ่งเป็นข้อความที่อรรถกถาจารย์ท่านกำลังแสดงเกี่ยวกับการกำหนดหรือเจริญวิปัสสนา
ของโยดีผู้ได้อานาปานฌานมาแล้ว

ด้วยเหตุนี้โยคีหรือผู้ปฏิบัติทั้งหลายจะต้องเข้าใจไว้ด้วยว่า"สำหรับสมถยานิก
บุคคลผู้ที่เริ่มเจริญวิปัสสนาโดยวิธีการกำหนดรูปเป็นประธานนั้น จะนำรูปอื่นๆที่
ไม่ใช่ลมหายใจเข้าหายใจออกมากำหนด ก็ย่อมกระทำได้"

แต่สิ่งที่โยคีพึงเข้าใจให้ตรงประเด็นก็คือ ไม่ควรที่จะเข้าใจผิดหรือสอนผิดๆว่า
"หากโยคีนำเอาลมหายใจเข้าออกมากำหนดไขว้ กัมมัฏฐานของโยคีนั้น ก็จะเป็น
เพียงสมถะเท่านั้น ไม่สามารถเป็นวิปัสสนาได้" ประเด็นนี้แลที่โยทั้งหลายจะต้อง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2022, 06:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




caption.jpg
caption.jpg [ 102.97 KiB | เปิดดู 532 ครั้ง ]
เข้าใจ มิฉะนั้นแล้ว จะทำให้เข้าใจผิดแผกแตกต่างไปจากมติของพระอรรกถาจารยั

นอกจากนี้ โยคีทั้งหลายไม่ควรจะให้เกิด อโยนิโสมนสิการทุคคหิตคาหะ
กล่าวคือการยึดมั่นผิดๆโดยไม่ผ่านการใช้ปัญญาใตร่ตรองให้ดี เช่น เข้าใจผิด
คิดว่า "เนื่องจากพระอรรถกถาจารย์ท่านกล่าวว่า หลังจากที่ออกจากฌานแล้วจึง
เริ่มต้นกำหนดวิปัสสนา ดังนั้น วิปัสสนาจึงเกิดได้เฉพาะแก่บุคคลผู้ที่ได้ฌานเท่านั้น"
ซึ่งความจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในพระไตรปิฎก อรรถกถาและฎีกา ก็ไม่ปรากฏว่ามี
การกล่าวแยกแยะว่า "ในบรรดากามาวจรธรรมทั้งหลายที่มาปรากฎเบื้องหน้า
ฌานของโยคีนั้น ธรรมใดเหมาะสำหรับสมถยานิกบุคคลเท่านั้นแต่ไม่เหมาะกับ
วิปัสสนายานิกบุคคลหรือผู้เป็นวิปัสสนายานิกบุคคลห้ามเจริญ"

จากการที่ไม่มีข้อความกำหนดไว้ดังกล่าว จึงทำให้ทราบความจริงว่า
หากสมถยานิกบุคคล นำเอากามาวจรธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง มากำหนดจนได้
วิปัสสนาญาณ แม้วิปัสสนายานิกบุคคล ก็สามารถที่จะนำเอากามาวจรธรรมดังกล่าว
มากำหนดให้เกิดวิปัสสนาญาณ ได้เช่นกัน

จะอย่างไรก็ตาม สิ่งที่โยคีควรรู้ก็คือว่า ไม่ว่าโยคีนั้นจะเป็นผู้ได้ฌานหรือไม่
ได้ฌาน หากมีการกำหนดโดยการอนุมานเทียบเคียงรูปทรงสัณฐานนิมิตในลมหายใจ
เข้าหายใจออกแล้วไชร้ ภาวนาของโยคีผู้นั้น ก็จะเป็นเพียงสมถะเท่านั้น ไม่เป็น
วิปัสสนา แต่ถ้าโยคีได้มีการนำเอาอาการที่ลมหายใจกระทบ เคลื่อนไหว มากำหนด
เป็นหลักภาวนานั้น ก็จะเป็นวิปัสสนาเท่านั้น ทางนั้น ก็ไม่ใช่ทางสมถะแต่อย่างใด
ด้วยเหตุนี้ ในมัชฌิมนิกายอุปริปัณณาสก็ อานาปานสติสูตร พระพุทธองค์จึงทรง
แสดงไว้ดังนี้ว่า

กาเยสุ กายญฺญตราหํ ภิกฺขเว เอวํ วทามิ, ยทิทํ อสฺสาสปสฺสาสา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตยืนยันว่า ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็น
กายชนิดหนึ่ง ในบรรดากาย ๔ อย่าง คือ ปถวีกาย อาโปกาย เตโชกาย และวาโยกาย
ลมหายใจเข้าออกจัดเป็นวาโยกาย) อีกนัยหนึ่ง เป็นกายชนิดหนึ่งในบรรดารูปกาย
๒๕ อย่าง /นั่นก็คือเป็นวาโยกายซึ่งนับสงเคราะห์เข้าในโผฎฐัพพายตนะ]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2022, 06:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




54-1.jpg
54-1.jpg [ 132.06 KiB | เปิดดู 532 ครั้ง ]
สาเหตุที่แปลพระบาลีข้างต้นนี้ไว้ ๒ นัยนั้น เนื่องจากพระอรรถกถาจารย์
ท่านได้ไขความไว้ ๒ นัยดังนี้ ว่า

กายญฺญตรนฺติ ปฐวีกายาทีสุ จตูสุ กาเยสุ อญฺญตรํ วทามิ. วาโยกายํ
วทามีติ อตฺโถ. อถ วา จกฺขายตนํ ฯเปฯ กพฬีกาโร อาหาโรติ ปญฺจวีสติ
รูปโกฎฺฐาสา รูปกาโย นาม, เตสุ อานาปานํ โผฎฺฐพุพายตเน สงฺคหติดฺตา
กายญฺญตรํ โหติ. ตสฺมาปิ เอวมาท.

คำว่า กายญฺญตรํ(กายชนิดหนึ่ง) หมายความตามที่เรากล่าวว่าเป็น
ชนิดหนึ่งในบรรดากาย ๔ ประเภท มีปฐวีกายเป็นต้น นั่นก็คือ เป็นวาโยกาย
นัยหนึ่ง กาย ๒๕ ประการ คือ จักขายตนะ ฯลฯ กพฬีการาหาร ชื่อว่า
ในบรรดากายเหล่านั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เป็นกายอย่างหนึ่ง
เข้าในโผฏฐัพพายตนกาย ดังนั้น จึงตรัสไว้อย่างนี้

อนึ่ง รูปกาย ๒๕ ประเภทนั้น พึงทราบว่าเป็นรูปที่มาในคัมภีร์ธัมม
แม้ในคัมภีร์อรรถกถาแห่งมหาโคปาลสูตรจากอังคุตตรนิกาย ก็ได้มีการ
ประเภทไว้เช่นกัน



(แสดงรูปที่เป็นอายตนะ 10 ก็คือ ปสาทรูป 5 วิสยรูป 7 และแสดงสุขุมรูป 15
เว้นหทยวัตถุ เพราะในรูปกัณฑ์ไม่มีหทัยวัตถุ รวมเป็นรูป 25)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร