วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 21:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2022, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha-png-wallpaper-hd.png
buddha-png-wallpaper-hd.png [ 371.6 KiB | เปิดดู 1068 ครั้ง ]
การสำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยมิได้รู้สภาวะของธาตุทั้ง ๔

โยคีหลายท่านอาจคิดว่า ผู้ที่เข้าถึงมรรคผลทุกคนจะต้องรู้ทั้งรูปทั้งนาม
เหมือนๆกัน หรือจะต้องรู้รูปนามทั้งหมดที่แสดงไว้โดยพิสดารทั้งในพระไตรปิฎก
และอรรถกถาก่อนแล้ว จึงจะสามารถเข้าถึงมรรคผลได้ ซึ่งความจริงแล้วไม่ควร
จะเข้าใจเช่นนั้นเลย สาเหตุเพราะว่า การรู้รูปนามนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของ
ปัญญาบารมีของโยคีแต่ละท่านนั่นเอง หมายความว่า ในกรณีที่โยคีเป็นติกขภัพพ-
บุคคล(ภัพพบุคคลผู้มีปัญญาแหลมคม] ก็ย่อมสามารถที่จะรู้รูปนามได้อย่างกว้าง
ขวางสมบูรณ์ ตามวิสัยของสาวกได้ แต่การที่จะรู้ได้ทุกอย่างตามหลักพระอภิธรรม
นั้นย่อมเป็นไปไมได้ ซึ่งประเด็นนี้ ท่านผู้อ่านทั้งหลายจะได้เข้าใจในตอนที่ยกเอา
อนุปทสูตรมาแสดง ส่วนในกรณีที่โยคีนั้นเป็นมันทภัพพบุคคล[ภัพพบุคคลผู้
ปัญญาเชื่องช้า] บางท่านอาจรู้ได้เฉพาะรูปหรือนามที่พอจะเป็นสะพานเชื่อมโยง
ให้เช้ข้าถึงมรรคผลเท่านั้น ดังนั้น ในคัมภีร์อรรถกถาแห่งมัชฌิมนิกายมูลปัณณา
มูลปริยายสูตร(หน้า ๕๔ ) พระพุทธโฆสเถระ จึงได้อธิบายไว้ดังนี้ว่า

สาวกา ทิ จตุนฺนํ ธาตูนํ เอกเทสเมว สมฺมสิตฺวา นิพฺพานํ ปาปุณนฺติ.

ขึ้นชื่อว่าสาวกทั้งหลาย เมื่อพิจารณาธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงบางส่วน
เท่านั้นแล้ว ก็สามารถเข้าถึงพระนิพพานได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2022, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Gautama-Buddha-Statue-PNG-HQ-Pic.png
Gautama-Buddha-Statue-PNG-HQ-Pic.png [ 1.27 MiB | เปิดดู 1061 ครั้ง ]
แนวทางการเจริญวิปัสสนาของพระอรหันต์องค์ที่ ๑

ยโต โข อาวุโส ฉนฺนํ ผสฺสายตนานํ สมุทยญฺจ อตฺถงฺคมญฺจ ยถาภูต๋
ปชานาติ, เอตฺตาวตา โข อาวุโส ภิกฺขุโน ทสุสนํ สุวิสฺทธํ โหติ.


แน่ะท่านเอ๋ย เพียงแค่โยคีรู้การเกิดและการดับแห่งอายตนะภายใน ๖ ซึ่งเป็น
ต้นเหตุของผัสสะ ตามความเป็นจริง ญาณของโยคีนั้น ก็เป็นอันบริสุทธิ์กล่าวคือ
เป็นพระอรหันต์ได้นั่นเทียว

นี่คือคำตอบของพระอรหันต์ผู้ที่นำเอาอายตนะภายใน ๖[อัชฌัตติกายต่นะ ๖]
เท่านั้นมาพิจารณา ซึ่งหากเราได้วิเคราะห์ดูแนวทางการเจริญวิปัสสนาของพระ
อรหันต์องค์นี้แล้ว จะเห็นว่า ท่านไม่ได้นำเอาอายตนะภายนอก ๖[พาหิรายตนะ ๖]
มาพิจารณาเลย ซึ่งแม้แต่ในบรรดาอัชฌัตตธรรมทั้งหลาย ท่านก็นำเอาเฉพาะ
อายตนะฝ่ายรูป ๕ ประการ คือ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา และกายะเท่านั้นมา
พิจารณา ส่วนรูปที่เหลือมิได้นำมาพิจารณาแต่อย่างใด แม้ในส่วนของนามธรรม
ก็จะเห็นว่าท่านพิจารณาเฉพาะจิตมนายตนะ) เท่านั้น ส่วนเจตสิกทั้งหลายท่าน
มิได้นำมาพิจารณาเลย แต่ท่านก็สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ ใครๆจึงไม่ควร
ที่จะโจทนก์ว่าวิธีการพิจารณาตามแนวนี้เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร

แต่ความจริงแล้ว แนวทางของพระอรหันต์ท่านนี้สอดคล้องกับพระไตรปิฎก
และอรรถกถานั่นเทียว ซึ่งลักษณะของความสอดคล้องนั้น พึงทราบดังนี้
การพิจารณาโดยการเอาอัชฌัตติกายตนะหรืออายตนะภายใน ๖ ที่ปรากฏมาเป็น
อารมณ์หลักนั้น ได้ชื่อว่า เป็นการกระทำกิจของการพิจารณาโดยนำพาหิรายตนะ
หรืออายตนะภายนอก ๖ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆกันกับอายตนะภายใน ๖ นั้นให้สำเร็จ
ได้เช่นกันเมื่อเป็นเช่นนี้ โยคีผู้นั้นได้อว่าเป็นผู้พิจารณารู้อารมณ์ที่เป็นรูปนาม
ทั้งหมดทั้งปวงนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติหรือเป็นผู้เจริญแล้วได้
อย่างสอดคล้องต้องกันกับพระบาลีพระไตรปิฎกและอรรถกถาที่ได้แสดงไว้โดย
ละเอียดพิสดารนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2022, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Gautama-Buddha-Transparent-Image.png
Gautama-Buddha-Transparent-Image.png [ 130.41 KiB | เปิดดู 1031 ครั้ง ]
แนวทางการเจริญวิปัสสนาของพระอรหันต์องค์ที่ ๒

ยโต โข อาวุโส ปญฺจนฺนํ อุปาทานกฺขนฺธานํ สมุทยญฺจ อตฺถงฺคมญฺจ ยถาภูตํ
ปชานาติ, เอตฺตาวตา โข อาวุโส ภิกฺขุโน ทสฺสนํ สุวิสุทธํ โทติ.

แน่ะท่านเอ๋ย เพียงแค่โยคีรู้การเกิดและการดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามความ
เป็นจริง ญาณของโยคีนั้น ก็เป็นอันบริสุทธิ์ กล่าวคือ โยคีนั้นย่อมสำเร็จเป็น
พระอรหันต์ได้นั่นเทียว

(หมายเหตุ : แม้ว่าในตันฉบับจะไม่ได้ยกบาลีข้อนี้มา แต่เพื่อให้สอดคลัอง
กับคำตอบขององค์อื่นๆ ผู้แปลจึงได้ยกบาลีช้อนี้มาแสดงไว้เป็นหลักฐานด้วย]
พระอรหันต์องค์ที่ ๒ นี้ ท่านตอบว่า "เมื่อโยคีรู้การเกิดดับของอุปาทานขันธ์
๕ ย่อมเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์[บรรลุรหัตผล] ซึ่งคำตอบนี้เป็นคำตอบที่
สมบูรณ์อยู่ในตัว

แนวทางการเจริญวิปัสสนาของพระอรทันต์องค์ที่ ๓

ยโต โข จตุนฺนํ มหาภูตานํ สมุทยญฺจ อตฺถงฺคมญฺจ ยถาภูตํ ปชานาติ
เอตฺตาวตา โข อาวุโส ภิกฺขุโน ทสฺสนํ สุวิสุทฺธํ โหติ.

แน่ะท่านเอ๋ย เพียงแค่โยคีรู้การเกิดและการดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความ
เป็นจริง ญาณของโยคีนั้น ก็เป็นอันบริสุทธิ์ กล่าวคือโยคีนั้นย่อมสำเร็จเป็น
พระอรหันต์ได้นั่นเทียว
แนวทางที่ ๓ นี้ พึงทราบว่า พระอรหันต์องค์นี้ท่านพิจารณาเฉพาะมหาภูต
๔ เท่านั้น ส่วนรูปที่เหลือท่านไม่ได้นำมาพิจารณาโดยตรง แต่ถึงกระนั้น ท่านก็ยัง
บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้
การนำเอาเฉพาะมหาภูตรูป ๔ มาพิจารณากำหนดเป็นอารมณ์หลักอย่างนี้
ได้ชื่อว่า เป็นการกระทำกิจการพิจารณารู้รูปนามที่เป็นไปพร้อมๆกันทั้งหมด
ทั้งปวงไปด้วย จึงมีความสอดคล้องต้องกันกับพระไตรปัฎกอรรถกถานั่นเทียว
หมายความว่า ในพระไตรปิฎกอรรถกถกถทั้งหลายนั้น ท่านได้แสดงโดยขมวด
เอานัยการพิจารณาสภาวะของรูปนามทั้งสำหรับผู้ที่พิจารณาได้อย่างพิสดารและ
พิจารณาได้อย่างแคบๆมารวมไว้ ณ ที่เดียวกันเท่านั้น แต่มิได้หมายความว่าจะ
เป็นการมุ่งให้โยคีทุกคนต้องพิจารณารู้สภาวะนามรูปเสียทุกอย่าง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2022, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha.gif
buddha.gif [ 36.17 KiB | เปิดดู 1029 ครั้ง ]
แนวทางการเจริญวิปัสสนาของพระอรหันต์องค์ ๔

ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ, สพฺพํ ตํ นิโรธธมฺมนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ, เอตฺตาวตา
โข อาวุโส ภิกฺขุโน ทสุสนํ สุวิสุทฺธํ โหติ.


เมื่อโยคีรู้ตามความเป็นจริงว่า "ธรรมทั้งปวงทีเกิดขึ้นเป็นธรรมดานั้น ย่อมดับ
ไปเป็นธรรมดา" ญาณของโยคีนั้นย่อมบริสุทธิ์หมดจดกล่าวคือโยคีนั้นย่อมสำเร็จ
เป็นพระอรหันต์ได้

แม้คำตอบที่ ๔ นี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นคำตอบที่สมบูรณ์แบบทุกประการ
จะอย่างไรก็ตาม สำหรับภิกษุผู้ที่เข้าไปถามปัญหาแล้วเธอคิดว่า พระอรหันต์
ทุกองค์นั้นจะต้องพิจารณารู้รูปนามทั้งหมดเหมือนๆกันและลักษณะของการรู้ก็จะ
ต้องเหมือนกันด้วย ดังนั้น เมื่อเธอได้ฟังคำตอบที่ไม่เหมือนกัน ก็เลยไม่ได้ดั่งใจ
จึงได้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ยถา ยถา อธิมุตฺตานํ เตสํ สปฺปุริสานํ ทสฺสนํ สุวิสุทฺธํ โหติ, ตถา ตถา โข
เตหิ สปฺปุริเสหิ พยากตํ.


ญาณทัสสนะย่อมบริสุทธิ์หมดจดแก่สัตบุรุษทั้ง ๔ ท่าน ผู้ซึ่งพิจารณา(เจริญ
สติ) โดยอาการใดๆ, ท่านทั้ง ๔ นั้นได้ตอบตามอาการที่ตนได้เห็นแล้วนั่นเทียว

พระพุทธพจน์นี้หมายความว่า ภิกษุเหล่านั้นได้ตอบคำถามแต่ละอย่างตามที่
ตนปฏิบัติมาจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งนัยหรือวิธีการปฏิบัติของท่านทั้ง ๔
ล้วนเป็นแนวทางที่ถูกต้องด้วยกันทั้งสิ้น

จากหลักฐานพระบาลีกล่าวคือพระไตรปิฎกและอรรถกถาข้างต้นนี้ ทำให้
ทราบได้ว่า แม้ว่าโยคีจะไม่สามารถกำหนดพิจารณารู้รูปนามทั้งหมดทั้งปวงตามที
ทรงแสดงไว้ในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ได้ก็ตาม แต่หาโยคีสามารถเอาใส่ใจกำหนด
พิจารณาเฉพาะรูปนามที่ปรากฏชัดที่สุดเพียงอย่างเดียวในขณะที่เห็นหรือได้ยิน
เป็นตัน ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้กระทำกิจแห่งการกำหนดพิจารณาและกิจแห่งการรู้
กลุ่มรูปนามที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันในขณะนั้นทั้งหมดให้สำเร็จจนกระทั่งบรรลุอหัตผล
ได้นั่นเทียว
จะอย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีการที่น่าสนใจอีก เช่น วิธีการกำหนดพิจารณาของ
พระสารีบุตรเถระซึ่งมาในอนุปทสูตร ดังต่อไปนี้

viewtopic.php?f=66&t=61824

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร