วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 19:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2022, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




istockphoto-667192496-612x612.jpg
istockphoto-667192496-612x612.jpg [ 74.29 KiB | เปิดดู 1060 ครั้ง ]
สัมมสนจาระคืออะไร

ในคัมภีร์ฎีกาแห่งอัฏฐกถามัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์(๒๗๔) ได้วิเคราะห์
หรือให้คำนิยามความหมายของคำว่า สมฺมสนจาร ไว้ด้งนี้ว่า สมฺมสนํ จรติ เอตฺถาติ
สมฺมสนจาโร, วิปสฺสนาภูมิ. แปลว่า สัมมสนจาระ คือ อารมณ์อันเป็นที่ท่องเที่ยว
ไปแห่งสัมมสนญาณ หมายถึง ธรรมที่เป็นกูมิของวืปัสสนา


ตามคำนิยามความหมายนี้ พึ่งทราบว่า ส้มมสนจาระนั้น ได้แก่ อารมณ์ของ
วิปัสสนาเป็นอารมณ์ที่วิปัสสนาญาณสามารถนำมากำหนดพิจารณาให้เห็นการเกิด
ดับได้ตามที่เป็นจริง

ในบรรดาอารมณ์ที่เรียกว่า ส้มมสนจาระ นี้ พึงทราบว่า กลุ่มธรรมทั้งที่เป็น
อัชฌัตติกธรรมซึงเป็นวิสัยของปัจจักขญาณ และทั้งที่เป็นพหิทธธรรม ซึ่งเป็นวิสัย
ของอนุมานญาณหรืออันวยญาณ ได้ชื่อว่าสัมมสนจาระของพระสาวก ซึ่งเกี่ยวกับ
อารมณ์แห่งวิปัสสนาของพระสาวกนี้ ได้แสดงไปแล้วในตอนที่ว่าด้วยอารมณ์แห่ง
วิปัสสนา ในปริเฉท ๓ นี้นั่นเอง

อนึ่ง ขอให้โยคีทั้งหลายจงใส่ใจกับคำอุปมาที่ว่า ยฏฺฐิโกฏิยา อุปฺปีเฬนฺโต วิย
"ราวกะว่าเคาะดูด้วยปลายไม้เท้า" ซึ่งเป็นคำที่แสดงวิธีการพิจารณาวิปัสสนา
ของพระมหาโมคคัลลานเถระนั้น ด้วยว่า สถานที่ที่ผู้ถือไม้เท้า(เช่น คนตาบอด)
เคาะถูกนั้น มีเป็นจุดๆเท่านั้น ส่วนที่ที่บุคคลนั้นไมได้เคาะนั้นมีกว้างขวางมากมาย
แม้สภาวธรรมที่พระสาวกทั้งหลายไม่ได้นำมาพิจารณาก็มีมากกว่าที่นำมาพิจารณ
ยิ่งนัก ส่วนที่พิจารณาเห็นด้วยวิปัสสนาญาณจริงๆ นั้นมีน้อยนิด จึงทำให้การพิจารณา
นั้นห่าง ชึ่งระยะความห่างของการพิจารณานั้น หากเทียบความห่างระหว่างพระ
อัครสาวกองค์ที่ ๒ กล่าวคือ พระมหาโมคคัลลานเถระกับของพระมหาสาวก
ทั้งหลายแล้ว พึงทราบว่า การพิจารณาของพระมหาสาวกทั้งหลายนั้นน้อยและ
ห่างกว่าพระมหาโมคคัลลานเถระเยอะมาก ยิ่งหากเป็นการพิจารณาของพระ
อรหันต์ธรรมดาทั่วๆไป พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน และปุถุชน
ทั้งหลายแล้ว พึงทราบว่ ระยะความห่างของการพิจารณาอารมณ์วิปัสสนาของ
บุคคลเหล่านี้ยิ่งมีความห่างเพิ่มมากกว่ากันเป็นทวีคูณ ไปตามลำดับความสามารถ
แห่งญาณของใครของมัน

ด้วยเหตุนี้ ในคัมภีร์อรรถกถามัชฌิมปัณณาสก์กัณณกัตถลสูตร(๒๔๕) ท่านจึง
ได้อธิบายไว้ดังนี้ว่า การพยายามพิจารณาของบุคคลเบื้องล่าง เช่น ปุถุซนนั้น เมื่อเทียบ
กับพระโสดาบันแล้วย่อมมีขีคความสามารถในการพิจารณาน้อยกว่าพระโสดาบันนัก
โดยนัยเดียวกัน การพิจารณาของพระโสดาบัน เมื่อเทียบกับพระสกทาคามี ก็ย่อม
มีขีดความสามารถสู้พระสกทาคามีไม่ได้ พระสกทาคามีย่อมมีขีดความสามารถ
สู้พระอนาคามีไม่ได้ พระอนาคามีย่อมมีขีดความสามารถสู้พระอรหันต์ทั่วไปไม่ได้
พระอรหันต์ทั่วไปย่อมมีขีดความสามารถสู้พระมหาสาวกไม่ได้ พระมหาสาวกย่อม
มีขีดความสามารถสู้พระทุติยอัครสาวก(พระมหาโมคคัลลานเถระ) ไม่ได้ แม้พระ
ทุติยอัครสาวก ก็ย่อมสู้พระสารีบุตรเถระองค์ปฐมอัครสาวกผู้เป็นพระธัมมเสนาบดี
ไม่ได้เช่นกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2022, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




istockphoto-1081845106-612x612.jpg
istockphoto-1081845106-612x612.jpg [ 61.92 KiB | เปิดดู 901 ครั้ง ]
........
สัมมสนญาณ คือ ญาณที่ ๓ ในญาณ ๑๖

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร