ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
แนวการกำหนดพิจารณาของพระสาวก http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=62562 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 28 ส.ค. 2022, 15:34 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | แนวการกำหนดพิจารณาของพระสาวก | ||
แนวการกำหนดพิจารณาของพระสาวก เอกเทสเมวาดิ สกอตฺตภาเว สงฺขาเร อนวเสสโต ปริคฺคเหตุญฺจ สมฺมสิตุญฺจ อสกฺโกนฺโต อตฺตโน อภินีหารสมุทาคตณาณพลานุรูป๋ เอกเทสเมว ปริคฺคเหตฺวา สมฺมสนฺโต ฯเปฯ ตสฺมา สสนฺตานคเต สพฺพธมฺเม ปรสนฺตานคเต จ เตสํ สนฺตานวิภาค่ อกตฺวา พหิทธาภาวสามญฺญโต สมฺมสติ, อยํ สาวกานํ สมฺมสนจาโร. (ม.ฎี. ๗/๒๗๔) ข้อความว่า เอกเทสเมว พึงทราบว่า โยคีนั้นเมื่อไม่สามารถที่จะกำหนดพิจารณา สังขารทั้งหลายในอัตตภาพของตนได้อย่างทั่วถึง จึงได้ทำการกำหนดพิจารณา เฉพาะบางส่วนเท่านั้น โดยสมควรแก่กำลังแห่งญาณปัญญาที่ได้มาด้วยการสร้าง บารมีของตน ฯลฯ ดังนั้น โยคีย่อมสามารถที่จะพิจารณาสภาวธรรมทั้งปวงที่เกิด ชื้นในชันธสันดานของตน ส่วนสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในขันธสันดานของบุคคลอื่นนั้น โยคีสามารถที่จะนำมาพิจารณาร่วมโดยความเป็นพหิทธธรรมที่เหมือนกัน โดยไม่ ต้องกระทำการ แยกแยะว่าเป็นขันธสั่นดานภายในภายนอกของบุคคลเหล่านั้น ก็ อัชฌัตตธรรมและพหิทธธรรมตามที่กล่าวมานี้ได้ชื่อว่าเป็นสัมมสนจาระกล่าวคือ เป็นที่หรือเป็นวิสัยแห่งการกำหนดพิจารณา สำหรับพระสาวกทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้แล โยคีจึงไม่ควรที่จะแสวงหาหรือจินตนาการหาพหิทธธรรมแล้ว นำมากำหนดพิจารณา เพราะว่าการที่ตั้งใจแสวงหารูปเสียงเป็นต้นซึ่งเป็นอารมณ์ ภายนอกมากำหนดนั้นจะทำให้โยคีผู้นั้นเกิดอุทธัจจะความฟุ้งซ่านได้ ก็ความฟุ้งซ่าน นั้นจะทำให้โยคีไม่สามารถกำหนดทัน เป็นเหตุให้สมาธิและปัญญาทั้งหลายไม่ สามารถที่จะแก่กล้าได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น แม้จะใช้เวลานาน เช่น หนึ่งเดือน เป็นต้น ก็อาจจะไม่ได้บรรลุธรรมวิเศษใดๆก็ได้ในขณะที่คนมีสุตะมากพยายามที่จะพิจารณา โดยคิดตามสุตะกล่าวคือประสบการณ์หรือความรู้ที่ตนเคยได้ยินได้ฟังมา ก็จะทำให้ ไม่สามารถได้ปัจจักขญณ สมาธิและปัญญาของโยคีผู้นั้น ก็จะไม่แก่กล้าเช่นกัน
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 28 ส.ค. 2022, 15:46 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: แนวการกำหนดพิจารณาของพระสาวก | ||
ดังนั้น หากพหิทธธรรมผ่านปรากฎโดยธรรมชาติในอารมณ์ทั้ง ๖ ไซร้ โยคีก็ควร จะน้อมมาพิจารณาได้ แต่ที่สำคัญโยคีจะต้องมีความเพียรพยายามเพื่อจะทำการ กำหนดพิจารณาเฉพาะอัชฌัตตธรรมเป็นหลัก เพียงแค่การได้กำหนด อัชมัตตธรรมนั้น โยคีก็ได้เป็นผู้ชื่อว่าเป็นผู้ทำกิจการกำหนดนามรูปทั้งหมดสำเร็จ แล้วนั่นเทียว ดังที่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมหาฎีกาท่านได้กล่าวยืนยันไว้ว่า อชฺฌตฺตํ วา ทิ วิปสฺสนาภินิเวโส โหตุ พหิทฺธา วา, อชฺฌตฺตสิทฺธิยํ ปน ลกฺขณโต สพฺพมฺปิ นามรูป อนวเสสโต ปริคฺคหิตเมว โหติ. (วิสุทธิ ฎี. ๒/๓๖๘) การเริ่มต้นกำหนดพิจารณาวิปัสสนานั้น ไม่ว่าจะเป็นไปในอัชฌัตตสันดาน หรือพหิทธสันดาน ก็ตาม ย่อมสามารถกระทำได้. แต่ที่สำคัญ เมื่อโยคีได้ทำการ หนดพิจาณาในอัชฌัตตสันดานหรือขันธสันดานของตนสำเร็จแล้ว ก็ได้ ผู้กำหนดพิจารณานามรูปทั้งหมดทั้งปวงโดยไม่มีส่วนเหลือนั่นเทียว ไม่ว่าทั้งโดย สภาวลักษณะหรือสามัญญลักษณะ ก็ตาม (คำว่า ลกฺขณโต ในที่นี้ นำจะหมายถึง เป็นการสำเร็จการกำหนดพิจารณา โดยลักขณนัย หมายความว่า โยคีกำหนดวิปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่งโดยตรง ส่วนนามรูป ที่เหลือแม้จะไม่ได้กำหนดก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ นดไโดยวิธีที่เรียกว่าลักขณนัย ซึ่งเป็นวิธีการแสงโดยนำธรรมบางอย่างมาแสดงพอ ส่วนธรรมอื่นๆที่ไม่ได้แสดงก็เป็นอันสำเร็จไปในตัว : ผู้แปล] ในขณะที่โยคีเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอยู่นั้นไม่ว่าจะเป็นการกำหนดพิจารณาใน อัชฌัตตสันดานหรือในพหิทธสันดาน ก็ตาม หากโยคีสามารถกำหนดรูปและนามที่ เป็นอัชฌัตตธรรมได้ทุกขณะที่อัชฌัตตธรรมนั้นเกิดขึ้นแล้วไซร้ก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้หรือ พิจารณารูปทั้งปวงเช่นกัน หมายความว่า สามารถที่จะได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้พหิทธรรม โดยสภาวลักษณะและสามัญญลักษณะได้เหมือนกับที่ตนเองรู้อัชฌัตตธรรมโดยตรง
|
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |