วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 00:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2022, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




energy-1685910__480.jpg
energy-1685910__480.jpg [ 116.1 KiB | เปิดดู 1363 ครั้ง ]
เหตุใกล้ชื่อว่าปทัฏฐาน
ปทัฏฐานหาระจำแนกออกเป็น ๒ ประการ คือ

๑. โอรุยโหรุยหนัย นัยเหมือนการลงจากต้นไม้, อนุโลมนัย เช่น อวิชชาปจฺจยา
สงฺขารา (สังขารทั้งหลายย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สงขารปจจยา วิญฺญาณํ (วิญญาณย่อมมีเพราะ
สังขารเป็นปัจจัย) เป็นต้น

๒. อารุยหารุยหนัย นัยเหมือนการขึ้นต้นไม้, ปฎิโลมนัย เช่น อาสวะเป็นปทัฏฐาน
แก่อวิชชา อวิชชาเป็นปทัฏฐานแก่สังขาร สังขารเป็นปทัฏฐานแก่วิญญาณ เป็นตัน
ตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นนัยอย่างใดอย่างหนึ่งในสองประเภทนี้ตามสมควร


ตัวอย่าง ๑


กึ เทเสติ. สพฺพธมฺมยาถาวอสมฺปฏิเวธลกฺขณา อวิชฺชา, ตสฺสา วิปลฺลาสา ปทฎ
ฐานํ อชฺโฌสานลกฺขณา ตณฺหา, ตสฺสา ปิยรูปํ สาตรูปั ปทฎฺจานํ ปตฺถนลกฺขโณ โลโภ, ตสฺส
อทินฺนาทาน ปทฎฺฐานํ วณฺณสณฺฐานพฺยญฺชนคฺคหณลกฺขณา สุภสญฺณา, ตสฺสา อินฺทฺริยาสํวโร
ปทฎฺฐานํ สาสวผสฺสอุปคมนลกฺขณา สุขสญฺญา, ตสฺสา อสฺสาโท ปทฎฺฐานํ สงฺขตลกฺขณา
ธมฺมานํ อสมนุปสฺสนลกฺขณา นิจฺจสญฺถา, ตสฺสา วิญฺญาณํ ปทฎฺฐานํ อนิจฺจสญฺญาทุกฺขสญฺญา
อสมนุปสฺสนลกฺขณา อตฺตสญฺญา, ตสฺสา นามกาโย ปทฎฺฐานํ

"ถามว่า : พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมอะไร

ตอบว่า : ทรงแสดงว่า อวิชชามีลักษณะไม่แทงตลอดธรรมทั้งปวงตามความเป็น
จริง วิปัลลาสเป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้) แก่อวิชชานั้น (เพราะอวิชชาย่อม
เพิ่มพูนขึ้นเมื่อ
วิปัลลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง เป็นต้น]

ตัณหามีลักษณะผูกพัน ปิยรูปและสาตรูป (สภาพที่น่ายินดีพอใจ) เป็นปทัฏฐานแก่
ตัณหานั้น [เพราะตัณหาย่อมเพิ่มพูนขึ้นเมื่อมีสภาพที่น่ายินดีพอใจ

ความโลภมีลักษณะต้องการ อทินนาทานเป็นปทัฏฐานแก่ความโลภนั้น (เพราะ
ความโลภย่อมเป็นไปเมื่อมือทินนาทาน]

สุภสัญญา (ความสำคัญว่างาม) มีลักษณะถือเอาอวัยวะน้อยใหญ่ ความไม่สำรวม
อินทรีย์เป็นปทัฏฐานแก่สุภสัญญานั้น
สุขสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสุข) มีลักษณะรู้ชัดผัสสะที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
ความชอบใจเป็นปทัฏฐานแก่สุขสัญญานั้น

นิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) มีลักษณะไม่รู้เห็นธรรมอันถูกปัจจัยปรุงแต่ง
วิญญาณเป็นปทัฏฐานแก่นิจจสัญญานั้น

อัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นอัตตา) มีลักษณะไม่รู้เห็นอนิจจสัญญาและทุกข
สัญญา หมู่นามเป็นปทัฏฐานแก่อัตตสัญญานั้น (เพราะความยึดมั่นอัตตามีอยู่ในนามธรรม
เป็นส่วนใหญ่]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2022, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




3-37219_business-people-png-image-business-people-walking-png.png
3-37219_business-people-png-image-business-people-walking-png.png [ 533.04 KiB | เปิดดู 1326 ครั้ง ]
(อวิชชามีลักษณะไม่แทงตลอดธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง โดยไม่รู้เห็นสภาวธรรม ๘
อย่างนี้อันได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุในอดีต, ขันธ์ อายตนะ ธาตุในอนาคต, ขันธ์ อายตนะ
และอนาดต, อริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาท

วิปัลลาส คือ ความคลาดเคลื่อนผิดจากความจริง มี ๓ อย่าง คือ
๑. สัญญาวิปัลลาส วิปัลลาสแห่งสัญญา
๒. จิตตวิปัลลาส วิปัลลาสแห่งจิต
๓. ทิฏฐิวิปัลลาส วิปัลลาสแห่งความเห็น
ทั้งสามอย่างนี้แบ่งออกเป็นอย่างละ ๔ คือ

๑. อนิจเจ นิจจวิปัลลาส วิปัลลาสในสภาวะที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
๒. ทุกเข สุขวิปัลลาส วิปัลลาสในทุกข์ว่าเป็นสุข
๓. อนัตตนิ อัตตวิปัลลาส วิปัลลาสในสภาวะที่ไม่ใช่อัตตาว่าเป็นอัตตา
๔. อสุเภ สุภวิปัลลาส วิปัลลาสในสภาวะที่ไม่งามว่างาม

ปิยรูป คือ สภาพที่น่ายินดี สาตรูป คือ สภาพที่น่าพอใจ ทั้งสองอย่างโดยองค์ธรรม คือ โลกิยะ
จิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ จึงหมายถึงรูปธรรมกับนามธรรมที่เป็นโลกียะ ดังพระพุทธวจนะว่า

ยํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ, เอตฺเถสา ตณฺหา อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชติ."๑๔
"สภาพใดน่ายินดีพอใจในโลก[แห่งรูปนาม สภาพนั้นคือที่ซึ่งตัณหาเกิดขึ้นและตั้งอยู่]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2022, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




pile-bones-skeleton-2-25487463.jpg
pile-bones-skeleton-2-25487463.jpg [ 81.21 KiB | เปิดดู 1323 ครั้ง ]
ตัวอย่างที่ ๒


วิชชามีลักษณะแทงตลอดธรรมทั้งปวง เญยยธรรมทั้งปวง (อริยสัจ ๔) เป็นปทัฏ
ฐานแก่วิชชานั้น [เพราะเป็นอารมณ์ของวิชชา]

สมถะมีลักษณะกำจัดความซัดส่ายแห่งจิต การเพ่งอสุภะเป็นปทัฏฐานแก่สมถะนั้น
(เพราะสมถะเป็นปฏิปักษ์ต่อตัณหา]

อโลภะมีลักษณะกำจัดการท่องเที่ยวไปแห่งความอยาก เจตนางคเว้นจากการ
ลักทรัพย์เป็นปทัฏฐานแก่อโลภะนั้น (เพราะกระทำความละโมบให้เบาบาง]

อโทสะมีลักษณะไม่ปองร้าย เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นปทัฏฐานแก่อโทสะ
นั้น(เพราะกระทำพยาบาทให้เบาบาง]

อโมหะมีลักษณะหยั่งเห็นอารมณ์ สัมมาปฏิบัติ (การปฏิบัติโดยชอบ) เป็นปทัฏฐาน
แก่อโมหะนั้น

อสุภสัญญา (ความสำคัญว่าไม่งาม) มีลักษณะถือเอาศพที่ขึ้นเขียว หรือศพที่มี
น้ำหนองไหลเยิ้ม ความเบื่อหน่ายเป็นปทัฏฐานแก่อสุภสัญญานั้น

ทุกขสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นทุกข์) มีลักษณะกระทบผัสสะที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ เวทนาเป็นปทัฏฐานแก่ทุกขสัญญานั้น (เพราะเวทนาทั้งหมดจัดเป็นทุกข์โดยความ
เป็นทุกขทุกข์ เป็นต้น]

อนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าไม่เที่ยง) มีลักษณะเห็นธรรมอันถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ความเกิดและความดับเป็นปทัฏฐานแก่อนิจจสัญญานั้น

อนัตตสัญญา (ความสำคัญว่าไม่ใช่อัตตา) มีลักษณะไม่ยึดมั่นในธรรมทั้งปวง ธรรม-
สัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสภาวธรรม) เป็นปทัฏฐานแก่อนัตตสัญญานั้น"

[โดยองค์ธรรม วิชชาและอโมหะก็คือ ปัญญินทรีย์เจตสิก แต่ในที่นี้กล่าวแยกไว้ตามสภาวะ
คือ วิชชาเป็นสภาวะรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ ส่วนอโมหะเป็นสภาวะไม่หลงไม่ปฏิบัติผิดในอารมณ์
ปัจจุบันที่เจริญสติกำหนดรู้อยู่

คำว่า สัมมาปฏิบัติ (การปฏิบัติโดยชอบ) คือ การเจริญศีลและสมาธิ หรือปัญญาที่หยั่งเห็น
ความเบื่อหน่ายด้วยนิพพิทาญาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2022, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Couple-Transparent.png
Couple-Transparent.png [ 387.23 KiB | เปิดดู 1319 ครั้ง ]
ตัวอย่างที่ ๓
"กามคุณ ๕ เป็นปทัฏฐานแก่กามราคะ (ความยินดีในกาม) อินทรีย์ ๕ ที่เป็นรูป
เป็นปทัฏฐานแก่ความพอใจในรู ป [เพราะความกำหนัดในร่างกายของเหล่าสัตว์มีอยู่โดยเนื่อง
ด้วยอายตนะภายใน ๕ คือ ปสาทรูป ๕] อายตนะที่ ๖ (มนายตนะ) เป็นปทัฏฐานแก่ความ
พอใจในภพ (เพราะความพอใจในภพย่อมมีในมนายตนะอันที่เป็นอาศัยของฌานเป็นพิเศษ]

การตามเห็นรูปเป็นตันที่เกิดขึ้น เป็นปทัฏฐานแก่อุปาทานขันธ์ ๕ ปุพเพนิวาสา-
นุสสติ (การตามระลึกความเป็นอยู่ในชาติก่อน) เป็นปทัฏฐานแก่ญาณทัสสนะ (ญาณรู้เห็น
กรรมและผลกรรม)

ศรัทธามีลักษณะเชื่อมั่น มีความน้อมใจเชื่อเป็นเครื่องปรากฏ
ปสาทะมีลักษณะไม่ขุ่นมัว มีความผ่องไสเป็นเครื่องปรากฎ
ศรัทธามีลักษณะเลื่อมใส ความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหว(อันประกอบด้วยปัญญา) เป็น
ปทัฏฐานแก่ศรัทธานั้น

ปสาทะมีลักษณะไม่ขุ่นมัว ศรัทธาเป็นปทัฏฐานแก่ปสาทะนั้น
วิริยะมีลักษณะพากเพียร สัมมัปปทาน ๔ เป็นปทัฏฐานแก่วิริยะนั้น
สมาธิมีลักษณะที่มีอารมณ์เป็นอย่างเดียว ฌานเป็นปทัฏฐานแก่สมาธินั้น
ปัญญามีลักษณะหย้งรู้ สัจจเป็นปทัฏฐานแก่ปัญญานั้น

(คำว่า กามคุณ มีรูปวิเคราะห์ว่า กาโม เอว คุโณ กามคุโณ (กามคุณ หมายถึง เครื่อง
ผูกคือกาม) โดย คุณ ศัพท์ไช้ในความหมายว่า เครื่องผูก" มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่
กระทบสัมผัส กล่าวคือ เหล่าสัตว์เพลิตเพลินในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย และสิ่งที่กระทบ
สัมผัสซึ่งถูกใจ จึงถูกกามคุณทั้ง ๕ ผูกไว้ในวัฏฏสงสาร

คำว่า รูปราคสฺส (ความพอใจในรูป) คือ ความพอไจในร่างกาย เพราะอินทรีย์ ๕ ตือ ตา
หู จมูก ลิ้น และกาย เป็นเหตุใกล้ให้เกิดความพอใจในร่างกาย ถ้ไม่มี

อินทรีย์เหล่านี้ ความพอใจใน
ร่างกายย่อมไม่เกิดขึ้น เช่น คนตาบอดย่อมปราศจากความพอใจในความสวยงามของร่างกาย เพราะ
เขาเห็นไม่ได้ ตังนี้เป็นตัน คำนี้ไม่ใช่รูปราคะที่เป็นหนึ่งในสังโยชน์ ๑๐ ซึ่งพอใจในรูปฌานและรูปภพ

ศรัทธากับปสาทะ โดยองค์ธรรมคือ ศรัทธาเจตสิก แต่ในที่นี้กล่าวไว้แยกกันตามสภาวะที่
ปรากฏชัดว่า ศรัทธาเป็นความเชื่อ ส่วนปสาทะเป็นดวามเลื่อมใส ศรัทธาเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่
ก่อให้เกิดปสาทะในภายหลัง เพราะเมื่อบุคคลเชื่อมั่นแล้วจึงปฏิบัติธรมตามที่ได้สดับมา แล้วเกิดความ
เลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไปเมื่อได้รับผลการปฏิบัติ โดยธรรมที่บุคคลประพฤติตีแล้วย่อมซุ้มครองผู้ปฏิบัติให้
ได้รับประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อันสูงสุดคือพระนิพพาน

สติที่ระลึกรู้สภาวธรรมปัจจุบัน ย่อมทำให้จิตตามรู้ปัจจุบันเท่านั้น ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์
อดีดหรืออนาคต ในขณะนั้นความฟุ้งซ่านย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะจิตมีลักษณะรับอารมณ์เดียวในขณะ
เดียว เหมือนเมื่อมีความสว่างปรากฏ ความมืดย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ และเหตุใกล้ของสติก็คือ สติปัฏฐาน ๔
อันได้แก่ กองรูป เวทนา จิต และสภาวธรรม ซึ่งเป็นอารมณ์ปัจจุบันของสติในการเจริญสติปัฏฐาน
ดู ข้อ [๑๒] เรื่องสติ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2022, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Mu-Ko-Thale-Tai-02.jpg
Mu-Ko-Thale-Tai-02.jpg [ 94.3 KiB | เปิดดู 1194 ครั้ง ]
ตัวอย่างที่ ๔

อีกนัยหนึ่ง อโยนิโสมนสิการมีลักษณะใส่ใจเห็นความน่าพอใจ[ในธรรมที่เป็น
เครื่องผูก] อวิชชาเป็นปทัฏฐานแก่อโยนิโสมนสิการนั้น (เพราะปกปิดโทษของอโยนิโสมนสิ
การ]

อวิชชามีลักษณะปิดบังสัจจะ อวิชชานั้นเป็นปทัฏฐานแก่สังขาร
สังขารมีลักษณะยังภพใหม่ให้เกิดขึ้น สังขารนั้นเป็นปทัฏฐานแก่วิญญาณ
วิญญาณมีลักษณะเกิดขึ้นโดยความเป็นอุปปัตติภพ (วิบากขันธ์ที่เป็นโลกิยะและ
กรรมชรูป) วิญญาณนั้นเป็นปทัฏฐานแก่นามรูป
นามรูปมีลักษณะประชุมกันแห่งหมู่รูปนาม นามรูปนั้นเป็นปทัฏฐานแก่อายตนะ
[เพราะเป็นสหชาดปัจจัย เป็นตัน]
อายตนะ - มีลักษณะกำหนดอินทรีย์ ๖ อายตนะ ๖ นั้นเป็นปทัฏฐานแก่ผัสสะ
(เพราะเป็นนิสสยปัจจัย เป็นตัน]
ผัสสะมีลักษณะประชุมกันแห่งจักษุ รูป และวิญญาณจิต ผัสสะนั้นเป็นปทัฏฐานแก่
เวทนา (เพราะเป็นสหชาตปัจจัย เป็นต้น]
เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนา เวทนานั้นเป็น
ปทัฏฐานแก่ตัณหา (เพราะเป็นอุปนิสสยปัจจัย เป็นตัน]
ตัณหามีลักษณะผูกพัน ตัณหานั้นเป็นปทัฏฐานแก่อุปาทาน (เพราะเป็นอุปนิสสย-
ปัจจัย เป็นตัน]
อุปาทานมีลักษณะก่อให้เกิดอุปปัตติภพ อุปาทานนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ภพ
ภพมีลักษณะเกิดขึ้นของหมู่นามและหมู่รูป ภพนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ชาติ
ชาติมีลักษณะปรากฏแห่งขันธ์ ชาตินั้นเป็นปทัฏฐานแก่ชรา
ชรามีลักษณะแก่หง่อมแห่งขันธ์ ชรานั้นเป็นปทัฏฐานแก่มรณะ
มรณะมีลักษณะตัตรอนชีวิดินทรีย์ มรณะนั้นเป็นปทัฏฐานแก่โสกะ (ความเศร้าโศก)
โสกะเป็นสภาพกระทำความเร่าร้อนใจ โสกะนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ปริเทวะ (ความ
คร่ำครวญ)
ปริเทวะเป็นสภาพกระทำความคร่ำครวญ ปริเทวะนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ทุกข์ (ความทุกข์กาย)
ทุกข์เป็นสภาพเบียดเบียนกาย ทุกข์นั้นเป็นปทัฏฐานแก่โทมนัส (ความทุกข์ใจ)
โทมนัสเป็นสภาพเบียดเบียนใจ โทมนัสนั้นเป็นปทัฏฐานแก่อุปายาส (ความดับแค้นใจ)
อุปายาสเป็นสภาพกระทำการแผดเผา อุปายาสนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ภพ
เมื่อใด เหตุเกิดของภพทั้งหมดนี้ย่อมเกิดขึ้น เมื่อนั้นจึงเป็นภพ ภพนั้นเป็นปทัฏ
ฐานแก่สังสารวัฏ

มรรคมีลักษณะนำออก(จากสังสารวัฏ] มรรคนั้นเป็นปทัฏฐานแก่พระนิพพาน"

(พระมหากัจจายนะแสดงปทัฏฐานของอวิชชาเป็นตันตั้งแต่ตัวอย่างแรกเป็นตันมา บัดนี้
กล่าวนัยอีกอย่างหนึ่งว่า อปโร นโย (อีกนัยหนึ่ง) เพื่อแสดงว่าอวิชชาเป็นต้นนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ธรรม
บางอย่างได้เช่นเดียวกัน

ท่านกล่าวว่า อสฺสาทมนสิการลกฺขโณ อโยนิโสมนสิกาโร (อโยนิโสมนสิการมีลักษณะพิจารณา
เห็นความน่าพอใจ) เพราะส่วนใหญ่อโยนิโสมนสิการมักดำเนินไปด้วยอำนาจของโลภะ การใช้คำใน
ลักษณะนี้เรียกว่า นิทัสสนนัย คือ นัยที่แสดงไว้พอเป็นตัวอย่าง แต่ยังหมายถึงสิ่งอื่นๆ ได้ ซึ่งในที่นี้คือ
การพิจารณาเห็นความไม่น่าพอใจด้วยอำนาจโทสะ หรือพิจารณาเห็นด้วยอำนาจของโมหะ

คำว่า สจฺจสมฺโมหนลกฺขณา อวิชฺชา (อวิชชามีลักษณะปิดบังสัจจะ) โดยไม่รู้เห็นอริยสัจ ๔
ตามความเป็นจริง ส่วนการไม่รู้บัญญัติไม่จัดเป็นอวิชชา เพราะบัญญัติเป็นเพียงสมมุติของชาวโลกตาม
ท้องถิ่นและกาลเวลา ไม่ใช่สภาวธรรมที่ปรากฏอย่างแท้จริง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2022, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




5a76d63dbbfd9b1cb2ab3a3b.jpg
5a76d63dbbfd9b1cb2ab3a3b.jpg [ 116.55 KiB | เปิดดู 1144 ครั้ง ]
คำว่า ปุนพฺภววิโรหนา สงฺขารา (สังขารมีลักษณะยังภพใหมให้เกิดขึ้น) คือ เจตนาที่มีใน
ภูมิ ๓ ซึ่งจเป็นบุญญาภิสังขาร (เจตนาในมหากุศลจิต ๘ รูปาวจรกุคลจิต ๕) อปุญญาภิสังขาร(เจตนา
อกุศลจิต ๑๒) และอาเนญซาภิสังขาร (เจตนาในอรูปาวจรกุศลจิต ๔) ย่อมก่อให้เกิดภพในภูมิ ๓
ตามสมควร

คำว่า ตํ สํสารสฺส ปทฎฺฐาน (ภพนั้นเป็นปทัฏฐานแก่สังสารวัฏ) หมายถึง ภพที่เกิดขึ้นก่อน
ย่อมเป็นเหตุให้เกิดภพใหม่ เพราะเหล่าสัตว์สั่งสมบุญบาปไว้ในภพของตนตามสมควร และได้รับผลในภพต่อไป

คัมภีร์เนตติอรรถกถาอธิบายความหมายของสังสารวัฎว่า
ขนฺธายตนาทีนํ อปราปรุปปตฺติสํสรณํ สํสาโร."
"การท่องเที่ยวไปคือการเกิดขึ้นเสมอๆ ของขันธ์และอายตนะเป็นตัน ชื่อว่า สังสารวัฏ
แม้คัมภีร์อัฏฐสาลินีก็กล่าวว่า
ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนาน จ
อพฺโพจฺฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ. "
"ลำดับแห่งขันธ์ อายตนะ และธาตุ ที่ดำเนินไปต่อเนื่องไม่ขาดช่วง เรียก
ว่า สังสารวัฏ"

คำว่า โส นิโรธสฺส ปทฎฺฐานํ (มรรคนั้นเป็นปทัฏฐานแก่พระนิพพาน) ดังคำอธิบายใน
คัมภีร์เนตติอรรถกถาว่า
สมฺปาปกเหตุภาวํ สนฺธาย มคฺโค นิโรธสฺส ปทฎฺฐานนฺติ วุตตํ.
"พระมหากัจจายนะกล่าวว่า มรรคเป็นปทัฏฐานแก่พระนิพพาน โดยหมายถึงความเป็นเหตุให่บรรลุผล

ข้อความนี้หมายความว่า มรรคเป็นสาเหตุให้บรรลุพระนิพพาน ไม่ใช่เหตุที่ก่อให้เกิดบังเกิด
พระนิพพาน เหมือนอวิชชาเป็นเหตุให้เกิดสังขาร ดังนั้น ปทัฏฐานที่กล่าวไว้ทั้งหมดในปทัฏฐานหาระ
จึงมี ๒ ประเภท คือ
๑. ชนกเหตุ เหตุก่อให้เกิดผล เช่น อวิชชาเป็นปทัฏฐานแก่สังขาร ดังคำ
องฺกุโร ชายติ (หน่อย่อมเกิดเพราะเมล็ด)

๒. สัมปาปกเหตุ เหตุให้บรรลุผล เช่น มรรคเป็นปทัฏฐานแก่พระนิพพาน ดังคำว่า
นาวาย ตีรํ ปาปุณาติ (ย่อมถึงฝั่งเพราะเรือ)

อนึ่ง ไวยากรณ์บาลียังแสดงเหตุอีกประเภทหนึ่ง คือ ญาปกเหตุ (เหตุแสดงให้รู้โดยอ้อม)
เช่น ธูมโต อคฺคิ อตฺถึติ ฌายติ (ย่อมรู้ว่ามีไฟ เพราะควันไฟ แต่เหตุประเภทนี้ไม่จัดเป็นปทัฏฐานใน
เรื่องนี้ เพราะเป็นเหตุที่บุคคลอนุมานรู้โดยปริยาย]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2022, 02:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Chopper Kin.gif
Chopper Kin.gif [ 510.27 KiB | เปิดดู 1061 ครั้ง ]
ตัวอย่างที่ ๕
"ความเป็นผู้รู้จักพหูสูตร (การเข้าใกลัครูผู้เป็นพหูสูตร) เป็นปทัฏฐานแก่ความเป็น ผู้รู้ปราโมทย์ (การเจริญภาวนา)
ความเป็นผู้รู้ปราโมทย์เป็นปทัฏฐานแก่ความเป็นผู้รู้จักความเหมาะสม[แห่งภาวนา]
ความเป็นผู้รู้จักความเหมาะสม[แห่งภาวนา] เป็นปทัฏฐานแก่ความเป็นผู้รู้จักตน
(ความถึงพร้อมด้วยองค์ ๕ ของผู้ปรารภความเพียร)
ความเป็นผู้รู้จักตน เป็นปทัฏฐานแก่ความเป็นผู้กระทำบุญไว้แล้วในชาติก่อน
ความเป็นผู้กระทำบุญไว้แล้วในชาติก่อน เป็นปทัฏฐานแก่การอยู่ในสถานที่อัน สมควร
การอยู่ในสถานที่อันสมควร เป็นปทัฏฐานแก่การคบหาสัตบุรุษ
การคบหาสัตบุรุษ เป็นปทัฏฐานแก่การตั้งตนไว้ชอบ
การตั้งตนไว้ชอบ เป็นปทัฏฐานแก่ศีล
ศีล เป็นปทัฏฐานแก่อวิปปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อนใจ)
อวิปปฏิสาร เป็นปทัฏฐานแก่ปราโมทย์
ปราโมทย์ เป็นปทัฏฐานแก่ปีติ
ปีติ เป็นปทัฏฐานแก่ปัสสัทธิ (ความสงบ)
ปัสสัทธิ เป็นปทัฏฐานแก่สุข
สุข เป็นปทัฏฐานแก่สมาธิ
สมาธิ เป็นปทัฏฐานแก่ยถาภูตญาณทัสสนะ (การรู้เห็นตามความเป็นจริง)
ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นปทัฏฐานแก่นิพพิทา (ความเบื่อหน่าย, นิพพิทาญาณ)
นิพพิทา เป็นปทัฏฐานแก่วิราคะ (ความคลายกำหนัด, มรรด)
วิราคะ เป็นปทัฏฐานแก่วิมุตติ (ความหลุดพ้น, ผล)
วิมุดติ เป็นปทัฏฐานแก่วิมุตติญาณทัสสนะ (การรู้เห็นความหลุดพัน, ปัจจเวกขณญาณ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร