วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2022, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




240_F_462820151_mHDxz70NgeTh9gHwRMix77x3tZ3Bk9aC.jpg
240_F_462820151_mHDxz70NgeTh9gHwRMix77x3tZ3Bk9aC.jpg [ 56.67 KiB | เปิดดู 1300 ครั้ง ]
ลักขณหาระของโพธิปักขิยธรรม

ยถา จาห ภควา-
"เยสญฺจ สุสมารทฺธา นิจฺจํ กายคตาสติ
อกิจฺจํ เต น เสวนฺติ กิจฺเจ สาตจฺจการิโน

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

"ส่วนชนเหล่าใดเจริญสติในกองรูปเป็นนิตย์ ไม่ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ
ทำเฉพาะสิ่งที่ควรทำเสมอ(สำหรับชนผู้มีสติสัมปชัญญะพร้อมมูลเหล่านี้
อาสวะย่อมหมดไป]"

อิติ กายคตาย สติยา วุตฺตาย วุตฺตา ภวนฺติ เวทนาคตา สติ จิตฺตคตา ธมฺมคตา
จ. ตถา ยํ กิญฺจิ ทิฏฺฐํ วา สุตํ วา มุตํ วาติ วุตฺเต วุตตั ภาติ วิญฺญาตํ. ยถา จาห ภควา-
"ตสฺมาติห ตฺวํ ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหราหิ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย
โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. "๑๒
"อาตาปี"ติ วีริยินฺทฺริยํ. "สมฺปชาโน"ติ ปญฺญินทฺริยํ. "สติมา"ติ สตินฺทฺริยํ. "วิเนยฺย
โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสนฺ"ติ สมาธินฺทฺริยํ. เอวํ กาเย กายานุปสฺสิโน วิหรโต จต์ตาโร สติปฏ-
ฐานา ภาวนาปาริปูรี คจฺฉนฺติ. เกน การเณน เอกลกฺขณตฺตา จตุนฺนํ อินทริยานํ

"โดยประการดังนี้ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสถึงสติที่เป็นไปในกองรูป ก็เป็นอันตรัส
สติที่เป็นไปในเวทนา จิต และสภาวธรรม (เพราะมีลักษณะอย่างเดียวกันโดยความเป็นที่ตั้ง
ของสติ]
นอกจากนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสว่า อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งอันบุคคลเห็นแล้ว
ได้ยินแล้ว หรือรู้ทางวิญญาณ ๓ มีฆานวิญญาณเป็นตันแล้ว ก็เป็นอันตรัสอารมณ์ที่รู้ทางมโน
วิญญาณ (เพราะมีลักษณะอย่างเดียวกันโดยความเป็นสิ่งที่จิตรับเอาเป็นอารมณ์] สมจริงดัง
พระพุทธดำรัสว่า
ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงตามรู้ในกองรูปว่าเป็นกองรูป มีความเพียร
เผากิเลส มีปัญญาหยั่งเห็น มีสติ ข่มอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่'
คำว่า อาตาปี (มีความเพียรเผากิเลส) คือ วิริยินทรีย์
คำว่า สมฺปชาโน (มีปัญญาหยั่งเห็น) คือ ปัญญินทรีย์
คำว่า สติมา (มีสติ) คือ สตินทรีย์
คำว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ (ข่มอภิชฌาและโทมนัสในโลก) คือ สมาธิน-
โดยประการดังนี้ เมื่อภิกษุตามรู้ในกองรูปว่าเป็นกองรูปอยู่ สติปัฏฐาน ๔ ย่อมถึง
ความบริบูรณ์ด้วยภาวนา
ถามว่า : เหตุใดสติปัฏฐาน ๔ ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา
ตอบว่า : เพราะอินทรีย์ทั้ง ๔ (วิริยินทรีย์ ปัญญินทรีย์ สตินทรีย์ และสมาธินทรีย์]
มีลักษณะอย่างเดียวกัน(ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔]"

(คำว่า สมุปชาโน (มีปัญญาหยั่งเห็น) คือ ประกอบด้วยปัญญาที่เรียกว่า สัมปชัญญะ คือ
อสัมโมหสัมปชัญญะ (การหยั่งเห็นโดยไม่หลง)
อนึ่ง วิปัสสนาปัญญาเกิดจากสติที่ต่อเนื่องซึ่งทำให้สมาธิมีกำลัง เมื่อจิตของผู้ปฏิบัติธรรม
ได้รับรู้สภาวธรรมปัจจุบันด้วยสติแล้ว ปัญญาที่เกิดร่วมกับสติและสมาธิย่อมแก่กล้าตามลำดับ และสติ
จะเป็นเครื่องปรับวิริยะกับสมาธิให้สมดุลกัน โดยยกจิตที่หดหู่ให้ร่าเริง และข่มจิตที่ฟุ้งซ่านให้สงบลง
ดังเนตติอรรถกถากล่าวว่า

อยํ ปน ยสฺมา สติยา อารมมณํ ปริคฺคเหตฺวา ปญฺญาย อนุปสฺสติ, น หิ สติวิรหิตา อนุ
ปสฺสนา อตฺถิ. เตเนวาห สตี จ ขฺวาหํ ภิกฺขเว สพฺพตฺถิกํ วทามีติ. ๒๗
"อนึ่ง ภิกษุนี้กำหนดรู้อารมณ์ด้วยสติแล้ว ย่อมตามรู้ด้วยปัญญา เพราะไม่มีการตามรู้ที่
ปราศจากสติ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติว่ามีประโยชน์ในที่ทั้งปวง'
คำว่า วิเนยฺย (ข่ม) หมายความว่า ในทุกขณะที่เจริญสติระลึกรู้สภาวธรรมปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติ-
ธรรมย่อมกำจัดกิเลสโดยความเป็นตทั้งคปหาน คือ ละได้ชั่วขณะ หมายความว่า ไม่มีกิเลสเกิดขึ้น
ในขณะนั้น เพราะกิเลสที่เป็นอกุศลเหมือนความมืด สติที่เป็นกุศลเหมือนความสว่าง เมื่อความสว่าง
ปรากฎขึ้นความมืดก็เกิดขึ้นไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2022, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




2012-11-16-Velum-IMG_.jpg
2012-11-16-Velum-IMG_.jpg [ 127.54 KiB | เปิดดู 1145 ครั้ง ]
นอกจากนี้ เขาย่อมกำจัดกิเลสโดยความเป็นวิกชัมภนปหาน ดีอ ละได้ด้วยการข่มเอาไว้
หมายความว่า สมาธิที่ได้รับการอุปถัมก็จากวิริยะ สติ และปัญญา ย่อมทำให้จิตละเอียดอ่อน แม้ผู้
ปฏิบัติธรรมจะมิได้เจริญสติในบางขณะ ก็ไม่เกิดความโลภหรือความโกระเหมือนในเวลามิใด้ปฏิบัติธรรม
แม้ในบางขณะที่ขาดสติเผลอคิดถึงเรื่องบางอย่างที่เป็นอดีตหรืออนาคต ก็ไม่เกิดกิเลสคังกล่าวเพราะ
สมาธิเป็นเครื่องข่มกิเลสไว้
ข้อความข้างตันปรากฏในคัมภีร์เนตติอรรถกถาว่า
วิเนยฺยาติ ตทงุควินเยน วา วิกฺขมฺภนวินเยน วา วินยิตฺวา.

"คำว่า วิเนยฺย (ข่ม) คือ ข่มไว้ด้วยการข่มโดยตทังคปหาน หรือด้วยการข่มโดยวิกขัมภน
คำว่า อภิชฌา (ความละโมบ) โดยองค์ธรรมคือ โลภเจตสิก ส่วน โทมนสส (โทมนัส) แม้โดย
องค์ธรรมคือ เวทนาเจตสิกที่เกิดทางใจ แต่ในที่นี้หมายถึงโทสเจตลิก เพราะพระพุทธองค์ทรงแสดง
กามฉันทนิวรณ์ด้วยคำว่า อภิชฌา และตรัสพยาปาทนิวรณ์ด้วยคำว่า โทมนสฺส นิวรณ์ทั้งสองอย่างนี้
มีกำลังมากในนิวรณ์ ๕ จะเห็นได้ว่าคนทั่วไปมักคิดถึงสิ่งที่เป็นอกุศลมากกว่ากุศล และส่วนใหญ่มักเป็น
เรื่องที่ตนชอบใจหรือไม่ชอบใจ ดังคัมภีร์เนตติอรรถกถากล่าวว่า
อภิชฌาดุคหเณน เจตุถ กามจฺฉนฺโท, โทมนสฺสคฺคหเณน พฺยาปาโท คหิโตติ นีวรเณสุ พลว-
ธมฺมทฺวยปฺปหานทสฺสเนน นีวรณปฺปหาน วุตตนฺติ กายานุปสฺสนาสติปฏฐานสฺส ปหานงตํ ทสฺสิตํ.

"อนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงหมายเอากามฉันทะด้วยคำว่า อภิชฌา และพยาบาทด้วยคำว่า
โทมนสฺส ดังนั้น จึงตรัสการละนิวรณ์ทั้งหลายโดยแสดงการละนิวรณ์ธรรมที่มีกำลังสองอย่าง เพราะ
เหตุนั้น จึงทรงแสดงองค์ประกอบที่ควรละของกายานุปัสสนาสติปัฏฐานไว้-

พระมหากัจจายนะกล่าวว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ (ข่มอภิชฌาและโทมนัสในโลก)
คือ สมาธินทรีย์ เพราะสมาธิเป็นปฏิปักษ์โดยตรงต่ออภิชฌาและโทมนัส การกล่าวถึงการข่มอภิชฌาและ
โทมนัสจึงเป็นการแสดงสมาธินทรีย์โดยตรง]

[๒๔] จตูสุ สติปฎฺฐาเนสุ ภาวิยมาเนสุ จตฺตาโร สมุมปฺปธานา ภาวนาปาริปูรี
คจฺฉนฺติ. จตูสุ สมฺมปฺปธาเนสุ ภาวิยมาเนสุ จตฺตาโร อิทธิปาทา ภาวนาปาริปูรี คจฉนติ.
จตูสุ อิทธิปาเทสุ ภาวิยมาเนสุ ปญฺจินฺทฺริยานิ ภาวนาปาริปูรี คจฺฉนฺติ. ปญฺจสุ อินฺทริเยสุ
ภาวิยมาเนสุ ปญฺจ พลานิ ภาวนาปาริปูรึ คจฺฉนฺติ. ปญฺจสุ พเลสุ ภาวิยมาเนสุ สตฺต โพชฺฌงฺคา

ภาวนาปาริปูรึ คจฺฉนฺติ. สตฺตสุ โพชฺฌงฺเคสุ ภาวิยมาเนสุ อริโย อฎฐงฺคิโก มคฺโค ภาวนา
ปาริปูรึ คจฺฉติ. สพฺเพว โพธงฺคมา ธมฺมา โพธิปกฺขิยา ภาวนาปาริปูรึ คจฺฉนฺติ. เกน การเณน.
สพฺเพ หิ โพธงฺคมา โพธิปกฺขิยา เนยฺยานิกลกฺขณา เอกลกฺขณา. เต เอกลกฺขณตฺตา ภาวนา-
ปาริปูรี คจฺฉนฺติ.

"เมื่อภิกษุเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ สัมมัปปธาน ๔ ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา
เมื่อเธอเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ อิทธิบาท ๔ ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา เมื่อเจริญอิทธิ.
บาท ๔ อยู่ อินทรีย์ 2 ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา เมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ พละ ๕
ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา เมื่อเจริญพละ ๕ อยู่ โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความบริบูรณ์
ด้วยภาวนา เมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา
โพธิปักขิยธรรมทั้งปวงที่ดำเนินไปสู่การตรัสรู้ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา

ถามว่า : เพราะเหตุใด
ตอบว่า : เพราะโพธิปักขิยธรรมทั้งปวงที่ดำเนินไปสู่การตรัสรู้มีลักษณะอย่างเดียว
กัน โดยสภาพนำออกจากสังสารวัฏ ธรรมเหล่านั้นย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา เพราะมี
ลักษณะเหมือนกัน"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร