วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 15:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2022, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1670984622627.jpg
1670984622627.jpg [ 59.43 KiB | เปิดดู 1620 ครั้ง ]
๓) ทำลายซี่กำ[แห่งวัฎฎจักร]
[๑๒๗] นอกจากนั้น พระองค์ประทับยืนบนพื้นปฐพีคือศีลด้วยพระบาททั้งสอง
ดีอรีริยะ ใช้พระหัตถ์แห่งศรัทธาจับขวานคือปัญญาอันทำให้กรรมหมดสิ้นไป ณโพธิบัลลังก์
ได้ทำลายซี่กำทั้งหมดของวัฎฎจักร (วงล้อแห่งวัฏฏสงสาร) ที่หมุนไปไม่มีเบื้องตัน ซึ่งถูก
ใส่ไว้ในรถคือภพสาม ประกอบด้วย :-
ก. ดุม คือ อวิชชาและภวตัณหา
ข. ซีกำ คือ อภิสังขารมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น
ค. กงล้อ คือ ชราและมรณะ
ฆ. เพลา คือ อาสวสมุทัย(เหตุเกิดอาสวะ)
ดังนั้น พระองค์จึงพระนามว่า อรหันต์ (ผู้ทำลายซี่กำของวัฏฏจักร)
เพราะทำลายซี่กำ(ของสัฏฏจักร)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2022, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




7in.jpg
7in.jpg [ 22.69 KiB | เปิดดู 929 ครั้ง ]
คำว่า อรหํ ตามความหมายนี้ คือ "ผู้ทำลายซี่กำ(ของวัฏฏจักฎ" มาจาก อรา
(ซี่กำ) + หน (ผู้ทำลาย) รัสสะ อา ใน รา, ลบ น ที่สุดธาตุ และลงนิคคหิตเป็นอาคมด้วย
นิรุตตินัย มีรูปวิเดราะห์ว่า
- อรา หนีติ อรห = ผู้ทำลายซีกำแล้ว ชื่อว่า อรหัง (อรา บทหน้า + หน ธาตุ
<หึสาดตีสุ = เบียดเบียน, ไป> + กวิ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ)

วงล้อแห่งวัฏฏฎสงสารประกอบด้วยดุม ซี่กำ กงล้อ และเพลา และถูกใส่ไว้ในรถ (รัก)
ภพสาม จึงหมุนไปไม่หยุดในภพชาติต่างๆ ภพแล้วภพเล่าจนไม่ปรากฎเบี้องต้น
รถ คือ ภพสาม ได้แก่ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ โดยองค์ธรรมคือวิบากขันธ์
และกฏัตตารูป (กรรมชรูป)
ดุม คือ ส่วนกลางของล้อเกวียนหรือล้อรถที่มีรูสำหรับสอดเพลา ซึ่งจัด
ส่วนประกอบหลักดำรงอยู่เสมอกันทั้งด้านในและด้านนอก หมายถึง อวิชชา (ความไม่รู้
อริยสัจ ๔) และภวตัณหา (ความพอใจในภพ)

ซี่กำ คือ ซี่ล้อรถหรือเกวียน ประกอบกับดุมและกงล้อ หมายถึง อภิสังขารมื
ปุญญาภิสังขารเป็นตันที่เกี่ยวเนื่องกับอวิชชาและตัณหาที่เป็นเหตุซึ่งเปรียบได้กับดุม แล:
ชรามรณะที่เป็นผลซึ่งเปรียบได้กับกงล้อ

อภิสังขาร ๓ อย่าง คือ
๑. ปุญญาภิสังขาร โดยองค์ธรรมคือ เจตนาเจตสิกที่ประกอบในมหากุศลจิต
(กามาวจรกุศลเจตนา) ๘ ดวงในกามภูมิ และที่ประกอบในรูปาวจรกุศลจิต (รูปาวจรกุตล-
เจตนา) ๕ ดวงในรูปภูมิ
๒. อปุญญาภิสังขาร คือ เจตนาที่ประกอบในอกุศลมูลจิต (อกุศลเจตนา) ๑๒ ดวง
๓. อาเนญชาภิสังขาร คือ เจตนาที่ประกอบในอรูปาวจรกุศลจิต (อรูปาวจร-
กุศลเจตนา) ๔ ดวงในอรูปภูมิ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2022, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ซี่กำ หมายถึง องค์ธรรมอื่นๆ ที่เป็นห่วงโซ่ที่อยู่ในระหว่างกลางของปฏิจจสมุปบาท
เริมตั้งแต่สังขารจนถึงชาติ การทำลายชื่กำทำให้ล้อไม่สามารถหมุนไปได้ ฉันใด การทำลาย
ห่วงโซ่ที่เป็นเหตุและผลในระหว่างกลางของปฏิจงสมุปบาท ก็ทำให้วงล้อแห่งภพไม่สามารถ
หมุนไปได้ ฉันนั้น หมายความว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำลายอภิสังขารคือบุญและบาปได้
แล้ว จึงไม่มีวิญญาณและนามรูปเป็นต้นไปจนถึงชาติ เมื่อพระองค์ไม่มีการเกิดขึ้นของ
รูปนามคือซาติเช่นนี้ จึงทำลายซี่กำอันเป็นห่วงญโซ่ที่ทำให้ภพคือรูปนามขันธ์ ๕ เกิดขึ้นต่อไ

กงล้อ คือ ส่วนรอบของล้อรถหรือเกวียน หมายถึง ชราและมรณะ เพราะเป็นที่สุด
ในภพนั้นๆ เหมือนกงล้อที่อยู่ริมสุด
เพลา คือ แกนสำหรับสอดในตุมรถหรือดุมเกวียน หมายถึง อาสวสมุทัย (เหตุเกิด
คืออาสวะ) กล่าวคือ เพลาเป็นเหตุหลักให้รถแล่นไปได้ ฉันใด อาสวะก็เป็นเหตุหลักของการ
หมุนไปแห่งวัฏฏจักร ฉันนั้น เพราะอวิชชาในอดีตเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาในปัจจุบัน

พระพุทธดำรัสว่า
อาสวสมุทยา อวิชฺชาสมุทโย
"การเกิดขึ้นของอวิชซาย่อมมีเพราะการเกิดขึ้นของอาสวะ"
อวิชฺชมฺปาหํ ภิกฺขเว สาหารํ สนิทานํ วทามิ. โก จสฺสา อาหาโร. ปญฺจนีวรณาติสฺส
วจนียํ.

"ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกล่าวอวิชชาว่า มีเหตุ มีที่ตั้ง อะไรคือเหตุของอวิชชา
พึงกล่าวว่านิวรณ์ ๕"
อวิชฺชา ปจฺจโย, สงฺขารา ปจฺจยสมุปปนฺนา, อุภยเมตํ ปฏิจฺจสมุปปนน่
"อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเป็นปัจจยุปบัน ทั้งสองอย่างนั้นเกิดขึ้นอาศัยเหตุ"
อาสวะ คือ กิเลสที่หมักดองในกระแสจิต จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2022, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑ㆍ กามาสวะ ความผูกพันในกามคุณ ได้แก่ โลภะ
๒ . ภว่าสวะ ความผูกพันในภพ ได้แก่ โลภะ
๓. ทิฏฐาสวะ ความผูกพันในทิฏฐิ ได้แก่ ทิฏฐิ
๔. อวิชชาสวะ ความผูกพันในอวิชชา ได้แก่ โมหะ

(๑๒๔] อีกอย่างหนึ่ง วัฏฏจักร คือ สังสารวัฏอันไม่ปรากฏเบื้องตัน กงลัอ
ดังกล่าว :-
ก. มีอวิชชาเป็นดุม เพราะเป็นมูลเหตุ
ข. ขราและมรณะ เป็นกงล้อ เพราะเป็นที่สุด
ค. ปฏิจจสมุปบาทธรรมที่เหลือ ๑๐ อย่าง (ตั้งแต่สังขารจนถึงชาติ] เป็นซี่กำ
เพราะมีอวิชชาเป็นมูลเหตุและชราและมรณะเป็นที่สุด

ตามนัยแรกท่านกล่าวเปรียบสังสารวัฏว่าเหมือนวงล้อที่ประกอบด้วยดุม ซีกำ กงล้อ
และเพลา บัดนี้ ท่านกล่าวนัยที่ ๒ เพื่อแสดงสังสารวัฏตามลำดับของปฏิจจสมุปบาทเทศนา

คำว่า อนมตคฺค (ไม่ปรากฏเบื้องตัน) แปลตามศัพท์ว่า "มีส่วนขอบเขตที่บุคคลไบ
ตามแล้วไม่รู้" คำนี้มาจาก อนุ (ไปตาม) + อมต (ไม่รู้) + อคุค (ส่วน/ขอบเขต) หมายความ
ว่า เมื่อบุคคลพิจารณาไปตามชาติก่อนๆ สืบต่อกันมา ไม่อาจทราบว่าสังสารวัฏมีเบื้องต้น
อย่างไร กล่าวคือ ในภพปัจจุบันมีผลคือวิญญาณและนามรูป เป็นต้น จึงทราบได้ว่าในภพ
ก่อนต้องมีอวิชชาและตัณหาเป็นตันที่เป็นเหตุของผลนั้น และในภพนั้นเหตุคืออวิชชาและ
ตัณหาเป็นตันเกิดขึ้นอาศัยผลคือวิญญาณเป็นตัน ดังนั้น แม้เหตุของผลดังกล่าวก็ต้องเคย
เกิดขึ้นในกพก่อนจากนั้น และเพราะผลอันเป็นที่อาศัยของเหตุนั้นมีอยู่ในภพนั้น แม้เหตุของ
ผลดังกล่าวก็ต้องมีในกพก่อนกว่านั้น ด้วยเหตุตังกล่าว เมื่อพิจารณาหาเหตุปัจจัยสืบต่อกัน
มา ก็ไม่อาจพบเบื้องตันของสังสารวัฏได้ ดังนั้น สังสารวัฏคือการเกิดขึ้นของรูปนามขันธ์ ๕
จึงไม่ปรากฎเบื้องต้น คือ ไม่มีเบื้องต้นนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2022, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




PhotoRoom-20230403_133753.png
PhotoRoom-20230403_133753.png [ 136.05 KiB | เปิดดู 370 ครั้ง ]
อนมตคฺโตยํ ภิกฺขเว สํสาโร, บุริมา โกฏิ น ปญฺญายติ อวิชฺชานีวณานํ
ตณฺหาสญฺโญชนานํ สนฺธาวตํ ส่สรต่ "
"ภิกษุทั้งหลาย สังสารวัฏนี้ไม่ปรากฏเบื้ยงตัน ส่วนเบื้องต้นยอมไม่บรากฎแก่
เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ทองเที่ยวไปมาอยู่
คำว่า อนมตคฺค มีรูปวิเคราะห์ว่า
-น มโต อมโต - ขอบเขตอันบุคคลไม่ได้ ชื่อว่า อมตะ (นนิบาทบุรพบท
กรรมธารยสมาส)
- อนุคนฺตฺวาปื อมโต อนมโต - ขอบเขคอันบุคคลแม้ไปตามแล้วก็รู้ไม่ได้ซื้อว่า
อนมตะ (ปาทิบุรพบทกรรมธารยสมาส)
- อนมโต อคฺโค อสฺสาติ อนมตคฺโค - สังสารวัฏที่มีขอบเขตอันบุคคลแม้ไปตาม
แล้วก็รู้ไม่ได้ ชื่อว่า อนมตัคคะ (ฉัฏฐิพหุพพีหิสมาส)
ดังข้อความว่า
อนมตคฺโคติ อนุ อมตคฺโค วสฺสสตํ วสฺสหสฺสํ ญาเณน อนุคนฺตฺวาปี ยมตคฺโค
อวิทิตคฺโค นาสฺส สกฺกา อิโต วา เอตฺโต วา อคฺคํ ชานิตุํ อปริจฺฉินฺนปุพฺพาปรโกฏิโกติ อตุโถ
"คำว่า อนมตคฺโค (มีขอบเขตอันบุคคลแม้ไปตามแล้วก็รู้ไม่ได้) หมายความว่า
สังสารวัฏมีขอบเขตอันบุคคลแม้ไปตามแล้วด้วยญาณตลอดร้อยปีพันปีก็ไม่อาจรู้ขอบเขตได้
ว่ามาจากภพนี้หรือภพนั้น ความหมายคือ มีส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลายที่กำหนดไมได้
ยกเว้นปัจฉิมภวิกะคือผู้เกิดเป็นชาติสุดท้ายเป็นตัน!"
อคฺคสทฺโท อิธ มริยาทวจโน."
"อคฺค ศัพท์ในบทนี้แสดงความหมายว่า มริยาท (ขอบเขต)"
ตตฺถ อนมตคฺคํ สํสารวฏฺฏนฺติ อนุ อนุ อมตคุคํ อวิญฺญาตโกฏิกํ สํสารมณฑลํ "
"ในพากย์นั้น คำว่า อนมตคฺดํ ส่สารวฎฺฏ (สังสารวัฏอันไม่ปรากฎเบื้องตัน)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2022, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




PhotoRoom-20230401_083250.png
PhotoRoom-20230401_083250.png [ 233.57 KiB | เปิดดู 372 ครั้ง ]
หมายความว่า สังสารวัฏที่บุคคลไปตามแล้วไม่รู้ขอบเขต"
ในเรื่องนั้นขยายความว่า คมไม่รู้ในทุกข์เป็นต้น ชื่อว่า อวิชชา (ความรู้ผิด) อนึ่ง

๑. อวิชชาที่ปกปิดโทษในกามภพเป็นปัจจัยแก่สังขาร[ที่นับเข้า]ในกามภพ
วิชชาในรูปภพเป็นปัจจัยแก่สังขารในรูปภพ อวิชชาในอรูปภพเป็นปัจจัย
อรูปภพ
๒. สังขารในกามภพเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิวิญญณในกามภพ ในรูปภพและ
อรูปภพอื่นก็เช่นเดียวกัน
๓. ปฏิสนธิวิญาณในกามภพเป็นปัจจัยแก่นามรูปในกามภพ ในรูปภพก็เช่น
เดียวกัน ส่วนในอรูปภพ ปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามอย่างเดียว
๔. นามรูปในกามภพเป็นปัจจัยแก่อายตนะ ๖ ในกามภพ นามรูปในรูปภพเป็น
ปัจจัยแก่อายตนะ ๓ [คือ จักขายตนะ โสตายตนะ และมนายตนะ) ในรูปภพ นามในอรูป-
ภพเป็นปัจจัยแก่อายตนะ ๑ [คือ มนายตนะ] ในอรูปภพ

๕. อายตนะ ๖ ในกามภพเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ ๖ ในกามภพ อายตนะ ๓ ใน
รูปภพเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ ๓ (คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส และมโนสัมผัส ในรูปภพ อายตนะ
๑ ในอรูปภพเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ ๑ [คือ มโนสัมผัส] ในอรูปภพ
๖. ผัสสะ ๖ ในกามภพเป็นปัจจัยแก่เวทนา ๖ ในกามภพ ผัสสะ ๓ ในรูปภพ
เป็นปัจจัยแก่เวทนา ๓ [คือ เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทั้ง ๓] ในรูปภพ ผัสสะ ๑ ในอรูปภพ
เป็นปัจจัยแก่เวทนา ๑ (คือ เวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัส] ในอรูปภพ
๗. เวทนา ในกามภพเป็นปัจจัยแก่กองตัณหา ๖ ในกามภพ เวทนา ๓
ในรูปภพเป็นปัจจัยแก่กองตัณหา ๓ ในรูปภพ เวทนา ๑ ในอรูปภพเป็นปัจจัยแก่กอง
ตัณหา ๑ ในอรูปภพ
๘. ตัณหานั้นๆ ในภพนั้นๆ เป็นปัจจัยแก่อุปาทานนั้นๆ อุปาทานเป็นต้นปัจจัยแก่ภพเป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2022, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความว่า "เป็นปัจจัย" หมายถึง การอุปถัมภ์ค้ำจุนด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อ
ให้เกิดผลที่เนื่องกัน ความเป็นปัจจัยนี้ก็คือความสมารถที่เป็นเหตุปัจจัยและอารัมมณปัจจัย
เป็นต้น กล่าวคือ อวิชชา -
๑. เป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขาร ๒ อย่าง โดยความเป็นอารัมมณปัจจัย และ
อุปนิสสยปัจจัย
๒, เป็นปัจจัยแก่อปุญญาภิสังขารที่เกิดร่วมกันโดยความเป็นสหชาตปัจจัยเป็นต้น,
ที่ไม่เกิดร่วมกันโดยความเป็นอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัยเป็นต้น และที่มีขณะต่างกัน
โดยความเป็นอารัมมณปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัย
๓. เป็นปัจจัยแก่อาเนญชาภิสังขารคือสังขารในอรูปภพโดยความเป็นอุปนิสสย-
คำว่า ตณุหากาย (กองตัณหา) คือ ตัณหาที่กระหายรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ
ธรรมารมณ์ แบ่งออกเป็นกองรูปตัณหา เป็นต้น

ถามว่า : เป็นปัจจัยอย่างไร
ตอบว่า : บางคนในโลกนี้คิดว่า เราจะบริโภคกามคุณ แล้วประพฤติทุจริตทาง
กาย วาจา ใจ เพราะกามุปาทานเป็นปัจจัย เขาย่อมไปเกิดในอบายเพราะมีทุจริตมาก
[อกุศล]กรรมอันเป็นเหตุให้ไปเกิดในอบายนั้นของเขาเป็นกรรมภพ ขันธ์ที่เกิดขึ้นเพราะ
กรรมเป็นอุปปัตติภพ ความบังเกิดแห่งขันธ์เป็นชาติ ความแก่หง่อมเป็นชรา ความแตก
สลายไปเป็นมรณะ

อีกคนหนึ่งปรารถนาว่า เราจะเสวยสวรรค์สมบัติ แล้วประพฤติสุจริตเหมือน
อย่างนั้น (คือ ทางกาย วาจา ใจ เพราะกามุปาทานเป็นปัจจัย] เขาย่อมไปเกิดในสวรรค์
เพราะมีสุจริตมาก (กุศล]กรรมอันเป็นเหตุให้ไปเกิดในสวรรค์นั้นของเขาเป็นกรรมภะ
พึงทราบนัยนั้นอย่างนี้

อีกคนหนึ่งปรารถนาว่า เราจะเสวยสมบัติในพรหมโลก แล้วเจริญเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2022, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




PhotoRoom-20230401_083310.png
PhotoRoom-20230401_083310.png [ 144.09 KiB | เปิดดู 372 ครั้ง ]
เพราะกามุปาทานเป็นปัจจัย เขาย่อมไปเกิดในพรหมโลกเพราะภาวนา
บริบูรณ์(ภาวนา)กรรมอันเป็นเหตุให้ไปเกิดในพรหมโลกนั้นของเขาเป็นกรรมภพ พึงทราบ
นัยนั้นเหมือนกัน

แม้ภวราคะที่พอใจรูปภพจัดเป็นกามุปาทาน เพราะพระพุทธองค์ตรัสว่า
สพฺเพปิ เตภูมกา ธมฺมา กามนียฏฺเฐนกามา (ธรรมที่นับเข้าในภูมิ ๓ ทั้งหมดชื่อว่ากามโดยความหมาย
ว่า น่ายินดีพอใจ) ฉะนั้นจึงกล่าวว่า กามุปาทานปจฺจยา เอว เมตฺตํภาเวติ (เจริญเมตตาเพราะ
กามุปาทานเป็นปัจจัย)

อีกคนหนึ่งปรารถนาว่า เราจะเสวยสมบัติในอรูปภพ แล้วเจริญอากาสานัญจายตนะ
สมาบัติเป็นต้นเหมือนอย่างนั้น (คือ เพราะกามุปาทานเป็นปัจจัย] เชาย่อมไปเกิดในอรูปภพ
นั้นๆ เพราะภาวนาบริบูรณ์ (ภาวนา)กรรมอันเป็นเหตุให้ไปเกิดในอรูปภพนั้นของเขาเป็น
กรรมภพ ขันธ์ที่เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นอุปปัตติภพ ความบังเกิดแห่งขันธ์เป็นชาติ ความแก่
หง่อมเป็นชรา ความแตกสลายไปเป็นมรณะ (นี้คือการประกอบความที่มีกามุปาทานเป็นปัจย
แม้การประกอบความที่มีอุปาทานที่เหลือเป็นปัจจัยก็เช่นเดียวกัน

โดยประการดังนี้ พึงขยายทุกบทให้พิสดารตามนัยนี้(ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค)ว่า
อย่ อวิชฺชา เหตุ,สงฺขารา เหตุสมุปปนฺนา. อุโภเปเต เหตุสมุปปนนาติ ปจจยปริ.
คเห ปญญา ธมฺมภูฐิติญาณํ อดีตม์ปี อทฺธานํ อนาคตมฺปี อทฺธานํ อวิชชา เหตุ สงฺขารา
เหตุสมุปปนฺนา, อุโภเปเต เหตุสมุปปนฺนาติ ปจฺจยปริคคเห ปญญา ธมฺมฎฐิติญาณํ

"อวิชชาเป็นเหตุ สังขารเป็นผลที่เกิดจากเหตุ แม้อวิชชาและสังขารทั้งสองนั้นก็เป็น
ผลที่เกิดจากเหตุ ปัญญาที่กำหนดปัจจัยดังกล่าว ชื่อว่า ธัมมัฏฐิติญาณ (ปัญญาเข้าใจเหตุ
ดำรงอยู่ของสภาวธรรม)

อวิชชาในอดีดกาลและอนาคตกาล เป็นเหตุ สังชารเป็นผลที่เกิดจากเหตุ แม้อวิชชา
และสังขารทั้งสองนั้นก็เป็นผลที่เกิดจากเหตุ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยดังกล่าว ชื่อว่า
ธัมมัฏฐิติญาณ
แม้อวิชชาก็เกิดจากอาสวะมีกามาสวะเป็นต้น จึงเป็นผลเหมือนสังขาร ฉะนั้นจีง
กล่าวว่า "แม้อวิชชาและสังขารทั้งสองนั้นก็เป็นผลที่เกิดจากเหตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2022, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




2166414182 (1).jpg
2166414182 (1).jpg [ 112.9 KiB | เปิดดู 1007 ครั้ง ]
ธัมมัฏฐิติญาณ คือ ปัญญาเข้าใจเหตุดำรงอยู่ของสภาวธรรม หมายถึง ปัจจย-
ปริคคหญาณ คือ ปัญญากำหนดเหตุปัจจัยของรูปนาม แม้ปัญญาดังกล่าวจะมีลักษณะ
เช่นนั้นก็ยังเกี่ยวกับผลที่เกิดจากเหตุปัจจัยอีกด้วย เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติยังไมรู้เห็นผลที่ไม่อาจ
รู้เห็นเหตุปัจจัยได้ ดังข้อความว่า

กามญฺเจตฺถ ปจฺจยปริคฺคเห ปญฺญาเยว ธมฺมฎฺฐิติญาณํ สงฺขาเรสุ ปน อทิฎฺเฐสุ
อวิชฺชาย สงฺขารานํ ปจฺจยภาโว น สกฺกา ทฏฺฐุนฺติ "สงฺขารา เหตุสมุปฺปนฺนาติ ปจฺจยุปฺปนฺน
ธมฺมานมฺบิ คหณํ กตนฺติ เวทิตพฺพ่ "

"อนึ่ง แม้ปัญญาในการกำหนดเหตุปัจจัยจะเป็นธัมมัฏฐิติญาณในเรื่องนี้ แต่เมื่อ
ผู้ปฏิบัติไม่รู้เห็นสังขาร ก็ไม่อาจรู้เห็นว่าอวิชชาเป็นเหตุปัจจัยของสังขาร ดังนั้น จึงควร
ทราบว่าท่านได้กระทำการถือเอาธรรมที่เป็นปัจจยุปบัน (ผลที่เกิดจากเหตุ) ว่า สงขารา เหตุ-
สมุปปนนา (สังขารเป็นผลที่เกิดจากเหตุ)" อีกด้วย

ในวัฏฏจักรนั้น :-
ก. อวิชชาและสังขาร เป็นกลุ่ม - จัดเป็นอดีตกาล
ข. วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา เป็นกลุ่ม ๔ จัดเป็น
ปัจจุบันกาล
ค. ตัณหา อุปาทาน และภพ เป็นกลุ่ม ๑ จัดเป็นปัจจุบันกาล
ฆ. ชาติ ชราและมรณะ เป็นกลุ่ม ๑ จัดเป็นอนาคตกาล
ใน ๔ กลุ่มเหล่านี้ ตัณหา อุปาทาน และภพ (ที่เป็นฝ่ายเดียวกัน] ย่อมแสดงไว้
ด้วยคำว่า อวิชชาและสังขาร(ในกลุ่มที่เป็นอดีต] (เพราะเป็นกิเลสและกรรมเหมือนกัน
เนื่องจากอวิชชาและสังขารไม่อาจทำหน้าที่ของตนได้โดยปราศจากตัณหาเป็นต้นนั้น]
ดังนั้น :-
ก. (ผล)ธรรม ๕ อย่างนี้ (มีวิญญาณเป็นต้น] เป็นกรรมวัฏ (วัฎฝ่ายกรรม)
ในอดีต
ข. [ผล]ธรรม ๕ อย่างดังกล่าว เป็นวิปากวัฏ (วัฎฝ้ายวิบาก) ในปัจจุบัน
ค. [ผล]ธรรม ๕ อย่างดังกล่าว เป็นกรรมวัฏในปัจจุบัน เพราะอวิชชาและสังขาร
ที่เป็นฝ่ายเดียวกันถูกแสดงไว้ด้วยคำว่า ตัณหา อุปาทาน และภพ [ในกลุ่มที่เป็น
ปัจจุบัน]
ฆ. (ผล]ธรรม ๕ อย่างดังกล่าว เป็นวิปากวัฎในอนาคต เพราะได้แสดงวิญญา
เป็นตันอันเป็นที่ตั้งของชาติเป็นต้น]ด้วยคำว่า ชาติ ชรา และมรณะ
แก่ และดับของวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา ได้ชื่อว่า ชาติ ขรา และ
มรณะ]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2022, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างหนึ่ง อาการ ศัพท์เป็นคำไวพจน์ของ ปการ ศัพท์ แปลว่า ประเภท คือ ประเภทของสภาวธรรมมีอดีตเหตุเป็นต้น

นอกจากนั้น ในวัฏฏจักรนี้
ก. ที่เชื่อมต่อ ๑ คือ ระหว่างสังขาร (อดีตเหตุ] กับวิญญาณ (ปัจจุบันผล)
ข. ที่เชื่อมต่อ ๑ คือ ระหว่างเวทนา (ปัจจุบันผล] กับตัณหา [ปัจจุบันเหตุ)
ค, ที่เชื่อมต่อ ๑ คือ ระหว่างภพ (ปัจจุบันเหตุ] กับชาติ [อนาคทผล]

ที่เชื่อมต่อที่เรียกว่า สันธิ คือ เชื่อมต่อระหว่างกลุ่มของเหตุและกลุ่มของผลรวน
๓ แห่ง คือ

๑. ระหว่างอดีตเหตุคือสังขาร กับปัจจุบันผลคือวิญญาณ
๒, ระหว่างปัจจุบันผลคือเวทนา กับปัจจุบันเหตุคือตัณหา
๓. ระหว่างปัจจุบันเหตุคือภพ กับอนาคตผลคือชาติ
คำว่า สนุธิ (ที่เชื่อมต่อ) มีรูปวิเคราะห์ว่า

- สนุธิยตีติ สนุธิ = สภาวะอันเป็นที่เชื่อมต่อ ชื่อว่า สันธิ (สํ บทหน้า +
<ธารเณ = ทรงไว้> + อิ ปัจจัยในกรรมสาธนะ)

โดยประการดังนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรู้เห็น เข้าใจ แทงตลอดปฏิจจสมุปบาทมีกลุ่ม ๔ กาล ๓ ส่วน ๒๐ ที่เชื่อมต่อ ๓ เหล่านี้โดยสิ้นเชิง

สรุปความว่า การจำแนกปฏิจจสมุปบาทโดยองค์ประกอบ มีดังนี้
๑. ตันเหตุ ๒ ได้แก่ อวิชชา (ความไม่รู้) และตัณหา (ความทะยานอยาก)
๒. สัจจะ ๒ ได้แก่ สมุทยสัจ (ความจริงเกี่ยวกับเหตุ) และทุกขสัจ (ความจริงเกี่ยวกับทุกข์

๓. กลุ่ม ๔ คือ

๓. ๑ อดีตเหตุ ได้แก่ อวิชชา (ความไม่รู้) สังขาร (การขวนขวายกระทำกร
ตัณหา (ความทะยานอยาก) อุปาทาน (ความยืดมั่น) และกรรมภพ
(เจตนาในการทำกรรม)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2022, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


:b35: ๓ ๒ ปัจจุบันผล ได้แก่ วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ และเวทนา
๓ ๓ ปัจจุบันเหตุ ได้แก่ ตัณหา อุปาทาน กรรมภพ อวิชชา สังขาร
๓ ๔ อนาดตผล ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ และวิญญาณ นามรูป เป็นต้น

๔. วัฏฏะ ๓ คือ
๔.๑ กิเลสวัฏ
ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน
๔.๒ กรรมวัฏ
ประกอบด้วยกรรมภพ และสังขาร
๔.๓ วิปากวัฎ
ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา
ชาติ ชรา และมรณะ

๕. ที่เชื่อมต่อ ๓ คือ
๕ ๑ ที่เชื่อมต่อระหว่างอดีตเหตุ (สังขาร) กับปัจจุบันผล (วิญญาณ)
๕.๒ ที่เชื่อมต่อระหว่างปัจจุบันผล (เวทนา) กับปัจจุบันเหตุ (ตัณหา)
ที่เชื่อมต่อระหว่างปัจจุบันเหตุ (กรรมภพ) กับอนาคตผล (ชาติ)

๖. องค์ธรรม ๑๒ คือ
๖.๑ อวิชชา
๖.๒ สังขาร
๖.๓ วิญญาณ
๖.๔ นามรูป
๖.๕ อายตนะ
๖.๖ ผัสสะ
๖.๗ เวทนา
๖.๘ ตัณหา
๖.๙ อุปาทาน
๖.๑๐ กรรมภพ
๖.๑๑ ชาติ
๖.๑๒ ชราและมรณะ

๗. กาล ๓ คือ
๗.๑ อดีตกาล ประกอบด้วยอวิชชา และสังขาร
๗.๒ ปัจจุบันกาล ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา
ตัณหา อุปาทาน กรรมภพ
๗.๓ อนาคตกาล ประกอบด้วยชาติ ชราและมรณะ

๘. อาการ ๒๐ คือ
๘ .๑ อดีตเหตุ ๕ ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน สังขาร กรรมภพ
๘.๒ ปัจจุบันผล ๕ ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา
๘.๓ ปัจจุบันเหตุ ๕ ประกอบด้วยตัณหา อุปาทาน กรรมภพ อวิชชา สังขาร
๘.๔ อนาคตผล ๕ ประกอบด้วย ชาติ ชรา และมรณะ( วิญญาณ นามรูป อายตนะ
เวทนา เหมือนปัจจุบันผล)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร