วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 10:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2022, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




97d630507853de7d27e943f072c09a08.jpg
97d630507853de7d27e943f072c09a08.jpg [ 78.34 KiB | เปิดดู 1488 ครั้ง ]
กระบวนการของปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลมจากอวิชชาเป็นต้น สรปได้ดังนี้
อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ ซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปไม่เห็นความไม่ยั่งยืน ความ
ทุกข์ และความไม่มีแก่นสารของอารมณ์ทั้งหลาย ผู้คนจึงคิด พูด และทำสิ่งต่างโดยหวัง
จะได้รับความสุขในโลกนี้และโลกหน้า การคิด พูด และการกระทำทางกายทั้งที่เป็นบุญและ
บาป เรียกว่า สังขาร (การขวนขวายทำกรรม)

สังขารดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดภพใหม่ บุคคลที่ใกล้จะเสียชีวิตจะได้รับอารมณ์ที่เป็น
กรรม กรรมนิมิต (เครื่องหมายของกรรม) หรือคตินิมิต (เครื่องหมายของภพข้างหน้า)
อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่จิตยึดหน่วงไว้ในขณะใกล้เสียชีวิตนี้ เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เกิด
ปฏิสนธิวิญญาณนภพใหม่ และเมื่อปฏิสนธิวิญญาณดับไป ก็เกิดภวังคจิตต่อมาโดยยังมีกรรม
กรรมนิมิต หรือคตินิมิตเป็นอารมณ์เช่นเดิม

เมื่อมีรูปหรือเสียงเป็นต้นมากระทบตาหรือหู ภวังคจิตก็เกิดการไหวตัว แล้ว
จักขุวิญญาณหรือโสตวิญญาณก็เกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ที่มากระทบ การเห็นและการได้ยินป็นต้น
นี้เป็นผลของสภาวธรรมทางจิต ซึ่งมีสังขารเป็นปัจจัยปรุงแต่ง อารมณ์ที่เห็นหรือได้ยินเป็นต้น
นั้นมีทั้งดีและไม่ดี จึงเป็นเหตุให้เกิดจักขุวิญญาณหรือโสตวิญญาณที่ดีหรือไม่ดึ ซึ่งเป็นผล
ของกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่ได้ทำมาในอดีตชาติ

การเกิดขึ้นของปฏิสนธิวิญญาณมักมีเจตสิกและรูปเกิดขึ้นพร้อมกันด้วย ดังนั้น
จึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป และวิญญาณก็เป็นเหตุให้เกิดอายตนะ ๖ และ
อายตนะก็เป็นเหตุให้เกิดผัสสะ ๖ ซึ่งหมายถึงการประชุมกันของทวาร อารมณ์ และจิต
ผัสสะเป็นปัจัยให้เกิดเวทนา (ความรู้สึก) ซึ่งอาจจะเป็นความพอใจ (สุขเวทนา) หรือความ
ไม่พอใจ (ทุกขเวทนา) หรือความรู้สึกวางเฉย (อุเบกขาเวทนา) แล้วแต่อารมณ์ที่มากระทบ
ถ้าอารมณ์นั้นเป็นรูปที่สวยงามเราจะรู้สึกพอใจ ถ้าเป็นรูปที่น่าเกลียดเราก็จะรู้สึกไม่พอใจ
ส่วนรูปที่เป็นกลางๆ คือไม่สวยและไม่น่าเกลียดก็จะทำให้เรารู้สึกวางเฉยหรืออุเบกขาเวทนา

เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา คือ อารมณ์ที่น่าพอใจก่อให้เกิดความยึดมั่นและ
ต้องการอารมณ์ที่ดียิ่งขึ้นอีก ส่วนอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจก่อให้เกิดความต้องการที่จะกำจัดให้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2022, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พ้นไป และอารมณ์ที่เป็นปานกลามย่อมก่อให้เกิดความต้องการจะได้ในสิ่งที่ดีว่า โดยทำให้
ไม่พืงพอใจกับสภาพที่เป็นอยู่ ทั้งหมดนี้แสดงถึงการที่เวทนาเป็นปไปให้เกิดตัณหา
ในขณะที่มีการเห็นเกิดขึ้น จักขุวิญญาณย่อมเกิดหร้อมกับนามรูป อายตนะ ผัสสะ
และเวทนา สำหรับคนธรรมดาที่ยังมีกิเลส เวทนาย่อมก่อให้เกิดตัณหา และตัณหาย่อมก่อให้
เกิดอุปาทาน (ความยึดมั่น) ที่เป็นเหตุให้เขาพยายามกระทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว (กรรมภพ)
เมื่อกรรมภพได้รับปัจจัยที่เหมาะสมย่อมเป็นเหตุให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งเป็นเหตุให้มี
ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความเศร้าโศก และความทุกข์กาย ทุกข์ใจอย่างอื่นๆ อีก
ตามมา ตัณหาจึงเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ในวัฎสงสาร

ผู้ปฏิบัติธรรมที่แทงตลอดปัญญารู้เห็นอารมณ์ต่างๆ เช่น รูปารมณ์ สัททารมณ์
ตามความเป็นจริงด้วยการปฏิบัติวิปัสสนาอย่างถูกต้อง และสามารถดับตัณหาความพอใจใน
อารมณ์ด้วยตทังคปหาน ซึ่งหมายถึง การดับตัณหาด้วยวิปัสสนาปัญญาที่มีลักษณะตรงกัน
ข้าม การดับของตัณหาส่งผลให้ไม่มีการเกิดของอุปาทาน กรรมภพ ชาติ เป็นต้น หลังจาก
ผู้ปฏิบัติธรรมได้ดับตัณหาด้วยวิปัสสนาญาณแล้ว ต่อมาจะสามารถดับอนุสัยกิเลสได้อย่าง
สิ้นเชิงด้วยวิปัสสนาญาณในอริยมรรค และเมื่ออนุสัยกิเลสดับ สภาวธรรมอื่นๆ ที่เป็นผลของ
ตัณหาก็จะดับสนิทลงด้วย

หากมีความประสงค์จะหยุดวัฏฏะทั้ง ๓ ไม่ให้หมุนเวียนต่อไป ก็จำเป็นต้องทำลาย
เหตุของวัฎฏะ ซึ่งได้แก่กิเลสวัฏ (วนเวียนกิเลส) เนื่องจากกิเลสเกิดขึ้นในขณะที่เห็นและขณะ
ที่ได้ยินเป็นตัน เราจึงจำเป็นต้องเจริญสติในขณะที่เห็นและขณะที่ได้ยินเป็นต้นเพื่อป้องกัน
ไม่ให้กิเลสมีโอกาสเกิดขึ้น การเจริญวิปัสสนาจนกระทั่งเกิดมรรคญาณจะทำให้ผู้ปฏิบัติธรรม
รับรู้ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีแก่นสารของสภาวธรรมทั้งปวง เพื่อจะไม่มี
ความหลงผิด และเป็นอิสระจากกิเลสวัฏ กรรมวัฏ และวิปากวัฏ

ตัวอย่างเช่น การไม่รู้ถึงสภาวะเห็น ได้ยิน เป็นต้นตามความเป็นจริง จัดเป็นอวิชชา
ที่หลงผิดว่าเป็นตัวเรา ของเรา ที่เที่ยง เป็นสุข บังคับบัญชาได้ และเป็นสิ่งที่ดีงามน่าปรารถนา
เมื่อหลงผิดย่อมเพลิดเพลินยินดี จัดเป็นตัณหา ต่อจากนั้นจึงยึดมั่นด้วยอุปาทาน ทั้งสาม
อย่างนี้เป็นกิเลสวัฏ ผู้ที่ยึดมั่นอยากจะได้มาเป็นสมบัติของตนย่อมทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว
สังขารและกรรมภพจึงเกิดขึ้นเป็นกรรมวัฏอีก หลังจากนั้นวิปากวัฎทั้ง ๕ อย่าง คือ วิญญาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2022, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1672269322602.jpg
FB_IMG_1672269322602.jpg [ 70.67 KiB | เปิดดู 1332 ครั้ง ]
นามรูป อายตนะ ผัสละ และเวทนา ย่อมเกิดขึ้นในภพต่อไปโดยเป็นผลของกรรมวัฏ ส่งผล
ให้ชาติ ชรา มรณะ รวาไปถึงความเศร้าโศกเป็นต้น แม้ในภพหนี่ง ๆ กิเลสวัฏและ
กรรมวิฏภัเกิดขึ้นโดยอาศัยวิปากวัฏอีกเป็นห่วงโซที่ไม่มีวันจบสิ้นตราบที่ยังมีตันตอ คืออวิชชา
ตัณหาอยู่ บุคคลต้องตัดกิเสสวัฏด้วยมรรคญาณได้ แล้วจึงจะหยุดวงจรอุบาทว์นั้นได้

ที่จริงแล้วบุตตลไม่อาจทำลายกิเสลวัฏที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะเป็นสิ่งที่ดับไปแล้ว
จำเป็นต้องกำหนดรู้สภาวะเห็น ได้ยินเป็นต้นที่ปรากฏในปัจจุบันขณะเท่านั้น เพื่อไม่ให้
กิเลสวัฏได้โอกาสเกิดขึ้นเมื่อผู้บฏิบัติธรรมเจริญสติระลึกรู้เท่าทันรูปนามปัจจุบันในขณะเห็น
เป็นต้น สมาธิจะค่อยๆ พัฒนานมีกำลังมาก ในขณะนั้นเขาหยั่งรู้ด้วยประสบการณ์ของตน
ว่า สภาวะเห็น รูปที่ถูกเห็น และสติที่ะลึกรู้ ได้เกิดดับอย่างรวดเร็ว จึงเข้าใจว่าเป็นเพียง
สภาวธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ในขณะนั้นความหลงผิดว่าเที่ยงเป็นต้นย่อมไม่มี
โอกาส้กิดขึ้น นี้คือลักษณะที่อวิชชาถูกำจัดไป เมื่อไม่มีอวิชชา กิเลสวัฏอื่น คือตัณหา
อุปาทาน และกรรมวัฏคือสังขาร กรรมภพย่อมไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเนื่องด้วยความหลงผิด และ
เมื่อกรรมวัฏถูกกำจัดไปอย่างนี้ วิปากวัฎที่จะเกิดขึ้นต่อไปด้วยอำนาจของกรรมวัฏก็พลอย
ขาดสูญไปด้วยเช่นเดียวกัน ที่กล่าวมานี้เป็นการดับวัฏฏะ ๓ โดยชั่วคราวด้วยตทังคปหาน
ต่อเมื่อมรรดญาณปรากฏขึ้นแล้วด้วยกำลังวิปัสสนาที่สั่งสมไว้ในกระแสจิต วัฏฏะ ๓ ย่อม
ขาดสูญไปโดยเด็ดขาดตามสมควร

การตัดวงจรของปฏิจจสมุปบาทคือการตัดที่ผัสสะด้วยการเจริญสติระลึกรู้รูปนามใน
ปัจจุบันขณะที่เห็นหรือได้ยิน เป็นตัน หมายความว่า การเจริญสติในขณะที่ผัสสะปรากฎนี้
เป็นการทำลายกิเลสวัฏ คือ อวิชชา ตัณหา และอุปาทานโดยตรง ส่งผลให้กรรมวัฏคือสังขาร
และกรรมภพ พร้อมทั้งวิปากวัฏ ๕ มีวิญญาณเป็นตันหมดสิ้นไป เขาย่อมรู้เห็นความว่าง
เปล่าจากตัวตนของตนในผัสสะทุกอย่างที่ปรากฏทางทวาร ๖ โดยหยั่งเห็นไตรลักษณ์ของ
รูปนามทางทวาร ๖ โดยเนื่องด้วยผัสสะว่ารูปนามเหล่านั้นไม่เที่ยง มีสภาวะเกิดดับอยู่เสมอ
เป็นทุกข์ที่ถูกความเกิดตับบีบคั้น และไม่อยู่ในบังคับบัญชาที่ต้องการให้เที่ยงหรือเป็นสุขการ
ในขณะนั้นเขาได้หยั่งเห็นเวทนาว่าเป็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง ไม่ยึดติดเวทนาว่าเป็น
ตัวคนของตน ส่งผลให้ไม่เกิดตัณหาและอุปาทานเป็นต้นต่อมา

การตัดที่ผัสสะเพื่อทำลายกิเลสวัฏข้างตัน พบในปุราเภทสูตรว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2023, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


นิราสตฺติ อนาคเต อตีตํ นานุโสจติ
วิเวกทสฺสี ผสฺเสสุ ทิฏฐีสุ จ น นิยฺยติ "

"บุคคลผู้ไม่มีตัณหามุ่งหวังอนาคต ไม่เศร้าโศกถึงอดีต เห็นความ
ว่างเปล่า(จากตัวตนเป็นต้นในผัสสะ ย่อมไม่ถูกนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย"
ในคัมภีร์อรรถกถาได้อธิบายเรื่องนี้ว่า
วิเวกทสฺสี ผสฺเสสูติ ปจฺจุปปนฺเนสุ จกฺขุสมฺผสฺสาทีสุ อตุตาทิภาววิเวก๋ ปสฺสติ. "
"บาทคาถาว่า วิเวกทสุสี ผสฺเสสุ (เห็นความว่างเปล่า[จากตัวตนเป็นต้น]ในผัสสะ)
หมายความว่า เห็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนเป็นต้นในจักขุสัมผัสเป็นต้นที่เป็น
ปัจจุบัน

ในพระสูตรอื่นได้ตรัสถึงการทำลายกิเลสวัฏในขณะเกิดปัญญาหยั่งเห็นไตรลักษณ์
แล้วสามารถกำจัดตัณหาเป็นต้น ดังนี้

๑. เยปิ หิ เกจิ ภิกุขเว เอตรหิ สมณา วา พราหฺมณา วา โลเก ปิยรูปํ
สาตรูปํ, ตํ อนิจฺจโต ปสฺสนฺติ ทุกฺขโต ปสฺสนฺติ อนตุตโต ปสฺสนฺติ โรคโต ปสุสนฺติ ภยโต
ปสฺสนฺติ, เต ตณฺหํ ปชหนฺติ.
๒. เย ตณหํ ปชหนฺติ, เต อุปธิ ปชหนฺติ.
๓. เย อุปธิ ปชหนฺติ, เต ทุกขํ ปชหนฺติ.
๔. เย ทุกฺขํ ปชหนฺติ, เต ปริมุจฺจนฺติ ชาติยา ชราย มรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ
ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ, ปริมุจฺจนฺติ ทุกฺขสฺมาติ วทามิ.'
"๑. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นสภาวะ(มีการเห็นเป็นต้น
ที่น่ายินดีพอใจในโลกว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าละตัณหาได้
๒. สมณะหรือพราหมณ์หล่าใดละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
๓. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
ละทุกข์ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 76 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร