วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 12:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2023, 11:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1579.jpg
1579.jpg [ 57.18 KiB | เปิดดู 1164 ครั้ง ]
คำอธิบายวิปัสสนุเปกขา
วิปัสสนุเปกขา คือ อุเบกขาที่วางใจเป็นกลางในการพิจารณาเห็น (สังขารว่าเป็นไตรลักษณ์)
ปรากฏอย่างนี้ว่า ยทตฺถิ ย์ ภูตํ, ตํ ปชหติ, อุเปกขํ ปฏิลภติ.
"หมู่ขันธ์ ๕ ใดมีอยู่ ปรากฏอยู่ ผู้เพียรปฏิบัติย่อมละหมู่ขันธ์ ๕ นั้น
(ด้วยมุญจิตุกัมยตาญาณ เขาผู้ละแล้วย่อมได้อุเบกขา ในการพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ของสังขาร)"
พระบาลีข้างต้นพบในอุปริปัณณาสก์ อาเนญชสัปปายสูตร ในคัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า
ยทตฺถิ ยํ ภูตนตื ยํ อตฺถิ ยํ ภูต่ เอตรหิ ขนฺธปญฺจกํ"
*คำว่า ยทตฺถิ ยํ ภูตํ (หมู่ขันธ์ ๕ ใดมีอยู่ ปรากฏอยู่) หมายความว่า
หมู่ขันธ์ใดมีอยู่ ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน"

คำว่า เอดรหิ (ในปัจจุบัน) แสดงว่าขันธ์ ๕ ที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาต้องเป็น
ปัจจุบันเท่านั้น ไม่ใช่อดีดหรืออนาคดที่ไม่มีจริงโตยสภาวะ แต่ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีดและอนาคต
ก็ถูกละได้โดยอนุมานญาณ คือ ปัจจุบันที่นุมานรู้ว่าแม้ขันธ์ดังกล่าวก็ตกอยู่ในใตรลักษณ์
เหมือนขันธ์ ๕ ในปัจจุบันที่ตนรู้เห็นโดยประจักษ์

ในคำว่า ตํ ปชหติ (ย่อมละหมู่ขันธ์ ๕ นั้น) อาจมีคำถามว่า ขันธ์ ๕ เป็นธรรม
ที่ควรกำหนดรู้ (ปริญเญยยธรรม) ไม่ใช่ธรรมที่ควรละคือตัณหา (ปหาตัพพธรรม) เหตุใดจึง
ตรัสถึงการละขันธ์ ๕ ในคัมภีร์อรรถกถาของอุปริปัณณาสก์ตอบว่า เมื่อบุคคลละนิจจสัญญา
เป็นต้นด้วยอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นในขณะเกิดมุญจิตุกัมยดาญาณ ย่อมรู้เห็นโทษของขันธ์ ๕
จึงสละความยินดีพอใจในขันเหล่านั้น การสละความยินดีพอใจดังกล่าวเป็นการไม่ยึดมั่น
ขันธ์ ๕ ต่อไป จึงจัดเป็นการละขันธ์ ๕ แม้วิสุทธิมรรคมหาฎีกาก็อธิบายเรื่องนี้ว่า

ข้อความว่า "ย่อมละหมู่ขันธ์ ๕ นั้น" หมายความว่า ผู้ที่ละนิจจสัญญาเป็นต้นด้วย
อนิจจานุปัสสนาเป็นต้นชื่อว่าละหมู่ขันธ์ ๕ ด้วยการละการยินดีพอใจที่เนื่องด้วยขันธ์เหล่านั้น
เพราะได้เห็นโทษชัดเจน หมายความว่า ย่อมละโดยปฏิบัติไมให้มีความยึดมั่นต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร