ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

วิปัสสนุเปกขา
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=63000
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 08 ม.ค. 2023, 11:34 ]
หัวข้อกระทู้:  วิปัสสนุเปกขา

คำอธิบายวิปัสสนุเปกขา
วิปัสสนุเปกขา คือ อุเบกขาที่วางใจเป็นกลางในการพิจารณาเห็น (สังขารว่าเป็นไตรลักษณ์)
ปรากฏอย่างนี้ว่า ยทตฺถิ ย์ ภูตํ, ตํ ปชหติ, อุเปกขํ ปฏิลภติ.
"หมู่ขันธ์ ๕ ใดมีอยู่ ปรากฏอยู่ ผู้เพียรปฏิบัติย่อมละหมู่ขันธ์ ๕ นั้น
(ด้วยมุญจิตุกัมยตาญาณ เขาผู้ละแล้วย่อมได้อุเบกขา ในการพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ของสังขาร)"
พระบาลีข้างต้นพบในอุปริปัณณาสก์ อาเนญชสัปปายสูตร ในคัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า
ยทตฺถิ ยํ ภูตนตื ยํ อตฺถิ ยํ ภูต่ เอตรหิ ขนฺธปญฺจกํ"
*คำว่า ยทตฺถิ ยํ ภูตํ (หมู่ขันธ์ ๕ ใดมีอยู่ ปรากฏอยู่) หมายความว่า
หมู่ขันธ์ใดมีอยู่ ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน"

คำว่า เอดรหิ (ในปัจจุบัน) แสดงว่าขันธ์ ๕ ที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาต้องเป็น
ปัจจุบันเท่านั้น ไม่ใช่อดีดหรืออนาคดที่ไม่มีจริงโตยสภาวะ แต่ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีดและอนาคต
ก็ถูกละได้โดยอนุมานญาณ คือ ปัจจุบันที่นุมานรู้ว่าแม้ขันธ์ดังกล่าวก็ตกอยู่ในใตรลักษณ์
เหมือนขันธ์ ๕ ในปัจจุบันที่ตนรู้เห็นโดยประจักษ์

ในคำว่า ตํ ปชหติ (ย่อมละหมู่ขันธ์ ๕ นั้น) อาจมีคำถามว่า ขันธ์ ๕ เป็นธรรม
ที่ควรกำหนดรู้ (ปริญเญยยธรรม) ไม่ใช่ธรรมที่ควรละคือตัณหา (ปหาตัพพธรรม) เหตุใดจึง
ตรัสถึงการละขันธ์ ๕ ในคัมภีร์อรรถกถาของอุปริปัณณาสก์ตอบว่า เมื่อบุคคลละนิจจสัญญา
เป็นต้นด้วยอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นในขณะเกิดมุญจิตุกัมยดาญาณ ย่อมรู้เห็นโทษของขันธ์ ๕
จึงสละความยินดีพอใจในขันเหล่านั้น การสละความยินดีพอใจดังกล่าวเป็นการไม่ยึดมั่น
ขันธ์ ๕ ต่อไป จึงจัดเป็นการละขันธ์ ๕ แม้วิสุทธิมรรคมหาฎีกาก็อธิบายเรื่องนี้ว่า

ข้อความว่า "ย่อมละหมู่ขันธ์ ๕ นั้น" หมายความว่า ผู้ที่ละนิจจสัญญาเป็นต้นด้วย
อนิจจานุปัสสนาเป็นต้นชื่อว่าละหมู่ขันธ์ ๕ ด้วยการละการยินดีพอใจที่เนื่องด้วยขันธ์เหล่านั้น
เพราะได้เห็นโทษชัดเจน หมายความว่า ย่อมละโดยปฏิบัติไมให้มีความยึดมั่นต่อไป

ไฟล์แนป:
1579.jpg
1579.jpg [ 57.18 KiB | เปิดดู 1420 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/