ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
องค์ฌาน ๕ มีกำลังมากกว่าจิตปกติ http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=63004 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 10 ม.ค. 2023, 14:00 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | องค์ฌาน ๕ มีกำลังมากกว่าจิตปกติ | ||
องค์ฌาน ๕ มีกำลังมากกว่าจิตปกติ อนึ่ง แม้องค์ฌาน ๕ เหล่านี้มีอยู่ (ในขณะทั่วไปที่เกิดกามาวจรจิต] และในขณะ เกิดอุปจารสมาธิ แต่มีกำลังมากกว่าจิตทั่วไปในขณะเกิดอุปจารสมาธิส่วนในปฐมฌานนี้ ได้เข้าถึงลักษณะของรูปาวจรที่มีกำลังมากกว่าอุปจารสมาธิอีก กล่าวคือในองค์ฌาน เหล่านี้ ๑. วิตกเกิดขึ้นน้อมจิตสู่อารมณ์ด้วยลักษณะอันคล่องแคล่วดี ๒. วิจารเกิดขึ้นเคล้าคลึงอารมณ์อย่างต่อเนื่อง ๓-๔. ปีติและสุขเกิดขึ้นแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ดังพระพุทธดำรัสว่า นาสฺ.ส กิญฺจิ สพฺพาวโต กายสฺส วิเวกเชน ปีติสุเขน อปฺผุฎํ โหติ. "สรรพางค์กายบางส่วนของผู้เพียรปฏิบัตินั้นที่ไม่มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก กระทบแล้ว หามีไม่" ๕. แม้ภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียวก็เกิดขึ้นแนบสนิทในอารมณ์เหมือนฝาผอบบน ปิดสนิทกระทบฝาผอบล่าง ข้อนี้เป็นความต่างกันขององค์ฌาน ๕ เหล่านั้นที่ถึงลักษณะของรูปาวจรอื่นจาก องค์ฌานที่เกิดขึ้นในขณะเกิดอุปจารสมาธิ ในบรรดาองค์ฌานทั้ง ๕ นั้น แม้จิตเตกัดคตาจะมิได้ทรงแสดงไว้ในพระบาลีว่า สวืตกฺกํ สวิจารํ (มีวิตกวิจาร) เป็นตันนั้น แต่ก็เป็นองค์ฌานหนึ่งเช่นกัน ดังพระพุทธดำรัสใน คัมภีร์วิภังด์]อย่างนี้ว่า ฌานนฺติ วิตกฺโก วิจาโร ปีติ สุขํ จิตฺตสฺเสกคฺคตา. "วิตก วิจาร ปีติ สุข และภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว ชื่อว่า ฌาน" โดยแท้จริงแล้ว ความมุ่งหมายที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสโดยย่อ มีแสดงไว้โดย ละเอียดในวิภังค์ (คำอธิบาย)
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 10 ม.ค. 2023, 15:27 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: องค์ฌาน ๕ มีกำลังมากกว่าจิตปกติ | ||
คำอธิบายมีความงาม ๓ สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๑๐ [๗๕] ส่วนในคำว่า ติวิธกลฺยาณํ ทสลกฺขณสมฺปนฺนํ (มีความงาม ๓ สมบูรณ์ ด้วยลักษณะ ๑๐) นั้น พึงทราบความงาม ๓ อย่างของปฐมฌานด้วยความงามในเบื้องตัน ท่ามกลาง และที่สุด และพึงทราบความสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๑๐ ประการของปฐมฌาน ลัวยลักษณะของความงามในเบื้องตัน ท่ามกลาง และที่สุดเหล่านั้น พระบาลีที่แสดงความงามและลักษณะของความงามดังกล่าว" มีดังนี้ ความงาม ๓ อย่างของปฐมฌาน "ความหมดจดของปฏิปทาทำให้บรรลุฌาน เป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน ความ เพิ่มพูนของอุเบกขา เป็นท่ามกลาง และความร่าเริงเป็นที่สุด ความหมดจดของปฏิปทาทำให้บรรลุฌาน เป็นเบื้องตันของปฐมฌาน มีลักษณะ เท่าไร คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ ๑. จิตหมดจดจากอันตรายของปฐมฌานนั้น (นิวรณ์) ๒. จิตบรรลุถึงสมถนิมิตอันเป็นกลาง เพราะหมดจด ๓. จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะบรรลุถึงสมถนิมิต (อารมณ์ของสมถะ) ลักษณะทั้ง ๓ เหล่านี้เป็นเบื้องตันของการบรรลุปฐมฌาน คือ ความหมดจด ดังนั้นจึงกล่าวว่า ปฐมฌานงามด้วยเบื้องต้น สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๓" "ความเพิ่มพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางของปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร คือ มี ลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ ๑. การวางเฉยจิตที่หมดจด (จิตที่ปราศจากนิวรณ์) ๒. การวางเฉยจิตที่บรรลุถึงสมถนิมิต (อัปปนา) ๓. การวางเฉยอัปปนาจิตที่ดำรงอยู่ในสภาวะเป็นหนึ่ง (ไม่มีกิเลสคลุกคลี) ลักษณะทั้ง ๓ เหล่านี้เป็นท่ามกลางของการบรรลุปฐมฌาน คือ ความเพิ่มพูน อุเบกขา ดังนั้นจึงกล่าวว่า ปฐมฌานงามด้วยท่ามกลาง สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๓" "ความร่าเริง เป็นที่สุดของปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร คือ มีลักษณะ ๔ ประการ ได้แก่ ๑. ความร่าเริงด้วยสภาวะคือการที่ธรรมเกิดขึ้นในปฐมฌานไม่ล่วงล้ำก้ำเกินกัน ๒. ความร่าเริงด้วยสภาวะที่อินทรีย์มีหน้าที่สม่ำเสมอกัน ๓. ความร่าเริงด้วยสภาวะที่เกิดวิริยะอันสมควรแก่อินทรีย์นั้น ๔. ความร่าเริงด้วยสภาวะคือการเสพคุ้นธรรมเหล่านั้น ลักษณะทั้ง ๔ เหล่านี้เป็นที่สุดของการบรรลุปฐมฌาน คือ ความร่าเริง ดังนั้นจึง กล่าวว่า ปฐมฌานงามด้วยที่สุด สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๔"
|
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |