วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2023, 04:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




burn-out-e1658777610175.jpg
burn-out-e1658777610175.jpg [ 53.64 KiB | เปิดดู 842 ครั้ง ]
.
คำอธิบายการละองค์ ๕ ประกอบตัวยองค์ ๕

[๗๔] ส่วนในคำว่า "ปญฺจงฺควิปฺปน ปญฺจงฺคสมนฺนาคตํ (ละองค์ ๕ ประกอบด้วย
องค์ ๕) พึงทราบว่าปฐมฌานละองค์ ๕ ด้วยการละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ คือ กามฉันทะ
พยาปาทะ ถีนมิทธะ อุจธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อผู้เพียรปฏิบัติ
ยังไม่กำจัดนิวรณ์เหล่านี้ ฌานก็เกิดขึ้นไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น นิวรณ์เหล่านี้จึงชื่อว่าเป็นองค์
สำหรับละของปฐมฌานดังกล่าว

นิวรณ์ คือ สภาวะปิดกั้นความดีอันใด้แก่ สมาธิและปัญญา มี ๕ ประการ คือ
๑. กามฉันทะ
ความพอใจในกาม (สิ่งที่น่าเพลิดเพลินยินดี คือ รูป เสียง
กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ทำหน้าที่กั้นความดี คือ สมาธิ
เหมือนน้ำผสมสีต่างๆ
๒. พยาปาทะ
ความผูกโกรธ ทำหน้าที่กั้นความดี คือ ปิติ เหมือนน้ำถูก
ต้มจนเดือด มีฟองผุดขึ้น
๓. ถีนมิทธะ
ความง่วงเหงาซึมเซา ทำหน้าที่กั้นความดี คือ การน้อมจิต
สู่อารมณ์ (วิตก) เหมือนน้ำถูกจอกแหนปกคลุมอยู่
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ
ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ทำหน้าที่กั้นความดี คือ สุข เหมือน
น้ำถูกลมพัดจนเกิดเป็นระลอกคลื่น
๕. วิจิกิจฉา
ความลังเลสงสัย ทำหน้าที่กั้นความดี คือ การเคล้าคลึง
อารมณ์ (วิจาร) เหมือนน้ำในที่มีด และผสมด้วยโคลนตม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2023, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า นืวรณ มีความหมาย ๖ ประการ คือ
๑, สกาาวะกั้นกุศลกรรม - กุสลธมฺเม นิวรตึติ นึวรณํ
๒. สภาวะกั้นทางพันใปจากวัฏฏะ - นีวยรณาติ เกนฏฺเฐน นีวรณา
วรณฏฺเจน นึวรณา"
๓. สภาวะกั้นกุศลจิตที่เกิดขึ้นโดยเนื่องด้วยฌานเป็นตัน - ฌานาทิวเสน
อุปฺปชฺชนกกุสลจิตตํ นีเสเธนฺติ ตถา ตสฺส อุปฺปชฺชิตุํ น เทนฺตึติ นึวรณานิ -
๔, สภาวะกั้นปัญญาจักษุ - ปญฺญาจกขุโน วา อาวรณฏฺเฐน นีวรณา -
๕. สภาวะกั้นนิพพานสุข - วิเสเสน อวิชชา นิพพานสุขํ นิวาเรตีติ นีวรณนฺติ
วุตฺตา
๖. สภาวะกั้นจิตหรือข้อปฏิบัติอันเกื้อกูล(แก่พระนิพพาน) - นีวรณาติ จิตต่ หิต.
ปฏิปตฺติ วา นึวรนฺตีติ นึวรณา"

แม้อกุศลธรรมอื่นก็ถูกละได้ในขณะบังเกิดฌาน(ด้วยวิกขัมภนปหาน คือ ละได้
ด้วยการขมไว้] แต่นิวรณ์ เหล่านี้เท่านั้นทำอันตรายแก่ฌานโดยพิเศษ กล่าวคือ
๑. จิตที่ถูกกามฉันทะชักจูงไปในอารมณ์ต่างๆ ย่อมไม่ตั้งมั่นในอารมณ์เดียว
หรือจิตที่ถูกกามฉันทะครอบงำนั้นย่อมไม่บรรลุปฏิปทาเพื่อกำจัดกามธาตุ (กามภูมิ)
๒. จิตที่ถูกพยาปาทะรบกวนในอารมณ์ ย่อมไม่เป็นไปต่อเนื่อง(ด้วยความ
ฟุ้งซ่าน]
๓. จิตที่ถูกถึนมิทธะย่ายื ย่อมไม่ควรแก่การบำเพ็ญภาวนา
๔. จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมซัดส่ายไม่สงบ
๕. จิตที่ถูกวิจิกิจฉาแทรกแซง ย่อมไม่อาจหยั่งลงสู่ปฏิปทาที่ทำให้บรรลุฌานได้
โดยประการตังนี้ นิวรณ์ ๕ เหล่านี้เท่านั้นจึงชื่อว่าเป็นองค์สำหรับละ เพราะทำ
อันตรายแก่ฌานโดยพิเศษ (เนื่องจากเป็นข้าศึกโดยตรงของสมาธิเป็นต้น)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2023, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ประกอบ ๕ ของปฐมฌาน
โดยเหตุที่วิตกน้อมจิตสู่อารมณ์ วิจารตามผูกพันจิตไว้ในอารมณ์) ปิติที่เกิดจาก
ความเพียรบริบูรณ์ทำให้จิตเอิบอิ่ม สุขทำความเจริญพอกพูนแก่ใจที่มีความเพียรสำเร็จ
แล้วเพื่อการไม่ซัดส่ายด้วยวิตกและวิจารเหล่านั้น เมือทำเช่นนั้น เอกัคคตาที่ได้รับสนับสนุน
ด้วยการน้อมจิต การตามผูกพัน ความเอิบอิ่ม และความเจริญพอกพูนเหล่านี้ ย่อมตั้ง
จิตนั้นหร้อมทั้งสัมปยุตตธรรมที่เหลือ (ผัสสะเปินต้นอื่นจากวิตก วิจาร ปิติ และสุข) ไว้
ในอารมณ์เดียวอย่างสม่ำเสมอ (คือมีอินทรีย์ ๕ เสมอกัน) เป็นอย่างดี (คือห่างไกลจาก
ธรรมฝ่ายตรงกันข้าม, ปราศจากถึนมิทธะและดวามฟุ้งซ่าน] ดังนั้น จึงควรทราบว่า
ปฐมฌานประกอบด้วยองค์ ๕ ด้วยการเกิดขึ้นขององค์ฌาน ๕ เหล่านี้ คือ
๑. วิตก สภาวะน้อมจิตสู่อารมณ์
๒, วิจาร สภาวะเคล้าคลึงอารมณ์
๓. ปิติ สภาวะเอิบอิ่ม
๔, สุข สภาวะเป็นสุข
๕. จิตเตกัคคตา ภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว
โดยแท้จริงแล้ว เมื่อองค์ฌาน ๕ เหล่านี้บังเกิดขึ้น ฌานจึงชื่อว่าเกิดขึ้น ดังนั้น
องค์ ๕ เหล่านี้จึงชื่อว่าเป็นองค์ประกอบของฌานนั้น ขึ้นชื่อว่าฌานอื่นจากองค์ฌานที่
ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้หามีไม่
อุปมาเหมือนกองทัพมืองค์ ๔ ดนตรีมืองค์ ๕ มรรคมืองค์ ๘ ด้วยองค์ประกอบ
ฉันใด แม้ปฐมฌานนี้ก็มีองค์ ๕ หรือประกอบด้วยองค์ ๕ ฉันนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร