วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 16:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2023, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




maxresdefault.jpg
maxresdefault.jpg [ 54.47 KiB | เปิดดู 705 ครั้ง ]
"เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาดทรงแสตงอสุภะแก่คนราคจริต แสดงเมตตาแก่คน.
โทสจริต แสดงปฏิจจสมุปบาทแก่คนโมหจริต (พระเทศนานี้ย่อมสมควร หากว่าพระองค์ทรง
แสดงความหลุดพันทางใจด้วยเมตตา (เมตตาเจโตวิมุตติ) แก่คนราคจริต หรือพึงแสดงสุข-
ปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิปทาอันสะดวกแต่บรรลุช้า) หรือพึงแสดงการละกิเลสอันมีวิปัสสนา
นำหน้า เทศนานั้นย่อมไม่สมควร [แต่ควรแสดงอสุภภาวนาแก่คนราคจริต โดยประการตังนี้
(พึ่งกล่าว)ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ควรละราคะ ควรละโทสะ ควรละโมหะ

บัณฑิตใคร่ครวญด้วยวิจยหาระทั้งหมดนั้นแล้ว พึงประกอบด้วยยุตติหาระ ตาม
กำลังสติปัญญา"

การแสดงธรรมของพระผู้มีพระกาคคล้อยตามจริตของผู้ฟังธรรม เหมือนการจ่ายยาที่ตรง
กับโรคให้คนป่วย ในที่นี้ท่านแสดงความเหมาะสมของพระเทศนา ดังนี้

๑. การแสดงอสุกกรรมฐานแก่คนราคจริต ย่อมสมควร เพราะอสุภกรรมฐานมีลักษณะ
น่ารังเกียจ จึงเหมาะสมกับคนราคจริต การแสดงเมตตาภาวนาแก่คนราคจริตย่อมไม่สมดวร เพราะ
เมตตาเป็นศัตรูใกล้ของราคะ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกัน หรือการแสดงปฏิปทาอันสะดวกแต่
บรรลุช้าแก่คนราคจริต ก็ไม่สมควร เพราะคนราคจริตที่มีกิเลสแรงย่อมเหมาะสมกับปฏิปทาอันลำบาก
หรือการแสดงการละกิเลสด้วยการเจริญวิปัสสนาโดยตรง ก็ไม่เหมาะสมกับคนราคจริต เพราะเขาไม่เห็น
โทษของกามคุณ อย่างไรก็ตาม กำเขาเห็นโทษของกามคุณเล้วก็สามารถเจริญวิปัสสนาโดยตรงได้
เช่นเดียวกัน
๒. การแสดงเมตตาภาวนาแก่คนโทสจริต ย่อมสมคาร เพราะเมตตาเป็นปฏิปักษ์ต่อโทสะ
๓, การแสดงปฏิจสมุปบาทแก่คนโมหจริต ย่อมสมควร เพราะปฏิจจสมุปบาทเป็นวิสัย
แห่งปัญญา ทำให้คนโมหจริตเกิดปัญญาเข้าใจสภาวธรรมคือการเกิดขึ้นของรูปนามโดยอาศัยเหตุปัจจัย

คำว่า สพฺพํ ตํ วิจเยน หาเรน วิจินิตฺวา ยุตฺติหาเรน โยเชตพฺพํ ยาวติกา ญาณสฺส ภูมิ
(บัณฑิตพึงใคร่ครวญด้วยวิจยหาระทั้งหมดนั้นแล้ว พึงประกอบด้วยยุตติหาระ ตามกำลังสติปัญญา)
หมายความว่า ยุตติหาระเป็นการตราจสอบความเหมาะสมโดยศัพท์หรืออรรถ จึงมีขอบเขตกว้างขวาง
ตามศัพท์และธรรมทั้งหมด นอกจากนี้ สิ่งที่ตรวจสอบด้วยวิจยหาระทั้งหมดก็สามารถตรวจทานตาม
หลักของยุตติหาระนี้ได้ฝึกด้วย เพราะพระสัทธรรมมีนัยวิจิตรพิสดาวหาขอบเขตมิได้)

เนตติปกรณ์/153

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร