วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 21:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2023, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




41.png
41.png [ 2.67 MiB | เปิดดู 1748 ครั้ง ]
ปฏิหาริย์ที่ทำการเปิดโอกาสโลกที่นับด้วยจักราลหลายแสนและและสัตว์โลก
ผู้อยู่ในจักราลเหล่านั้น ชื่อว่า ปาฏิหาริย์เปิดโลก
โดยทั่วไป กิร นิบาตที่มีความหมายว่า อนุสฺสวนตฺถ (ได้ยินมา) มักแปลว่า ดังได้สดับมา.
ได้ยินว่า" แต่ในที่นี้แปลว่า "กล่าวกันว่า" ตามวิสุทธิมรรคแปลพม่า (เล่ม ๑ หน้า ๖๖)

ท้าวมหาพรหม (ท้าวสหัมบดี) ทรงกั้นเศวตฉัตรสูง ๓ โยชน์ ทัาวสุยามะทรงถือพัด
วาลวีชนี ปัญจสิขคันธัพพเทพบุตรถือพิณสีเหลืองดุจผลมะตูมยาว ๓ คาวุต บูชาพระตถาคต
ตามเสด็จลงมา ในวันนั้น ขึ้นชื่อว่าสัตว์ผู้เห็นพระผู้มีพระภาคแล้วจะไม่ปรารถนาเพื่อเป็น
พระพุทธเจ้าหามีไม่ พระผู้มีพระภาคได้ทำฤทธิ์ปาฏิหาริย์คือการทำให้เปิดเผยในเรื่องนี้
ท้าวมหาพรหมในที่นี้ คือ ท้าวสหัมบตึ ดังข้อความ""* ว่า

คำว่า มหาพรหมา (ท้าวมหาพรหม) คือ สหัมบดีมหาพรหม
การที่ท่านอธิบายเช่นนี้ก็เนื่องจากว่า พรหมที่อยู่ในพรหมโลกแต่ละชั้นแบ่งออกเป็น ๓
ประเภท คือ ๑ พรหมปาริสัชชา คือ พรหมบริวาร เหมือนคนทั่วไปที่ไม่มีฐานันดร ๒ พรหม
ปุโรหิตา คือ พรหมที่ปรึกษา เหมือนรัฐมนตรี และ ๓ มหาพรหม คือ พรหมผู้ยิ่งใหญ่ เหมือน
กษัตริย์ปกครองประเทศ พรหมปริสัชชามองไม่เห็นพรหมปุไรหิตา พรหมปุโรหิตาก็มองไม่เหีน
มหาพรหม เพราะพรหมชั้นสูงมีรูปละเอียดกว่าพรหมชั้นต่ำ" พรหมเหล่านั้นมีอานุภาพต่างกัน
ด้วยกำลังของรูปาวจรกุศลอย่างอ่อน ปานกลาง หรือประณีต"" ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า คำว่า
มหาพฺรหฺมา (ท้าวมหาพรหม) คือ สหัมบดีพรหม" เพื่อระบุว่าทัาวมหาพรหมดังกล่าวคือ
สห้มบดืมหาพรหม ไม่ใช่ท้าวมหาพรหมอื่นที่ปกครองรูปพรหมทั้ง ๔ ชั้น


272/วิสุทธิมรรค เล่ม 4

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2023, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




PhotoRoom-20230329_131020.png
PhotoRoom-20230329_131020.png [ 64.39 KiB | เปิดดู 1206 ครั้ง ]
คำว่า สหมปติ มีรากศัพท์มาจาก สหกปติ (สหกะผู้เป็นใหญ่) ลงนิคคหิตเป็นอาคม
แปลงนิคคหิตเป็น ม อักษร แล้วลบ ก อักษร จึงได้รูปว่า สหมปติ ดังข้อความว่า
สหกปตีติ วตฺตพฺเพ อนุสฺสราคมํ กตฺวา รุฬฺหิวเสน สหมฺปติติ วทนฺติ """
เมื่อควรกล่าวว่า สหกปติ ได้กล่าวว่า สหมปติ โตยเนื่องด้วยชื่อปรากฎโดยลง นิคคหิตเป็นอาคม

อย่างไรก็ตาม ท้าวสหัมบดีในวรรณกรรมบาลีมี ๒ ตน คือ

๑. ท้าวสหัมบดีผู้อยู่ในปฐมฌานภูมิ
ท่านเคยอุปสมบทเป็นภิกษุชื่อว่าสหกะ ในศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ได้บรรสุปฐมฌาน
จึไปเกิดเป็นพรหมมีอายุขัย ๑ กัปในปฐมฌานภูมิ ใด้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในวลาแรกตรัสรู้)
เพื่อทูลขอให้แสดงธรรมโปรดสัตว์โลก"

๒. ท้าวสหัมบดีผู้อยู่ในสุทธาวาสภูมิ
ท่านเคยอุปสมบทเป็นภิกษุชื่อว่า สหกะ ในศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ใด้บรรลุธรรมเป็น
พระอนาคามึ จึงไปเกิดเป็นพรหมในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อ
กราบทูลเรื่องที่พระโกกาลิกะมรณภาพแล้วไปเกิตในนรกปทุมะด้วยจิตอาฆาตในอัครมหาสาวก
ทั้งสองรูป

ผู้แปลเข้าใจว่า ท้าวมหาพรหมที่ติดตามพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นคาวดึงส์นั้น
คงจะเป็นทัาวสหัมบดีตนแรก เพราะท่านยังเป็นปุถุชนอยู่ จึงเคารพบูชาพระพุทธเจ้าในฐานะที่
พระองค์เป็นศาสดาของตน แม้ข้อความในคัมภีร์อรรถกถา"*ที่กล่าวว่า ท้าวสหัมบตีพรหมได้
บูชาพระตาคตด้วยพวงมาลัยแก้วสูงเทียมเขาสุเมรุ" ก็คงหมายถึงท้าวสหัมบดีตนนี้เซนเดียวกัน
เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากว่า พระสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นมีศาสดาประจำใจของตนอยู่
แล้ว ท่านเหล่านั้นจึงไม่ไปพังธรรมหรือถามปัญหาพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น เพราะท่านเหล่านั้น
ปราศจากความสงสัยในอริยสัจ ๔ อีกแล้ว พวกท่านมีศาสดาคือพระพุทธเจ้าผู้สั่งสอนตนเป็นสรณะ
ประจำใจของตน มีอยมรรคมืองค์ ๘ (มรรคญาณอันประกอบตัวยองค์ ๘) คือพระธรรมประจำใจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2023, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




PhotoRoom-20230329_045713.png
PhotoRoom-20230329_045713.png [ 549.76 KiB | เปิดดู 1206 ครั้ง ]
ของท่าน เพราะท่านหลำนั้นสามารถข้าผลสมาบัติเพื่อเสพนิพพานสุขเป็นอารมณ์ได้
พระอริยสงฆ์เป็นเพื่อนสหธรรมิกที่มีศีลและทิฏฐิเสมอกัน ดังข้อความว่า
อฏฺฐานเมต๋ ภิกฺขเว อนวกาโส, ยํ ทิฏจิสมุปนฺโน ปุคฺคโล อญฺญํ สตฺถารํ อุทฺ
ทิเสยย, เนต๋ ฐานํ วิชฺชติ. ฐานญฺจ โข เอต๋ ภิกุขเว วิขฺชติ. ปุถุซฺชโน อญฺญํ สตฺถารํ
อุทฺทิเสยุย, ฐานเมตํ วิชฺชติ.
การที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงนับถือศาสคาอื่น ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่การที่
ปุถุขนพึงนับถือศาสดาอื่น ย่อมเป็นไปได้

อญฺญํ สตฺถารนฺติ "อยํ เม สตฺถา สตฺถุ กิจฺจํ กาตุํ อสมตฺโถติ ภวนฺตเรปิ อญฺญ
ติตฺถกรํ อยํ เม สตุถาติ เอวํ คณฺเหยฺย. เนต๋ ฐานํ วิชฺชตีติ อตฺโถ.
คำว่า อญฺญํ สต์ถารํ (ศาสดาอื่น) หมายความว่า การที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิดำริว่า ศาสดาของเรานี้ไม่อาจทำหน้าที่ของศาสตาได้ แล้วนับถือศาสดาผู้สร้าง
ความเห็นอื่นว่า บุคคลนี้เป็นศาสดาของเรา ย่อมเป็นไปไม่ได้

แม้คำอธิบายจากอรรถกถาของอังคุตตรนิกายจะหมายความถึงการนับถือเดียรถีย์อื่นว่า
เป็นศาสดา แต่ข้อความนี้ยังรวมไปถึงพระพุทธองค์พระองค์อื่นอีกด้วยตามคำอธิบายที่กล่าวมา
ช้างตัน เพราะในทีฆนิกาย มหาวรรค"*< มีเรื่องที่พระพุทธองค์เสด็จไปเยี่ยมพรหมชั้นสุทธาวาส
พรหมเหล่านั้นมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า "ข้าพระองค์ประพฤติพรหม-
จรรย์ในพระพุทธเจ้าเหล่านี้ คือ พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกณาคม
พระกัสปะ และพระโคตมะ จึงคลายกำหนัดในกามแล้วบังเกิดขึ้นในสุทธาวาสภูมินี้"
บุคคลเหล่านั้นมิได้ทูลถามปัญหา และพระพุทธองค์ก็มิไต้แสดงธรรมโปรดแต่อย่างใด ดังนั้น
พระอริยบุคคลที่ใด้บรรลุธรรมในสำนักของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนจึงไม่มาฟังธรรม หรือถาม
ปัญหาพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นจากศาสดาของตน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2023, 17:55 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


ขั้นตอนการกราบพระ อาราธนาศีล อาราธนาธรรม

.......คำอาราธนาธรรม

พ๎รัห๎มา จะ โลกาธิปะตี, สะหัมปะติ,
กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ,
สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา,
เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง ฯ


ท้าวสหัมบดีพรหม...........เป็นบรมในพรหมมา
ทรงฤทธิศักดา..................กว่าบริษัททุกหมู่พรหม
น้อมหัตถ์นมัสการ..............ประดิษฐาน ณ ที่สม
ควรแล้วจึงบังคม...............ชุลีบาทพระสัมมา
ขอพรอันประเสริฐ..............วาระเลิศมโหฬาร์
ปวงสัตว์ในโลกา...............กิเลสน้อยก็ยังมี

ขอองค์พระจอมปราชญ์......สู่ธรรมมาสอันรุจี
โปรดปวงประชานี้.............ท่านจงโปรดแสดงธรรม
นิมนต์ท่านเจ้าขา..............ผู้ปรีชาอันเลิศล้ำ
โปรดแสดงพระสัจธรรม......เทศนาและวาที
เพื่อให้สัมฤทธิผล.............แก่ปวงชนบรรดามี
สู่สุขเกษมศรี...................สมดังเจตนาเทอญ ฯ


:b8: ที่มา : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=20603


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:46 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร