วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2023, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_pfklhf9MZu1wtg8hyo1_500.png
tumblr_pfklhf9MZu1wtg8hyo1_500.png [ 243.74 KiB | เปิดดู 757 ครั้ง ]
คำอธิบาย อทุกขมสุข (ไม่มีสุขทุกข์)

คำว่า อทุกฺขมสุขํ (ไม่มีสุขทุกข์) หมายความว่า (จตุตถฌาน)ชื่อว่าไม่มีทุกข์
เพราะปราศจากทุกข์ ชื่อว่าไม่มีสุข เพราะปราศจากสุข คำนี้แสดงถึงเวทนาที่ ๓ อันเป็น
ปฏิปักษ์ต่อทุกข์และสุขในจตุตถฌานนี้ มิใช่แสดงเพียงความไม่มีสุขทุกข์

ขึ้นชี่อว่าเวทนาที่ ๓ คือ เวทนาที่มิใช่สุขทุกข์ เรียกว่าอุเบกขาบ้าง

สภาวะที่มิใช่ทุกข์ ชี่อว่า อทุกขะ คือ ห่างไกลจากทุกข์ ท่านกล่าวว่า ทุกขา-
ภาเวน (เพราะปราศจากทุกข์) เนื่องจากไม่มีทุกข์ในจตุตถฌานนั้น แม้คำว่า อสุขํ ก็มีนัย
เดียวกัน

ข้อความข้างตันแสดงว่า คำว่า อทุกข, อสุข มีรูปวิเคราะห์ว่า
น ทุกขํ อทุกขํ - สภาวะที่มิใช่ทุกข์ ชื่อว่า อทุกขะ (นนิบาตบุรพบทกรรม ธารยสมาส)

น สุขํ อสุขํ = สภาวะที่มีใช่สุข ชื่อว่า อสุขะ (นนิบาตบุรพบทกรรมธาวยสมาส
คำว่า อทุกข แปลตามศัพท์ว่า "สภาวะที่มีใช่ทุกข์" คือ สภาวะห่างไกลจากทุกข์
คำว่า อสุข แปลดามศัพท์ว่า "สภาวะที่มิใช่สุข" คือ สภาวะห่างไกลจากสุข ส่วนตำแปลว่า
"ไม่มีสุขทุกข์" เป็นคำแปลอธิบายความให้ซัดเจน มิใช่คำแปลตามรากศัพท์ ดังนั้น น ค้พทำใน
อทุกข, อสุข จึงมีความหมายว่า วิธุร (ห่างไกล)

คำว่า ปฏิปกฺขภูตํ (อันเป็นปฏิปักษ์(ต่อทุกข์และสุข) นี้ กล่าวไว้ในจตุตถฌานนี้
เพราะควรบรรดุอุเบกขาเวทนาด้วยการล่วงทุกข์เป็นต้น มิได้กล่าวไว้เพราะอุเบกขาเวทนา
เป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์และสุขเหมือนกุศลและอกุศล"

อุเบกขาเวทนานั้น :-
๑. มีลักษณะเสวยอารมณ์อันตรงกันข้ามกับอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ (อิฏฐา-
นิฏฐวิปริตานุภวนลกฺขณา)
๒. มีหน้าที่เป็นกลาง (มชฺฌตฺตรสา)
๓. มีการไม่ปรากฎขัด(เหมือนสุขทุกข์]เป็นอาการปรากฏ(อวิภูตปจจุปฎฐานา)
๔. มีการดับสุข(ในอุปจารขณะของจตุตถฌานเป็นเหตุใกล้ (สุขทุกขนิโรธ-
ปทฏฐานา)


"" วิสุทธิมหาฎีกา ๑/๘๘/๒๒๕
** วิสุทธิ.มหาฎีกา ๑/๘๘/๒๒๕

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร