ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

คำอธิบาย อทุกขมสุข (ไม่มีสุขทุกข์)
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=63402
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 21 มี.ค. 2023, 16:18 ]
หัวข้อกระทู้:  คำอธิบาย อทุกขมสุข (ไม่มีสุขทุกข์)

คำอธิบาย อทุกขมสุข (ไม่มีสุขทุกข์)

คำว่า อทุกฺขมสุขํ (ไม่มีสุขทุกข์) หมายความว่า (จตุตถฌาน)ชื่อว่าไม่มีทุกข์
เพราะปราศจากทุกข์ ชื่อว่าไม่มีสุข เพราะปราศจากสุข คำนี้แสดงถึงเวทนาที่ ๓ อันเป็น
ปฏิปักษ์ต่อทุกข์และสุขในจตุตถฌานนี้ มิใช่แสดงเพียงความไม่มีสุขทุกข์

ขึ้นชี่อว่าเวทนาที่ ๓ คือ เวทนาที่มิใช่สุขทุกข์ เรียกว่าอุเบกขาบ้าง

สภาวะที่มิใช่ทุกข์ ชี่อว่า อทุกขะ คือ ห่างไกลจากทุกข์ ท่านกล่าวว่า ทุกขา-
ภาเวน (เพราะปราศจากทุกข์) เนื่องจากไม่มีทุกข์ในจตุตถฌานนั้น แม้คำว่า อสุขํ ก็มีนัย
เดียวกัน

ข้อความข้างตันแสดงว่า คำว่า อทุกข, อสุข มีรูปวิเคราะห์ว่า
น ทุกขํ อทุกขํ - สภาวะที่มิใช่ทุกข์ ชื่อว่า อทุกขะ (นนิบาตบุรพบทกรรม ธารยสมาส)

น สุขํ อสุขํ = สภาวะที่มีใช่สุข ชื่อว่า อสุขะ (นนิบาตบุรพบทกรรมธาวยสมาส
คำว่า อทุกข แปลตามศัพท์ว่า "สภาวะที่มีใช่ทุกข์" คือ สภาวะห่างไกลจากทุกข์
คำว่า อสุข แปลดามศัพท์ว่า "สภาวะที่มิใช่สุข" คือ สภาวะห่างไกลจากสุข ส่วนตำแปลว่า
"ไม่มีสุขทุกข์" เป็นคำแปลอธิบายความให้ซัดเจน มิใช่คำแปลตามรากศัพท์ ดังนั้น น ค้พทำใน
อทุกข, อสุข จึงมีความหมายว่า วิธุร (ห่างไกล)

คำว่า ปฏิปกฺขภูตํ (อันเป็นปฏิปักษ์(ต่อทุกข์และสุข) นี้ กล่าวไว้ในจตุตถฌานนี้
เพราะควรบรรดุอุเบกขาเวทนาด้วยการล่วงทุกข์เป็นต้น มิได้กล่าวไว้เพราะอุเบกขาเวทนา
เป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์และสุขเหมือนกุศลและอกุศล"

อุเบกขาเวทนานั้น :-
๑. มีลักษณะเสวยอารมณ์อันตรงกันข้ามกับอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ (อิฏฐา-
นิฏฐวิปริตานุภวนลกฺขณา)
๒. มีหน้าที่เป็นกลาง (มชฺฌตฺตรสา)
๓. มีการไม่ปรากฎขัด(เหมือนสุขทุกข์]เป็นอาการปรากฏ(อวิภูตปจจุปฎฐานา)
๔. มีการดับสุข(ในอุปจารขณะของจตุตถฌานเป็นเหตุใกล้ (สุขทุกขนิโรธ-
ปทฏฐานา)


"" วิสุทธิมหาฎีกา ๑/๘๘/๒๒๕
** วิสุทธิ.มหาฎีกา ๑/๘๘/๒๒๕

ไฟล์แนป:
tumblr_pfklhf9MZu1wtg8hyo1_500.png
tumblr_pfklhf9MZu1wtg8hyo1_500.png [ 243.74 KiB | เปิดดู 804 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/