วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 07:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2023, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




326067869044211.png
326067869044211.png [ 459.77 KiB | เปิดดู 1020 ครั้ง ]
ข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม
[๖๔] ถามว่า : ผู้เพียรปฏิบัติย่อมข่มจิตในเวลาที่ควรข่มอย่างไร
ตอบว่า : ในเวลาที่เธอมีจิตซัดส่ายเพราะความเพียรมากเกินไป เป็นต้น จงอย่า
เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นตัน ๓ ประการ แต่ควรเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้น
ในข้อความว่า "เพราะความเพียรมากเกินไป เป็นต้น" คำว่า อาทิ (เป็นต้น)
หมายถึง การทำจิตให้สังเวชและทำจิตให้ร่าเริง เป็นต้น'
การมีจิตชัดส่ายในเรื่องนี้เป็นความไม่สงบของจิต มิใช่ลักษณะที่จิตฟุ้งซ่านคิดถึง
กามคุณเป็นตัน คังนั้น วิสุทธิมรรคมหาฎีกา* จึงอธิบายว่า "คำว่า อุทฺธตํ (ซัดส่าย)
หมายความว่า ไม่สงบเพราะสมาธิเป็นต้นอ่อนกำลัง"

พระพุทธเจ้าตรัสว่า
-ภิกษุทั้งหลาย อุปมาเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ จึงใส่หญ้าแห้งๆ
และไม่เอาฝุ่นโปรยลงไป เขาอาจดับไฟกองใหญ่ได้หรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ได้ พระพุทธเจ้าช้า
พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น
ในสมัยที่จิดฟุ้งซ่าน ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญขัมมวิยสัมโพชฌงค์ วีริยสัมโพซฌงค์ และ
ปิติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้นยากที่จะให้สงบ
ลงได้ด้วยธรรมเหล่านั้น

ในสมัยที่จิตฟุ้งชาน เป็นเวลาสมควรเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฒงค์ สมาธิ-
สัมโพชมงค์ และอุเบกขาสัมโพซมงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะจิตฟุ้งซ่านจิตที่ฟุ้งซ่าน
นั้นง่ายที่จะให้สงบลงได้ด้วยธรรมเหล่านี้ อุปมาเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่
จึงใส่หญ้าสด ... และโปรยฝุ่นลงในกองไฟใหญ่นั้น เขาอาจดับไฟกองใหญ่ได้หรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ได้ พระพุทธเจ้าข้า"
อนึ่ง พึงทราบการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้นในเรื่องนี้โดยเนื่องด้วย
เหตุเกิดของตน ดังพระพุทธดำรัสว่า
ภิกษุทังหลาย ความสงบกายและใจมีอยู่ การมั่นใส่ใจโดยแยบคายในธรรม
เหล่านั้น(กายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิ) ย่อมมีได้ การหมั่นใส่ใจนี้เป็นเหตุที่ทำปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
นอกจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย สมถนิมิต (นิมิตคือความสงบ, สมาธิที่เกิดขึ้นก่อน) อัพยัคคนิมิต
(นิมิตที่มีอารมณ์เดียว) มีอยู่ การหมั่นใส่ใจโดยแยบคายในนิมิตเหล่านั้นย่อมมีได้ การหมั่น
ใส่ใจนี้เป็นเหตุที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิด
ขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่"

นอกจากนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเหตุเกิดของอุเบกชาสัมโพชณงค์ มีอยู่ การหมั่นใสใจ
โดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นย่อมมีได้ การหมั่นใส่ใจนี้เป็นเหตุที่ทำอุเบกขาส้มโพชฌงค์
ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุเบกขาสมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่

ในพระบาลีทั้งสามแห่งนั้น มีคำอธิบายดังต่อไปนี้ :
การใส่ใจโดยแยบคาย(ที่กล่าวไว้)ในพากย์ทั้งสาม คือ การใส่ใจที่เป็นไปด้วยการ
หนดเอาลักษณะที่ทำให้เกิดปัสทธิเป็นต้นที่เคยเกิดขึ้นแล้วก่อให้เกิดธรรมเหล่านั้น
(ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา)
คำว่า สมถนิมิต นี้เป็นชื่อของสมาธิที่เกิดขึ้นก่อนนั่นเอง และคำว่า อัพยัคค-
นิมิต ก็เป็นชื่อของสมาธินั้นเหมือนกัน โดยมีความหมายว่า ไม่ซัดส่าย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร