ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

การบรรลุปฐมฌาน
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=63441
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 28 มี.ค. 2023, 13:20 ]
หัวข้อกระทู้:  การบรรลุปฐมฌาน

การบรรลุปฐมฌาน

อนึ่ง เมื่อผู้เพียรปฏิบัตินั้นประคอง(ภาวนา)จิตมุ่งสู่(ปฏิภาค)นิมิตตามที่
กล่าวไว้อย่างนี้ มโนทวาราวัชชนจิตที่ตัดภวังคจิตในขณะที่ควรกล่าว]ว่า บัดนี้ อัปปนา
จักสำเร็จ" ย่อมเกิดขึ้นรับอารมณ์เป็นปฐวีกสิณนั้นอันปรากฏในภาวนาจิต)ด้วยการ
พยายามกำหนดว่า ปฐวี ปฐวี (ดินๆ)

ถัดจากนั้น ชวนจิตย่อมแผ่ไปในอารมณ์นั้น ๔ ครั้งบ้าง ๕ ครั้งบ้าง ชวนจิต
ดวงสุดท้ายดวงหนึ่งในชวนจิตเหล่านั้นเป็นรูปาวจรชวนจิต ชวนจิตที่เหลือเป็นกามาวจร.
ชวนจิต

ข้อความว่า "มโนทวาราวัชชนจิตที่ตัดภวังคจิต" กล่าวถึงการเกิดอาวัชชนจิตในวิถี
จิตเดียวกันกับอัปปนาชวนจิต

ข้อความว่า "ชวนจิตย่อมแล่นไปในอารมณ์นั้น ๔ ครั้งบ้าง ๕ ครั้งบ้าง" หมายดวาม
ว่า ชวนจิตเกิดขึ้น ๔ ครั้งแก่ผู้บรรลุเร็วที่เรียกว่า ขิปปาภิญญา ส่วนชวนจิตเกิดขึ้น ๕ ครั้ง
แก่ผู้บรรลุช้าที่เรียกว่า ทันธาภิญญา

ข้อความว่า "ย่อมแล่นไป" เป็นสำนวนทางภาษาที่กล่าวถึงการเกิดชวนจิตด้วยกำลัง
ที่แล่นไปเร็ว ๔ ครั้งเป็นอย่างต่ำในขณะกำลังจะบรรลุฌาน (แต่เมื่อเกิดกามาวจรวิถีจิต
ตามปกติชวนจิตเกิดขึ้น ๗ ครั้ง) ในขณะที่มโนทวาราวัชชนจิตเป็นตันเกิดเพียงครั้งเดียวก็
ดับไป

ข้อความว่า "ชวนจิตดวงสุดท้ายดวงหนึ่งในชวนจิตเหล่านั้นเป็นรูปาวจรชวนจิต
ชวนจิตที่เหลือเป็นกามาวจรชวนจิต" หมายความว่า ถ้าชวนจิตเกิดขึ้น ๔ ครั้ง ชวนจิตดวง
ที่ ๔ เป็นรูปาวจรชวนจิตที่จัดเป็นอัปปนาฌาน ส่วนชวนจิต ๓ ครั้งที่เหลือเป็นกามาวจรชวน
จิต ถ้าชวนจิตเกิดขึ้น ๕ ครั้ง ชวนจิตดวงที่ ๕ เป็นรูปาวจรชวนจิตที่จัดเป็นอัปปนาฌาน ส่วน
ชวนจิต ๔ ครั้งที่เหลือเป็นกามาวจรชวนจิต

ไฟล์แนป:
20230328_161726.jpg
20230328_161726.jpg [ 78.11 KiB | เปิดดู 1568 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 มี.ค. 2023, 11:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การบรรลุปฐมฌาน

ความงาม ๓ อย่างของปฐมฌาน
ความหมดจดของปฏิปทาทำให้บรรลุฌาน เป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน ความ
เพิ่มพูนของอุเบกขา เป็นท่ามกลาง และความร่าเริงเป็นที่สุด
ความหมดจดของปฏิปทาทำให้บรรลุฌาน เป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน มีลักษณะ
เท่าไร คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. จิตหมดจดจากอันตรายของปฐมฌานนั้น (นิวรณ์)
๒. จิตบรรลุถึงสมถนิมิตอันเป็นกลาง เพราะหมดจด
๓. จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะบรรลุถึงสมถนิมิต (อารมณ์ของสมถะ)
ลักษณะทั้ง ๓ เหล่านี้เป็นเบื้องต้นของการบรรลุปฐมฌาน คือ ความหมดจด
ดังนั้นจึงกล่าวว่า ปฐมฌานงามด้วยเบื้องดัน สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๓"
"ความเพิ่มพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางของปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร คือ มี
ลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. การวางเฉยจิตที่หมดจด (จิตที่ปราศจากนิวรณ์)
๒. การวางเฉยจิตที่บรรลุถึงสมถนิมิต (อัปปนา)
๓. การวางเฉยอัปปนาจิตที่ดำรงอยู่ในสภาวะเป็นหนึ่ง (ไม่มีกิเลสคลุกคลี)
ลักษณะทั้ง ๓ เหล่านี้เป็นท่ามกลางของการบรรลุปฐมฌาน คือ ความเพิ่มพูน
อุเบกขา ดังนั้นจึงกล่าวว่า ปฐมฌานงามด้วยท่ามกลาง สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๓"
"ความร่าเริง เป็นที่สุดของปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร คือ มีลักษณะ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ความร่าเริงด้วยสภาวะคือการที่ธรรมเกิดขึ้นในปฐมฌานไม่ล่วงล้ำก้ำเกินกัน
๒. ความร่เริงด้วยสภาวะที่อินทรีย์มีหน้าที่สม่ำเสมอกัน
๓. ความร่าเริงด้วยสภาวะที่เกิดวิริยะอันสมควรแก่อินทรีย์นั้น
๔. ความร่าเริงด้วยสภาวะคือการเสพคุ้นธรรมเหล่านั้น
ลักษณะทั้ง ๔ เหล่านี้เป็นที่สุดของการบรรลุปฐมฌาน คือ ดวามร่าเริง ดังนั้นจึง
กล่าวว่า ปฐมฌานงามด้วยที่สุด สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๔

ไฟล์แนป:
551000002798214.JPEG
551000002798214.JPEG [ 39.26 KiB | เปิดดู 1244 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/