วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 07:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2023, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




dharama_m4-6_U3-59-3.png
dharama_m4-6_U3-59-3.png [ 393.69 KiB | เปิดดู 809 ครั้ง ]
การบรรลุทุติยฌาน

[อนึ่ง ผู้เพียรปฏิบัติที่สั่งสมวสี ๕ เหล่านี้จนชำนาญแล้ว ออกจากปฐมฌาน
ที่คล่องแคล่ว พิจารณาว่า (ปฐมฌานสมาบัตินี้อยู่ใกล้ปฏิปักษ์คือนิวรณ์ (พราะละนิวรณ์
ได้เป็นครั้งแรก) และมีองค์ฌานอ่อนกำลัง เพราะวิตกและวิจารเป็นสภาพหยาบ จึงเห็น
โทษในปฐมฌานนั้นแล้ว ไฝ่ใจ[ทุติยฌาน]ว่าสงบ แล้วคลายความยินติในปฐมฌาน ควรทำ
ความเพียรเพื่อบรรลุทุติยฌานเถิด

ลำคับนั้น ครั้นเธอออกจากปฐมผาน มีสติสัมปธัญญะพิจารณาองค์ฌานอยู่ วิตก
วิจารย่อมปรากฏว่าเป็นองค์หยาบ ปีติ สุข และเอกัดคตาปรากฏว่าละเอียด เมื่อนั้น
ครั้นเธอเพ่งไปฏิภาคนิมิตนั้นอยู่บ่อยๆ ว่า ปฐวี ปฐวี (ดินๆ) เพื่อละองค์ฌานหยาบ
บรรลุองค์ฌานละเอียด มโนทวาราวัชชนจิตที่ตัดภวังคจิตแล้วรับเอาปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
ย่อมเกิดขึ้น (ในชวนวาระที่ควรกล่าวว่า "บัดนี้ ทุติยฌานจักเกิดขึ้น" ต่อแต่นั้น ชวนจิต
ย่อมแล่นไปในปฐวีกสิณอารมณ์นั้น ๔ ขณะบ้าง ๕ ขณะบ้าง (ตามสมควรแก่ดิกขบุคคล
และมันทบุคคล)]

วิสุทธิมรรคนิสสัย (เล่ม ๑ หน้า ๔๗๙) อธิบายเพิ่มเติมว่า ข้อความว่า
สัมปชัญญะ" หมายถึง การมีสติในการพิจารณาองค์ฌานหลังจากออกจากฌานแล้ว ถ้าปฏิบัติ
ปฏิบัติมิได้พิจารณาองค์ฌานเช่นนั้น แต่ไปคิดเรื่องราวอื่น ก็จะทำให้เวลาหมดสิ้นไปโดย
เปล่าประโยชน์ ส่วนสัมปชัญญะคือการพิจารณาว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ (สาตถก-
สัมปชัญญะ) และการพิจารณาว่าสมควรหรือไม่สมควร (สัปปายสัมปชัญญะ)
หมายถึง
ความเข้าใจว่าการพิจารณาองค์ฌานในขณะนี้มีประโยชน์เพื่อให้บรรลุฌานขั้นสูงต่อไป และ
เวลานี้ก็เหมาะสมเพื่อพิจารณาองค์ฌาน เพราะเพิ่งออกจากฌานไม่นาน องค์ฌานจึงปรากฏ
ชัดเจนอยู่ ดำนั้นมิใช่หมายถึงโคจรสัมปชัญญะและอสัมโมหสัมปชัญญะ เพราะไม่เกี่ยวกับ
การปฏิบัติเพื่อพัฒนาสมาธิและปัญญา

ในจิตดวงสุดท้ายของชวนจิตดังกล่าว ชวนจิตควงหนึ่ง (ดวงที่ ๔ หรือที่ ๕
รูปาวจรทุติยฌานชวนจิต ชวนจิต (๓ หรือ ๔ ดวง) ที่เหลือ เป็นกามาวจรชวนจิตที่ได้กล่าว
ประเภทไว้แล้วเว่าเป็นบริกรรม อุปจาระ อนุโลม และโคตรภู]

อนึ่ง ด้วยลำคับภาวนาเพียงเท่านี้ ผู้เพียรปฏิบัตินั้นเข้าถึงทุติยถานที่มีใจภายใน
ผ่องใส อันยังสมาธิให้เกิดขึ้น เพราะวิตกวิจารระงับลง ไม่มีวิตกและวิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ เธอได้บรรสุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเปินอารมณ์ ละองค์ ๒ ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ มีความงาม ๓ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

ประโยคที่กล่าวถึงการบรรลุทุติยฌานว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺ-
ปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺก่ อวิจารํ สมาธิชั ปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ
(เข้าถึงทุติยฌานที่มีใจภายในผ่องใส อันยังสมาธิให้เกิดขึ้น เพราะวิตกวิจารระงับลง ไม่มีวิตก
และวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่) พบในพระไตรปิฎกหลายแห่ง"* ท่านจะอธิบาย
ความหมายของบทเหล่านั้นต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2023, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




PhotoRoom-20230402_090221.png
PhotoRoom-20230402_090221.png [ 27.97 KiB | เปิดดู 648 ครั้ง ]
คำอธิบาย วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา (เพราะวิตกวิจารระงับลง)

[๔๘๐] ในคำอธิบายทุติยฌานนั้น คำว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา (เพราะวิตกวิจาร
ระงับลง) หมายความว่า เพราะการระงับคือล่วงพันธรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ คือ วิตกและวิจาร
ความหมายก็คือ เพราะวิตกวิจารไม่ปรากฎในขณะเข้าถึงทุติยฌาน
ในเรื่องนั้น แม้ธรรมที่เป็นปฐมฌานทั้งหมดไม่มีอยู่ในทุติยฌาน เพราะผัสสะ
เป็นต้นในปฐมฌานและทุติยฌานนี้แตกต่างกัน แต่หึงทราบว่าได้ตรัสอย่างนี้ว่า วิตกฺก
วิจารานํ วูปสมา (เพราะวิตกวิจารระงับลง) เพื่อแสดงว่าการบรรลุทุติยฌานเป็นต้นอื่นจาก
ปฐมฌานย่อมมีได้เพราะล่วงพ้นองค์หยาบๆ


คำอธิบาย อชฺฌตฺตํ (ภายใน)

พระพุทธองค์ทรงประสงค์เอาธรรมที่เกิดขึ้นในคน (นิยกัชมัตตะ)ในคำว่า
อชฺฌตฺตํ (ภายใน) นี้ ดัง[ฌาน]วิภังค์ตรัสเพียงเท่านี้ว่า อชฺฌตฺตํ ปจฺจตฺตํ (เป็นภายใน คือ
เฉพาะตน) ดังนั้น คำว่า อชฺฌตฺตํ นี้จึงมีความหมายว่า เกิดขึ้นในตน คือ เกิดขึ้นในกระแส
จิตของตน เพราะทรงประสงค์เอานิยกัชมัตตะ

ธรรมที่เรียกว่า อัชมัตตะ ที่ตรัสไว้ในที่ต่างๆ จำแนกออกเป็น ๔ ประการตามฐานะ คือ
๑. โคจรัชฌัดตะ อารมณ์ที่บุคคลกำหนดรู้ด้วยสมถะหรือวิปัสสนา
๒ นิยกัชฌัดตะ หมู่ธรรมที่เกิดขึ้นในตน
๓. อัชฌัตตัชฌัตตะ อายตนะภายใน ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
๔ วิสยัชฌัตตะ สิ่งที่พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ในจิตของพระองค์ ได้แก่ ผล-
สมาบัติ เพราะพระองค์สามารถข้าผลสมาบัติในทุกขณะที่ต้องการ

อัชฌัตตะในที่นี้ป็นนิยกัชมัตตะ คือ ฌานที่เกิดขึ้นในตน เพราะในพระบาลืฌานวิภังค์
ตรัสอธิบาย อชฺฌตฺตํ (เป็นภายใน) ด้วยบทที่มีความหมายคล้ายกันว่า ปจฺจตฺตํ (เฉพาะตน)
จึงหมายถึงนิยกัชมัตตะในที่นี้ ดังข้อความในพระบาลีว่า
อชฺฌตฺตนฺติ ยํ อชฺฌตฺตํ ปจฺจตฺตํ
คำว่า อชฺฌตฺตํ (ภายใน) คือ ฌานใดเป็นภายใน คือ เฉพาะตน"
คำว่า อชฺฌตฺต มาจาก อธิ (เกิดขึ้น) + อตฺต (ตน) ส่วนคำว่า ปจฺจตฺต มาจาก
ปติ (เฉพาะ) + อตฺต (ตน) คำทั้งสองมีรูปวิเคราะห์ว่า
- อตฺตนิ ชาตํ อชฺฌตฺตํ - ฌานที่เกิดขึ้นในตน ชื่อว่า อัชมัตตะ (อัพยยีภาว-
สมาส อธิ ศัพท์ + อตฺต ศัพท์)
- อตฺตาน อตฺตาน ปติ ปจฺจตฺตํ = เฉพาะตนๆ ชื่อว่า ปัจจัตตะ (อัพยยีภาวสมาส
ปติ ศัพท์ + อตฺต ศัพท์)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร