วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 21:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2023, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




7-แบมือ-removebg-preview.png
7-แบมือ-removebg-preview.png [ 198.92 KiB | เปิดดู 900 ครั้ง ]
โลกภายในตัวเรา

โลกที่พระพุทธองค์ตรัสถึงในเรื่องนี้ ก็คือทุกขสัจ" ที่เป็น
ความจริงของทุกข์ที่มีอยู่ในขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น
๕ ประการ ซึ่งเรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕

อุปาทานขันธ์เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในกระทบกับอายตะ
ภายนอกที่เข้ามาทางทวารทั้ง ๖ เช่น

เมื่อมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จักขุประสาทรับรูปารมณ์ที่ผ่านเข้า
มาทางจักขุทวาร เป็นเหตุให้เกิดผัสสะทำให้รู้ว่าได้เห็นสิ่งนั้นๆ ใน
ขณะนั้นคนทั่วไปมักเกิดความยึดมั่นว่า ดวงตาของฉันเที่ยงแท้ไม่
เปลี่ยนแปร มีความใสกระจ่างมองเห็นชัดเจนดี และเป็นตัวตนของฉัน
ดังนั้น ดวงตาจึงเรียกว่า รูปุปาทานขันธ์ ได้แก่ ขันธ์อันเป็นที่ตั้ง
แห่งความยึดมั่นคือรูป

ในบางขณะก็จะเกิดความยึดมั่นในอารมณ์ที่ได้รับนั้น เช่น
เมื่อเห็นคนๆ หนึ่งรู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย มีหน้าตา ท่าทาง ที่น่าดู
ก็นึกพอใจในหญิงหรือชายที่เห็น ดังนั้น เมื่อใดที่มีการเห็นเกิดขึ้น
รูป และร่างกายทั้งหมด ย่อมประกอบกันเป็นรูปุปาทานขันธ์

คนเราเวลาที่รู้ว่าตนได้เห็นสิ่งใด ก็แสดงว่า วิญญาณขันธ์
กำลังทำงานอยู่ จึงเกิดมี วิญญาณุป่าทานขันธ์ ได้แก่ ขันธ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือวิญญาณ

เมื่อเห็นแล้วเกิดความรู้สึกชอบหรือไม่นั้นเป็น เวทนาชันธ์
รนะที่ยึดมั่นเวทนานั้นจึงเกิดมี เวทนุปาทานขันธ์ ได้แก่ ขันธ์อัน
ป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือเวทนา

ตามปกติคนเราจะกำหนดจดจำสิ่งที่เห็นเพื่อให้หวนระลึกได้
มื่อเห็นแล้วจำได้นั้นคือ สัญญาขันธ์ ขณะที่ยึดมั่นในความจำนั้น
จึงเกิดมี สัญญูปาทานขันธ์ ได้แก่ ขันธ์อันเป็นที่ดั้งแห่งความยึดมั่น
คือสัญญา
นอกจากนั้น ยังมีสภาพปรุงแต่งจิตซึ่งเป็นเหตุให้คนเราทำ
กรรมดีหรือกรรมชั่วประกอบด้วยเจตสิกที่นอกเหนือจากเวทนาและ
สัญญา นั่นคือ สังขารขันธ์ เมื่อเข้าไปยึดมั่นในสังขารขันธ์ก็เกิดมี
ปาทานขันธ์ ได้แก่ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสังขาร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2023, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น สภาวธรรมการเห็น การได้ยิน การรู้กลิ่น การรู้รส
การรู้สัมผัส และการนึกคิด ย่อมเป็นเหตุให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕
ในท่านองเดียวกัน ขันธ์เหล่านี้เกิดขึ้นในตัวเราตลอดเวลา
แต่ที่ไม่ได้สังเกตเพราะเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว จึงไมทัน
กำหนดรู้การเกิดขึ้นของสภาวธรรมต่างๆ แต่หากได้มาฝึกสติด้วย
ริปัสสนาภาวนา ก็จะสามารถกำหนดรู้การเกิดขึ้นและดับไปของ
อุปาทานขันธ์ จนเห็นความแปรเปลี่ยนนี้ว่าไม่น่าปรารถนา
ความแปรเปลี่ยนที่ไม่น่าปรารถนานี้ก็คือทุกข์ ทั้งไม่สามารถกล่าว
ได้ว่าเป็นตัวเรา ของเราบุรุษ หรือสตรี เพราะเป็นกระบวนการของ
สภาวธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยเท่านั้น

อุปาทานขันธ์ ๕ นี้ประกอบกันเป็นโลกของเรา แสดงให้
เราเห็นทุกขสัจ แต่ปุถุชนทั่วๆ ไปเมื่อเห็นรูปก็ไม่มีการกำหนดรู้ไน
ขณะที่เห็น จึงไม่สามารถเข้าใจสภาวะเห็นตามความเป็นจริง ทำไห้
รู้สึกว่าการได้เห็นนั้นเป็นสิ่งน่าพอใจ จึงได้รับเอาความทุกข์ว่าเป็น
ความสุข ต่อมาความติดใจในความสุขก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้นเป็นความ
ทะยานอยาก เมื่อเขาพยายามตอบสนองต่อความอยากที่เกิดจาก
ความติดใจนั้น ความพยายามทำกรรมจึงเกิดขึ้น ซึ่งก็คือสังขาร
กำลังแสดงบทบาท สังขารเป็นปัจจัยให้บุคคลที่กำลังใกล้จะตายเห็น
กรรมอารมณ์ (การกระทำในอดีต) กรรมนิมิต (เครื่องหมายของ
กรรม) คตินิมิต (เครื่องหมายของภพที่จะไปเกิด) ทาทางมโนทวาร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2023, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1681715607250.jpg
FB_IMG_1681715607250.jpg [ 148.21 KiB | เปิดดู 793 ครั้ง ]
จิตของเขาจะน้อมไปในอารมณ์ใกล้ตายเหล่านี้แล้วหน่วงเหนี่ยวไว้
คล้ายกับคนที่กำลังจะจมน้ำย่อมฉวยเอาสิ่งของที่ลอยน้ำมาแล้วจับ
ไว้แน่น ต่อมาเมื่อจุติจิตดับและละทิ้งเบญจขันธ์ไป อารมณ์ที่ยึด
หน่วงไว้ในขณะใกล้ตายในภพก่อนจึงเป็นเหตุให้เกิดปฏิสนธิจิตใน
ภพปัจจุบัน เพราะยังไม่สามารถละความยึดมั่นได้ ดังนั้น ชีวิตใหม่
จึงมีขึ้นด้วยการเกิดจิตดวงใหม่ซึ่งเกี่ยวโยงภพเก่าไว้กับภพปัจจุบัน
จิตดวงนี้เรียกว่า ปฏิสนธิจิต หมายถึง จิตที่เชื่อมภพก่อนไว้กับภพ
ปัจจุบัน จิตที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิตชื่อว่า ภวังคจิต ทำหน้าที่รักษา
ภพ เมื่อกวังคจิตเกิดเจตสิกก็เกิดขึ้นพร้อมกัน ต่อจากนั้นรูปที่เกิด
จากจิต (จิตตชรูป) ก็เกิดขึ้น ถ้าตัณหายังไม่หมดไป รูปและนามก็
จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันเป็นกระแสอย่างไม่ขาดสายตลอดชีวิต ดังนั้น
ตัณหาจึงเป็นตันเหตุที่ทำให้เกิดโลก และเนื่องจากโลกคือกองทุกข์
จำเห็นได้ชัดว่าตัณหาคือเหตุเกิดของทุกข์

ความพอใจในขณะที่เกิดการเห็น การได้ยิน การรู้กลิ่น การ
รู้รส การรู้สัมผัส และการนึกคิดทางใจ เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้
ก็ทุกข์ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ ตัณหาจึงเป็นสมุทัย เพราะสมุทัยนี้เอง
ทำให้เราเกิดความพอใจที่จะเห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส และ
นึกคิด ซึ่งเป็นเหตุเกิดของทุกข์ต่อไปอีก และทั้งหมดนี้ก็คือความ
จริงเของทุกข์และเหตุของทุกข์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 70 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร