วันเวลาปัจจุบัน 02 พ.ค. 2024, 10:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2023, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




240_F_153563852_gnDtyNnck6cVQLvtGtHXhxSDH53MnBOJ.jpg
240_F_153563852_gnDtyNnck6cVQLvtGtHXhxSDH53MnBOJ.jpg [ 37.28 KiB | เปิดดู 1093 ครั้ง ]
คาถาสำคัญ ๒ บท

ในอิติวุตตะมีคาถาเกี่ยวกับลักษณะ ๒ อย่างของนิพพาน
ซึ่งควรศึกษาดังนี้

ทุเว อิมา จกุขุมตา ปกาสิตา
นิพฺพานธาตู อนิสฺสิเตน ตาทินา
เอกา หิ ธาตุ อิธ ทิฏฺฐธมฺมิกา
สอุปาทิเสสา ภวเนตฺติสงฺขยา.
อนุปาทิเสสา ปน สมฺปรายิกา
ยมฺหิ นิรุชฺฌนฺติ ภวานิ สพฺพโส
เย เอตทญฺญาย ปทํ อสงฺขตํ
วิมุตฺตจิตฺตา ภวเนตฺติสงฺขยา.
เต ธมฺมสาราธิคมา ขเย รตา
ปหํสุ เต สพฺพภวานิ ตาทิโน."

"นิพพานธาตุ ๒ ประเภทเหล่านี้ พระ
ตถาคตผู้มีจักษุ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิเข้าอิง
อาศัย ผู้คงที่ ได้ประกาศไว้ นิพพานธาตุอย่าง
หนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสสะ เพราะ
สิ้นตัณหา ส่วนนิพพานธาตุอีกอย่างหนึ่งที่มีใน
เบื้องหน้า เป็นที่คับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดย
สิ้นเชิง ชื่อว่าอนุปาทิเสสะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2023, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




pexels-stein-egil-liland-3408810.jpg
pexels-stein-egil-liland-3408810.jpg [ 132.7 KiB | เปิดดู 1090 ครั้ง ]
ซนเหล่าใดหยั่งรู้นิพพานธาตุนั้น อันพึง
บรรลุด้วยมรรคญาณและผลญาณ ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง มีจิตหลุดพันแล้วเพราะสิ้นตัณหาที่นำ
ไปสู่ภพ ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่
สิ้นกิเลส เพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้
คงที่ ละภพได้ทั้งหมด"
อนึ่ง ไม่ควรกล่าวว่านิพพานที่เป็นอารมณ์ของมรรคญาณ
และผลญาณเป็นเหตุ ส่วนความดับของกิเลสที่เรียกว่าสอุปาทิเสส-
นิพพานและอนุปาทิเสนิพพานนั้นเป็นผล มิฉะนั้นแล้วจะขัดแย้ง
กับข้อความในคัมภีร์อิติวุตตกะข้างตันว่า เอตทญญาย ปทํ อสงขตํ
วิมุตฺตจิตฺตา (หยั่งรู้นิพพานธาตุนั้นมีจิตหลุดพันแล้ว (คือ บรรลุ
อรหัตตผล) ถ้าถือว่านิพพานที่เป็นอารมณ์ของมรรคญาณและผล-
ญาณต่างกับความดับของกิเลสที่เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานและ
อนุปาทิเสสนิพพาน ก็อาจมีคำถามว่านิพพานอย่างไหนจึงมีลักษณะ
สงบ ที่จริงแล้วสอุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพานเป็นการ
สงบจากกิเลสและขันธ์ จึงประกอบด้วยสันติสุข ส่วนนิพพานที่เป็น
อารมณ์ของมรรคญาณและผลญาณเป็นความสงบโดยสามัญทั่วไป
ซึ่งมิได้ระบุว่าสงบจากกิเลสและขันธ์

ดังนั้น ควรเข้าใจว่านิพพานที่เป็นอารมณ์ของมรรคญาณ
และผลญาณเป็นนิพพานสามัญ ส่วนสอุปาทิเสสนิพพาน และ อนุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2023, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




pexels-stein-egil-liland-3408810.jpg
pexels-stein-egil-liland-3408810.jpg [ 147.38 KiB | เปิดดู 1051 ครั้ง ]
ปาทิสสนิพพานนั้นเป็นนิพพานที่พิเศษกว่าโดยนับเข้าในนิพพานที่
เป็นอารมณ์ของมรรคผล สรุปความได้ว่า นิพพานนั้นประกอบด้วย
สันติสุขที่สงบจากกิเลสและขันธ์

นิพพานเป็นกาลวิมุตติ คือพันไปจากเขตกาลเวลา ดังนั้น
จึงกล่าวไม่ได้ว่า ในขณะที่รรคญาณทำหน้าที่ประหาณกิเลสอยู่นั้น
ได้น้อมไปสู่นิพพานในขณะปัจจุบันนั้น หรือคงรอคอยนิพพานใน
อนาคตเมื่อชันธ์ดับไปพร้อมกับการปรินิพพาน ข้อนี้เป็นเช่นเดียว
กับอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องรอคอยเพื่อผลักดันให้ราคะ โทสะ และ
โมหะเกิดขึ้นเมื่อได้ปัจจัยที่เหมาะสม อนุสัยกิเลสนี้ไม่จัดเป็นอดีต
ปัจจุบัน หรืออนาคต เพราะเป็นกาลวิมุตติ และการดับของอนุสัย

เมื่อพิจารณาถึงสภาพธรรมการดับของกิเลสแล้วไม่อาจจะ
กล่าวได้ว่าการดับกำลังเกิดขึ้น เกิดขึ้นแล้ว หรือจะเกิดขึ้น เพราะ
ไม่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา ดังนั้น ไม่อาจกล่าวได้อีกว่าการดับเสร็จ
สมบูรณ์แล้ว เพราะการดับเป็นไปพร้อมกับการเกิดขึ้นของมรรคจิต
เมื่อกิเลสดับ เบญจขันธ์ซึ่งอาศัยกิเลสปรุงแต่งก็ไม่มีโอกาสเกิดได้
สภาวธรรมที่กล่าวนี้เป็นกาลวิมุตติ จึงไม่เกิดประโยชน์ที่จะถามว่า
มรรคจิตและผลจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นปัจจุบันหรืออนาคต
ในบรรดาสภาวธรรมที่มีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
นั้น อรหัดตผลจิตเป็นธรรมที่ประเสริฐสูงสุด ส่วนปรมัตถธรรมที่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2023, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




โปร่งใส (2).png
โปร่งใส (2).png [ 67.54 KiB | เปิดดู 1049 ครั้ง ]
พันไปจากลักษณะทั้งสามนั้น มีอย่างเดียวคือนิพพาน พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายจึงตรัสยกย่องนิพพานว่า เป็นธรรมที่ประเสริฐสูงสุด เมื่อ
อรหัตตผลจิตเกิดขึ้นรับเอานิพพานที่ดับรูปนามเป็นอารมณ์ พระ
อรหันต์จะบรรลุถึงสันติสุขที่ดับรูปนามได้ในขณะนั้น ท่านจะรู้สึก
เป็นสุขอย่างยิ่ง และต่อมาเมื่อรับเอานิพพานเป็นอารมณ์ในขณะเข้า
ผลสมาบัติ ท่านก็ยิ่งรู้สึกเป็นสุขมากขึ้นไปอีก ดังจะเห็นได้ว่า พระ
หาริตเถระได้กล่าวแสดงความยินดีด้วยคาถาต่อไปนี้

สุสุขํ วต นิพฺพานํ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิต๋
อโสก๋ วิรชํ เขม๋ ยตฺถ ทุกขํ นิรุชฺฌติ."

"พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรง
แสดงแล้ว เป็นสุขดีหนอ ไม่มีความโศก
ปราศจากกิเลสดุจธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ได้"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร