ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
นิพพาน คืออะไร http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=63641 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 30 เม.ย. 2023, 18:32 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | นิพพาน คืออะไร | ||
นิพพานคืออะไร นิพพาน หมายถึง การดับหรือการหมดสิ้นไปของสังขาร ทุกข์อันเป็นวนเวียนของกิเลส (กิเลสวัฏ) เป็นวนเวียนของกรรม (กรรมวัฏ) และเป็นวนเวียนของวิบาก (วิปากวัฏ) วนเวียนของกิเลส ประกอบด้วย - อวิชชา (ความไม่รู้) - ตัณหา (ความอยาก) - อุปาทาน (ความยึดมั่นหรือผูกพัน) วนเวียนของกรรม ประกอบด้วย กรรมทั้งดีและชั่วที่ชักนำให้เกิดภพใหม่ต่อเนื่องไปไม่รู้จบ วนเวียนของวิบาก ซึ่งมักเรียกว่า กรรมวิบาก หมายถึง ผลของกรรมทั้งดีและชั่ว การประกอบกรรมทุกชนิดทั้งที่ดีและชั่ว เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป อายตนะ ๖ และเวทนา เป็นต้น การเห็น การได้ยิน การ รู้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัส และการคิดนึกที่ปรากฎในปัจจุบัน ล้วน เป็นผลหรือวิบากของกรรมทั้งสิ้น
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 01 พ.ค. 2023, 10:12 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: นิพพาน คืออะไร | ||
ผู้ที่ไม่ได้ฝึกเจริญวิปัสสนาญาณเพื่อการหยั่งรู้สภาวธรรม การเห็นหรือการได้ยินตามความเป็นจริงจัดเป็นผู้โง่เขลา เมื่อเขา กล่าวว่าเขาเห็นหรือได้ยินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เขาย่อมคิดผิดๆ ว่าเขาเป็น ผู้เห็นหรือเป็นผู้ได้ยิน แท้จริงนั้นไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตนหรือบุคคล ที่เห็นหรือได้ยิน ความเห็นผิดอย่างนี้ทำให้ผู้นั้นหลงเชื่อว่าสิ่งต่างๆ เที่ยงแท้ถาวร และน่าปรารถนาพอใจ จึงเป็นการก่อให้เกิดความ ทะยานอยากขึ้น ซึ่งจะพอกพูนเพิ่มมากจนกลายเป็นความยืดมั่น ในเวลาต่อมา และนี่คือกระบวนการขยายอาณาจักรของกิเลส ทันทีที่ความยึดมั่นเกิดขึ้น คนเราจะพยายามทำทุกอย่าง เพื่อให้ได้รับอารมณ์ที่ตนปรารถนา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสังขารหรือ ความพยายามทำกรรม ในที่นี้เราอาจกล่าวได้ว่าเป็นการปรุงแต่ง การกระทำต่างๆ และหากบุคคลตายไปในขณะที่ประกอบกรรมนั้น อยู่ ก็จะส่งผลให้เขาไปเกิดใหม่ เนื่องจากปฎิสนธิจิต (จิตที่เกิดใน ภพใหม่) ย่อมเกิดต่อจากจุดิจิต (จิตในขณะตาย) เมื่อมีการตายก็มี การเกิดในกพใหม่ติดตามมา จึงกล่าวได้ว่าการทำกรรมเป็นเหตุให้ เกิดวิบาก และวิบากนั้นเป็นเหตุให้เกิดวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ฯลฯ ต่อเนื่องกันไป
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 01 พ.ค. 2023, 15:31 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: นิพพาน คืออะไร | ||
ดังนั้น วิปากวัฏจึงส่งผลให้เกิดกิเลสวัฏ และกิเลสวัฏส่งผล ให้เกิดกรรมวัฏ การหมุนเวียนของวัฏฏะทั้ง ๓ นี้ ต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด ตราบใดที่เรายังไม่ได้กำหนดรู้การเกิดดับของ ขันธั ๕ บรรลุวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ ตามลำดับจนถึงมรรคญาณ ผลญาณ และนิพพาน การบรรลุนิพพานจะทำลายอวิชชาและสหาย สนิทคือกิเลส ทำให้ไม่สามารถเกิดการปรุงแต่งกรรมใหม่ขึ้นได้อีก ส่วนกรรมเก่าที่ได้ทำมาก่อนก็จะกลายเป็นอโหสิกรรม (กรรมเลิกให้ ผล) ไม่ส่งผลให้เกิดภพใหม่อีกต่อไป สำหรับพระอรหันต์จึงไม่มีการ เกิดใหม่หลังจากจุติจิตได้ดับลง เป็นการตัดเชือกแห่งภพให้ขทดลง อย่างสิ้นเชิงในขณะบรรลุนิพพาน ในรัตนสูตรพบข้อความว่า นิพฺพนฺติ ธีรา ยถยํ ปทีโป (ท่าน เหล่านั้นเป็นปราชญ์ ดับสิ้นไปเหมือนประทีปดวงนี้) ซึ่งกล่าวการ ดับขันธ์ของพระอรหันต์ว่าเป็นเหมือนการดับไปของเปลวไฟ กรรม เก่าของพระอรหันต์กลายเป็นกรรมที่ไม่ให้ผลและไม่มีกรรมใหม่ที่= ให้ผลปฏิสนธิอีก จึงเท่ากับเป็นการดับไฟแห่งภพทั้งปวง คาถาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในรัตนสูตร มีความเต็มว่า ขีณํ ปุราณํ นว นตุถิ สมฺภวํ วิรตฺตจิตฺตายติเก ภวสุมี เต ขีณพีชา อวิรูฬหิฉนฺทา นิพฺพนฺติ ธีรา ยถยํ ปทีโป."
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 02 พ.ค. 2023, 05:19 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: นิพพาน คืออะไร | ||
"พระอรหันต์ผู้สิ้นเชื้อแล้ว ไม่ยินดีในภพอีก มีจิตหน่ายภพเบื้องหน้าสิ้นกรรมเก่า ปราศจาก กรรมใหม่ที่จะส่งไปเกิดอีก ท่านเหล่านั้นเป็น ปราชญ์ ดับสิ้นไปเหมือนประทีปดวงนี้ พระอรหันต์ได้กำจัดกิเลสทั้งปวงด้วยมรรคญาณซึ่งสำเร็จ จากการเจริญวิปัสสนา ด้วยการกำหนดรู้การเกิดดับของรูปนามที่ ปรากฏทางทวารทั้งหก หลังจากท่านได้ละกิเลสทั้งปวงแล้วย่อมไม่ ทำความชั่ว แม้ว่าจะยังทำกรรมดีอยู่ตามปกติ เช่น การแสดงธรรม ฟังธรรมด้วยความเคารพ แสดงความเคารพสักการะพระพุทธเจ้า และพระเถระ บริจาคอาหารและเครื่องนุ่งห่มให้แก่ผู้ที่ขาดแคลน รักษาศีล เจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างทุ่มเท เนื่องจากท่านไม่มี กิเลสเหลืออยู่แล้ว กรรมที่กระทำจึงชื่อว่า กิริยา คือ สักแต่กระทำ โดยไม่ส่งผล กรรมเหล่านั้นไม่นับเป็นกุศลที่ก่อให้เกิดวิบากซึ่งส่ง ผลให้เกิดภพใหม่ และเมื่อไม่มีการกระทำกรรมใหมจึงไม่มีภพใหม่ สำหรับพระอริยบุคคลที่บรรลุมรรคชั้นสูงสุดแล้ว คนทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้ มักเข้าใจผิดและ สอนกันผิดๆ ว่า ไม่ควรบำเพ็ญกุศลกรรมเพราะพระอรหันต์ไม่ทำ กุศลกรรม ผู้ที่หลงเชื่อและปฏิบัติตามจะไม่ทำกุศล แต่จะประกอบ กรรมที่ทำให้ตกไปในอบายภูมิแทน คนเราอาจเลี่ยงการทำกุศลโดย ไม่มีความเสียหายแต่อย่างใด เพราะการไม่กระทำกรรมย่อมไม่ก่อ ให้หยุดติดตามเรื่องที่คิดแล้วกลับมากำหนดรู้สภาาะพองยุบของ ท้อง เมื่อถึงตอนนี้ก็จะเริ่มเข้าใจได้ว่า จิตที่กำหนดรู้อารมณ์ใน ปัจจุบันอยู่นั้น เกิดขึ้นต่อจากจิตที่กำหนดรู้อารมณ์ในอดีต และก็ จะมีจิตที่กำหนดรู้อารมณ์ในขณะต่อไปเกิดขึ้นตามมา จิดที่มีสมาธิ เเนบแน่นอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน ในแต่ละขณะอย่างเต็มที่เช่นนี้ เรียกว่า จิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งจิต
|
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |