วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 00:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2023, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1633592839818-removebg-preview.png
FB_IMG_1633592839818-removebg-preview.png [ 444.39 KiB | เปิดดู 710 ครั้ง ]
๑๒. อนุโลมญาณ

อนุโฉมญาณ ญาณที่อนุโลมไปตามลำดับเพื่อสำเร็จกิจแห่งวิปัสสนาญาณ ๗
โดยมีรูปนามเป็นอารมณ์ หรืออนุโลมไปตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการในเบื้องสูง
อนุโลมญาณ หรือ สัจจานุโลมิกญาณ เเยกบทเป็น สัจจะ + อนุโลมิก +
ญาณ มีความหมายตามรูปศัพท์ ดังนี้
สัจจะ แปลว่า ความจริง ความจริงแห่งอริยเจ้า ได้แก่ อริยสัจทั้ง ๔ คือ
ทุกขสัจ สมุทยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ

ทุกขสัจ ของจริงคือ ทุกข์ ได้แก่ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ)
สมุทยสัจ ของจริงคือ สมุทัย เทตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ โลภเจตสิก
นิโรธสัจ ของจริงคือ นิโรธ ดับทุกข์ได้แก่ พระนิพพาน
มรรคสัจ ของงริงคือ มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรด
มืองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นซอบ เป็นต้นย่นลงมาได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓
นี้มีปรมัตถ์ คือ นิพพานเป็นอารมณ์

อนุโลมิกะ แปลว่า เป็นไปตามลำดับ ๒ ประการคือ อนุโลมตามญาณต่ำ
ไปหาญาณสูงอย่างหนึ่ง อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ อย่างหนึ่ง

๑. อนุโลมตามญาณต่างๆ เริ่มตั้งแต่อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ
เป็นต้น จนกระทั่งถึงสังขารุเปกขาญาณ รวม ๘ ญาณด้วยกัน อย่างนี้เรียกว่า อนุโลม
ตามญาณต่ำมาหาญาณสูง

๒. อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มี สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน
๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๓ อริยมรรคมีองค์ ๘

ดังที่กล่าวแล้ว มีหลักฐานรับรองไว้ คือ ปุริมานํ อฎฐนฺนํ วิปสฺสนาญาฌานํ
ตถกิจฺจตาย จ อนุโลเมติ ๆ อนุโลมแก่วิปัสสนาญาณเบื้องต้น ๘ คือ :

อุทยัพพยญาณ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและดับไปของรูปนาม
ภังคญาณ พิจารณาเห็นเพราะความดับไปของรูปนามอย่างเดียว
ภยญาณ พิจารณาเห็นรูปนามว่าเป็นของน่ากลัว
อาทีนวญาณ พิจารณาเห็นรูปนามว่ามีโทษมาก
นิพพิทาญาณ พิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนามแล้วเบื่อหน่าย
มุญจิตุกัมยตาญาณ พิจารณาห็นทุกข์โทษ เบื่อหน่ายแล้วอยากหลุดพ้น
ปฏิสังขาญาณ พิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจ
ปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง
สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นพระไตรลักษณ์แล้วมีใจวางเฉยอยู่กับรูปนาม
อย่างนี้เรียกว่า อนุโลมตามญาณต้น เพราะมีกิจพิจารณาพระไตรลักษณ์ เป็นอารมณ์
เหมือนกันกับญาณ ๘ ญาณข้างต้น

อุปริ จ สตฺตตึสาย โพธิปกฺขิยธมฺมานํ ฯ อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗
ประการ ในเบื้องสูง

เมื่ออนุโลมตามญาณต่ำได้กำลังพอคือ อินทรีย์ ๕ แก่กล้าแล้วก็เข้าเขต
อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 89 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร