วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 14:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2023, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




EZRtwceWoAEEHjo-removebg-preview.png
EZRtwceWoAEEHjo-removebg-preview.png [ 379.9 KiB | เปิดดู 591 ครั้ง ]
รูปนามอาศัยกัน

ตัวหุ่นเป็นของว่างเปล่าไม่มีชีวิต เคลื่อนไหวไม่ได้ แต่เพราะการประกอบกัน
ของไม้และเส้นเชือกชักตัวหุ่นนั้นจึงเคถื่อนไหวได้ ปรากฎคล้ายกับมีชีวิตขึ้นฉันใดรูป
และนามนี้ก็เช่นกัน ว่างเปล่า ไม่มีชีวิต ไม่เคลื่อนไทว แต่เพราะการอิงอาศัยซึ่งกันและกัน
รูปและนามจึงเคลื่อนไหวได้ ปรากฎมีชีวิตชีวาขึ้นฉะนั้น ท่านผู้รู้แต่โบราณจึงกล่าวว่า

โดยความจริงแล้ว ในโลกนี้มีแต่รูปและนาม
เท่านั้น มิได้มีสัตว์และมนุษย์แต่ประการใคเลย รูป
และนามเป็นของว่างเปล่า ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้นเหมือน
ตัวหุ่นเป็นกอง ทุกข์เช่นเดียวกับกองหญ้าและไม้
รูปและนามในปัญจโวการภพต่างอาศัยชื่งกันและกัน สิ่งหนึ่งเป็นผู้ค้ำจุนอีก
สิ่งหนึ่งไว้ เมื่อสิ่งหนึ่งล้มลงไปด้วยการแตกทำลาย อีกสิ่งหนึ่งก็ล้มลงด้วยการแตก
ทำลายลงด้วยเช่นเดียวกับฟ้อนต้นอ้อ ๒ มัดพิงกันไว้ ฟ้อนต้นอ้อมัดหนึ่งก็ค้ำฟ่อน
ต้นอ้ออีกมัดหนึ่งไว้ เมื่อฟ้อนต้นอ้อมัดหนึ่งล้มลง ฟ้อนต้นอ้ออีกมัดหนึ่งก็ส้มลงด้วย
ท่านโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า

รูปและนามนั้นเป็นของคู่กัน ทั้งสองต่างอาศัยกันและ
กัน เมื่ออย่างหนึ่งแตกทำลายไป สิ่งทั้งสองที่อาศัยกันก็
แตกทำลายไปด้วย
เสียงเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยกลองที่ถูกดีด้วยไม้กลองเป็นอย่างหนึ่ง.เสียงก็
เป็นอีกอย่างหนึ่ง กลองและเสียงไม่ปนกันไม่เป็นสิ่งเดียวกัน ในกลองก็ไม่มีเสียงใน
เสียงก็ไม่มีกลองฉันใด นามเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยรูปคือ วัตถุ ทวาร และอารมณ์
รูปอย่างหนึ่งรูปและนาม ไม่ปนกัน ไม่เป็นสิ่งเดียวกัน ในนามก็ไม่มีรูป ในรูปก็ไม่มีนาม
ฉันนั้นอีกประการหนึ่ง นามอาศัยรูปจึงเกิดขึ้นเหมือนเสียงอาศัยกลองจึงดังขึ้น ท่านผู้
รู้แต่โบราณจึงกล่าวว่า

ผัสสะที่เกิดทางทวารทั้ง ๕ นั้น มิได้เกิดจากตาหรือรูปหรือในระหว่างตา
และรูป, มิได้เกิดขึ้นจากหูหรือเสียง หรือในระหว่างหูและเสียง, มิได้เกิดขึ้นจากจมูก
หรือกกลิ่น หรือในระหว่างจมูกและกลิ่น, มิได้เกิดขึ้นจากลิ้นหรือรส หรือในระหว่างลี้น
และรส. มิได้เกิดงากกายหรือโผฏฐัพพะ หรือในระหว่างกายและโผฎฐัพพะ
ผัสสะที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง ๕ นั้นเป็นสภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุ คือการ
กระทบกันระหว่างทวารและอารมณ์จึงเกิดขึ้น เหมือนเสียงอาศัยเหตุ คือการที่กลอง
ถูกตีจึงเกิดขึ้น ฉะนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2023, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




หุ่นกระบอก-removebg-preview.png
หุ่นกระบอก-removebg-preview.png [ 150.4 KiB | เปิดดู 588 ครั้ง ]
รูปนามไร้อำนาจในตัวเอง
รูปและนามนี้ นามไม่มีอำนาจ ไม่มีความสามารถในตัวเองไม่สามารถกิน ดื่ม
พูด หรือสำเร็จอิริยาบถใดได้ ถึงแม้รูปก็เช่นเดียวกันไม่มีความปรารถนาหรือต้องการ
ที่จะกิน ดื่ม พูด หรือสำเร็จอิริยาบถใดๆ รูปเป็นไปได้ก็อาศัยนาม นามเป็นไปได้ก็
อาศัยรูป เมื่อนามปรารถนาอย่างไร รูปก็เป็นไปอย่างนั้น เพื่อต้องการให้เข้าใจชัดเจน
ดีขึ้น พระอาจารย์ทั้งหลายจึงยกข้ออุปมาขึ้นเป็นอุทาหรณ์ดังนี้ :

ชายตาบอคแต่กำเนิดไม่สามารถเห็นได้ด้วยตนเอง กับชายเป็นง่อยไม่
สามารถเดินไปมาได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าชายทั้งสองคนอาศัยซึ่งกันและกันคือ
ตาบอดแบกชายเป็นง่อยไว้บนบ่า โดยมีชายเป็นง่อยคอยบอกทางเดินให้ ชายทั้งสองก็
สามารถไปในสถานที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย แต่ถ้าชายสองคนนี้แยกจากกัน มิได้
อาศัยซึ่งกันและกัน ชายทั้งสองคนก็ไม่สามารถไปในที่ด่างๆ ได้เลย เพราะต่างก็เป็น
คนทุพพลภาพด้วยกัน เช่นเ ดียวกับรูปและนาม นามก็ไม่มีอำนาจให้สำเร็จกิริยาต่าง

ได้ รูปก็ไม่มีอำนางในการทำกิริยาต่างๆ แต่การเกิดขึ้นของก็ริยจำงา นั้น สำเร็จได้
ด้วยการอาศัยซึ่งกันและกันของรูปและนาม

สภาวธรรมทั้งหลายที่ถูกปังจัยปรุงแต่งนั้นเป็นสภาพทุพพลภาพ
ไม่สามารถเกิดขึ้นและดำรงอยู่ด้วยอำนาจของตัวเอง ต้องอาศัยสภาว
ธรรมอย่างอื่นจึงดำเนินไปได้ สภาวธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งเหล่านี้
เกิดขึ้นจากปัจจัยอื่น เกิดจากอารมณ์อื่น เกิดขึ้นด้วยอารมณ์ปังจัย
และธรรมอื่นด้วย

มนุษย์ทั้งหลาย เดินทางไปในห้วงน้ำได้ เพราะอาศัยเรือ ฉัน
ใด นามกายเป็นไปได้ก็เพราะอาศัยรูป เรือแล่นไปในห้วงน้ำได้
เพราะอาศัย มนุษย์ฉันใค รูปกายเป็นไปได้ก็เพราะอาศัยนาม ฉันนั้น

มนุษย์และเรือต่างอาศัยกัน จึงเดินทางไปในทะเลได้ รูปและ
นามก็ฉันนั้น ต้องอาศัยซึ่งกันและกันเป็นไป
การที่โยคาวจรบุคคลตั้งสติกำหนดรู้รูปนามเป็นอารมณ์ จนสามารถยกนาม
แยกรูปจนเห็นได้ชัดเจนว่ามีแต่รูปกับนามเท่านั้น นอกจากรูปกับนามแล้วไม่มีอะไร ที่
เป็นเช่นนี้เพราะตั้งใจกำหนดด้วยดีจึงเห็นได้ ถ้าไม่ตั้งใจกำหนด ไม่มีสมาธิ ก็ไม่สามารถ
จะรู้เห็นได้เลย เพราะรูปนามนี้ถ้าจิตสงบปราศจากนิวรณ์ย่อมปรากฎได้ และเมื่อจะ
ปรากฏนั้น รูปปรากฎดีแล้ว นามก็ปรากฏตามมา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2023, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1687252471308-removebg-preview (1).png
FB_IMG_1687252471308-removebg-preview (1).png [ 186 KiB | เปิดดู 318 ครั้ง ]
ในการบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาและบรรลุถึงญาณที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉท
ญาณนี้เล้วเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดในภายหลัง จึงขอขี้แจงไว้ดังนี้ว่าที่เรียกว่าได้บรรลุ
ถึงนามรูปปริจเฉทญาณ คือ มีปรีชากำหนดรูปนามได้อย่างชัดเจนดังที่กล่าวมานั้น
พึงเข้าใจว่าต้องเป็นการรู้การเห็นโดยปัญญา อันเกิดจากการเจริญภาวนาของตนจริงๆ
ไม่ใช่รู้ได้จากการศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งท่านอธิบายว่า รูปเป็นอย่างนั้นมีจำนวน
เท่านั้นๆ นามเป็นอย่างนั้นมีจำนวนเท่านั้นๆ แล้วก็ใช้ปัญญาคิดไปตามที่มีกล่าวไว้ใน
ตำราเสร็จแล้วก็คิดนึกไปในใจว่ารูปเป็นอย่างนี้เอง การเรียนรู้และนึกคิดเอาเองอย่างนี้
ไม่ใช่วิปัสนาญาณคือ ญาณที่เกิดขึ้นจากการจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา เพราะการนึกเอา
เดาเอาอย่างนี้เป็นเพียงแต่สุตมปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการศึกษาได้สดับ
รับฟังมาและจินตามยปัญญา คือปัญญาที่เกิดขึ้นจากจินตนาการแห่งตนเท่านั้น ยังไม่
เข้าถึงขั้นภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาภาวนาซึ่งเป็นปัญญา
ที่ละเอียดประเสริฐหนักหนาเพราะเป็นปัญญาที่สามารถตัดกิเลสตัณ หาได้ตามที่มุ่งหมาย

ฉะนั้น พึงทำความเข้าใจว่าความรู้ความเห็นทั้งปวงในเรื่องการเจริญวิปัสสนา
เป็นความรู้ความเห็นที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาญาณโดยเฉพาะ ไม่ใช่ความรู้
ความเห็นที่เกิดขึ้นจากการคิดเอาๆ นึกเอา เดาเอา ซึ่งเป็นความรู้ความเห็นที่ไม่แน่นอน
แต่ญาณหรือความรู้ความเห็นที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาที่กำลังกล่าวถึงในเรื่อง
วิปัสสนาญาณนี้ เป็นความรู้ความเห็นที่แน่นอนเด็ดขาดอันจะเป็นภาวนามยปัญญาได้
อย่างแท้จริง เพราะมีอำนาจที่จะตัดกิเลสตัณหาได้ในที่สุด

เมื่อโยคาวจรบุคคลมีความรู้สึกปรากฎขึ้นว่า มีรูปกับนามเพียง ๒ อย่าง
เท่านั้น ไม่มีตัวไม่มีตน ไม่ใช่เรา เขา ความเข้าใจถูกต้องอย่างนี้ก็จะประหาณสักกาย
ทิฏฐิได้ที่เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความเห็นที่บริสุทธิ์

เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเห็นรูปและนามตามความเป็นจริงแล้วก็จะละสัตตสัญญา
คือความสำคัญหมายรู้ว่ามีสัตว์บุคคลเสียได้ แล้วก็จักตั้งอยู่ในภูมิที่ไม่ลุ่มหลง ซึ่งเป็น
อทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความเห็นอันบริสุทธิ์ หรือรูปนามววัฏฐาน คือการกำหนดรู้รูปและนาม
หรือสังขารปริจเฉท คือการกำหนดรู้สังขาร ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของการเห็นรูปและนาม
ตามความเป็นจริง
จบ นามรูปปริจเฉทญาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2023, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




096ce9b3-b442-4719-ae2f-f16e184dce3f.dfb3f4d86649e30f1b7a6ca14fa13dde.jpeg-removebg-preview.png
096ce9b3-b442-4719-ae2f-f16e184dce3f.dfb3f4d86649e30f1b7a6ca14fa13dde.jpeg-removebg-preview.png [ 152.2 KiB | เปิดดู 318 ครั้ง ]
........

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 61 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร