วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 20:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2023, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




21055827_479218465767938_6009033525105028423_o-removebg-preview (1).png
21055827_479218465767938_6009033525105028423_o-removebg-preview (1).png [ 78.48 KiB | เปิดดู 1474 ครั้ง ]
ลักษณะของนิพพาน
กล่าวโดยสรุปคือ "นิพพาน" หมายถึง สภาพที่ดับทุกข์คือ
วนเวียนของกิเลส กรรม และวิบาก เมื่อวนเวียนของกิเลสถูกตัดให้
ขาดลงด้วยอรหัตตมรรคแล้ว กรรมที่กระทำไว้ในภพนี้และภพก่อน
ก็เป็นอโหสิกรรมไป ภพใหม่ก็ไม่ปรากฎอีก ตามที่กล่าวมานี้ วัฏฏะ
ทั้งสามก็จะสงบไป ดังนั้น ลักษณะของนิพพานจึงเป็นความสงบจาก
วัฏฏทุกข์ เป็นสันติสุขอันยอดเยี่ยม ดังพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้
ว่า สนฺติลกุขณํ " (มีลักษณะสงบ) คือ สงบจากวนเวียนของกิเลส
เป็นตันทั้งสามอย่าง เมื่อมีความสงบเกิดขึ้น ถ่านไฟของความทุกข์
ก็จะถูกดับลง เพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จะขออธิบายลักษณะ
ของวัฏฏะทั้ง ๓ ต่อไป

กิเลสวัฏ
ตามที่อธิบายไว้ในหลักปฏิจจสมุปบาท กิเลสวัฏ (วนเวียน
กิเลส) ถูกทำให้หมุนไปด้วยอวิชชา (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)
ตัณหา (ความทะยานอยาก) และอุปาทาน (ความยึดมั่น) รูปนามที่
ปราฎฏอย่างต่อเนื่องทางทวาร ๖ ในขณะเห็นเป็นตันนั้น นอกจาก
ตัณหาแล้ว ล้วนแต่เป็นทุกข์ในทุกขสัจทั้งสิ้น แต่ด้วยอำนาจของ
อวิชชาปิดที่บังไว้ คนเราจึงเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสุข อวิชชาทำให้
หลงผิดจนเชื่อว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2023, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


"นี่เป็นเรา นั่นเป็นเขา สิ่งเหล่านี้เป็นของยั่งยืน"
เพราะถูกอวิชซาบิดเบือนให้เข้าใจผิดว่า เป็นการได้เห็นรูป
ว่าสวยงาม ได้ยินเสียงไพเราะ หรือได้ฟังเรื่องน่ายินดี เห็นว่าอารมณ์
ที่ได้รับเป็นสิ่งที่ดี เป็นสุข และสวยงาม และเมื่อเห็นว่าสิ่งเหล่านั้น
ดีงามก็จะอยากได้สิ่งเหล่านั้นด้วยอำนาจของตัณหา และขวนขวาย
หามาสนองความต้องการ ซึ่งจะกลายเป็นความยึดมั่นคืออุปาทาน
ต่อมา รวมทั้งก่อให้เกิดความพยายามที่จะให้ได้อารมณ์ที่ต้องการ
เป็นเหตุให้ทำกรรมต่างๆ ซึ่งเรียกว่า กรรมภพ

กรรมวัฏ

เมื่อได้พิจารณากิเลสสำคัญทั้ง ๓ ชนิด คือ อวิชชา ตัณหา
และอุปาทานแล้ว ก็ควรกล่าวถึงกิเลสที่สำคัญรองลงมา คือ โทสะ
(ความโกรธ) มานะ (ความถือตัว) และทิฏฐิ (ความเห็นผิด) เป็นต้น
ด้วย เพราะตัณหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโลภะ (ความโลภอยากได้)
และโลภะก็กระตุ้นให้บุคคลพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้สิ่งที่ตน
ต้องการไม่ว่าจะโดยวิธีใด และเมื่อไม่สมปรารถนาก็จะเกิดโทสะขึ้น
ในจิตใจ หากไม่รู้จักระงับความต้องการนั้น ก็จะพยายามแย่งชิงสิ่ง
ที่ต้องการมาให้ได้ ก่อให้เกิดปัญหาและความเดือดร้อนแก่ชีวิตรวม
ไปถึงทรัพย์สินของเพื่อนมนุษย์ การกระทำเช่นนี้ประกอบด้วยโมหะ
(ความหลง)ซึ่งเป็นอวิชชาอย่างหนึ่งที่เพิ่มพูนบาปอกุศลให้หนา
แน่นยิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อเรารู้สึกโกรธหรือโลภอยากได้ ก็มักจะมีความ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2023, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


หลงมาช่วยซ้ำเติมให้รุนแรงยิ่งขึ้นอีก นอกจากนี้ ความถือตัวก็
หตุให้บุคคลมีความเย่อหยิ่งไม่อยากให้มีใครมาเทียบเทียมได้ คนที่
เย่อยิ่งถือตัวซึ่งประกอบด้วยความเห็นผิดก็มักจะยืนกรานว่า
ความเห็นของคนถูก และจะพยายามเผยแพร่ความเห็นผิดของคนให้ผู้อื่น
ยอมรับด้วยวิธีการชักชวนหรือโฆษณาชวนเชื่อ การกระทำเหล่านี้
เกิดจากกิเลสวัฏซึ่งส่งผลให้เกิดกรรมวัฏ และวิปากวัฎ หมุนกันไป

การฆ่าสัตว์ การลักขโมย ฉ้อโกง และการพูดโกหกหลอก-
ลวงล้วนเป็นการกระทำที่เป็นบาป ในขณะที่การให้ทาน การรักษา
ศีล เป็นต้นที่กระทำโดยตั้งใจจะได้รับสุขในภพต่อไปเป็นบุญ ปุถุชน
และแม้แต่พระอริยบุคคล (ยกเว้นพระอรหันต์) ก็ยังตกอยู่ใต้อำนาจ
ของกิเลสวัฏ กรรมวัฏ และวิปากวัฎ เพราะฉะนั้นการกระทำของ
เขาจึงอาจเป็นบุญหรือบาปโดยขึ้นอยู่กับเจตนา ถ้าเจตนาในขณะที่
กระทำกรรมนั้นประกอบไปด้วยโลภะ โทสะ หรือโมหะ ก็จัดว่าเป็น
อกุศลกรรมหรือกรรมชั่วที่จะให้ผลชั่ว แต่ถ้าเจตนาในขณะทำกรรม
ไม่ประกอบด้วยโลภะ โทสะ หรือโมหะ ก็จัดว่าเป็นกุศลกรรมหรือ
กรรมดี กรรมชั่วจะส่งผลให้ไปเกิดในอบายภูมิ ส่วนกรรมดีจะส่งผล
ให้ไปเกิดในมนุษยโลก เทวโลก หรือพรหมโลก โดยปกติกรรมดีจะ
ส่งผลให้มีอายุยืน สุขภาพดี และมีทรัพย์มาก หรือหากประสงค์จะ
บรรลุมรรค ผล นิพพานก็อาจสำเร็จได้ด้วยการกระทำกรรมดี
ประสงค์จะหลีกเลี่ยงการเกิดในอบายภูมิและความทุกข์จากผลของ
กรรมชั่ว จึงจำต้องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น
ต้องการเกิดใหม่ในโลกมนุษย์ เทวโลก หรือพรหมโลก หรือบรรลุ
มรรค ผล นิพพาน จะต้องบำเพ็ญทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา
โดยเฉพาะผู้ที่ปรารถนาจะบรรลุมรรค ผล นิพพานจะต้องเจริญ
วิปัสสนาภาวนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 74 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร