ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

บัญญัติธรรม
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=64018
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 17 ส.ค. 2023, 05:46 ]
หัวข้อกระทู้:  บัญญัติธรรม

บัญญัติธรรม
ได้กล่าวแล้วตั้งแต่ต้นตามนัยแห่งคาถาที่ ๒ ว่า ปัจจยสังหควิภาคนี้แสดงธรรม ๒
ส่วนคือ ปฏิจสมุปปาทนัยส่วนหนึ่ง และปัฏฐานนัย (คือปัจจัย ๒๔) อีกส่วนหนึ่ง
เมื่อได้แสดงธรรม ๒ ส่วนนั้นแล้ว ก็ควรจะจบได้แล้ว แต่ว่าในปัจฉิมคาถาที่ ๒ (คือคาถา
ที่ ๒๗) มีใจความว่า ปัจจับ ๒๔ ล้วนตั้งอยู่แล้วด้วยสามารถแห่งบัญญัติธรรม นามธรรม
และรูปธรรม

นามธรรม และ รูปธรรม ได้แสดงมาแล้วมากมาย ส่วนบัญญัติธรรมได้กล่าว
ถึงบ้างแต่เพียงเล็กน้อย เหตุนี้ พระอนุรุทธาจารย์ จึงแสดงบัญญัติธรรมโดยมีข้อความ
ละเอียดพอประมาณ ในตอนท้ายปริจเฉทนี้ด้วยการเริ่มคาถาที่ ๒๘ และ ๒๙ ว่า

๒๘. ตตฺถ รูปธมฺมา รูปกฺ- ขนฺโธ วาติ วิชานิยา
จิตฺตเจตสิกกฺขาตา จตุขนฺธา อรูปิโน ฯ
๒๙. อสงฺขตํ นิพฺพานญฺจ อิติ ปญฺจวิธํ อิทํ
อรูปนฺติ จ วเกฺยน. นามนฺติ จ ปวุจฺจติ ฯ
แปลความว่า ธรรมเหล่านั้น (คือ บัญญัติธรรม นามธรรม รูปธรรม) รูปธรรม
ทั้งหลายพึงทราบว่าเป็นรูปขันธ์อย่างเดียว อรูปขันธ์ ๔ นั้น ได้แก่จิต เจตสิก ซึ่งเป็น
สังขตธรรม

อรูปขันธ์ ๔ และรวมนิพพาน ๑ ซึ่งเป็นสังขตธรรมเข้าไปด้วยเป็น ๕ อย่างนี้
ท่านกล่าวว่าเรียก อรูป ก็ได้ เรียก นาม ก็ได้

คาถาทั้ง ๒ นี้แสดงถึงรูปนาม ย้ำให้รู้ว่า รูปธรรมทั้ง ๒๘ รูปนั้นเรียกว่า รูป
ขันธ์ อย่างเจียว ส่วน นามธรรม คือ เวทนาบันธ์ สัญญาขันธ์ สังบารบันธ์ วิญ-
ญาณขันธ์ ที่เป็นขันธ์และเป็นฝ่ายสังขตธรรม กับ นิพหาน ที่เป็นบันธวิมุตติและเป็น
ฝ่ายอสังบตธรรม รวมนามธรรมทั้ง ๕ อย่างนี้เรียกว่าอรูปก็ได้ เพราะนามธรรมทั้ง ๕
อย่างนี้ ไม่มีรูป ไม่ใช่รูป จึงเรียกว่า อรูป

๓๐. อวเสสา จ ปญฺญตฺติ. ตโต จ นามรูปโต
ปญฺญาปิยตฺตา ปญฺญตฺติ สปฺญาปนโต ตถา
ทุวิชา ปญฺญตฺติ โหติ อิติ วิญฺญูหิ จิตฺติตํ ฯ

ไฟล์แนป:
dark-2564614_1280 (1).jpg
dark-2564614_1280 (1).jpg [ 62.11 KiB | เปิดดู 1377 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 17 ส.ค. 2023, 06:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บัญญัติธรรม

แปลความว่า ส่วนธรรมที่เหลือจาก รูปธรรม นามธรรมนั้น ชื่อว่าบัญญัติ
บัญญัติธรรมนั้นมี ๒ อย่าง คือ ปญฺญาปิยตฺตาปญฺญตฺติ และ ปญฺญาปนโตปญฺญตฺติ
ซึ่งนักปราชญ์ทั้งหลายได้บัญญัติไว้แล้วดังนี้

หมายความว่า นอกจากสภาวธรรมอันเป็นรูปธรรม และนามธรรมแล้ว ยังมี
บัญญัติธรรม อันเป็นอสภาวะ คือเป็นธรรมที่ไม่มีสภาวะ แต่เป็นธรรมที่สมมติขึ้น ตั้งขึ้น
บัญญัติขึ้น เพื่อจะได้ใช้พูดจาว่าบานกันให้รู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้

บัญญัติธรรมนี้ จำแนกโดยประเภทใหญ่แล้วมี ๒ ได้แก่ ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ หรือ
อัตถบัญญัติ ๑ และ ปัญญาปนโตบัญญัติ หรือ สัททบัญญัติ อีก ๑

ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ ซึ่งบ้างก็เรียกว่า อัตถบัญญัตินั้น
บัญญัติขึ้น สมมติขึ้น
ตั้งขึ้น เพื่อให้รู้เนื้อความแห่งรูปร่าง สัณฐาน หรือ ลักษณะอาการของชื่อนั้น ๆ เช่น ภูเขา
ต้นไม้
บ้านเรือน ยืน เดิน เป็นต้น

ปัญญาปนโตบัญญัติ ซึ่งบ้างก็เรียกว่า สัททบัญญัตินั้น บัญญัติขึ้น สมมติขึ้น
ตั้งขึ้น เพื่อให้รู้จักเสียงที่เรียกชื่อนั้น ๆ หรือ รู้ด้วยเสียง
รู้ด้วยคำพูด ที่หมายถึงอัตถ-บัญญัตินั้น เช่นในขณะที่ไม่ได้เห็นภูเขา
ไม่ได้เห็นตันไม้ แต่เมื่อออกเสียงพูดว่า ภูเขา พูดว่า
ต้นไม้ ก็รู้และเข้าใจได้ว่า ภูเขา ตันไม้ มีรูปร่าง สัณฐาน อย่างนั้น ๆ หรือพูดว่ายืน
พูดว่า เดิน ก็รู้และเข้าใจได้ว่ามีกิริยาอาการอย่างนั้น ๆ

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/