วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 18:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2023, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1656230933342.jpg
1656230933342.jpg [ 139.52 KiB | เปิดดู 992 ครั้ง ]
นิโรธตามที่แสดงไว้ในเกวัฏฏสูตร
ขอยกข้อความจากเกวัฏฏสูตรในสีลักขันธวรรคมาอธิบาย
เพิ่มเติมดังนี้

วิญญาณํ อนิทสสนํ อนนฺตํ สพฺพโตปภํ -
เอตฺถ อาโป จ ปถวี เตโช วาโย น คาธติ
เอตฺถ ทีฆญฺจ รสฺสญฺจ. อณุํ ถูลํสุภาสุภํ
เอตฺ นามญฺจ รูปญฺจ. อเสลํ อุปรุชฺฌติ
วิญฺญาณสฺส นิโรเธ เอตฺเถตํ อุปรุชฌติ

นิพพานที่รู้ได้ด้วยมรรคญาณอันประเสริฐ
ไม่มีรูปร่างสีสรร ไร้ขอบเขต (คือ การเกิดขึ้น
และดับไป) ฝองใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ
อาโปธาตุ เตโซธาตุ และวาโยธาตุย่อมตั้งอยู่
ไม่ได้ในนิพพานนี้

รูปที่ยาวและสั้น เล็กและใหญ่ งามและไม่งาม
ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในนิพพานนี้ นามและรูป
ย่อมดับไม่มีเหลือในนิพพานนี้

(ข้อความนี้ระบุถึงสอุปาทิเสสนิพพาน)
นามและรูปนั้นย่อมดับไม่เหลือในนิพพาน
นี้ เพราะกรรมวิญญาณและจุติวิญญาณ(ของ
พระอรหันต์)ดับ"
(ข้อความนี้ระบุถึงอนุปาทิเสสนิพพาน)

เป็นความจริงว่า นิพพานไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อ แต่
ะเห็นได้ด้วยปัญญาจักษุหรือมรรคญาณท่านั้น จึงไม่มีอะไรจะ
เปรียบใด้ นิพพานเป็นสภาพที่ไม่มีเบื้องต้นหรือที่สุด และไม่มีการ
เกิดหรือการดับ เราไม่สามารถกล่าวได้ว่านิพพานเกิด ณ ที่นี้ หรือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2023, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ดับ ณ ที่นั้น ไม่มีที่ไหนในโลกนี้จะปรากฏเบื้องต้นหรือที่สุดของ
ธรรมชาติที่สังขารได้ดับแล้วอย่างสิ้นเชิง

นิพพานเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ผ่องใส ความมัวหมองของ
กายนั้นเกิดขึ้นได้จากสิ่งสกปรกส่วนความมัวหมองทางจิตเกิดจาก
กิเลส เช่น ความโลภ ความโกรธ และความหลง ที่เข้ามาย้อมจิต
และเจตสิกให้สกปรก และยังทำให้กุศลธรรมมีมลทินได้ด้วยการเกิด
แทรกในระหว่างอีกด้วย แต่นิพพานนั้นไม่สามารถแปดเปื้อนกิเลส
ได้เลยจึงกล่าวว่าเป็นสภาพที่ผ่องใส นี้เป็นเพียงโวหารเปรียบเทียบ
นิพพานว่าเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส ไม่ใช่เป็นแสงสว่างหรือสถานที่มี
แสงสว่างรุ่งโรจน์แต่อย่างใด เพราะความสว่างจัดเป็นรูปารมณ์ตาม
หลักในพระอภิธรรม ส่วนนิพพานนั้นปราศจากรูป จึงไม่ควรยึดถือ
ความหมายของคำว่า ผ่องใส ในทางโลก เพราะขัดกับคำสอนของ
พระพุทธองค์

คำว่า สพฺพโตปภํ ที่ใช้ในเกวัฏฏสูตรนี้ มีความหมายอีก
ประการหนึ่งว่า "มีทางเข้าถึงได้รอบด้าน"** คือ นิพพานสามารถ
เข้าถึงได้ด้วยการเจริญกรรมฐานเพื่ออบรมพัฒนาจิต คัมภีร์วิสุทธิ
มรรคและคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะได้ระบุไว้ว่า กรรมฐานมีทั้งหมด
๔๐ วิธี แต่ในพระบาลี ระบุไว้เพียง ๓๘ วิธีเท่านั้น โดยไม่
นับอาโลกกสิณ (กสิณแสง) และอากาสกสิณ (กสิณช่องว่าง) แต่
รวมอาโลกกสิณเข้าในโอทาตกสิณ (กสิณสีขาว) และรวมอากสา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2023, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กสิณเข้าในอนันตากาสกสิณ (กสิณอากาศไม่มีที่สุด) นอกจากนั้น
ในบรรดากรรมฐาน ๓๘ วิธี จตุธาตุววัตถานที่เป็นการกำหนด
ก็คือหมวดธาตุมนสิการตรัสไว้ว่าเป็นวิปัสสนาในมหาสติ
ปัฏฐานสูตร และยังหมายรวมไปถึงวิปัสสนากรรมฐานที่กำหนดขันธ์
อายตนะ เป็นต้นอีกด้วย ดังนั้น การเจริญกรรมฐานด้วยการเพ่ง
อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓๘ วิธีนั้นจึงเป็นเครื่องช่วยชักนำให้ผู้
ปฏิบัติธรรมรู้แจังนิพพานได้ อุปมาเหมือนกับคนที่ประสงค์จะออกทะเล
ย่อมต้องไปที่ริมฝั่งทะเลด้านหนึ่งก่อน นิพพานก็เช่นเดียวกัน
ถ้าประสงค์จะไปให้ถึงนิพพาน เราอาจเลือกเดินทางไปตามทางใด
ทางหนึ่งใน ๓๘ ทางที่กำหนดว่าเป็นอารมณ์กรรมฐาน หากแต่จะ
ไม่สามารถถึงที่หมายได้ด้วยลำพังเพียงสมถกรรมฐาน ซึ่งเป็นการ
ฝึกมาธิเพียงอย่างเดียว จำเป็นที่ต้องฝึกปฏิบัติวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว
เท่านั้นจะสามารถช่วยให้สำเร็จญาณในระดับที่จะเป็นบาทฐาณนำสู่
การบรรลุมรรคญาณและผลญาณกรรม
หลังจากสำเร็จสมถกรรมฐานแล้ว เพราะวิปัสสนาเพียงอย่างในระดับที่จะเป็นบาทฐานนำสู่
การบรรลุมรรคญาณและผลญาณ เพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ
พระนิพพาน

ครั้งหนึ่ง ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งได้เข้าป่าพร้อมกับสามเณรเพื่อ
หาไม้สำหรับทำไม้สีฟัน สามเณรก็ไปพบกับศพที่นอนอยู่ริมทางเดิน
จึงเจริญอสุภกรรมฐานในที่นั้นทันทีแล้วบรรลุปฐมฌาน จากนั้นได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2023, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญวิปัสสนาต่อไป ด้วยการกำหนดรู้การเกิดดับของรูปนาม จน
บรรลุมรรคผลขั้นที่สองและขั้นที่สามตามลำดับ ในขณะที่พยาม
เจริญวิปัสสนาต่อไปให้บรรลุอรหัตตมรรค ก็ได้ยินเสียงร้องเรียก
ของพระภิกษุจึงออกจากสมาธิแล้วลุกยืนขึ้นชี้ให้พระภิกษุดูศพนั้น
พระภิกษุก็รีบเจริญกรรมฐานในทันทีจนบรรลุเป็นพระอนาคามี
จะเห็นได้ว่า ทั้งพระภิกษุและสามเณรต่างคุ้นเคยรู้จักกับการเจริญ
วิปัสสนาเป็นอย่างดี เมื่อได้บรรลุปฐมฌานแล้วก็เจริญวิปัสสนาด้วย
การกำหนดรู้สังขารต่อไปจนกระทั่งได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีทั้งสอง
รูป แสดงว่ากรรมฐานกองใดกองหนึ่งใน ๓๘ กองนี้สามารถนำให้
ไปถึงมรรคผลนิพพานได้

อนึ่ง คำว่า สพฺพโตปภํ มีความหมายอีกประการหนึ่งว่า
*ปรากฏว่าประเสริฐในที่ทั้งปวง" ซึ่งหมายความว่า ถ้าบุคคลปฏิบัติ
ตามวิธี ๓๘ อย่างในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งก็จะสามารถบรรลุถึง
นิพพานในที่นั้นได้แน่นอนโดยไม่เลือกสถานที่

ข้อความว่า "ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ
ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในนิพพานนี้" หมายความว่า ในนิพพานไม่มีธาตุ ๔
คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม เมื่อไม่มีธาตุ ๔ ที่ชื่อว่า
มหาภูตรูป ก็ไม่มีอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น อันได้แก่
ตา หู จมูก เป็นต้น ครั้นเมื่อไม่มีอุปาทายรูปนามคือจิตและเจตลิก
ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอุปาทายรูปจึงมีไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2023, 04:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความว่า "รูปที่ยาวและสั้น เล็กและใหญ่ งามและไม่งาม
ยอมตั้งอยู่ไม่ได้ในนิพพานนี้" หมายความว่า เมื่อไม่มีรูป สัณฐาน
ที่ยาวและสั้น เล็กและใหญ่ งามและไม่งาม จึงมีไม่ได้อย่างแน่
ในข้อความว่า "นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในนิพพานนี้
ค่าว่า อเสส (ไม่มีเหลือ) คือ ไม่จำเป็นต้องคิดว่ายังมีรูปนามเหลือ
อยู่เล็กๆ น้อยๆ หรือเป็นรูปพิเศษนามพิเศษที่พ้นไปจากรูปนาม
ทั่วไปเหลืออยู่ แต่เป็นการดับโดยสิ้นเชิงไม่มีส่วนใดเหลืออยู่เลย
คำว่า วิญฺญาณสฺส ในบาทคาถาว่า วิญฺญาณสฺส นิโรเธน
เอตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ (นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในนิพพานนี้
เพราะกรรมวิญญาณและจุติวิญญาณ(ของพระอรหันต์)ดับ) หมายถึง
กรรมวิญญาณหรืออภิสังขารวิญญาณ คือ จิตปรุงแต่งปฏิสนธิ และ
จุติวิญญาณของพระอรหันต์ ดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถา" ที่
จริงเมื่อกรรมวิญญาณดับไป รูปนามในภพไหม่ก็เกิดขึ้นไม่ได้ และ
เมื่อจุติวิญญาณจิตของพระอรหันต์ดับไปเป็นจิตดวงสุดท้ายในกพ
รูปนามในภพใหม่ก็เกิดขึ้นไม่ได้เช่นกัน หมายความว่า กรรมที่มี
กำลังให้ผลเป็นรูปนามในภพต่อไปได้หมดกำลังลงด้วยอำนาจของ
อรหัตตมรรค แม้จิตที่ประกอบร่วมกันกับกรรมนั้นก็หมดกำลังให้
ผลไปด้วย ดังนั้นในภายหลังจากการปรินิพพานของพระอรหันต์
รูปนามในภพใหม่จึงเกิดขึ้นไม่ได้ แต่รูปนามของพระอรหันต์ก็ยัง
ดำเนินไปจนกว่าจะเกิดจุติจิตของท่าน ดังจะเห็นได้ว่ารูปนามของ
พระพากุละดำเนินไปอีก ๘๐ ปีจนกว่าท่านจะปรินิพพาน หรือพรหมผู้เป็น
พระอรหันต์ในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสภูมิยังมีชีวิตอยู่ต่อไปนับพันกัป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron