วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 20:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2023, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20200207_164304.jpg
20200207_164304.jpg [ 167.61 KiB | เปิดดู 1028 ครั้ง ]
อธิบายการจำแนกนิพพาน
๖๒. เมื่อพระอนุรุทธาจารย์แสดงการประมวลจิต เจตสิก และรูปดังนี้แล้ว บัดนี้จะ
ประมวลนิพพานที่มาถึงตามลำดับ จึงกล่าวคำที่ขึ้นต้นว่า นิพฺพานํ ปน (ฝ่ายนิพพานที่
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นโลกุตตระ อันพระอริยะพืงเห็นแจ้งด้วยมรรคญาณทั้ง ๔ เป็น
อารมณ์ของมรรคและผลเรียกว่า นิพพาน เพราะหลีกออกจากตัณหาที่เรียก วานะ)

พึงสัมพันธ์(บทที่ห่างกัน)ว่า ฝ่ายนิพพาน.ย่อมเรียกว่า นิพพาน
คำว่า โลกุตตรสงฺขาตํ แปลว่า ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นโลกุตตระ สมจริงดัง
สาธกว่า

กตเม ธมฺมา โลกุตฺตรา จตฺตาโร จ อริยมคฺคา จตฺตาริ จ สามญฺญผลานิ
อสงฺขตา จ ธาตุ, อิเม ธมฺมา โลกุตฺตรา."-

"ธรรมเหล่าใดชื่อว่า โลกุตตระ อริยมรรค ๔, สามัญญผล ๔, และอสังขตรา
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า โลกุตตระ"

ด้วยข้อความนั้น พระอนุรุทธาจารย์ห้ามความเป็นบัญญัติของนิพพาน เพราะ
บัญญัติที่เกิดจากการสมมุติของชาวโลกไม่ควรเป็นโลกุตตรธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2023, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า จตุมคฺคณาเณน สจฺฉิภาตพฺพํ (อันพระอริยะพึ่งเห็นแจ้งด้วยมรรคญาณ
ทั้ง ๔ มีความหมายว่า อันพระอริยะผู้บรรลุมรรคญาณพึงเห็นแจ้ง คือ พืงรู้ตลอดโดย
ประจักษ์ห้วยอริยมรรคณาณทั้ง ๔ เหมือนบุคคลผู้มีจักษุเห็นดวงจันทร์ด้วยจักษุได้

ในประโยคนั้น คำว่า จตุมคฺคญาเณน (ด้วยมรรคญาณทั้ง ๔) นี้ แสดงว่าปุถุชน
คนเขลาผู้เบือนหน้าจากทางปฏิบัติเช่นนั้น จะรับรู้นิพพานเป็นอารมณ์ไม่ได้ เหมือนคน
ตาบอดจะรู้เห็นดวงจันทร์ไม่ได้ และดวงจันทร์ก็มิไช่ไม่มีอยู่แต่เป็นเพราะคนตาบอดมอง
เห็นไม่ได้

คำว่า สจฺฉิกาตพฺพํ (พึงเห็นแจ้ง) นี้ แสคงว่านิพทานมีอยู่ไดยปรมัตถ์ เพราะ
สิ่งที่ไม่มีจริงโดยปรมัตถ์จักประจักษ์แก่ใครโดยตรงได้หรือ
คำทั้งสองนั้น (คือ จตุมคฺคญาเณน สจฺฉิภาตพฺพ] แสดงว่าปุถุชนผู้ประพฤติดีมี
ปัญญาสามารถอนุมานรู้นิพพานได้ เพราะความเพียรเพื่อบรรลุนิพทานที่ตนอนุมานรู้ไม่ใด้
ย่อมไม่มี การเห็นแจ้งพึงสำเร็จได้ด้วยความเพียรนั้น

เมื่อท่านแสดงว่านิพพานมีอยู่จริงโดยปรมัตถ์แล้ว บัดนี้ได้กล่าวว่า มคฺคผลาน-
มารมฺมณภูตํ (เป็นอารมณ์ของมรรคและผล) เพื่อแสดงว่า นิพพานมิไช่มีอยู่จริงเท่านั้น
แต่ยังมีเดชานุภาพมากอีกด้วย

ข้อความนั้นกล่าวไว้ว่า หน้าที่ของมรรคและผลย่อมสำเร็จไม่ใด้โดยปราศจาก
นิพพาน จึงแสดงว่านิพพานมีเดชานุภาพมาก อุปมาว่ามีพระราชาพระองค์หนึ่งมีพระ
บรมเดชานุภาพมาก และมีผู้ใหญ่บ้านผู้หนึ่งในหมู่บ้านใหญ่ภายในแว่นแคว้นของพระองค์
และมีหัวหน้าโจรอีกคนหนึ่งมีบริวารมาก ทั้งผู้ใหญ่บ้านและโจรก็พยายามประหารกันอยู่
ต่อมาผู้ใหญ่บ้านไปสู่พระนครปรนนิบัติพระราชา ไม่นานนักเขาก็เป็นราชวัลลภคนสนิท
และได้รับอำนาจอันใหญ่หลวงจากพระองค์ หัวหน้าโจรได้ยินความนั้นแล้วดำริว่าถ้าเรายัง
อาศัยอยู่ในที่นี้ต่อไป เราจะไม่มีชีวิตอยู่อีกเป็นแน่แท้จึงหนีเข้าป่าพร้อมกับบริวารของตน
ฝ่ายผู้ใหญ่บ้านก็ไม่ปล่อยให้เขาหนีพ้นไปได้ เมื่อจับตัวแล้วได้ประหารชีวิตเสีย ข้อนี้ที่มี
อุปไมย ฉันนั้น เพราะนิพพานเหมือนพระราชาผู้มีเดชมาก ญาณเหมือนผู้ใหญ่บ้าน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2023, 04:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โมหะเหมือนหัวหน้าโจร กิเลสที่เหลือเหมือนโจรบริวาร ญาณของปุถุชนเหมือนผู้ใหญ่บ้าน
เมื่อยังไม่ได้เข้าปรนนิบัติพระราชา มรรคญาณเหมือนผู้ใหญ่บ้านเมือเข้าปรนนิบัติแล้ว

ตัณหาเมื่อเป็นไปอยู่ย่อมห่อหุ้มธรรมมีขันธ์เป็นตันอันต่างกันโดยความเป็นธรรม
ภายในและภายนอกเป็นต้น ดังพระพุทธวจนะว่า

อนฺโตชฏา พหิชฎา ชฎาย ชฏิตา ปชา.

"ตัณหาได้ห่อหุ้มภายใน ห่อหุ้มภายนอก เหล่าสัตว์ถูกตัณหา
ห่อหุ้มแล้ว"
ด้วยเหตุนี้ ตัณหาจึงได้ชื่อว่า วานะ เพราะมีสภาพเกี่ยวพันไว้เหมือนกิ่งไม้ที่พุ่ม
ไม้ไผ่ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วานสงฺขาตาย ตณฺหาย (ตัณหาที่เรียกว่า วานะ)

คำว่า นิกฺชนฺตตฺตา แปลว่า เพราะหลีกออก หมายความว่า ล่วงพ้นความเป็น
อารมณ์ของตัณหา

ด้วยคำนั้น พระอนุรุทธาจารย์แสดงรูปวิเคราะห์ (คำจำกัดความ) นี้ว่า นิพพาน
คือ สภาพหลีกออกจากตัณหา

๖๓. คำว่า สภาวโต (มีสภาพ) หมายความว่า มีลักษณะสงบ คือมีสภาพดับความ
เร่าร้อนในวัฏฎะ ๓ ที่เกิดภายใน (กิเลสวัฏ = วนเวียนกิเลส กรรมวัฏ = วนเวียน
กรรม และวิปากวัฏ = วนเวียนวิบาก) กล่าวคือ สภาพไม่มีความเร่าร้อนเหล่านั้นโคยสิ้นเชิง

คำว่า เอกวิธปิ (เป็นอย่างเดียว) มีความหมายว่า จิตที่มีสภาพเป็นอย่างเดียว ก็
ต่างกันโดยองค์ธรรมด้วยการจำแนกเป็นชาติ ภูมิ และสัมปโยคนัยเป็นต้น พร้อมด้วย
เวลา ทิศ สถานที่ และบุคคลเป็นต้น เพราะมีสภาวะเกิดขึ้นตามชาติและภูมิเป็นต้น)
นิพพานมิไช่เช่นนั้น มีสภาพและองค์ธรรมไม่ต่างกัน จึงมีเพียงอย่างเดียว โดยแท้จริงแล้ว
นิพพานของบุคคลทั้งหมดคือพระพุทธเจ้า พระปัจจกพุทธเจ้า หรือพุทธสาวกที่ปรินิพพาน
ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตในสงสารที่ไม่มีใครรู้เบื้องต้นนี้ เป็นอย่างเดียวกัน

ถามว่า : เหตุใดจึงเป็นอย่างเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2023, 04:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบว่า : เพราะเป็นสภาพที่กล่าวไม่ใด้เว่ามีสัณฐานเช่นนี้] ด้งพระพุทธวจนว่า
วิญญาณํ อนิทสฺสนํ อนนฺตํ สพฺพโตปภํ

นิพพานที่พึ่งรู้แจ้งกล่าวไม่ได้ [ว่ามีสัณฐานเช่นนี้] ไม่มีขอบเขต
ผุดผ่องยิ่งนัก มีอยู่"
ในพะบาลีนั้น พระดำรัสว่า วิญฺญาณํ (ที่พึ่งรู้แจ้ง) หมายความว่า นิพพานนี้พึง
แจ้ง โดยกระทำให้ปรากฏชัดด้วยสภาพดับสังขตธรรมได้สนิท เพราะนิพพานเกิดขึ้นได้
โดยความดับสิ้นไปของสังขตธรรมทั้งหลาย

พระดำรัสว่า อนิทสฺสนํ (กล่าวไม่ได้(ว่ามีสัณฐานเช่นนี้) หมายความว่า กล่าว
ไม่ได้โดยกระทำให้ต่างกันด้วยประเภทของกาล ทิศ สถานที่ บุคคล กระแสรูปนาม ความ
หยาบ และความประณีตเป็นต้น หรือกล่าวไม่ได้ด้วยสัญฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปุถุชน
คนเขลาสามารถพบเห็นได้ เพราะปราศจากรูปว่างสัณฐาน

พระดำรัสว่า อนนฺตํ (ไม่มีขอบเขต) หมายความว่า ปราศจากขอบเขตก่อนและ
หลัง
พระดำรัสว่า สพฺพโตปภํ (ผุดผ่องยิ่งนัก) หมายความว่า ผุดผ่องรอบด้านด้วย
รัศมี คือ คุณธรรมอันไม่มีที่สุดซึ่งเกิดจากการกำจัดทุกข์ในวัฏฏะ
อนึ่ง นิพพานไม่อาจกล่าวว่าไม่มีในกาลโน้นหรือทิศโนันภายในทิศทั้งหมดและ
ในสงสารที่ไม่มีใครรู้เบื้องต้น เพราะมีสภาพกล่าวไมได้อย่างนั้น

ถามว่า : เพราะเหตุใด
ตอบว่า : เพราะนิพพานมีอยู่ได้ในที่ทุกสถานเสมอโดยความเป็นธรรมที่บรรลุได้
จริงในกาลใดกาลหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง ดังพระพุทธวจนะในพระวินัยปิฎก ยังคุตตรนิกาย
และคัมภีร์อุทานว่า

เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยา กาจิ โลเก สวนฺติโย มหาสมุทฺทํ อปฺเปนฺติ, ยา จ อนต-
ลิกขา ธารา ปปตนฺติ, น เตน มหาสมุทฺทสฺส อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ, เอวเมว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2023, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


......โข ภิกฺขเว พหู เจบิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนติ. น เตน นิพฺาน
ธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญํญายติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลกย่อมไหลไปสู่มหาสมุทร ธารน้ำ
จากท้องฟ้าย่อมตกลงในมหาสมุทร แต่มหาสมุทรไม่ปรากฏความพร่องหรือความเต็ม
ด้วยเหตุนั้น ฉันใด แม้ภิกษุจำนวนมากจักปรินิพพานด้วยการดับไม่เหลือขันธ์อยู่ นิพพาน
ธาตุก็ไม่ปรากฏความพร่องหรือเต็ม ฉันนั้น

ในคัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า
น เตน นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตตํ วา ปญฺญายตีติ อสงฺเขยยฺเยปิ
มหากปฺเป พุทฺเธสุ อนุปฺปชฺชนฺเตสุ เอกสตฺโตปิ ปรินิพฺพาตุํ น สกฺโกติ. ตทาบิ ตุจฺฉา
นิพฺพานธาตูติ น สกฺกา วตฺตุํ พุทฺธกาเล ปน เอเกกสฺมึ สมาคเม อสงฺเขฺยยฺยาปิ สตฺตา
อมตํ อาราเธนฺติ. ตทาปิ น สกฺกา วตฺตุํ ปูรา นิพฺพานธาตูติ."*

*คำว่า 'มหาสมุทรไม่ปรากฎความพร่องหรือเต็มด้วยเหตุนั้น หมายความว่า
ในมหากัปนับไม่ถ้วน เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติเกิด แม้บุคคลผู้หนึ่งก็ไม่อาจ
ปรินิพพาน เมื่อนั้นย่อมกล่าวไม่ได้ว่านิพพานธาตุว่างเปล่า

ส่วนในสมัยพุทธกาล แม้เหล่าสัตว์นับไม่ถ้วนบรรลุอมตธรรมในการประชุมฟัง
ธรรมครั้งหนึ่งๆ เมื่อนั้นก็กล่าวไม่ได้ว่า นิพพานธาตุเต็ม"

มีพระพุทธวจนะในพรหมนิมันตนสูตรว่า
วิญฺญาณํ อนิทสฺสนํ. อนนฺตํ สพฺพโตปภํ."
"นิพพานที่พึงรู้แจ้งกล่าวไม่ได้[ว่ามีสัณฐานเช่นนี้] ไม่มีขอบเขต
ผุดผ่องยิ่งนัก มีอยู่"

ในคัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า

สพฺพโตปภนฺติ สพฺพโต ปภาสมฺปนฺนํ นิพฺพานโต หิ อญฺโญ โกจิ ธมฺโม ปภสฺสรตโร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2023, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วา โชติวนฺตตโร วา ปริสุทฺธตโร วา ปณฺฑรตโร วา นตฺถิ. สพฺพโต วา ปภูตเมว โหติ. น
กตฺถจิ นตฺถีติ สพฺพโตปภํ. ปุรตฺชมทิสาที่สุ หิ อสุกทิสายํ นาม นิพฺพาน นตฺถีติ น วตฺตพฺพํ

"คำว่า 'ผุดผ่องยิ่งนัก' หมายความว่า ถึงพร้อมด้วยความผุดผ่อง รอบด้าน
เพราะไม่มีธรรมอื่นจากนิพพานที่ผุดผ่องกว่า รุ่งโรจน์กว่า หรือผ่องใสกว่า อีกอย่างหนึ่ง
หมายความว่า เกิดขึ้นในทุกแห่ง คือ ไม่มีสถานที่ซึ่งปราศจากนิพพาน จึงชื่อว่า สัพพโต-
ปภะ โดยแท้จริงแล้วไม่อาจกล่าวว่า นิพพานย่อมไม่มีในทิศตะวันออกเป็นต้น"

แม้นินพานจะมีสภาพเป็นอย่างเดียว ก็กล่าวโดยปริยาย[ว่ามี ๒] โดยจำแนก
ด้วยประเภทของธรรมที่ดับไป เพราะบุคคลย่อมรู้แจ้งนิพพานได้ชัดเจนโดยอาศัยธรรมที่
เกิดในภูมิ ๓ ซึ่งดับไป ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำที่ขึ้นตันว่า สอุปาทิเสสา (แต่ก็จำแนกเป็น ๒
อย่างตามปริยายแห่งเหตุ คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ)

ในพากย์นั้น คำว่า อุปาทิ คือ ธรรมที่ถูกตัณหาทิฏฐิยืดมั่น หมายถึง กองขันธ์
๕ ที่มีใจครอง
ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเหลืออยู่จากกรรมและกิเลสที่ละได้บางส่วนหรือทั้งหมดจึงชื่อว่า
อุปาทิเสละ
คำว่า สอุปาทิเสสะ คือ นิพพานธาตุที่มีขันธ์เหลืออยู่ในกระแสจิตในขณะบรรลุ
คำว่า นิพพานธาตุ คือ สภาพดับ
พึงกระทำบทสมาสว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือ สภาพดับที่มีขันธ์เหลืออยู่
คำว่า อนุปาทิเสสะ คือ นิพพานธาตุที่ไม่มีขันธ์เหลืออยู่ไนกระแสจิตนั้นในขณะ
บรรลุ
พึงกระทำสมาสว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือ สภาพดับที่ไม่มีขันธ์เหลืออยู่
ดังพระพุทธวจนะในคัมภีร์อิติวุตตกะเป็นต้นว่า
เทวฺมา ภิกฺขเว นิพฺพานธาตุโย. กตมา เทฺว. สอุปาทิเสสา จ นิพฺพานธาตุ,
อนุปาทิเสสา จ นิพฺพานธาตุ,"*

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2023, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วา โชติวนฺตตโร วา ปริสุทฺธตโร วา ปณฺฑรตโร วา นตฺถิ. สพฺพโต วา ปภูตเมว โหติ. น
กตฺถจิ นตฺถีติ สพฺพโตปภํ. ปุรตฺชมทิสาที่สุ หิ อสุกทิสายํ นาม นิพฺพาน นตฺถีติ น วตฺตพฺพํ

"คำว่า 'ผุดผ่องยิ่งนัก' หมายความว่า ถึงพร้อมด้วยความผุดผ่อง รอบด้าน
เพราะไม่มีธรรมอื่นจากนิพพานที่ผุดผ่องกว่า รุ่งโรจน์กว่า หรือผ่องใสกว่า อีกอย่างหนึ่ง
หมายความว่า เกิดขึ้นในทุกแห่ง คือ ไม่มีสถานที่ซึ่งปราศจากนิพพาน จึงชื่อว่า สัพพโต-
ปภะ โดยแท้จริงแล้วไม่อาจกล่าวว่า นิพพานย่อมไม่มีในทิศตะวันออกเป็นต้น"

แม้นินพานจะมีสภาพเป็นอย่างเดียว ก็กล่าวโดยปริยาย[ว่ามี ๒] โดยจำแนก
ด้วยประเภทของธรรมที่ดับไป เพราะบุคคลย่อมรู้แจ้งนิพพานได้ชัดเจนโดยอาศัยธรรมที่
เกิดในภูมิ ๓ ซึ่งดับไป ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำที่ขึ้นตันว่า สอุปาทิเสสา (แต่ก็จำแนกเป็น ๒
อย่างตามปริยายแห่งเหตุ คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ)

ในพากย์นั้น คำว่า อุปาทิ คือ ธรรมที่ถูกตัณหาทิฏฐิยืดมั่น หมายถึง กองขันธ์
๕ ที่มีใจครอง
ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเหลืออยู่จากกรรมและกิเลสที่ละได้บางส่วนหรือทั้งหมดจึงชื่อว่า
อุปาทิเสละ
คำว่า สอุปาทิเสสะ คือ นิพพานธาตุที่มีขันธ์เหลืออยู่ในกระแสจิตในขณะบรรลุ
คำว่า นิพพานธาตุ คือ สภาพดับ
พึงกระทำบทสมาสว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือ สภาพดับที่มีขันธ์เหลืออยู่
คำว่า อนุปาทิเสสะ คือ นิพพานธาตุที่ไม่มีขันธ์เหลืออยู่ไนกระแสจิตนั้นในขณะ
บรรลุ
พึงกระทำสมาสว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือ สภาพดับที่ไม่มีขันธ์เหลืออยู่
ดังพระพุทธวจนะในคัมภีร์อิติวุตตกะเป็นต้นว่า
เทวฺมา ภิกฺขเว นิพฺพานธาตุโย. กตมา เทฺว. สอุปาทิเสสา จ นิพฺพานธาตุ,
อนุปาทิเสสา จ นิพฺพานธาตุ,"*

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2023, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุมี ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สอุปาทิเสส
นิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ"
บรรดานิพพานธาตุเหล่านั้น นิพพานธาตุอย่างแรกชื่อว่า ดับกิเลส อย่างหลัง
ชื่อว่า ดับขันธ์
อีกอย่างหนึ่ง อย่างแรกชื่อว่า ดับในปัจจุบันภพ อย่างหลังชื่อว่า ดับในสัมปราย
ภพ ดังพระพุทธวจนะว่า
เอกา หิ ธาตุ อิธ ทิฎฐธมฺมิกา สอุปาทิเสสา ภวเนตฺติสงฺขยา. อนุปาทิเสสา ปน
สมฺปรายิกา.

"สภาพดับอย่างหนึ่งมีอยู่ในปัจจุบันภพ ชื่อว่า สอุปาทิเสสะ เพราะสิ้นตัณหา สภาพ
ดับอีกอย่างหนึ่งที่มีในสัมปรายภพ ชื่อว่า อนุปาทิเสสะ

ในอังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต" พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปาทิเสสนิพพานของ
พระขีณาสพ ๒ จำพวกคือผู้หลุดพ้นด้วยนัยทั้งสอง(สมถะและวิปัสสนา] และผู้หลุดพันด้วย
(วิปัสสนา]ปัญญาโดยยังมีขันธ์เหลืออยู่แต่ดับกิเลสทั้งหมดแล้ว]แล้วตรัสสอุปาทิเสสนิพพาน
ของพระเสกขะ ๔ จำพวกที่ยังมีกิเลสเหลืออยู่ คือ

๑. กายสักขิ
: ผู้มีนามธรรมเป็นสักขีพยาน = ผู้บรรลุรูปาวจรฌานก่อน
แล้วกระทำนิพพานให้แจ้งด้วยนามธรรม คือ กลุ่มเจตสิกมีปัญญาเป็นประธาน
๒. ทิฏฐิปัตตะ : ผู้เข้าถึงสัมมาทิฏฐิ - ผู้บรรลุถึงอรหัตตผลต่อจากที่รับรู้
นิพพานด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ
๓. สัทธาวิมุตติ : ผู้หลุดพันจากกิเลสด้วยศรัทธา
๔. ธรรมานุสารี : ผู้บรรลุมรรคเบื้องสูงด้วยปัญญา
พร้อมทั้งปุถุชนผู้ประพฤติดีหมั่นปฏิบัติธรรม
ส่วนในอังคุตตรนิกาย นวกนิบาต"" พระพุทธองค์ตรัสสอุปาทิเสสนิพพานของ
พระเสกขะ ๙ จำพวกที่ยังมีกิเลสเหลืออยู่ คือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2023, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอนาคามี ๕ จำพวกอันได้แก่
๑. อันตราปรินิพพายี : ผู้ดับกิเลสได้ในท่ามกลางอายุ
๒. อุปหัจจปรินิพพายี : ผู้ดับกิเลสได้เมื่อล่วงท่ามกลางอายุ
๓. อสังขารปรินิพพายี :ผู้ดับกิเลสได้โดยไม่พากเพียรมาก
๔. สสังขารปรินิพพายี : ผู้ดับกิเลสได้ด้วยความเพียรยิ่ง
๕. อุทธังโสตอกนิฏฐคามี : ผู้ไปเกิดในอกนิฏฐภูมิ มีกระแสอรหัตตมรรคที่
พึงได้รับในภพชั้นสูง
พร้อมทั้งพระสกทาคามี และพระโสดาบัน ๓ จำพวก
นอกจากนั้น ในเนตติปกรณ์ ""กล่าวไว้ว่า อรหัตตผลก็เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน
ได้ ข้อนั้นไม่พึงประสงค์ในที่นี้
สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ความดับกิเลสไนขณะเกิดมรรค
อนุปาทิเสสนิพพาน คือ การไม่เกิดขันธ์ต่อจากจุติจิต
เมื่อกิเลสยังมีอยู่ ปฏิสนธิขันธ์ย่อมเกิดขึ้น แต่ครั้นกิเลสไม่มี ปฏิสนธิขันธ์ก็
ย่อมไม่เกิดขึ้น ปฏิสนธิขันธ์จึงหมดสิ้นไปพร้อมด้วยความดับกิเลส ส่วนกระแสขันธ์ปัจจุบัน
ที่ดำเนินไปจนกระทั่งถึงจุติของพระขีณาสพ เป็นผลสืบเนื่องของกรรมและกิเลสในภพก่อน
ย่อมเกิดแก่สรรพสัตว์เป็นปกติ แม้กิเลสจะหมดสิ้นไปกระแสขันธ์ปัจจุบันก็ยังดำเนินไป
จนถึงจุติ ความดับขันธ์ในขณะจุติก็เป็นความดับโดยปกติ แต่การไม่เกิดภพใหม่ถัดจากจุติ
เกิดร่วมกับความดับไปของกิเลส แม้การไม่เกิดภพใหม่ในภพต่อๆ มาในสงสารที่ไม่ปรากฏ
เบื้องต้นก็เกิดพร้อมกับความดับกิเลสนั่นเอง ทั้งหมดนี้คือนิพพานที่มีสภาพเป็นอย่างเดียว
พระผู้มีพระภาคตรัสประเภทนี้ไว้ด้วยการมีขันธ์เหลืออยู่หรือไม่มีขันธ์ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า ทุวิธํ โหติ การณปริยาเยน (แต่ก็จำแนกเป็น ๒ อย่างตามปริยายแห่งเหตุ) หมายความ
ว่า ตามปริยายแห่งเหตุในการกล่าวว่ามี ๒ อย่าง
๖๔. ธรรมดาว่าสังขตธรรมย่อมเบียดเบียนมหาชนอยู่เนืองนิตย์ด้วยปลิโพธนานัปการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2023, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำให้ไม่ได้รับความสงบสุข เพราะมีสภาพกังวลอยู่เสมอ ,เป็นบ่อเกิดของโทษทั้งมวล คือ
กิเลสและชรามรณะเป็นต้น เพราะมีรูปร่างสัณฐาน และก่อให้เกิดทุกข์ คือ ความอยากได้
อันเป็นมูลเหตุของทุกข์ทุกอย่างเสมอ เพราะมีสภาพปรารถนา

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าว คำที่ขึ้นต้นว่า สูญฺญตํ (เช่นเดียวกันนี้ นิพพานมี ๓ อย่าง
โดยจำแนกตามอาการ คือ สุญญตนิพพาน อนิมิตตนิพพาน และอัปปณิหิตนิพพาน เพื่อ
แสดงประเภท ๓ อย่างโดยคุณธรรมที่ตรงกันข้ามกับสังขตธรรม

ในประโยคนั้น นิพพานชื่อว่า สุญญตะ เพราะว่างจากปลิโพธทั้งหมด หมายความ
ว่า เมื่อสักกายทิฏฐิมีอยู่ ปลิโพธคืออกุศลกรรม ทุกข์ในอบาย และกุศลกรรมของบัณฑิต
ที่รักษาตนให้พ้นจากอกุศลกรรมและทุกข์ในอบายย่อมปรากฏ ความดับสักกายทิฏฐิจึงอาจ
ดับปลิโพธที่มีสักกายทิฏฐิเป็นมูลเหตุทั้งหมดได้
ไม่มีธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ดับได้
ยกเว้นธรรมดังกล่าว ความดับนั้นจึงว่างจากปลิโพธ

เช่นเดียวกันนี้ควรกล่าวคำเป็นต้นว่า
- ความหมดสิ้นราคะอาจดับปลิโพธที่มีรคะเป็นมูลเหตุได้ ไม่มีธรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งที่ดับได้ยกเว้นธรรมดังกล่าว
- ความหมดสิ้นโทสะอาจดับปลิโพธที่มีโทสะเป็นมูลเหตุได้ ไม่มีธรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งที่ดับได้ยกเว้นธรรมดังกล่าว
- ความหมดสิ้นโมหะอาจดับปลิโพธที่มีโมหะเป็นมูลเหตุได้ ไม่มีธรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งที่ดับได้ยกเว้นธรรมดังกล่าว

นิพพานชื่อว่า สุญญตะ (ว่างจากปลิโพธ) เพราะว่างจากปลิโพธทั้งหมด โดย
ประการฉะนี้
คำว่า นิมิตตะ (สัณฐาน) คือ อาการหยาบที่ทำให้ขันธ์เกิดขึ้นและดำเนินไปส่งผล
ให้สังขตธรรมที่เกิดร่วมกันเป็นบ่อเกิดของกิเลสทั้งหมดและชรามรณะ เป็นที่ตั้งของมาร
เวร และโทษมีโรคเป็นต้นทั้งหมด เป็นเหตุให้สังชารเหล่านั้นเรียกว่า บ่วงแห่งมาร บ้าง
บ่วงแห่งมัจจุ บ้าง และทำให้สังขารต่างกันโดยจำแนกเป็นกาล ทิศ สถานที่ กระแสชันธ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 74 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร