วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 18:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2023, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats (1).jpg
cats (1).jpg [ 52.36 KiB | เปิดดู 1651 ครั้ง ]
ปัญญาควบคุมธรรมที่ประกอบร่วมในกิจไม่หลงผิด เพราะเป็นไปโดยไม่มีธรรมอื่น
ครอบงำได้ ปฐวีธาตุในแท่งหินไม่ถูกรูปอื่นที่เกิด ร่วมกันครอบงำแต่ตนได้ครอบงำรูปเหล่านั้น
โดยทำให้เหมือนไม่มีอยู่โดยเฉพาะ หรืออาโปธาตุในน้ำ เตโซธาตุในไฟ และวาโยธาตุในลม
ไม่ถูกรูปอื่นที่เกิดร่วมกันครอบงำ ฉันใด ข้อนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
คำว่า อัญญาตะ คือ ธรรมที่บุคคลรู้แจ้ง

คำว่า อนัญญาตะ คือ ธรรมที่บุคคลไม่รู้แจ้ง หมายถึง อริยสัจ ๔ หรือนิพพาน
คำว่า อนัญญาตัญญัสสามิ คือ อินทรีย์ที่ดำเนินไปว่า เราจักรู้อริยสัจ ๔ ที่ยัง
ไม่รู้แจ้ง แมับทอาขยาตซึ่งตั้งอยู่ในความเป็นนามศัพท์ (คำแสดงชื่อ) ก็ดำรงอยู่ในฐานะ
แห่งบทนามได้เหมือนคำว่า มกุขลิโคสาล (นายโคสาลที่เจ้านายพูดว่าอย่าลื่น) เอหิปสฺสิก
(ธรรมที่ควรมาดู) เมื่อเป็นดังนี้ การที่บทอาขยาตเชื่อมเป็นสมาสกับบทอื่นย่อมสมควร
คำว่า อนัญญาตัญญัสสามีอินทรีย์ คือ อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติอย่างนี้ว่า เราจักรู้
อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่รู้แจ้ง กล่าวคือ อินทรีย์ของบุคคลผู้ปรารภวิปัสสนา พร้อมด้วยความ
อุตสาหะเช่นนั้นตั้งแต่การกำหนดรู้!รูปนามเป็นเบื้องแรกแล้วบรรลุโสดาปัตติมรรคในเมื่อ
ความอุตสาหะยังไม่ระงับไป
คำว่า อัญญะ คือ ธรรมที่บุคคลรู้ต่อมาอีก
คำว่า อัญญินทรีย์ คือ ธรรมที่บุคคลรู้ต่อมาอีกนั่นแหละ กล่าวคือ อินทรีย์ของ
บุคคลผู้ประกอบในหน้าที่รู้อริยสัจ ๔ หรือพระนิพพานอีก เพราะหน้าที่ในการกำจัดกิเลล
ยังไม่เสร็จสิ้นแม้จะรู้แจ้งธรรมที่ตนไม่เคยรู้มาก่อนแล้วด้วยปฐมมรรคก็ตาม
ในคำว่า อญฺญาตาวินทริย์ (อัญญาตาวินทรีย์) คือ อินทรีย์ของพระขีณาสพ
รู้แจ้ง กล่าวคือ มีหน้าที่ในการรู้แจ้งเสร็จสิ้นแล้ว

อินทรีย์ทั้ง ๓ เหล่านี้ย่อมควบคุมธรรมที่เกิดร่วมกันในการรู้แจ้งเช่นนั้น
พระอนุรุทธาจารย์กล่าวอินทรีย์คือปสาทรูปทั้ง ๕ ก่อนเพื่อแสดงว่า ความยืดมั่น
อัตตาในรูปกายที่ประจักษ์แก่เหล่าสัตว์นี้ย่อมมีด้วยการไม่กำหนดรูปสาทรูปเหล่านี้
ความพันจากความยึดมั่นย่อมมีได้ด้วยการกำหนดรู้
ท่านแสดงถึงอินทรีย์สองอย่างคือภาวรูปต่อมาเพื่อแสดงว่า การที่อัดตาต่างกัน
โดยความเป็นหญิงหรือชายย่อมมีโคยเนื่องกับภาวรูปเหล่านี้ หรือแสดงว่าความยึดมั่นว่า
เป็นหญิงหรือชายไนอัตตาย่อมมีด้วยการไม่กำหนดรู้ภาวรูปเหล่านี้ และความพันจากความ
ยืดมั่นย่อมมีได้ด้วยการกำหนดรู้

ท่านกล่าวอินทรีย์ในโลกุตตระ ๓ ไว้ในที่สุด เพื่อแสดงเบื้องต้น
ท่ามกลาง และที่สุดของการบรรลุความหมดจดด้วยปฏิปทา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2023, 06:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๘. ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะมีสภาพเป็นใหญ่
ถามว่า : ความเป็นใหญ่คืออะไร
ตอบว่า : ความเป็นใหญ่ คือ ความสามารถที่ทำให้ธรรมซึ่งเกิดอาศัยอยู่ในตน
เป็นไปได้ในอำนาจของตนโดยประการทั้งปวง ด้วยเหตุนี้ ธรรมที่กระทำคือทำให้สำเร็จ
ความเป็นใหญ่ของตนในหน้าที่นั้น ๆ (มีการเห็นเป็นต้น) จึงชื่อว่า อินทรีย์
อีกอย่างหนึ่ง อินทรีย์ คือ ธรรมที่ทำให้ธรรมอื่นกระทำความเป็นใหญ่
ความหมายก็คือ ธรรมที่ยิ่งใหญ่ควบคุม(ธรรมอื่นได้]
(คำว่า อินทริย มีความหมาย ๒ ประการ คือ
ธรามที่กระทำความเป็นใหญ่ - อินทฏฐํ กโรนฺตีติ อินฺทริยานิ
(อินฺท ศัพท์ + กร ธาตุ + ณฺย ปัจจัย)
- ธรรมที่ทำให้ธรรมอื่นกระทำความเป็นใหญ่ - อินทฏฺฐํ กาเรนฺ ตีติ อินฺทริยานิ
(อินฺท ศัพท์ + กร ธาตุ + เณ การิตปัจจัย + ณฺย ปัจจัย)

ในบรรดาอินทรีย์เหล่านั้น จักขุนทรีย์เป็นต้น ๕ อย่างเป็นใหญ่ควบคุมจักขุ
วิญญาณเป็นต้นในหน้าที่มีการเห็นเป็นอาทิ เพราะทำให้คล้อยตามอาการของตนในสภาพ
ที่มีกำลังหรือไม่มีกำลัง แก่กล้าหรืออ่อนกำลัง เป็นต้น

ภาวรูป ๒ อย่างเป็นใหญ่ควบคุมรูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ๔ หรือขันธ์ ๕ ทั้งหมด
ในปวัตติกาลโดยเนื่องกับอาการของสตรีเป็นต้น เพราะไม่ปรากฏเป็นอย่างอื่น อธิบายว่า
ปัจจัยมีกรรมเป็นต้นทั้งหมดเมื่อจะก่อให้เกิดกระแสรูปที่มีสมุฏฐาน ๔ ย่อมก่อให้เกิดรูบที่
เป็นไปร่วมกับอาการของสตรีในกระแสรูปที่มีความเป็นหญิงเกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล ไม่ก่อ
ให้เกิดเป็นอย่างอื่น แม้ความปรารถนา ความตั้งใจ หรือความมุ่งหมายก็เกิดร่วมกับอาการ
นุ่มนวลในกระแสรูปดังกล่าว โปรดทราบกระแสรูปของบุรุษโดยตรงกันข้ามกับกระแส
ของสตรี

ชีวิตินทรีย์ทั้งสอง(ที่เป็นรูปกับนาม! ย่อมควบคุมธรรมที่เกิดร่วมกันในกระแส
รูปนามที่ดำเนินไปตลอดเวลาตามลำดับของกลางคืน กลางวัน เดือน และปี เพราะ
กระแสรูปนามเป็นไปเนื่องด้วยชีวิตืนทรีย์ทั้งสอง
จิตย่อมควบคุมหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ
เวทนาทั้ง ๕ ควบคุมความรู้สึกรสของอารมณ์โดยประการนั้นๆ
ศรัทธาควบคุมความเชื่อมั่นอารมณ์ที่ควรเชื่อ]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2023, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะควบคุมความเป็นไปไม่ท้อถอยในการงาน
สติควบคุมความปรากฏของอารมณ์
สมาธิควบคุมความตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในอารมณ์
ปัญญาควบคุมธรรมที่ประกอบร่วมในกิจไม่หลงผิด เพราะเป็นไปโดยไม่มีธวรมอื่น
ได้ ปฐวีฐาตุในแท่งหินไม่ถูกรูปอื่นที่กิดร่วมกันครอบงำ แต่คนได้ครอบงำรูปเหล่านั้น
โดยทำให้เหมือนไม่มีอยู่โดยเฉพาะ หรืออาโปธาตุในน้ำ เตโชธาตุในไฟ และวาโยธาตุในลม
ไม่ถูกรูปอื่นที่เกิดร่วมกันครอบงำ ฉันใด ข้อนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
คำว่า อัญญาตะ คือ ธรรมที่บุคคลรู้แจ้ง
คำว่า อนัญญาตะ คือ ธรรมที่บุคคลไม่รู้แจ้ง หมายถึง อริยสัจ ๔ หรือนิพพาน
คำว่า อนัญญาตัญญัสสามิ คือ อินทรีย์ที่ดำเนินไปว่า เราจักรู้อริยสัจ ๔ ที่ยัง
ไม่รู้แจ้ง แมับทอาขยาตซึ่งตั้งอยู่ในความเป็นนามศัพท์ (คำแสดงชื่อ) ก็ดำรงอยู่ในฐานะ
แห่งบทนามได้เหมือนคำว่า มกฺขสิโคสาล (นายโคสาลที่เจ้านายพูดว่าอย่าลื่น) เอหิปสฺลิก
(ธรรมที่ควรมาดู) เมื่อเป็นดังนี้ การที่บทอาขยาตเชื่อมเป็นสมาสกับบทอื่นย่อมสมควร
คำว่า อนัญญาตัญญัสสามีอินทรีย์ คือ อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติอย่างนี้ว่า เราจักรู้
อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่รู้แจ้ง กล่าวคือ อินทรีย์ของบุคคลผู้ปรารภวิปัสสนา พร้อมด้วยความ
อุตสาหะเช่นนั้นตั้งแต่การกำหนดรู้!รูปนามเป็นเบื้องแรกแล้วบรรลุโสดาปัตติมรรคในเมื่อ
ความอุตสาหะยังไม่ระงับไป
(ตามหลักภาษา บทอาขยาตที่แสคงถึงกิริยาจะเชื่อมสมาสร่วมกับบทนามไม่ได้ เพราะมี
กฎไวยากรณ์บัญญัติไว้ว่า ต้องเชื่อมบทนามตั้งแต่สองบทขึ้นไปเป็นสมาสจะเชื่อมบทอาขยาตกับบท
นามเป็นสมาสไม่ได้

อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นว่า ถ้าบทอาขยาตเป็นคำแสดงชื่อ ไม่แสดงถึงกิริยา ก็ถือว่า
เป็นบทนามและเชื่อมเป็นสมาสได้ เช่น คำว่า มกฺขลิโคสาล คำนี้สำเร็จรูปมาจาก มกฺขลิ ศัพท์ +
โคสาล ศัพท์ คำว่า โคสาล (คอกวัว) เป็นชื่อตัวเพราะเขาเกิดในคอกวัว คำว่า มกฺขลิ เป็นบทอาขยาต
ที่แปลว่า อย่าลื่น มาจาก มา + ขลิ (ขล ธาตุ + อี วิภัตติ) กล่าวคือ วันหนึ่งนายโคสาลถือหมัอ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2023, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


น. ๗๕๘
มันเดินไปบนพื้นโคลน เจ้านายบอกว่าอย่าลื่นล้ม แต่เขาลื่นล้มทำให้หม้อน้ำมันตกแตก
ออกจากเรือนไป ต่อมาเมื่อตั้งต้นเป็นคณาจารย์จึงมีชื่อว่า มกฺขลิโคสาล คำว่า มกฺขลิ (อย่าลื่น) เป็น
บทอาขยาตที่ใช้เป็นบทนามแสดงชื่อ จึงเข้าสมาสกับคำหลังว่า โคสาล เป็นรูปว่า มกฺขลิ
โคสาลที่เจ้านายพูดว่าอย่าลื่น)

กรณีเดียวกัน คำว่า ญสฺสามิ (จักรู้) ก็เป็นอาขยาตที่แสดงชื่ออินทรีย์ จึงเชื่อมกับบท
นามข้างหน้าว่า อนญฺญาต เป็นรูปว่า อนญฺญาตญฺสสามิ (อินทรีย์ที่ดำเนินไปว่า เราจักรู้อริยสัจ ๔
ที่ยังไม่รู้แจ้ง)

คำว่า เอหิปสฺสิก สำเร็จรูปมาจาก เอหิ ศัพท์ + ปสฺส ศัพท์ + อิก ปัจจัย แปลว่า ธรรม
ที่ควรมาดู คำนี้เป็นบทตัทธิตที่ลง อิก ปัจจัยท้ายบทอาขยาตคือ เอหิปสฺส ที่แสดงชื่อและใช้เหมือน
บทนามได้ มีรูปวิเคราะห์ว่า เอหิ ปสฺสาติ อิมํ วิธี อรหตีติ เอหิปสฺสิโก (เอหิปัสสิกะ คือ ธรรมควร
แก่นัยนี้ว่าจงมาดูเถิด)]

คำว่า อัญญะ คือ ธรรมที่บุคคลรู้ต่อมาอีก
คำว่า อัญญินทรีย์ คือ ธรรมที่บุคคลรู้ต่อมาอีกนั่นแหละ กล่าวคือ อินทรีย์ของ
บุคคลผู้ประกอบในหน้าที่รู้อริยสัจ ๔ หรือพระนิพพานอีก เพราะหน้าที่ในการกำจัดกิเลส
ยังไม่เสร็จสิ้นแม้จะรู้แจ้งธรรมที่ตนไม่เคยรู้มาก่อนแล้วด้วยปฐมมรรคก็ตาม

ในคำว่า อญฺญาตาวินทริยํ (อัญญาตาวินทรีย์) คือ อินทรีย์ของพระขีณาสพผู้
รู้แจ้ง กล่าวคือ มีหน้าที่ในการรู้แจ้งเสร็จสิ้นแล้ว
อินทรีย์ทั้ง ๓ เหล่านี้ย่อมควบคุมธรรมที่เกิดร่วมกันในการรู้แจ้งเช่นนั้น

พระอนุรุทธาจารย์กล่าวอินทรีย์คือปสาทรูปทั้ง ๕ ก่อนเพื่อแสดงว่า ความยึดมั่น
อัตตาในรูปกายที่ประจักษ์แก่เหล่าสัตว์นี้ย่อมมีด้วยการไม่กำหนดรูปสาทรูปเหล่านี้ และ
ความพันจากความยึดมั่นย่อมมีได้ด้วยการกำหนดรู้

ท่านแสดงถึงอินทรีย์สองอย่างคือภาวรูปต่อมาเพื่อแสดงว่า การที่อัตตาต่างกัน
โดยความเป็นหญิงหรือชายย่อมมีโดยเนื่องกับภาวรูปเหล่านี้ หรือแสดงว่าความยึดมั่น
เป็นหญิงหรือชายในอัตตาย่อมมีด้วยการไม่กำหนดรู้ภาวรูปเหล่านี้ และความพันจากความ
ยืดมั่นย่อมมีได้ด้วยการกำหนดรู้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2023, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านกล่าวชีวิตินทรีย์ต่อจากภาวรูปเพื่อแสคงว่า อัตตาได้รับความสำคัญว่าเป็น
ชีวะหรือความยึดมั่นว่าเป็นชีวะในอัตตาด้วยอำนาจของชีวิตินทรีย์นี้ย่อมมีได้ด้วยการไม่
กำหนดรู้ชีวิตินทรีย์ และความหันจากความยึดมั่นย่อมมีได้ด้วยการกำหนดรู้ ชีวิตินทรีย์
ควรกล่าวก่อนอินทรีย์คือภาวรูป แต่กลับกล่าวไว้ถัดจากภาวรูปเพราะมีรูปธรรม
นามธรรมคละกัน

ในบรรดาอินทรีย์ที่เป็นนาม ท่านกล่าวมนินทรีย์ก่อนเพื่อแสดงว่า ความยึดมั่น
อัตตาในหมู่นามย่อมมีได้ด้วยการไม่กำหนดอินทรีย์เหล่านี้ และความพ้นจากความยึดมั่น
ย่อมมีได้ด้วยการกำหนดรู้

ท่านกล่าวอินทรีย์คือเวทนาทั้ง ๕ ต่อจากนั้นเพื่อแสดงว่า อัตตาที่ไม่มีรูปนั้น
เป็นสภาพเศร้าหมองและกระสับกระส่ายด้วยอำนาจของอินทรีย์เหล่านี้ อีกอย่างหนึ่ง
ความยึดมั่นว่าเป็นสุขหรือทุกข์ในอัตตาย่อมมีได้ด้วยการไม่กำหนดรู้อินทรีย์เหล่านี้
ความพ้นจากความยึดมั่นมีได้ด้วยการกำหนดรู้

ท่านกล่าวอินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นต่อจากนั้นเพื่อแสดงปฏิปทาสำหรับชำระ
ความเคร้าหมองนั้น หรือเพื่อพ้นจากความยึดมั่นนั้นๆ
ท่านกล่าวอินทรีย์ที่เป็นโลกุตระ ๓ ไว้ในที่สุด เพื่อแสดงเบื้องต้น ท่ามกลาง
และที่สุดของการบรรลุความหมดจดด้วยปฏิปทานั้น

(๒๑๘) ในคัมภีร์วิภาวนีกล่าวว่า
เอตตาวตา อธิปฺเปตฺตถสิทฺธิติ อญฺเญสํ อคหณํ"
"ความสำเร็จแห่งข้อความที่ต้องการมีเพียงเท่านี้ จึงไม่รวมเอาธรรมเหล่าอื่น
เข้าไว้"
ข้อความนั้นไม่สมควร เพราะไม่ควรกล่าวว่า เมื่อธรรมที่ควรแก่ความเป็น
อินทรีย์อื่นมีอยู่ พระผู้มีพระภาคและพระอนุรุทธาจารย์ไม่รวมเอาธรรมอื่น เพราะความ
สำเร็จแห่งข้อความที่ต้องการด้วยถ้อยคำดังนี้ เนื่องด้วยไม่มีธรรมอื่นที่ควรเป็นอินทรีย์
ถ้าธรรมที่ควรเป็นอินทรีย์พึงมีได้ ก็จักรวมเอาไว้สักร้อยหรือพันอย่าง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 83 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร