วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 16:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2023, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1695278351451.jpg
1695278351451.jpg [ 157.13 KiB | เปิดดู 986 ครั้ง ]
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญินทรีย์ ทราบในที่ใด ปัญญินทรีย์พึงทราบในอริยสัจ ๔ นี้

๓๕. ญาณในมรรค ๔ ชื่อว่า ส้มโพธิ โดยมีรูปวิเคราะห์ว่า สัมโพธิ คือ ญาณตลอด
อีกอย่างหนึ่ง สัมโพธิ คือ ญาณที่ทำให้บุคคลรู้ตลอด เมื่อญาณนั้นรู้แจ้งอริยสัจ
๔ อยู่ย่อมรู้ตลอดพร้อมทั้งกิจ ๑๖ อย่าง มิใช่รู้เพียงบางส่วน

(กิจในอริยสัจทั้ง ๔
กิจ ๑๖ อย่าง คือ กิจอย่างละ ๔ ได้แก่ปริญญากิจ ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ และภาวนา
กิจในอริยสัจทั้ง ๔
คำว่า สมฺโพธิ มีความหมาย ๒ ประการ คือ
- ญาณรู้ตลอด = สมนฺตโต พุชฺฌตีติ โพธิ (ลง อิ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ)
- ญาณที่ทำให้บุคคลรู้ตลอด = พุชฺฌตีติ เอตายาติ โพธิ (ลง อิ ปัจจัยในกรณสาธนะ]

สัมโพชฌังคะ หมายถึง องค์ คือ ปัจจัยที่มีกำลังกระทำ(กิจ)ร่วมกันของญาณรู้
ตลอด เพราะมีสภาพก่อให้เกิดญาณรู้ตลอดดังกล่าว

สติสัมโพชฌงค์ หมายถึง องค์แห่งการตรัสรู้คือ สติ เมื่อสตินั้นเจริญไพบูลย์ดี
ในอารมณ์ของตน ๔ อย่างมีกองรูปเป็นตัน กำจัดฝ่ายความประมาททั้งหมดตามลำดับแล้ว
เพิ่มพูนฝ่ายความไม่ประมาทย่อมก่อให้เกิดญาณตลอดคือมรรคญาณ ๔
(สติมี ๘ ฐาน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สตินทรีย์ ๑ สติพละ ๑
สติสัมโพชฌงค์ ๑ สัมมาสติ ๑)

ธัมมวิจยะ คือ ปัญญาหยั่งรู้ธรรมภายในและ ภายนอกอันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา
กล่าวคือ หยั่งเห็นอาการที่พึงรู้ในสภาวะทั้งหมดเหมือนกระทำให้เป็นผงละเอียดด้วยสภาวะ
อาการต่างๆ มีความแข็งและการกระทบเป็นต้นพร้อมทั้งความไม่เที่ยงเป็นต้น
(การหยั่งเห็นสภาวะการแข็งและการกระทบเป็นต้นเป็นการรับรู้สภาวลักษณะ คือ ลักษณะ
พิเศษ ส่วนการหยั่งเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นการรับรู้สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะทั่วไป]

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หมายถึง องค์แห่งการตรัสรู้ คือ ปัญญา เมื่อธัมมวิจยะ
เจริญไพบูลย์ดีในธรรมที่เป็นอารมณ์ของตน กำจัดฝ่ายความหลงผิดทั้งหมดตามลำดับแล้ว
เพิ่มพูนฝ่ายความไม่หลงผิดย่อมเกิดขึ้นเป็นญาณรู้ตลอดคือมรรคญาณ ๔
(องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกมี ๕ ฐาน คือ วิมังสิทธิบาท ๑
ปัญญินทรีย์ ๑ ปัญญาพละ ๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ สัมมาทิฏฐิ ๑)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2023, 06:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยสัมโพชฌงค์ หมายถึง องค์แห่งการตรัสรู้ คือ วิริยะ เมื่อวิริยะนั้นเจริญไพบูลย์
ดีในธรรมที่เป็นอารมณ์ของตน ๔ อย่าง กำจัดหมู่กิเลสที่เป็นฝ่ายความหดหู่ท้อถอย
เกียจคร้านทุกอย่างในกุศลธรรมแล้วเพิ่มพูนฝ่ายการบำรุงรักษาธุระ(ในสมถะและวิปัสสนา)
ทั้งหมดย่อมก่อให้เกิดการตรัสรู้ตามที่กล่าวแล้ว
(วิริยะ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ๙ ฐาน คือ สัมมัปธาน ๔ วิริยทธิบาท ๑
วิริยินทรีย์ ๑ วิริยะพละ ๑
วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ สัมมาวายามะ ๑)

ปิติสัมโพชฌงค์ หมายถึง องค์แห่งการตรัสรู้ คือ ปีติ เมื่อปีตินั้นเจริญ
ดี ในอารมณ์ตังที่กล่าวมาแล้ว กำจัดฝ่ายความเบื่อหน่ายไม่น่ารื่นรมย์ของจิตในกุศลธรรม
ทั้งหมดแล้ว เพิ่มพูนฝ่ายดวามพึงใจเพลิดเพลินยินดีในธรรมย่อมก่อให้เกิดการตรัสรู้ตาม
ที่กล่าวแล้ว

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ หมายถึง องค์แห่งการตรัสรู้ คือ ปัสสัทธิ เมื่อปัสสัทธินั้น
จริญไพบูลย์ดีในอารมณ์ดังที่กล่าวมาแล้ว กำจัดฝ่ายความเร่าร้อนกระวนกระวายของจิต
ทั้งหมดแล้ว เพิ่มพูนฝ่ายความสงบเย็นย่อมก่อให้เกิดการตรัสรู้ตามที่กล่าวแล้ว

สมาธิสัมโพชฌงค์ หมายถึง องค์แห่งการตรัสรู้ คือ สมาธิ การที่สมาธิก่อให้
เกิดธรรมที่รู้ตลอด ประจักษ์ชัดแล้ว
(สมาธิที่มีอารมณ์คือสภาวธรรมอันได้แก่รูปธรรมกับนามธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อก่อให้เกิด
วิปัสสนาปัญญา ทั้งนี้เพราะจิตตวิสุทธิย่อมเป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิวิสุทธิเป็นตัน
(สมาธิ องค์ธรรม ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก มี ๔ คือ
สมาธินทรีย์ ๑ สมาธิพละ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ สัมมาสมาธิ ๑

ดังพระพุทธวจนะว่า
สมาธิ ภิกฺขเว ภาเวถ. สมาหิโต ภิกฺขุ ยถาภูตํ ปชานาติ ปสฺสติ."
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้แจ้ง เห็นประจักษ์
ตามความเป็นจริง"

ธมฺมตา เอสา ภิกฺขเว, ยํ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ ปสฺสติ."
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้ ย่อมเห็น ตามความเป็นจริง ลักษณะเช่นนี้
เป็นธรรมดาในโลกๆ

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ หมายถึง องค์แห่งการตรัสรู้ คือ อุเบกขาอันได้แก่ ตัตร-
มัชผัตตตา เมื่ออุเบกขานั้นเจริญไพบูลย์ดีไนอารมณ์ของสติเป็นดันดังที่กล่าวไว้แล้วกำจัด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2023, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝ่ายความหดหู่ซัดส่ายของจิตทั้งหมดแก้ว เพิ่มพูนฝ่ายความสมดุลย่อมก่อให้เกิดการรู้แจ้ง
ตามที่กล่าวแล้ว

(อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้ โดยองค์ธรรม คือ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก เจตสิกดวงนี้ทำหน้าที่
ปรับอินทรีย์ให้สมดุลกัน กล่าวคือ ทำให้วิริยะสมดุลกับสมาธิ จึงกำจัดความหดหู่เรื่องซึมและความ
ซัดส่ายได้ ในเวลาที่ไม่เกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ บางขณะวิริยะจะมากกว่าสมาธิ ส่งผลให้เกิดความ
ซัดส่าย หรือเมื่อสมาธิมากกว่าวิริยะความหดหู่เซื่องซึมก็จะเกิดขึ้น
โพชฌงค์เหล่านี้เริ่มเกิดตั้งแต่วิปัสสนาญาณที่ ๔ และมีกำลังแก่กล้าตั้งแต่วิปัสสนาที่
๕ เป็นต้นไป มีข้อความเกี่ยวกับเรื่องนี้ในคัมภีร์อรรถกถาของทีฆนิกายและมัชฌิมนิกายว่า

เอตฺถ หิ สมฺพุชฺฌติ อารทฺธวิปสฺสกโต ปฏฺฐาย โยคาวจโรติ สมฺโพธิ "
พระโยคาวจรย่อมหยั่งรู้ตั้งแต่เริ่มปรารภวิปัสสนา จึงชื่อว่า สัมโพธิ"
คัมภีร์ฎีกาของทีฆนิกายและมัชฌิมนิกายอธิบายว่า
อุทยวยญาณุปฺปตฺติโต ปฎฺฐาย สมฺโพธิปฏิปทายํ ฐิโต นาม โหตีติ อาห อาวทฺธ-
วิปสฺสกโต ปฏฺฐาย โยคาวจโรดิ สมฺโพธีติ"
*พระโยคาจรชื่อว่าตั้งอยู่ในปฏิปทาหยั่งรู้ตั้งแต่การอุบัติแห่งปัญญาที่รู้เห็นความเกิดขึ้น
และดับไป ฉะนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า อารทฺธวิปสฺสกโต ปฏฺฐาย โยคาวจโรติ สมฺโพธิ
(พระโยคาวจรย่อมหยั่งรู้ตั้งแต่เริ่มปรารภวิปัสสนา จึงชื่อว่า สัมโพธิ)]
(อุเบกขาสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
มีฐานเดียว คืออุเบกขาสัมโพชฌงค์
และที่ใน มหากุศลจิต ๘
มหากิริยาจิต ๘ มหัคคตจิต ๙ มหัคคตกิริยาจิต ๙ โลกุตตระ ๘-๔๐

๓๖. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ กล่าวคือ ความเห็นไม่แปรปรวน
สัมมาทิฏฐิมี ๔ ประเภทคือ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุแห่งทุกข์ ความรู้ใน
ความดับทุกข์ และความรู้ในทางแห่งความดับทุกข์
(ปัญญา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกมี ๕ ฐาน คือ มังสิทธิบาท ๑
ปัญญินทรีย์ ๑
ปัญญาพละ ๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ และสัมมาทิฏฐิ ๑


สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ กล่าวคือ ความดำริไม่แปรปรวน หมายความ
ว่า กระทำสัมมาทิฏฐิให้แผ่ไปในสภาวะที่พึงหยั่งเห็น สัมมาสังกับปะจึงนับเข้าปัญญาขันธ์
สมจริงดังสาธกว่า

ยา จาวุโส วิสาข สมฺมาทิฏฐิ, โย จ สมฺมาสงฺกปฺโป, อิเม ธมฺมา ปญฺญากฺขนฺเธ
สงฺคหิตา."

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2023, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


"ผู้มีอายุวิสาขะ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ นับเข้าในปัญญาขันธ์"

(สัมมาสังกัปปะ โดยองค์ธรรมคือวิตกเจตสิก วิตกเจตสิกนั้นทำหน้าที่ยกจิตซึ่งมีสัมมาทิฏฐิ
ให้เข้าสู่สภาวะอารมณ์มีกองรูปเป็นต้นที่พึงหยั่งเห็น จึงนับเข้าในปัญญาขันธ์]
องค์ธรรม คือ วิตกที่ใน มหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘
ปฐมฌานกุศลจิต ๑ ปฐมฌานกิริยา ๑ โลกุตตรปฐมฌานจิต ๘


สัมมาวาจาเป็นต้นมีเนื้อความที่กล่าวมาแล้ว
สัมมาวายามะ คือ ธรรมที่ทำให้บุคคลเพียรชอบ หมายถึง ความเพียรที่ป็น
สัมมัปปธานซึ่งทำให้หน้าที่ ๔ อย่างสำเร็จ

อธิบายคาถาสรุป

๓๘. ท่านกล่าวว่า จุทฺทเสเต สภาวโต (โดยสภาวธรรมมี ๑๔) โดยกระทำปัสสัทธิ
ทั้งสอง(คือกายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิ)ให้รวมเป็นหนึ่งโดยความเป็นปัสสัทธิเหมือนกัน
คำว่า สตฺตธา (มี ๗) คือ มี ๗ ด้วยการจำแนกตามสติปัฏฐาน ๔ และสัมมัป
ปธาน ๔ เป็นต้นที่กล่าวไว้แล้ว

๔๐. บัดนี้ ท่านกล่าวว่า สงฺกปฺปปสฺสทฺธิ จ เป็นต้น เพื่อแสดงถึงความต่างกันแห่ง
ฐานะของกิจ ๑๔ อย่าง

(๒๒๖) ในคัมภีร์วิภาวนีกล่าวว่า.
สตฺตธา ตตฺถ วา สงฺคโหติ วตฺวา ปุน ตํ ทสฺเสตุ๋ สงฺกปฺปปสฺสทฺธิ จาติอาทิมาห.

"พระอนุรุทธาจารย์กล่าวว่า สตฺตธา งตตฺถ สงฺคโห (การประมวลธรรมฝ่ายตรัสรู้
นั้นมี ๗) แล้วกล่าวคาถาว่า สงฺกปฺปปสฺสทฺธิ จ เป็นต้น เพื่ออธิบายข้อความดังกล่าว"

ข้อความนั้นไม่สมควร เพราะองค์ธรรม ๗ อย่างไม่มีในคาถานั้น
ธรรม ๙ อย่างปรากฎที่เดียว คือ สังกัปปะ และวิรตี ๓ ปรากฏที่เดียวในองค์
ของมรรค ปัสสัทธิ ปีติ และอุเบกขาปรากฏที่เดียวในโพชฌงค์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2023, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉันทะและจิตตะปรากฏที่เดียวในอิทธิบาท
ริริยะอย่างหนึ่งปรากฏ ๙ ที่ด้วยประเภทของสัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ยินทรีย์
พละ โพชฌงค์ และองค์ของมรรค
สติอย่างหนึ่งปรากฏ ๘ ที่ด้วยประเภทของสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์
และองค์ของมรรค
สมาธิอย่างหนึ่งปรากฏ ๔ ที่ด้วยประเภทของอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และองค์
ของมรรค
ปัญญาอย่างหนึ่งปรากฏ ๕ ที่ด้วยประเภทของอิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์
และองค์ของมรรค
ศรัทธาอย่างหนึ่งปรากฏ ๒ ที่ด้วยประเภทของอินทวีย์และพละ

๔๑. ธวรม ๓๗ อย่างมีอารมณ์และขณะต่างกันในเบื้องแรก(เมื่อเกิดวิปัสสนาญาณ)
แต่ในขณะเกิดมรรคผล วิริยะซึ่งปรากฏ ๙ ที่รับพระนิพพานเป็นอารมณ์เหมือนกัน ย่อม
เป็นไปคราวหนึ่งทำให้กิจ ๙ อย่างสำเร็จได้ด้วยการกำจัดเหตุปัจจัยของอกุศลธรรมที่เป็น
ปฏิปักษ์กับตน ธรรมซึ่งปรากฏ ๘ ที่เป็นต้นก็มีนัยเดียวกัน ธรรมเหล่านั้นจึงปรากฎพร้อม
กันหมด ในโลกุตตรจิตดวงหนึ่งในขณะเดียวกัน ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺ เพ โลกุตฺตเร
โหนฺติ (โพธิปักขิยธรรมทั้งหมดย่อมปรากฎในโลกุตตรจิต)

ในคำว่า น วา สงฺกปฺปปีติโย (สังกัปปะและปีติย่อมไม่ปรากฎในโลกุตตรจิตเป็น
บางครั้ง) นี้ คำว่า วา (เป็นบางครั้ง) มีความหมายเหมือนคำว่า กฺวจิ (ในบางคราว)
หมายความว่า สังกัปปะบางครั้งย่อมไม่ปรากฎในโลกุตตรจิตที่ประกอบกับทุติยฌานเป็นตัน
ส่วนปีติบางครั้งไม่ปรากฎในโลกุตตรจิตที่ประกอบกับจตุตถฌานเป็นต้น

คำว่า โลกิเยปิ (ในโลกิยจิต) คือ ในกุศลจิตและกิริยาจิตที่เป็นโลกยะมีกามาวจร-
กุศลเป็นต้นซึ่งเป็นไปด้วยการชำระศีลให้หมดจด
คำว่า ยถาโยคํ (ตามสมควร) มีความหมายว่า ตามสมควรแก่วิรดี ๓ เป็นต้นที่
ควรประกอบในกิจ คือ การชำระศีล การเจริญสมถะ และการกำหนดรู้นามรูปเป็นตัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2023, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


บาทพระคาถาว่า ฉพฺพิสุทฺธิปฺปวตฺติยํ (ในเวลาที่วิสุทธิ ๖ ปรากฎขึ้น) มีความ
หมายว่า ในเวลาที่วิสุทธิ ๖ มีศีลวิสุทธิเป็นตันปรากฎตามลำดับ

ด้วยพระคาถานี้ พระอนุรุทธาจารย์แสดงว่า ครัทธาและสติเป็นต้นในปาริสุทธิ.
ศีล ๔ อันบุคคลอบรมอยู่เพื่อความเป็นที่ตั้งของมรรคผลในปัจจุบันชาติ ย่อมนับเช้าใน
โพธิปักขิยธรรม ศรัทธาและสติเป็นต้นในมหัคคตฌานที่บุคคลทำให้เกิดขึ้นเพื่อความเป็น
บาทของมรรค ก็เช่นเดียวกัน ดังพระพุทธวจนะในโพชฌังคสังยุตว่า

เอวํ ภาวิโต โข กุณฺฑลิย อินฺทริยสํวโร ตีณิ สุจริตานิ ปริปูเรติ. เอวํ ภาวิตานิ
ตีณิ สุจริตานิ จตฺตาโร สติปฎฺฐาเน ปริปูเรนฺติ. เอวํ ภาวิตา จตฺตาโร สติปฎฐานา สตฺต
โพชฺฌงฺเค ปริปูเรนฺติ. เอวํ ภาวิตา สตฺต โพชฺฌงฺคา วิชชาวิมุตฺติโย ปริปูเรนฺติ."

"ดูกรกุณฑลิยะ อินทรีย์สังวรที่อบรมแล้วเช่นนี้ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้เต็ม สุจริต
๓ ที่อบรมเช่นนี้ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้เต็ม สติปัฏฐาน ๔ ที่อบรมแล้วเช่นนี้ ย่อม
ยังโพชฌงค์ ๗ ให้เต็ม โพชฌงค์ ๗ ที่อบรมแล้วเช่นนี้ ย่อมยังมรรคผลให้เต็ม"
ในคัมภีร์อรรถถาอธิบายว่า
น เกวลํ พลววิปสฺสนามคฺคผเลสุ เอว โพชฺฌงฺเค อุทฺธรนฺติ. วิปสฺสนาปาทก-
กสิณชฺฌานอานาปานา อสุภพฺรหฺมวิหารชฺฌาเนสุปี อุทฺธรนฺติ.'"

วิปัสสนาที่มีกำลังมิได้ก่อให้เกิดโพชฌงค์ในมรรคผลอย่างเดียว แต่ยังก่อให้เกิด
โพชฌงค์ไนกสิณฌาน อานาปานฌาน อสุภฌาน และพรหมวิหารฌาน ที่เป็นบาทของ
วิปัสสนา"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 90 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร