วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 20:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2023, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20230825_034307-removebg-preview (1).png
20230825_034307-removebg-preview (1).png [ 58.62 KiB | เปิดดู 1244 ครั้ง ]
อธิบายอกุศลราสี

๕. บัดนี้ พระอนุรุทธาจารย์จะแสดงอกุศลราสี จึงกล่าวว่า โมโห (ความหลง) เป็นต้น

ในประโยคนั้น โมหะ (ความหลง) คือ สภาวะหลง
อีกอย่างหนึ่ง โมหะ คือ สภาวะทำให้เหล่าสัตว์หลง
อีกอย่างหนึ่ง โมหะ คือ ความหลง ความหมายก็คือ การกระทำจิตให้มืดบอด

โดยปิดบังฝ่ายดีไว้โดยสิ้นเชิง ประดุจการที่ความมืดมืองค์ ๔ (คือ วันแรม ๑๔ ค่ำ
เทียงคืน, ป่าชัฎ และเมฆทืบบังดวงจันทร์] ได้กระทำความมืดแก่จักษุ

(คำว่า โมห มีความหมาย ๓ ประการ คือ
- สภาวะหลง - มุยุหตีติ โมโห (ลง ณ ปัจจัยในกัตตุลาธนะ)
- สภาวะทำให้เหล่าสัตว์หลง = มุยฺหนฺติ สตฺตา เอเตนาติ โมโห.
(ลง ณ ปัจจัยในกรณสาธนะ)
- ความหลง = มุยฺหนํ โมโห (ลง ณ ปัจจัยในภาวสาธนะ)

เมื่อถึงฝ่ายบาป โมหะมีสภาพคล้ายปัญญา โมหะนี้ตรัสไว้ในพระบาลีว่า มิจฉา
ฌาณํ " (ความรู้ผิด) และในคัมภีร์อรรถกถากล่าวว่า
มิจฉาญาณนฺติ ปาปกิริยาสุ อุปายจินฺตาวเสน ปวตฺโต โมโห."
"มิจฉาญาณ คือ โมหะที่เป็นไปด้วยความดำริอุบายในการทำบาป"
แม้พระอรรถกถาจารย์ก็กล่าวว่า อวิชชามี ๒ อย่างโดยจำแนกเป็นการไม่ปฏิบัติ
และการปฏิบัติผิด
การไม่ปฏิบัติ คือ ความไม่รู้ในฝ่ายดี
การปฏิบัติผิด คือ มิจฉาญาณในฝ่ายบาป
เมื่อกล่าวถึงฝ่ายบาป สภาวะ ๕ คือ โมหะ โลภะ ทิฏฐิ วิตก และวิจาร เหล่านี้
มีสภาพคล้ายปัญญา และเมื่อรวมเข้ากับจิตด้วยก็มีสภาวะ ๖ ธรรมเหล่านั้นเมื่อเกิดในชน
ผู้มีปัญญาและถึงพร้อมด้วยการสดับศึกษา ย่อมยังให้สำเร็จผลเป็นผู้ฉลาดและสามารถ
ในการทำบาปด้วยการคิดค้นอุบายนั้นในการกระทำบาป

อหิริ คือ สภาวะไม่ละอาย กล่าวคือ ไม่รังเกียจต่อกายทุจริตเป็นต้น
อีกอย่างหนึ่ง อหิริ คือ สภาวะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อหิริ
อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อบาป) คือ สภาวะไม่ละอายนั้นนั่นแหละ [โดยลง ก
ปัจจัยในอรรถสกัตถ์ที่ไม่มีความหมายใดๆ]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2023, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริง อหิริกะเมื่อเผชิญหนัากับการกระทำบาป ย่อมไม่ให้โอกาสแก่หิริ แต่
ทำให้เกิดความพอใจในการกระทำบาป สมจริงดังสาธกว่า

กายทุจจริตาทีหิ อชิคุจฉนฺลกฺขณํ อลชฺชาลกฺขณํ"
"มีลักษณะไม่รังเกียจ มีลักษณะไม่ละอายต่อกายทุจริต เป็นต้น"
อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวต่อผลของบาป) คือ สภาวะไม่เกรงกลัว หมายถึง
ไม่เกรงกลัวต่อ(ผลของ)กายทุจริต เป็นต้น
อีกอย่างหนึ่ง อโนตตัปปะ คือ สภาวะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโอตตัปปะ
ความจริง อโนตตัปปะเมื่อมีการกระทำบาปเผชิญอยู่ตรงหน้า ย่อมไม่ให้โอกาส
แก่โอตตัปปะ และยังความเป็นไปโดยกระทำจิตให้ไม่เกรงกลัวต่อการกระทำบาป ดังสาธก
ที่กล่าวว่า
กายทุจฺจริตาทีหิ อสารชฺชลกฺขณํ อนุตฺตาสลกฺขณํ .-
"มีลักษณะไม่เกรงกลัวกายทุจริตเป็นต้น มีลักษณะไม่สะดุ้งกลัว"
อนึ่ง ข้าพเจ้า(พระฎีกาจารย์]ควรกล่าวว่า

อเชคุจฺฉี อหิริโก ปาปา คูถาว สูกโร.
อภีรุ จ อโนตฺตปฺปี สลโภ วิย ปาวกา."
"อหิริกะย่อมไม่ละอายต่อบาปเสมอ เหมือนสุกรไม่ละอายต่อคูถ
ส่วนอโนตตัปปะย่อมไม่เกรงกลัว เหมือนหิ่งห้อยไม่กลัวไฟ"
คำว่า อุทธฎะ คือ สภาวะซัดส่าย หมายถึง จิตที่ซัดส่ายในอารมณ์ต่างๆ เหมือน
ลูกข่างที่ถูกขว้างไปแล้วหมุนอยู่บนแผ่นหิน
อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) คือ สภาวะทำให้จิตที่ซัดส่ายเป็นไปโดยอาการซัดส่าย
พึงทราบว่าเปรียบเสมือนน้ำ ธงชัย และธงแผ่นผ้าที่ถูกลมพัดไปมา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2023, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โลภะ(ความโลภ) คือ สภาวะความอยากได้
อีกอย่างหนึ่ง โลภะ คือ สภาวะทำให้สัมปยุตตธรรมอยากได้
อีกอย่างหนึ่ง โลภะ คือ ความอยากได้

(คำว่า โลภ มีความหมาย ๓ ประการ คือ
- สภาวะอยากได้ - ลุพฺภตีติ โลโภ (ลง ณ ปัจจัยในกัดตุสาธนะ)
- สภาวะทำให้สัมปยุตตธรรมอยากได้ = ลุพฺกนฺติ สมฺปยุตฺตา ธมฺมา เอเตนาติ โลโภ
(ลง ณ ปัจจัยในกรณสาธนะ)
- ความอยากได้ = ลุพฺภนํ โลโภ (ลง ณ ปัจจัยในภาวสาธนะ)

โลภะเป็นการติดข้องในอารมณ์
โลภะเหมือนตังที่ยึดจับสิงไว้ เพราะมีสภาระติดข้องในอารมณ์
โลภะเหมือนชิ้นเนื้อที่วางไว้บนกระเบื้องร้อน ตามสภาวะต้องการ
โลภะเหมือนผ้าเปื้อนน้ำมัน ด้วยเป็นสภาวะที่สลัดออกไม่ได้
โลภะเหมือนแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยวพัดพาขยะ คือ ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ และ
หญ้าแห้งทั้งหมดไปสู่มหาสมุทร ด้วยเป็นสภาวะที่เจริญเพิ่มพูนกลายเป็นแม่น้ำตัณหาซึ่ง
พัดพาไปสู่อบาย~

ทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด หมายถึง ความเห็นผิดธรรมเหล่านั้นในสภาวะที่ไม่เป็น
จริง ตรงกันข้ามกับปัญญาที่รู้เห็นธรรมในสภาวะที่เป็นจริง ทิฏฐิเมื่อเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้
สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต มีมิจฉาวิตกมาก ย่อมมีกำลังแรง มีลักษณะคล้ายปฏิเวธญาณ
(ญาณหยั่งรู้) ในฝ่ายที่ไม่เป็นจริง
มิจฺฉาภินิเวสลกฺขณา ปรมํ วชฺชํ ทฎฺฐพฺโพ."
ทิฏฐิมีลักษณะใสใจผิด พึงทราบว่ามีโทษมาก"

มานะ คือ สภาระทะนงตน หมายความว่า เชิดชูตนอย่างมั่นคงด้วยเห็นว่า เรา
เป็นหนึ่งในโลก ไม่ควรมาดูหมิ่นเหมือนท่อนไม้แห้ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2023, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มานะได้รับการอุปถัมภ์โดยชาติ สกุล ทรัพย์สมบัติ เกียรติยศ ความเป็นใหญ่
เป็นตัน และคุณธรรม คือ ศีล การสดับ ลาภสักการะ
เป็นต้น ย่อมเจริญยี่งจนสำคัญตน
ในท่ามกลางมหาชน ว่าสูงส่งเหมือนธงชัย ดังสาธก(ในคัมภีร์อรรถกถา)ว่า

อุนฺนติลกฺขโณ อุมฺมาโท วิย."
มีลักษณะลำพอง เป็นธรรมชาติเหมือนความบ้า"

โทสะ (ความโกรธ) คือ สภาวะประทุษร้าย
โทละเหมือนงูพิษที่ถูกทุบตี เพราะมีสภาวะดุร้าย
โทสะเหมือนอสนีบาต เพราะเป็นสภาวะแผ่ไป(ทั่วร่างกาย
โทสะเหมือนไฟป่า เพราะเป็นสภาระเผาที่ตั้งของตน
โทสะเหมือนศัตรูที่ได้โอกาส เพราะเป็นสภาวะประทุษร้าย
โทสะเหมือนน้ำมูตรเน่าผสมยาพิษ เพราะเป็นกองโทษโดยสิ้นเชิง"

อิสสา (ความริษยา) คือ สภาวะริษยา หมายความว่า ริษยาสมบัติของผู้อื่น
อิสสาทนอยู่ไม่ได้เมื่อได้เห็นหรือได้ยินสมบัติที่ผู้อื่นได้รับอยู่เสมอ ต้องการให้สมบัตินั้น
วิบัติไป แม้สดับว่า มีผู้ได้รับสมบัตินี้ก็ทนไม่ได้ ต้องการให้ผู้นั้นพลาดโอกาสได้รับ
สาธก[ในคัมภีร์อรรถกถา]ว่า

ปรสมฺปตฺตีนํ อุสฺสูยนลกฺขณา."
มีลักษณะริษยาสมบัติของผู้อื่น"

มัจฉระ คือ สภาวะไม่ยอมให้สมบัติของตนแก่ผู้อื่นโดยดำริว่า คุณธรรมหรือ
วัตถุนี้จงมีแกเราผู้เดียว อย่าได้มีแก่ผู้อื่น หมายถึง จิตที่เป็นไปอย่างนั้น
มัจฉริยะ (ความตระหนี่ คือ ภาวะแห่งจิตตระหนึ่
มัจฉริยะมี ๒ ประเภทเหมือนอิสสา โดยการจำแนกตามสมบัติที่ตนได้รับแล้ว
สมบัติที่พึ่งจะได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2023, 04:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในบรรดามัจฉริยะเหล่านั้น ประเภทแรก บุคคลได้เห็น ได้ยิน หรือคิดถึงสมบัติ
สิ่งเกี่ยวกับคนอื่น หรือจะกลายจากสมบัติของตนไปเป็นของตนอื่นด้วยเหตุใดก็ตาม ย่อม
เกิดความทุกข์ใจ แม้สมบัติที่ตนจะพึงได้รับ เมื่อสดับหรือคิดว่าสมบัตินี้จักมีอีกในสถานที่
หรือในกาลอื่น บุคคลนั้นย่อมต้องการจะได้ไว้คนเตียว ไม่ต้องการให้คนอื่นได้รับด้วย เมื่อ
ได้ยินหรือคิดว่าตนอื่นจักได้รับ ก็เกิดความทุกข์ใจ ดังสาธก(ในคัมภีร์อรรถกถา]ว่า

ลทฺธานํ วา ลภิตพฺพานํ วา อตฺตโน สมฺปตฺตีนีํ นิคฺคูหนลกฺขณํ. "

"มีลักษณะซ่อนเร้นสมบัติของตนที่ได้รับแล้วหรือสมบัติที่จะพึงได้รับ"

ในการได้รับสมบัติที่ตนจะพึงได้รับนี้ ความคับแค้นใจ เพราะสดับหรือคิดถึง
บุคคลที่ตนไม่อยากให้ได้รับ กำลังได้รับอยู่ หรือจักได้รับ เป็นอิสสา
ส่วนความคับแค้นใจเพราะคิดถึงสมบัติที่ตนต้องการแต่กลับไม่ได้ เป็นมัจฉริยะ
ดังจะเห็นได้ว่าอิสสาและมัจฉริยะทั้งสองไม่เกิดพร้อมกัน

ในคำว่า กุกฺกุจฺจํ (ความร้อนใจ) นี้ คำว่า กตะ คือ การกระท่
คำว่า กุกตะ คือ การกระทำที่น่ารังเกียจ หมายถึง อาการที่น่ารังเกียจ กล่าวคือ
ความเป็นไปแห่งจิตพิเศษอันบัณฑิตพึงตำหนิ

โดยองค์ธรรม กุกกุจจะ ได้แก่ จิตตุปบาทที่ประกอบด้วยกุกกุจจเจตสิกอันเป็น
ไปด้วยความสียใจเสมอว่า เรายังมิได้กระทำกรรมดีหนอเราได้กระทำกรรมชั่วหนอ
หมายความว่า กุกกุจจะแม้เป็นไปอย่างนั้นก็ไม่อาจกระทำกรรมดีที่ยังมิได้ทำให้เป็นสิ่งที่
ตนทำแล้ว หรือไม่อาจเปลี่ยนกรรมชั่วที่ได้ทำมาแล้วให้เป็นสิ่งที่ยังมิได้ทำอีก แต่ย่อม
เป็นไปให้บังเกิดความท้อถอยใจในกุศลธรรม จึงเรียกว่า กุกตะ เพราะเป็นเพียงอาการที่
น่ารังเกียจ ดังสาธกในคัมภีร์อรรถกถาว่า

กตากตสฺส สาวชฺชานวชุชสฺส อภิมุขคมนํ ปฏิสาโร นาม. ยสมา ปเนโส กตํ วา
ปาปํ อกตํ น กโรติ. อกตํ วา กลฺยาณํ กตํ น กโรติ, ตสฺมา วิรูโป กุจฉิโต วา ปฏิสาโร
วิปฺปฏิสาโร."

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 69 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร