วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 13:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2023, 04:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




boy-in-timeout.jpg
boy-in-timeout.jpg [ 131.74 KiB | เปิดดู 791 ครั้ง ]
๘. ถามว่า : เหตุใดโสกะเป็นตันจึงไม่รวมเข้าไนองค์ทั้งหลาย

ตอบว่า : เพราะโสกะเป็นตันไม่มีลักษณะของการเกิดขึ้นอาศัยเหตุอย่างนี้ว่า
เมื่อชาติมีอยู่ โสกะเป็นต้นย่อมมีแน่นอน เนื่องจากแม้ชาติมีอยู่โสกะเป็นต้นก็ไม่มีในรูปภูมิ
และอรูปภูมิ อีกทั้งไม่มีแก่บุคคลบางคนในกามภูมิ [คือพระอนาคามีและพระอรหันต์]

ถามว่า : เหตุใดจึงกล่าวโสกะเป็นต้น
ตอบว่า : การกล่าวโสกะเป็นต้นเพื่อแสดงโทษอันมากมายใหญ่หลวงของชาติ

หรือวัฏฏะมีอวิชชาเป็นนที่คำเนินไปทั้งทมดตามที่กล้าวไว้แล้ว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
โสกาทิวจนํ ปเนตฺถ นิสสนฺทผลนิทสฺสนํ (อนึ่ง ในปฏิจจสมุปบาทนัยนี้ คำว่า โสกะ เป็นต้น
เป็นการแสดงผลต่อเนื่อง)

ในประโยคนั้น คำว่า นิสสนฺทผลนิทสฺสนํ(เป็นการแสดงผลต่อเนื่อง) มีความหมาย
ว่า เป็นการแสดงผลเพิ่มพูน คือ โทษอันมากมายใหญ่หลวงของชาติ
๙, ถามว่า : เหตุใดอวิชซาและสังขารทั้ง ๒ อันเป็นอดีตเหตุของภพปัจจุบันนี้จริงหรือ
ตรัสไว้ในพระบาลี ธรรมทั้ง ๒ อย่างนี้เท่านั้นเป็นปัจจัยแก่ภพปัจจุบันหรือ
ตอบว่า : ธรรมอื่นก็มีอีก

ถามว่า : เหตุใดพระพุทธองค์จึงไม่ตรัสธรรมอื่นไว้ในพระบาลี
ตอบว่า : เพราะรวมเอาธรรมที่แม้จะไม่ได้ตรัสไว้โดยตรงนั้นได้
ถามว่า : รวมเอาได้อย่างไร
ดอบว่า : รวมเอาได้โดยลักษณะ คือ การเกิดขึ้นอาศัยเหตุและการเกิดขึ้นโดย
เนื่องกับเหตุ

เมื่อท่านจะแสดงข้อความนี้ จึงกล่าวคำว่า อวิชฺชาสงฺขารคฺคหเณน (อนึ่ง ในข้อนี้
ตัณหา อุปาทาน และภพแสดงไว้ด้วยคำว่า อวิชชาและสังขาร) เป็นต้น
แม้คำต่อไป (คำว่า อวิชชาและสังขารก็แสดงไว้ด้วยคำว่า ตัณหา อุปาทาน และ
ภพ เป็นต้น) ก็มีนัยอย่างเดียวกัน
ในประโยคนั้น คำว่า อวิชฺชาสงฺขารคฺคหเณน (ด้วยคำว่า อวิชชาและสังขาร) มี
ความหมายว่า ด้วยคำว่า อวิชชาและสังขาร ที่กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้นของพระบาลี

คำว่า ตณฺหุปาทานภวาปิ คหิตา ภวนฺติ (อวิชชาและสังขารก็แสดงไว้ด้วยคำว่า
ตัณหา อุปาทาน และภพ) มีความหมายว่า พระผู้มีพระภาคแสดงตัณหาและอุปาทาน
ด้วยคำว่า อวิชชา เพราะเมื่ออวิชชามีอยู่ ตัณหาและอุปาทานก็มีได้ แต่เมื่ออวิชชาไม่มี
ตัณหาและอุปาทานก็มีไม่ได้ และทรงแสดงกรรมภพด้วยคำว่า สังขาร เพราะเมื่อสังขาร
มีอยู่ กรรมภพก็มีได้ แต่เมื่อสังขารไม่มี กรรมภพก็มีไม่ได้

ส่วนคัมภีร์วิภาวนีกล่าวว่า
กิเลสภาวสามญฺญโต อวิชฺชาคฺคหเณน ตณฺหุปาทานานิ, กมฺมภาวสามญฺญโต
สงฺขารคฺคหเณน กมฺมภโว คหิโต."
"พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตัณหาและอุปาทานด้วยคำว่า อวิชชา เพราะเป็น
กิเลสเหมือนกัน และแสดงกรรมภพด้วยคำว่า สังขาร เพราะเป็นกรรมเหมือนกัน"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 72 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร