วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 17:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2023, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1697541875575-removebg-preview.png
ei_1697541875575-removebg-preview.png [ 78.71 KiB | เปิดดู 685 ครั้ง ]
คำว่า สาธารณะ คือ สภาวธรรมอันทรงไว้เสมอกัน (โดยทั่วไป)
คำว่า สัพพจิตตสาธารณะ คือ สภาวธรรมอันมีทั่วไปแก่จิตทั้งหมด

๓. วิตก (ความตรึก) คือ สภาวะตรีก (อารมณ์) หมายความว่า
ตรีกโดยอาการนั้นๆ แล้วเข้าสู่อารมณ์
เมื่อวิตกเข้าสู่อารมณ์เช่นนั้นอยู่ แม้สัมปยุตตธรรมก็เข้าสู่อารมณ์ด้วย เมื่อนั้น
วิตกย่อมยังสัมปยุตตธรรมให้เข้าสู่อารมณ์ ดังพระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า

อารมฺมณาภินิโรปนลกฺขโณ วิตกฺโก."*
วิตกมีลักษณะยกสัมปยุตตธรรมเข้าสู่อารมณ์
ดังสาธกเปรียบการที่สามัญชนอาศัยราชวัลลภนำพาเข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ โดย
หมายความว่า แม้ในจิตที่ไม่มีวิตกประกอบร่วม (ปัญจวิญญาณจิตและทุติยฌานจิตเป็นต้น)
ก็ถือว่าถูกวิตกยกไว้ในอารมณ์ เพราะเข้าสู่อารมณ์ด้วยอานุภาพของความคุ้นเคยที่ได้เกิด
ร่วมกับวิตกในกระแสสภาวธรรมอันมีวิตกอยู่

แม้ปัญจวิญญาณจิตจะไม่มีวิตก ก็เข้าสู่อารมณ์ด้วยอำนาจการกระทบระหว่าง
วัตถุกับอารมณ์ ส่วนทุติยฌานจิตย่อมเข้าไปสู่อารมณ์ด้วยอำนาจของอุปจารภาวนาเป็นต้น
ส่วนในอรรถกถามัชฌิมนิกายกล่าวว่า กึ วา เอตาย ยุตฺติยา (อีกอย่างหนึ่ง
ความชอบด้วยเหตุผลตังกล่าว หาประโยชน์มิได้) แล้วแสดงข้อความนี้ว่า

จิตฺตมฺปิ หิ อารมฺมณํ อารุหติเยว. ตสฺส ปน นิจฺจํ สหาโย มนสิกาโร. ตสฺมิญฺหิ
อสติ ตํ นิยามกรหิตา นาวา วิย : วา ตํ วา อารมฺมณํ คเหตฺวา ปวตฺเตยย."*

จิตย่อมเข้าสู่อารมณ์ได้เพราะสหายประจำของจิตคือมนสิการ เนื่องจากไม่มี
มนสิการจิตก็จะเกิดขึ้นรับอารมณ์ต่างๆ อย่างไม่มีทิศทางเหมือนรือที่บราศจากนาย
ด้วยเหตุนั้น ปัญจวิญจาณที่มีมนสิการเป็นสหายย่อมเข้าสู่อารมณ์ด้วยความ
รับรู้อารมณ์ของตน แต่ในขณะเกิดอกุศลจิตและโลภเจตสิกเป็นตัน ก็มีกำลังในการเข้าสู่
อารมณ์ ดังพระพุทธวจนะว่า ปาปสฺมึ รมเต มโน"(จิตย่อมรื่นรมย์ในบาป) ทุติยฌานจิต
ย่อมเข้าสู่อารมณ์ด้วยอำนาจของมนสิการ วิริยะ และสติ ส่วนวิตกได้ดำริโดย
อาการนั้นๆ แล้วกระทำสภาวธรรมอันเกิดร่วมกับตนให้มีกำลังยิ่งขึ้นในการเข้าสู่อารมณ์
โดยประการดังนี้
สภาวรรรมนี้จึงให้ชื่อว่า วิตก เพราะมีความขวนขวายมากกว่า
สภาวธรรมอื่นในกิจนั้น
ถามว่า : แม้นามธรรมอื่นก็เข้าสู่อารมณ์เพราะมีสภาพรับรู้อารมณ์ เหตุใดจึง
เรียกสภาวขรรมนี้ว่าเป็นวิตก

ตอบว่า : การเข้าสู่อารมณ์ของนามธรรมอื่นย่อมสำเร็จโดยประกอบด้วยกิจอื่น
แต่วิตกไม่มีกิจอื่นนอกจากกิจนี้คือการเข้าสู่อารมณ์ท่านจึงกล่าวเรียกสกาวธรรมนี้เช่นนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2023, 02:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิจาร (ความตรอง) คือ สภาวะตรอง
อีกอย่างหนึ่ง วิจาร คือ สาาวะทำให้สัมปยุตตธรรมตรอง
อีกอย่างหนึ่ง วิจาร คือ สภาวะเป็นเหตุให้สัมปยุตตธรรมตรอง

(คำว่า วิจาร มีความหมาย ๓ ประการ คือ
สภาวะตรอง = วิจรตีตื วิจาโร (ลง ณ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ)
- สภาวะทำให้สัมปยุตตธรรมตรอง = วิจาเรติ สมปยุตธรรมเมดิ วิจาโร
(ลง ณ ปัจจัยในเหตุกัตตุสาธนะ)
สภาวะเป็นเหตุให้สัมปยุตตธรรมตรอง = เต ธมฺมา วิจรนฺติ เอเตนาติ วิจาโร
(ลง ณ ปัจจัยในกรณสาธนะ)
ความตรอง ในที่นี้คือ สภาวะที่เป็นไปในอารมณ์ด้วยอำนาจจากการตรองเคล้าอารมณ์
ในขณะที่วิตกนำจิตเข้าสู่อารมณ์แล้ว)

ในบรรดาวิตกและวิจารเหล่านี้ วิตกมีสภาพหยาบ เกิดขึ้นก่อน และเป็นสภาวะ
ขณะที่จิตได้เข้าสู่อารมณ์ก่อน วิตกจึงเปรียบเหมือนเสียงตีระฆัง ส่วนวิจารมีสภาวะละเอียด
เกิดตามหลัง และเป็นสภาวะที่จิตติดตามอารมณ์ วิจารจึงเปรียบเหมือนเสียงครวญของ
ระฆังที่เนื่องมา


อธิโมกข์ (ความตัดสินใจ) คือ ความปักใจ กล่าวคือ ภาวะที่จิตครอบงำตัดความ
สงสัยในอามณ์ที่เป็นไปว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่เป็นเช่นนี้แล้วคำเนินล่วงพ้นจากที่นั้น
ลังเลลงสัย] ดังสาธก(ในคัมภีร์อรรถกถา)ว่า

โส อารมฺมเณ สนฺนิฏฐานลกฺขโณ อารมฺมเณ นิจฺจลภาเวน อินฺทขีลสทิโส -
"อธิโมกข์มีลักษณะตัดสินอารมณ์ เหมือนเสาเขื่อน เพราะมั่นคงในอารมณ์"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2023, 04:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ (ความเพียร) คือ ความอาจหาญในการงาน หรือกิริยาของผู้อาจหาญใน
การงาน ความจริงบุคคลที่กอปรด้วยวิริยะเป็นผู้อาจหาญในการงาน ย่อมสำคัญเห็นการ
งานที่แม้จะใหญ่ก็ว่าเล็ก แม้จะยากก็ว่าง่าย แม้จะหนักก็ว่าเบา ไม่คำนึงถึงความลำบาก
ของตน ประคับประคองกายกับจิตอยู่เสมอเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ วิริยะจึงทำให้บุคคล
เป็นไปอย่างนั้น และเป็นกิริยาทางกายกับจิตของบุคคลที่มีลักษณะเช่นนั้น

อีกอย่างหนึ่ง วิริยะ คือ สภาวะพึงให้เกิดขึ้นด้วยวิธี ด้วยนัย หมายถึง อุบาย
ได้แก่ การกระตุ้นเตือนในเบื้องแรก เป็นต้นว่า
วีริยวโต กี้ นาม กมฺมํ น สิชฌติ.
"ผู้มีวิริยะจะทำกรรมใดไม่สำเร็จหรือ"

อีกอย่างหนึ่ง วิริยะ คือ สภาวะทำให้ผู้ถึงพร้อมด้วยวิริยะนั้นขวนขวายเป็นพิเศษ
โดยมีประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นเป็นเหตุ
(คำว่า วีริย มีความหมาย ๔ ประการ คือ
- ความอาจหาญในการงาน = วีรสฺส ภาโว วีริยํ.
(วีร ศัพท์ + ณย ปัจจัยในภาวตัทธิต)


กิริยาของผู้อาจหาญในการงาน = วีรสฺส กมฺมํ วีริยํ
(รีร ศัพท์ + ณฺย ปัจจัยในกัมมตัทธิต)
- สภาวะพึ่งให้เกิดขึ้นด้วยวิธี = วิธินา อิรยิตพฺพํ ปวตฺตยิตพฺพนฺติ วิริยํ.
(วิธิ บทหน้า + อีร ธาตุ + ณฺย ปัจจัย ทีฆะ อิ ใน วิ เป็น อี)
- สภาวะทำให้ขวนขวายเป็นพิเศษ = วิเสเสน อิรนฺติ กมฺปนฺติ ตํสมงฺคิโน เอเตนาติ
วิริยํ (วิ บทหน้า + อีร ธาตุ + ณฺย ปัจจัยในกรณสาธนะ))

อนึ่ง สัมปยุตตธรรมที่วิริยะอุปถัมภ์อยู่ย่อมไม่มีการทอดทิ้ง เหมือนเงยศีรษะ
ขึ้นจากงาน แต่จะเกิดความอุตสาหะเป็นนิตย์เพื่อความสำเร็จแห่งกิจของตน และเมื่อ
สัมปยุตตธรรมดังกล่าวเป็นเช่นนั้น บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยสัมปยุตตธรรมจะมีกายกับจิต
ที่ขวนขวายเสมอ เพราะมีประโยชน์เกื้อกูลตนหรือผู้อื่นเป็นเหตุ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ซื่อ
ว่า วิริยะเพราะทำให้ผู้ถึงพร้อมด้วยวิริยะนั้นขวนขวายขึ้น ดังสาธก[ในคัมภีร์อรรถกถา]ว่า

ตํ อุปตฺถมฺภนลกฺขณํ ปคฺคหลกฺขณํ อุสฺสาหลกฺขณํ เคหสฺส ถูณูปตฺถมฺภนสทิสํ
สมฺมา อารทฺธํ สพฺพสมฺปตฺตีนํ มูลํ."
วิริยะมีลักษณะอุปถัมภ์ มีลักษณะเชิดชู มีลักษณะพากเพียร เหมือนการ
ค้ำเรือนด้วยเสา เมื่อปรารภด้วยดีย่อมเป็นมูลเหตุของสมบัติทั้งหมด"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2023, 04:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปีติ คือ สภาวะทำกายกับจิตให้เอิบอิ่ม คือให้เกิดความเพลิดเพลินเจริญใจ
อีกอย่างหนึ่ง ปีติ คือ สภาวะทำความเพลิดเพลินให้เจริญดั่งดอกปทุมที่แย้ม
บานดีแล้ว
อีกอย่างหนึ่ง ปีติ คือ สภาวะทำให้ผู้ถึงพร้อมด้วยปิติรุ่งโรจน์ คือ มีกายกับจิต
รุ่งโรจน์ดุจพระจันทร์เพ็ญ
(คำว่า ปีติ มีความหมาย ๓ ประการ คือ
- สภาวะทำกายกับจิตให้เอิบอิ่ม = ปิณยติ กายจิตฺตํ ตปฺเปตีติ ปีติ.
(ปี ธาตุ = เอิบอิ่ม + เณ การิตปัจจัย + ติ ปัจจัยในเหตุกัตตุสาธนะ)

สภาวะทำความเพลิดเพลินให้เจริญ = ปิณยติ วฑฺเฒตีติ ปีติ
(ปี ธาตุ = เจริญ + เณ การิตปัจจัย + ติ ปัจจัยในเหตุกัตตุสาธนะ)
- สภาวะทำให้บุคคลรุ่งโรจน์ - ปิณนฺติ เอตายาติ ปีติ.
(ปี ธาตุ - รุ่งโรจน์ + ติ ปัจจัยในกรณสาธนะ)

ปีติมี ๕ ประเภทตามลำดับของกำลัง คือ
๑. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย) เกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วดับไป ทำให้เกิดอาการขนลุก)
๒. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ) [เกิดขึ้นหลายครั้งตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปแต่อยู่ไม่นาน
ทำให้รู้สึกเหมือนเห็นสายฟ้าแลบ]
๓. โอกกันติกาปิติ (ปีติซึมซับ) (เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้รู้สึกว่าอยู่ในกระแส
คลื่น หรือมีกระแสไฟฟ้าแล่นอยู่ในร่างกาย]
๔. อุพเพงตาปีติ (ปีติโลดโผน) (เมื่อเกิดขึ้นจะทำให้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดลอยไปได้ หรือรู้สึกว่าตัวลอยพุ่งขึ้นไปในอากาศ
๕. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน) [เกิดขึ้นแล้วจะมีความเย็นแล่นซาบซ่านอยู่ในร่าง
กายส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2023, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉันทะ คือ ความปรารถนา หมายถึง ความต้องการ ความประสงค์ ความมุ่งหมาย
ฉันทะมี ๒ ประเภท คือ ตัณหาฉันทะ (ความปรารถนาคือความอยาก) และกัตตุ-
กัมยตาฉันทะ (ความปรารถาคือความต้องการจะทำ ในที่นี้หมายเอากัตตุกัมยตาฉันทะ
คำว่า กัตตุกามะ คือ ผู้ปรารถนา หมายถึง ผู้ถึงพร้อมด้วยความปรารถนา
คำว่า กัตตุกัมยะ คือ ภาวะแห่งผู้ปรารถนา
คำว่า กัตตุกัมยตา คือ ภาวะแห่งผู้ความปรารถนานั่นแหละ เหมือนคำว่า เทวตา
คือ เทพนั่นแหละ (โดยลง ตา ปัจจัยในอรรถสกัตถ์ที่ไม่มีความหมายใดๆ]
คำว่า กัตตุ ในบทนี้ว่า กัตตุกัมยตา ประมวลอรรถของศัพท์ธาตุไว้ทั้งหมด คำว่า
กัดตุกัมยตา นี้จึงรวบรวมบทกริยาทั้งหมดโดยนัยว่า กเถตุกัมยตา (ความปรารถนาเพื่อพูด)

จินเตตุกัมยตา (ความปรารถนาเพื่อคิด) ทัฏฐุกัมยตา (ความปรารถนาเพื่อเห็น) และ
โสตุกัมยตา (ความปรารถนาเพื่อฟัง) เป็นต้น

ฉันทะแม้จะเป็นความปรารถนาอารมณ์ ก็มิได้ปรารถนาด้วยความเพลิดเพลิน
กำหนัดและผูกพัน แต่ปรารถนาด้วยต้องการจะให้สำเร็จประโยชน์ที่ตนปรารถนา เปรียบ
ดั่งนายขมังธนูของพระราชาผู้ต้องการทรัพย์หรือเกียรติยศ ปรารถนาลูกศรจำนวนมากที่
ควรสละไปในการยิงอริราชศัตรู ฉันใด ฉันทะก็มีอุปไมยฉันนั้น ย่อมปรารถนาในสิ่งที่เป็น
ทานซึ่งควรสละแก่ผู้อื่นหรือผู้ยังไม่ได้รับ และปรารถนาจะรักษาสิ่งที่ตนได้รับแล้ว
แม้ข้อความนี้ก็กล่าวไว้ในคัมภีร์วิภาวนีอีกด้วย ดังสาธกว่า
ทานวตฺถุวิสฺสชฺชนวเสน ปวตฺตกาเลปิ เจส วิสฺสชฺชิตพฺเพน เตน อตฺถิโกเยว
ขิปิตพฺพอุสูนํ คหเณ อตฺถิโก อิสฺสาโส วิย."
"แม้ในกาลที่เป็นไปด้วยการสละสิ่งที่จะให้เป็นทาน ฉันทะนี้ย่อมปรารถนาทาน
วัตถุที่ตนควรสละ เหมือนนายขมังธนูที่ต้องการจะรับเอาลูกศรซึ่งจะพึงยิงออกไป"

คำว่า วิสฺสชฺซิตพฺเพน (ที่ตนควรสละ) หมายความว่า ควรแก่ความเป็นวัตถุที่พืง
สละ กล่าวคือ บุคคลต้องการสิ่งนั้นเพื่อสละแก่ผู้อื่น

คำว่า ขิปิตพฺพอุสูนํ คหเณ (รับเอาลูกศรที่จะพึงยิงออกไป) หมายความว่า รับ
เอาลูกศรที่ยังไม่มี (ขาดอยู่) ด้วยการสร้างเองหรือด้วยการแสวงหา[เพื่อให้มีไว้ใช้ยิงต่อไป]

ในเรื่องนี้ บางท่านอ้างว่า อิสฺสาโส อุสูนิ ขิปิตฺวาปิ ลภมาโน เตหิ อุสูหิ อตฺถิโก
เยว (นายขมังธนูแม้ยิงลูกศรไปแล้วก็ยังต้องการลูกศร) ข้อความนั้นไม่สมควร เพราะ
ถ้าเป็นอย่างนี้พระสุมังคลาจารย์ก็ควรกล่าวเป็นอดีตกาลว่า ขิปิตอุสูนํ(ลูกศรที่ยิงแล้ว)
ดังเช่นพระดำรัสว่า กถิตํ ลปิตํ ตถาคเตน" (พระถาคตได้ตรัสภาษิตแล้ว)

แม้คำว่า วิสฺสชฺชิตพฺเพน (ที่ตนควรสละ) ก็เช่นเดียวกัน [คือควรกล่าวเป็น
อดีตกาลว่า วิสฺสชฺชิเตน (ที่ตนสละแล้ว)]
บางท่านก็อ้างอีกว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2023, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อิสฺสาโส อุสูหิ อนตฺถิโก ชิปนฺโต น โหติ อตฺติโกเยว สมาโน อญฺญํ อานิสฺสํ
อิจฺฉนฺโต ชิปติ -

นายขมังธนูหาใช่ไม่ต้องการลูกศรจึงยิงออกไป แต่ทั้งที่ต้องการอยู่ก็ปรารถนา
ประโยชน์อื่นจึงยิงออกไป"

ข้อความนั้นไม่สมควร เพราะถ้าเป็นตามนี้ พระสุมังคลาจารย์ควรกล่าวว่า
เหมือนนายขมังธนูที่ต้องการลูกศรอยู่ ได้ยิงลูกศรออกไปอยู่ มติทั้งสองจึงไม่พึงใสไจ

ในข้อนั้น เจตนาอันเกิดก่อน(ปุพเจตนา)ซึ่งเป็นไปโดยการแสวงหาทานวัตถุ
เป็นต้นโดยดำริว่าจะให้วัตถุนั้นเป็นทานต่อไป ย่อมจัดว่าเป็นทานซึ่งก็คือการสละทาน
วัตถุ ดังนั้น เวลาที่ฉันทะเกิดร่วมกับปุพเจตนาก็เหมือนกับเวลาที่สละทานวัตถุ
(เมื่อจำแนกฉันทะตามบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ฉันทะที่จะให้ทานจัดว่าเป็นทานเหมือนเจตนา
ที่เกิดก่อนซึ่งเรียกว่า ปุพเจตนา ไม่จัดว่าเป็นศีลหรือภาวนา)

จิตที่ประกอบกับฉันทะ เมื่อรับอารมณ์อยู่ ย่อมรับไว้ดั่งต้องการยิ่งหรือฉกฉวย
เอาไปด้วยฉันทะ ดังสาธก(ในคัมภีร์อรรถกถา]ว่า

อยํ อารมฺมณคฺคหเณ เจตโล หตฺถปฺปสารณํ วิย."
"ฉันทะนี้เหมือนการที่จิตเหยียดมือออกไปรับอารมณ์"

ในพากย์นี้ คำว่า เหมือนเหยียดมือ นี้ เป็นคำอนุมานสิ่งที่ไม่มีจริง เพราะจิต
ไม่มีมือ พระอรรถกถาจารย์ได้กล่าวอนุมานสิ่งที่ไม่มีจริงให้เหมือนมีจริง เพื่อความปรากฏ
แห่งอรรถพิเศษ

(การกล่าวสิ่งที่ไม่มีจริงให้เหมือนมีจริง เรียกว่า ตัทธัมมูปจาระ ดังคำว่า กจฉปโลม
หนวดเต่า สสวิสาณ = เขากระต่าย เป็นต้น โปรดดู ปรมัตถทีปนี ปริจเฉทที่ ๑ ข้อ ๒]

ตามธรรมดาเมื่อฉันทะมีกำลังมาก ย่อมมีกำลังมากกว่าตัณหา ความจริงฉันทะ
เป็นอธิบดี (ธรรมที่เป็นใหญ่) และอิทธิบาท (ที่ตั้งแห่งความสำเร็จ) แต่หากในยามฉันทะมี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2023, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กำลังเสมอกับตัณหาเหล่าสัตว์ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของตัณหา และถูกตัณหาครอบงำแล้ว
จักไม่อาจสละทรัพย์สมบัติ ความสุขในราชสมบัติ หรือสมบัติในเทวโลกและพรหมโลก
เพื่อออกจากทุกข์ในวัฏฏะได้

คำว่า ปกิณณะ คือ เจตสิกที่มีอยู่กระจัดกระจายในโสภณจิตและอโสภณจิต
ปกิณณกะ คือ เจตสิกที่มีอยู่กระจัดกระจายนั้นนั่นแหละ (โดยลง ก ปัจจัยในอรรถ
สกัตถ์ ที่ไม่มีความหมายใดๆ]

๔. อัญญสมานะ คือ เจตสิกที่เป็นพวกเดียวกับจิตอื่น
อีกอย่างหนึ่ง อัญญสมานะ คือ เจตสิกที่เป็นพวกเดียวแก่จิตอื่น
(คำว่า อญฺญสมาน มีความหมาย ๒ ประการ คือ
- เจตสิกที่เป็นพวกเดียวกับจิตอื่น - อญฺเญหิ สมานา อญฺญสมานา (ตติยาตัปปุริสสมาส)
- เจตสิกที่เป็นพวกเดียวแก่จิตอื่น = อญฺเญสํ สมานา อญฺญสมานา (จตุตถีตัปปุริสสมาส)]

ความหมายก็คือ เจตสิกเหล่านี้ประกอบกับโสภณจิตในกาลใด ย่อมเป็นพวก
เดียวกับโสภณจิตอื่นยกเว้นอโสภณจิตในกาลนั้น แต่ในกาลใดประกอบกับอโสภณจิต ใน
กาลนั้นก็เป็นพวกเดียวกับอโสภณจิตอื่นนอกจากนั้น
จบการแสดงข้อความปรมัตถ์ในอัญญสมานราสี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 74 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร