วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 18:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2023, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-6221.jpg
Image-6221.jpg [ 84.89 KiB | เปิดดู 1136 ครั้ง ]
อธิบายสัมมามัค ๘

สัมมามัค ๘ มี ๒ อย่าง คือ
สัมมามัคไปสู่สุดติ กับสัมมามัคไปสู่อคติ คือ พระนิพพาน
สัมมามัคไปสู่สุคติ ต้องมีปัญญาเชื่อกรรม เป็นกัมมสกตาสัมมา
ทิฏฐิ เจริญกุศลกรรมบถ ๑๐ ไปสู่มนุษย์ เทวดา เจริญมหัคคตกุศลไปสู่
รูปพรหม อรูปพรหม เจริญศีล สมาธิ ปัญญาทีละอย่าง ละได้แต่กิเลส
อย่างหยาบ อย่างกลาง

สัมมามัคไปสู่อคติ ต้องมีปัญญารู้เหตุผลความจริง เป็นวิปัสสนา
สัมมาทิฏฐิ เจริญสติปัฏฐานเป็น บุพพภาคมัค เป็นมัคเบื้องต้นก่อน เป็น
ปัญจังคิกมัค มัคมีองค์ ๕ มีปรมัตถ์หรือนามรูปเป็นอารมณ์ปัจจุบัน มี
ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดร่วมในอารมณ์เดียวกัน เป็นโลกิยมัค ละอนุสัยกิเลส
เป็นตทังคปหาน เจริญวิปัสสนาต่อไปจนถึงมัคคจิต
เป็นมัคเบื้องปลาย
เป็น อัฏอังคิกมัค มัคมีองค์ ๘ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีศีล สมาธิ
ร่วมในอารมณ์เดียวกัน เป็นโลกุตตรมัค ละอนุสัยกิเลสเป็น
สมุจเฉทปหาน
๑. สัมมาทิฏฐิ การเห็นซอบ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก ที่
รู้แจ้งอริยสัจจ์ครบทั้ง ๔ คือ รู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ เจริญมัค
มีพระ
นิพพานเป็นอารมณ์ เป็นสัมมาทิฏฐิในมัคสัจจ์ เป็นโลกุตตรมัค
ถ้าเป็นโลกิยมัค คือเจริญสติปัฏฐาน มีนามรูปเป็นอารมณ์ เห็น
นาม รูปไม่เที่ยง เป็นต้น
สัมมาทิฏฐิไปสู่สุคติ เจริญกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นต้น

๒. สัมมาสังกัปปะ การดำริชอบ องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตลิก
ดำริในธรรม ๓ อย่าง คือ

๒.๑ เนกขัมมสังกัปปะ ดำริออกจากกาม ได้แก่ วิตกที่
ประกอบกับกุศลทั้งหลาย
ชื่อว่าเนกขัมมะ เพราะออกจากกาม เมื่อกุศลเกิด
กามทั้งหลายก็เกิดไม่ได้

๒.๒ อพยาปาทสังกัปปะ ดำริออกจากความพยาบาท ได้แก่
วิตกที่ประกอบด้วยเมตตา เป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท

๒.๓ อวิหิงสาสังกัปปะ
ดำริออกจากการเบียดเบียน ได้แก่วิตกที่ประกอบด้วยกรุณา
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเบียดเบียน
วิตกดำริชอบ ทำให้พ้นจากความยินดียินร้าย เพราะมีนามรูปเป็น
อารมณ์ปัจจุบัน จึงทำลายอภิชฌา โทมนัสให้พินาศ ก็ละวิตกในกาม ใน
การพยาบาท ในกาเบียดเบียนได้ทั้ง ๓ เป็นตทังคะ เป็นโลกียมัค
ถ้าเป็นโลกุตตรมัคมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นตทังคะ เป็นโลกิยมัค
ถ้าเป็นสัมมามัคไปสู่สุคติ ก็ละวิตกทั้ง ๓ เป็นสมุจเฉทก็ละวิตกได้ทีละอย่าง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2023, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1698567423804-removebg-preview.png
ei_1698567423804-removebg-preview.png [ 87.69 KiB | เปิดดู 1284 ครั้ง ]
๓. สัมมาวาจา วาจาชอบองค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก
งดเวันจากวจีทุจวิด ๔ อย่าง คือ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเลียด ไม่พูดคำหย าบ
ไม่พูดเพ้อเจ้อ

ด้วยสัมมาวาจา ๓ อย่าง คือ
๓.๑ กถาสัมมาวาจา การกล่าววาจาซอบ เช่นการแสดงธรรม
หรือสังสอนศิลปวิชาต่างๆ จำเป็นต้องกล่าวเพราะมีประโยชน์
๓.๒ เจตนาสัมมาวาจา การตั้งใจเวันจากวจีทุจริตทั้ง ๔ ไว้
ก่อน
๓.๓ วิรตีสัมมาวาจา การงดเว้นวจีทุจริตทั้ง ๔ เฉพาะหน้า
เพื่อไม่ให้เสียศีล
สัมมาวาจาในองค์มัค หมายเอาวิรตีส้มมาวาจา งดเว้นไม่พูดทั้ง ๔
อย่าง ถ้าในอริยมัค งดเวันวจีทุจริตทั้ง ๔ เป็นสมุจเฉท ขณะกำลังเจริญ
สติปัฏฐานก็เว้นวจีทุจริต ๔ เป็นตทังคะเพราะมีนาม รูป เป็นอารมณ์ปัจจุบัน
ถ้าเกิดกับกุศลธรรมดาก็เว้นวจีทุจริตได้ที่ละอย่าง
๔. สัมมากัมมันตะ การงานซอบ องค์ธรรมได้แก่สัมมากัมมันต
เจตสิก การงดเว้นจากกายทุจริต ๓ อย่าง คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่
ล่วงกาม
ด้วยสัมมากัมมันตะ ๓ อย่างคือ
๔.๑ ยถาพลสัมมากัมมันตะ ได้แก่ทำการงานชอบตากำลังของตน
๔.๒ เจตนาสัมมากัมมันตะ เจตนาตั้งใจเวันจากกายทุจวิต
๔.๓ วิรตึสัมมากัมมันตะ งดเว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ เฉพาะ
หน้า คือ ไม่ยอมทำสิ่งที่ไม่ควรทำ
สัมมากัมมันตะไนองค์มัด หมายเอาวิรตีสัมมากัมมันตะ ถ้า
ในอริยมัคงดเว้นกายทุจวิต ๓ เป็นสมุจเฉท ขณะกำลังเจริญสติปัฏฐานก็เวัน
กายทุจริต ๓ เป็นตทั้งคะ ถ้าเกิดกับกุศลธรรมดา ก็เว้นกายทุจริตได้ที
ละอย่าง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2023, 02:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1698566992967-removebg-preview (1).png
ei_1698566992967-removebg-preview (1).png [ 120.38 KiB | เปิดดู 1139 ครั้ง ]
๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพขอบ องค์ชรรมได้แก่ ส้มมาอาชีวะเจตสิก
ต้องเว้นกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ จึงจะเป็นอาชีพสุจริต
ด้วยสัมมาอาชีวะ ๓ อย่าง คือ
๕.๑ วิริยะสัมมาอาชีวะได้แก่แสวงหาอาชีพสุจริตด้วยความ
เพียรของตนเอง เช่น ทำนา ทำสวน เป็นต้น
๕.๒ เจตนาสัมมาอาชีวะ มีเจตนาตั้งใจประกอบอาชีพสุจริต
หรือได้แก่เจตนาของผู้สมาทานอาชีวัฏฐมกศีล คือเว้นไม่ฆ่าสัตว์ไม่ลักทรัพย์
ไม่ล่วงกาม ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่
ประกอบมิจฉาชีพ
ชื่อว่าศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘ เป็นเบื้องต้นให้ถึง
พรหมจรรย์
๕.๓ วิรตีสัมมาอาชีวะ เมื่อมีวัตถุจะให้ล่วงกายทุจริต ๓ วจึ
ทุจริต ๔ ก็เว้นได้ไม่ยอมให้เสียศีล
สัมมาอาชีวะในองค์มัค หมายเอาวิรตีสัมมาอาชีวะ ต้องเจริญ
สติปัฏฐานมีนาม รูปเป็นอารมณ์ปัจจุบัน จึงจะมีอาชีพบริสุทธิ์ โดยงดเว้น
ได้เป็นตทั้งคะ ถ้าถึงมัคคจิตมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็เว้นมิจฉายาชีวะได้
เป็นสมุจเฉท ส่วนการประกอบอาชีพธรรมดา ย่อมเว้นกายทุจริต วจีทุจริต
ได้ทีละอย่าง
๖. สัมมาวายามะ ความเพียรขอบ องค์ธรรมได้แก่วิริยะเจตสิก
คือความเพียงที่เรียกว่า สัมมัปปธาน ๔ เป็นความเพียรที่เผาผลาญกิเลส
ด้วยกิจ ๔ อย่าง คือ
๑. เพียรละอกุศลที่ยังไม่เกิด
ไมให้เกิดขึ้น
๒. เพียรละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้หมดไป
๓. เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิด
ให้เกิดขึ้น
๔. เพียรเจริญกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เกิดยิ่ง ๆ ขึ้นไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2023, 02:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1698445865857-removebg-preview.png
ei_1698445865857-removebg-preview.png [ 66.82 KiB | เปิดดู 1137 ครั้ง ]
ต้องเป็นความเพียรที่เจริญสติปัฏฐานมีนาม รูป เป็นอารมณ์ปัจจุบัน
เป็นกิจของสมาธิ จึงละกิเลสนิวรณ์ได้เป็นตทังคะ โดยเพียรละอกุศลที่ยัง
ไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น กิจของความเพียรทั้ง 2 ก็เข้าร่วมไปพร้อมกัน เมื่อ
ถึงมัคคจิตก็ปหานอนุสัยกิเลสขาดเป็นสมุจเฉท ถ้าเพียรเจริญกุศลธรรมดา
ทำให้อกุศลเกิดขึ้นไม่ได้เท่านั้น แต่ไม่มีการละกิเลสนิวรณ์ เพราะไม่ใช่ความ
เพียรที่เผาผลาญกิเลส

๗. สัมมาสติ การระลึกชอบ องค์ธรรมได้แก่สติเจตสิก ต้องระลึก
ในอารมณ์สติปัฏฐาน มีกาย เวทนา จิต ธรรม หรือ นามรูป ที่สำรวมอยู่
กับอารมณ์ปัจจุบัน เป็นสัมมาสติก็ทำลายวิปลาสความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์
บุคคล ตัวตนได้ เป็นตทังคะ ถ้าถึงมัคคจิตก็ละวิปลาสขาดเป็นสมุจเฉท
ตามมัคที่ปหานกิเลสได้ แต่ถ้าระลึกในกุศลธรรมดา ก็ละวิปลาสไม่ได้

๘. สัมมาสมาธิ การตั้งใจมันชอบ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตา
เจตสิก ทำให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์อื่น ๆ เป็น
สมาธิธรรมดา ทำจิตให้สงบ ๆเท่านั้น ถ้าสัมมาสมาธิในองค์มัค หมายเอา
สมาธิที่ตั้งมั่นในอารมณ์สติปัฏฐาน มีนาม รูป เป็นอารมณ์ปัจจุบัน ทีละขณะ
เป็นขณิกสมาธิ ย่อมทำลายนิวรณ์ความฟุ้งซ่านเป็นตทังคะ ถ้าถึงมัคคจิตมี
พระนิพพานเป็นอารมณ์แนบแน่น ก็เป็นอัปปนาสมาธิ เป็นโลกุตตรสมาธิ
ถ้าสมาธิของผู้ทำฌานมีบัญญัติเป็นอารมณ์ก็เป็นอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
เป็นโลกียสมาธิ
สัมมามัค ๘ ที่เป็นทางนำไปสู่สุคติ และอคติ ต้องอาศัยซึ่งกันและ
กัน เพราะองค์มัค ๘ เมื่อรวมลงแล้วย่อมได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ = เป็นปัญญา
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ = เป็นศีล
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ = เป็นสมาธิ
ทางฝ่ายโลกุตตระ ต้องยกสัมมาทิฏฐิเป็นประชาน ต้องมีปัญญาเห็น
สภาวะถูกตรงตามความเป็นจริงจึงจะบรรลุถึงพระนิพพานได้

ทางฝ่ายโลกียมัค ต้องมีสัมมาสติเป็นประธาน ต้องมีสติระลึกที่กาย
เวทนา จิต ธรรม หรือนามรูป ต้องรู้ด้วยความรู้สึก มีสติสำรวมอินทรีย์ อยู่
กับสภาวะความจริงตามทวารทั้ง ๖ ที่เป็นนามเป็นรูปเป็นปัจจุบันอารมณ์
สัมปชัญญะ ความรู้ตัวจึงจะรู้ว่าเป็นนามเป็นรูป ตรงกับความจริงได้จึงทำลาย
ทิฏฐิความเห็นผิดว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนให้หมดไปได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 80 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร