วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 05:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2023, 04:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1699650095265.jpg
1699650095265.jpg [ 65.04 KiB | เปิดดู 1316 ครั้ง ]
อินทริยปัจจัย

อินทริยปัจจัย เป็นปัจจัยที่ ๑๖ ในปัจจัย ๒๔ และเป็นปัจจัยที่ ๒๗ ในปัจจัย ๕๒

อุทเทส อินฺทฺริยปจฺจโย ความเป็นใหญ่เป็นปัจจัย
อินทริยปัจจัย แปลว่า ความเป็นใหญ่เป็นหัวหน้าปกครองในหน้าที่
ของตนและยังปกครองธรรมที่เกิดร่วมกับตนให้ตั้งอยู่ และเป็นไปตามตนด้วย
ธรรมที่เป็นอินทรีย์มีทั้งรูปและนาม และต่างก็เป็นใหญ่เฉพาะในหน้าที่ของ
ตน เช่นจักขุปสาทเป็นใหญ่ในการรับรูปารมณ์เป็นจักขุนทรีย์ เป็นอินทรีย์
ฝ่ายรูปธรรมก็จะยังจักขุวิญญาณให้รู้รูปารมณ์ ทำรูปให้เป็นอารมณ์เท่านั้น

จักขุวิญญาณเป็นใหญ่ในการเห็นเป็นมนินทรีย์ เป็นอินทรีย์ฝ่าย
นามธรรม ก็จะยังสัมปยุตตธรรมที่เกิดร่วมกับตนให้เห็นรูปเหมือนกับตน
ธรรมที่ชื่อว่าเป็นอินทรีย์
ยังมีลักษณะกล้าและอ่อนด้วย เช่น
จักขุวิญญาณจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยจักขุปสาทเป็นปัจจัย ถ้าจักขุปสาทมีกำลัง
อ่อน การเห็นรูปก็ไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าจักขุปสาทมีกำลังกล้า การเห็นรูป
ก็แจ่มใสชัดเจน
แม้ปสาทอื่นๆ เช่นโสตปสาทเป็นใหญ่ในการรับเสียง
เป็นโสตินทรีย์ โสตวิญญาณก็เป็นใหญ่ในการได้ยิน ฯลฯ แต่ละอย่างๆ ต่าง
ก็มีความเป็นใหญ่เฉพาะในหน้าที่ของตนๆ เท่านั้น ไม่ก้าวก่ายกัน

อินทริยปัจจัยนี้เป็นประเภท นามรูปเป็นปัจจัยแก่นามรูป มีอำนาจ
เป็นได้ทั้งชนกสัตติ อุปถัมภกสัตติและอนุปาลกสัตติ คือทำให้เกิดขึ้นด้วย
และอุปถัมภ์ให้เป็นไปหรือให้ตั้งอยู่โดยดีด้วย

ธรรมที่เป็นอินทรีย์มี ๒๒ อย่าง แต่ที่จัดเป็นอินทรีย์ปัจจัยได้มี ๒๐
(เวันภาวรูป ๒ คือ อิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์) คือธรรมที่จัดเป็นปัจจัย
ได้ ธรรมนั้นต้องประกอบด้วยอำนาจ ๓ อย่าง คือ
๑. เป็นชนกสัตติ
มีอำนาจทำให้ปัจจยุบบันธรรมเกิดขึ้น
๒. เป็นอุปถัมภกสัตติ มีอำนาจทำให้ปัจจยุบบันธรรมตั้งอยู่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2023, 04:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1699650297537-removebg-preview.png
ei_1699650297537-removebg-preview.png [ 172.38 KiB | เปิดดู 1315 ครั้ง ]
๓. เป็นอนุปาลกสัตติ มีอำนาจรักษาป้องกันปัจจยุบบันธรรม
เป็นไปด้วยดี

อำนาจทั้ง ๓ อย่างนี้ย่อมมีในปัจจัยธรรมทั้งหลายอย่างหนึ่งบ้าง
สองอย่างบ้างหรือพร้อมทั้งสามอย่าง ถ้าธรรมใดไม่ประกอบด้วยอำนาจทั้ง
๓ นี้ แม้แต่อย่างเดียว ก็เป็นปัจจัยไม่ได้ส่วนภาวรูปไม่มีอำนาจทางการเมือง ๓
อย่างนี้เลย เพราว่าภาวรูปเป็นผลที่เกิดจากกรรม มีหน้าที่เป็นใหญ่ในการ
ดำรงรักษาเพศของตนให้ทรงไว้ เป็นไปตามลักษณะที่
แสดงความเป็นหญิงหรือชายให้ปรากฏเท่านั้น ลักษณะทั้ง ๔ คือ
๑. ลิงคะ ได้แก่ รูปร่างสัญฐานผิวพรรณ มือ เท้า เป็นต้น
๒. นิมิตตะ ได้แก่ เครื่องหมายเช่นหนวด เครา และนมเป็นต้น
๓. กุตตะ ได้แก่ การเล่นต่างๆ เช่นผู้ชายชอบเล่นชกต่อย
ผู้หญิงชอบเล่นตุ๊กตา เล่นขายของ เป็นต้น
๔. อากัปปะ ได้แก่ กิริยามารยาทที่แสดงออก เช่นในอาการที่
นั่ง นอน ยืน เดิน เป็นต้น

ลักษณะทั้ง ๔ ย่อมเป็นไปตามภาวรูป แต่ภาวรูปก็ไม่ได้สร้าง
ลักษณะทั้ง ๔ ให้เกิดขึ้นหรืออุปถัมภ์รูปเหล่านี้ให้เกิดขึ้นเลย เพราะลักษณะ
ทั้ง ๔ นี้เกิดจากกรรม ไม่ใช่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของภาวรูป ถึงแม้ว่า
ภาวรูปไม่มี เช่นพวกกระเทย พวกไม่มีเพศ แต่ลักษณะทั้ง ๔ นี้ก็มีได้
ด้วยเหตุนี้ภาวรูปจึงเป็นปัจจัยไม่ได้ เพราะไม่ได้ทำผลอะไรให้เกิดขึ้นเลย
ภาวรูปจึงเป็นได้แต่อินทรีย์อย่างเดียว อีกอย่างหนึ่งลักษณะทั้ง ๔ นี้ เกิด
ขึ้นในปวัตติกาล ส่วนภาวรูปเกิดตั้งแต่ปฏิสนธิกาล ซึ่งต่างกาลต่างเวลากัน
ด้วยเหตุนี้ภาวรูปจึงเป็นอินทริยปัจจัยไม่ได้

อินทริยปัจจัยมี ๒๐ เป็นรูปอินทริย์ ๖ เป็นนามอินทรีย์ ๑๔
รูปอินทรีย์ ๖ คือปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์
ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ และรูปชีวิตินทรีย์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2023, 05:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1699650204620-removebg-preview.png
ei_1699650204620-removebg-preview.png [ 139.94 KiB | เปิดดู 1313 ครั้ง ]
นามอินทรีย์ ๑๔ คือ เวทนา ๕ ได้แก่ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์
อินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

ปัญญาในโลกุตตระ ๓ คือ อนัญญาตัญญัสสามิตินทรีย์
อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์
จิต ๑ คือ มนินทรีย์ กับนามชีวิตินทรีย์เจตสิก (ชีวิตินทรีย์มีทั้ง
นามชีวิต และรูปชีวิต)
นามอินทรีย์ ๑๔ ได้องค์ธรรม ๘ คือ เวทนา ๘ อินทรีย์ ๕ จิต ๑
นามชีวิตเจตสิก ๑

พระบาลีนิทเทสอินทริยปัจจัย
๑. จกฺขุนทริย์ จกฺขุวิญฺณาณธาตุยา ตํสมุปยุตตกานญฺจ ธมฺมานํ
อินฺทฺริยปจฺจเยน ปจฺจโย (จักขุปสาทเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และ
แก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับธรรมนั้น ด้วยอำนาจอินทริยปัจจัย)
จักขุปสาท --> จักขุวิญญาณ ๒ เจ.๗
๒. โสตินทริย์ โสตวิญฌาณธาตุยา ตํสมฺปยุตตกานญฺจ ธมฺมานํ
อินฺทริยปจฺจเยน ปจฺจโย
โสตปสาท --> โสตวิญญาณ ๒ เจ.๗
๓. ฆานินฺทริยํ ฆานวิญญาณธาตุยา ตํสมปยุตตกานญ์จ ธมฺมานํ
อินฺทฺริยปจฺจเยน ปจฺจโย
ฆานปสาท --> ฆานวิญญาณ ๒ เจ.๗
๔. ชิวฺหินฺทริย์ ชิวฺหาวิญฺญาณธาตุยา ตํสมุปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ
อินฺทฺริยปจฺจเยน ปจฺจโย
ชิวหาปสาท --> ชิวหาวิญญาณ ๒ เจ.๗
๕. กายินฺทริยํ กายวิญฺญาณธาตุยา ตํสมุปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ
อินฺทฺริยปจฺจเยน ปจฺจโย
กายปสาท -- > กายวิญญาณ ๒ เจ.๗

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2023, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1699563021632-removebg-preview.png
ei_1699563021632-removebg-preview.png [ 127.57 KiB | เปิดดู 1312 ครั้ง ]
๖. รูปชีวิตินฺทฺรียํ กฎตฺตารูปานํ อินฺทฺริยปจฺจเยน ปจฺจโย
(รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ รูปทั้งหลายที่เกิดจากกรรม ด้วยอำนาจ
อินทริยปัจจัย)
รูปชีวิตินทรืย์ --> กัมมชรูป ๙ หรือ ๘ ที่ในกลาปเดียวกับปัจจัย
(เว้นชีวิตรูป)
๗. อรูปิโน อินฺทฺริยา สมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ตํสมฺปยุตฺตกานญฺจ
รูปานํ อินฺทฺริยปจฺจเยน ปจฺจโย
(นามอินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับตน และแก่รูป
ทั้งหลายที่มีธรรมนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจอินทริยปัจจัย)
นามอินทรีย์ ๘ -- > จิต๘๙ เจ.๕๒ จิตตชรูป๑๗ ปฏิ.กํ. ๒๐

อินทริยปัจจัยนี้แบ่งออกตามพระบาลีนิทเทสได้ ๓ อย่าง คือ
๑. วัตถุปุเรชาตินทริยปัจจัย นับตั้งแต่ข้อ ๑-๕
๒. รูปชีวิตินทริยปัจจัย คือ ข้อ ๖
๓. นามชีวิตินทริยปัจจัยหรือสหชาตินทริยปัจจัย คือ ข้อ ๗

วจนัตถะของอินทริยปัจจัย
อินฺทติ ปรมอิสฺสริยํ กโรตีติ = อินฺทริยํ
(ธรรมชาติใดเป็นใหญ่
คือกระทำซึ่งความเป็นใหญ่ยิ่งชื่อว่า อินทรีย์)
อินฺทฺริยญฺจ ตํ ปจฺจยญฺจาติ = อินฺทฺริยปจฺจยํ (อินทรีย์นั่นแหละ
เป็นปัจจัยจึงเรียกว่า อินทริยปัจจัย)
อิสฺสริยฎฺเฐน อธิปติยฏฺเฐน วา อุปการกา อิตฺถินฺทฺริย
ปุริสินฺทฺริย วชฺชา วีสตินฺทริยา = อินฺทริยปจฺจโย (อินทรีย์ ๒๐ เว้น
อิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์ เป็นธรรมช่วยอุดหนุนโดยความเป็นใหญ่ หรือ
เป็นหัวหน้าชื่อว่า อินทริยปัจจัย)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 100 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร