วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 12:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2023, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1699997169598-removebg-preview (1).png
ei_1699997169598-removebg-preview (1).png [ 444.28 KiB | เปิดดู 1110 ครั้ง ]
มหาปัฏฐาน
กุสลติกมาติกา ปัญหาวาระอนุโลมนัย
ปัฏฐานที่แสดงนี้ชื่อว่า กุสลติกมาติกา ปัญหาวาระอนุโลมนัย
คือเอาปัจจัย ๒๔ มาแจกตามกุศลบทในติกมาติกา แล้วจำแนกด้วยปัญหา
วาระตามปัจจยนัย เรียกว่า อนุโลมนัย ในปัญหาวาระนี้ หมายถึงธรรม
ใดที่เป็นปัจจัยธรรม ให้เกิดปัจจยุบบันธรรม ธรรมนั้นจัดเป็นอนุโลม
ส่วนธรรมใดที่นอกจากปัจจัยธรรม ธรรมนั้นเรียกว่า ปัจจนียะ หรือ
ปัจจนิกคือไม้ใช่ปัจจยุบบันธรรม ส่วนปัญหาวาระอนุโลมนัย หมาย
ถึงวาระว่าด้วยการตอบปัญหา โดยเอาปัจจัยธรรม มาจำแนกให้รู้ว่า
ปัจจัยเป็นเหตุให้เกิดผลอะไร ซึ่งเป็นการแสดงให้รู้ถึงเหตุและผลของธรรม
ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง

การแสดงธรรมในกุสลติกปัฏฐานนี้ พระพุทธองค์ทรงยก
อุทเทส คือหัวข้อธรรมขึ้นแสดงก่อน แล้วอธิบายขยายหัวข้อธรรม
เรียกว่า นิทเทส

อุทเทส
คือหัวข้อของปัจจัย
แต่ละปัจจัยเช่น เหตุปจฺจโย
แปลว่า เหตุ ๖ เป็นปัจจัย

นิทเทส
คำอธิบายหัวข้อธรรม ของเหตุปัจจัยคือ เหตู เหตุ สมฺปยุตฺต-
-กานํ ธมฺมานํ ตํสมุฎฺฐานานญฺจ รูปานํ เหตุปจฺจเยนปจฺจโย
แปลว่า เหตุทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วย
เหตุ และแก่รูปทั้งหลายที่มีเหตุ และธรรมที่ประกอบด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน
ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย

คำอธิบายของนิทเทส แบ่งธรรมเป็น ๓ ตอน เรียกว่า
กัตตุบท สัมปทานบท และกรณบท

กัตตุบท
คือธรรมที่เป็นเหตุ ได้แก่ปัจจัยธรรม คือผู้ให้

สัมปทานบท
คือผู้รับมอบ ได้แก่ปัจจยุบบันธรรม คือผู้รับผล

กรณบท
คืออำนาจของปัจจัยให้รู้ว่าธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัยอะไร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2023, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_16999954565254920278508780692744.jpg
ei_16999954565254920278508780692744.jpg [ 130.93 KiB | เปิดดู 1108 ครั้ง ]
ตัวอย่างนิทเทสเหตุปัจจัย กัตตุบทได้แก่ เหตู ปจฺจโย เหตุทั้ง
หลายเป็นปัจจัยธรรม สัมปทานบทได้แก่ เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ
ตํสมุฏฺฐานานญฺจ รูปานํ แปลว่า แก่ ธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วยเหตุ
และแก่รูปทั้งหลายที่มีเหตุ และธรรมที่ประกอบด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน เป็น
ปัจจยุบบันธรรม กรณบทได้แก่ เหตุปจฺจเยน คือด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

ลักษณะของปัจจัยทุก ๆ ปัจจัยจะต้องประกอบด้วย ธรรม ๓ อย่าง
นี้เสมอ คือมี กัตตุบท ผู้ให้ สัมปทานบท ผู้รับผล กรณบท อำนาจของ
ปัจจัย ส่วนธรรมในปัญหาวาระแสดงธรรมเป็น ๒ ตอน เรียกว่า
บาลีวิธี บาลีอนุวาท

บาลีวิธี หมายถึงหัวข้อใหญ่ของปัญหาวาระ ให้รู้ว่าหัวข้อ
ของวาระนี้มีกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล เป็นต้น
บาลีอนุวาท อธิบายหัวข้อใหญ่
ให้รู้ว่า กุศลนั้น กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลนั้น ได้แก่ธรรมอะไรบ้าง

การแสดงปัจจัย ๒๕ ที่ยกเอาเหตุปัจจัยขึ้นแสดงก่อน เพราะว่า
ธรรมทั้งหลายที่ปรากฎขึ้นในโลกนี้ เมื่อพิจารณาถึงมูลเหตุเดิมแล้ว
ย่อมมีเหตุธรรมเท่านั้นที่เป็นประธาน เพราะถ้าเหตุไม่มีแล้วผลก็มีไม่ได้
เหตุจึงมีความสำคัญแก่สัตว์ทั้งหลายเป็นเบื้องต้น สำหรับเหตุในเหตุ
ปัจจัยนี้หมายเอาเหตุ ๖ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ
อโทสเหตุ อโมหเหตุ ซึ่งเป็นมูลหรือเป็นรากเหง้าของอกุศล กุศล และ
อัพยากตะ เหตุ ๖ นี้ ย่อมมีอำนาจช่วยอุดหนุนสัมปยุตตธรรม (คือธรรมที่
เกิดร่วมกับตน) ได้แก่จิตและเจตสิกทั้งหลายให้เกิดขึ้นพร้อมด้วยจิตตซรูป
และปฏิสนธิกัมมชรูป ทั้งยังอุปถัมภ์จิต และเจตสิกเหล่านั้น ให้มีกำลังตั้ง
มั่นแข็งแรงและให้เจริญขึ้นด้วย
ดังท่านอุปมาเหตุ ๖ ว่า เป็นเหมือนรากของต้นไม้ คือต้นไม้เกิด
ขึ้นย่อมมีราก ถ้ารากนั้นแข็งแรงต้นไม้ก็เจริญเติบโตมีกำลังมั่นคง แผ่กิ่งก้าน
สาขางอกงามออกดอกออกผลฉันใด แม้เหตุ ๖ ที่เกิดขึ้นแก่บุคคลใดก็ยัง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2023, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




16999954565254920278508780692744.jpg.png
16999954565254920278508780692744.jpg.png [ 675.7 KiB | เปิดดู 1104 ครั้ง ]
สัมปยุตตธรรมให้เกิดขึ้นและให้เจริญขึ้นได้ฉันนั้น เช่น โลภเหตุเกิดขึ้นก็ยัง
โลภจิต โลภเจตสิกทั้งสัมปยุตตธรรมอื่น และจิตตซรูปให้เกิดขึ้น และ
ยังอุปถัมภ์โลภะนั้นให้เจริญขึ้นอีกด้วย โดยทำกายวาจาให้เกิดสุจริตก็ได้ ให้
เกิดทุจริตก็ได้ เหตุนี้โลภเหตุเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็มีกำลังตั้งมั่นยากที่จะถอน
โลภะให้ออกได้โดยง่าย แม้เหตุอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มี
กำลังช่วยอุดหนุนนามรูปให้ตั้งขึ้นแล้วก็อุปถัมภ์นามรูปให้เจริญขึ้นด้วยอำนาจ
เหตุปัจจัย

ความหมายของคำว่าเหตุมี ๔ อย่าง คือ
๑. เหตุเหตุ คือเหตุที่เป็นมูลเป็นรากเหง้า หมายถึงเหตุ ๖ คือ
โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ (หมาย
เฉพาะเหตุปัจจัยเท่านั้น)

๒. ปจุจยเหตุ คือเหตุเฉพาะปัจจัย หมายถึงเหตุคือปัจจัยที่ยังผล
ผลธรรมให้เกิดขึ้น(เป็นได้ทั้ง ๒๔ ปัจจัย) เช่นมหาภูตรูป ๔--> อุปาทายรุป ๒๔
หรือมหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุ เรียกชื่อว่า รูปขันธ์ ฯลฯ มหาภูตรูปก็จัด
เป็นปัจจัยเหตุ
๓. อุตุตมเหตุ คือเหตุอันสูงสุด เหตุที่เป็นประธาน เพราะให้ผล
แก่ตน ๆ ได้แก่กรรม คือ กุศลกรรม อกุศลกรรม เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
๔. สาธารณเหตุ คือเหตุที่เป็นสาธารณะทั่วไป เช่น อวิชซาเป็น
เหตุให้เกิดสังขาร ๓ ให้ทำบุญบ้าง ทำบาปบ้าง เพราะมีอวิชชาเป็นเหตุทั้ง
นั้น อวิชชา จึงจัดว่าเป็นสาธารณเหตุ หรือสาธารณปัจจัย เพราะในปัจจัย
๒๔ บางทีก็แบ่งเป็น ๒ ปัจจัย คือ สาธารณปัจจัย กับ อสาธารณปัจจัย

สาธารณปัจจัย หมายถึงปัจจัยที่เป็นสาธารณะทั่วไปในธรรมทั้ง
ปวง เช่น ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น จะมีแต่ลำพังอย่างเดียวไม่ได้ จำต้อง
ประกอบด้วยธรรมหลายอย่าง เพราะฉะนั้นธรรมทั้งหลายจะขาดสหชาดปัจจัย
ไม่ได้ สหชาตปัจจัย ก็จัดเป็นสาธารณปัจจัย หรือว่าจิตทุกดวงต้องมีอารมณ์
อารัมมณปัจจัย ก็จัดเป็นสาธารณปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2023, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1700002385154-removebg-preview.png
ei_1700002385154-removebg-preview.png [ 82.12 KiB | เปิดดู 1069 ครั้ง ]
ส่วนอสาธารณปัจจัยหมายถึงปัจจัยที่ไม่สาธารณะทั่วไปในธรรม
ทั้งปวง เช่น เหตุปัจจัย คือ เหตุ ๖ ย่อมไม่เป็นสาธารณปัจจัย เพราะบาง
ปัจจัยก็มี บางปัจจัยก็ไม่มีเพราะฉะนั้นธรรมใดที่ไม่เป็นสาธารณะทั่วไป
ในธรรมทั้งปวง ก็จัดว่าเป็นอสาธารณปัจจัย

ในเหตุ ๔ อย่างนี้ เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุเหตุ คือ เหตุ ๖ เท่านั้น
ส่วน คำว่าปัจจัย หมายเอาธรรมที่เป็นอุปการะให้เกิดผล ได้แก่ปัจจัยทั้ง ๒๔

คำที่เกี่ยวข้องกับเหตุ อีกอย่างหนึ่ง คือ
คำว่า เหตุ หมายถึงธรรที่เป็นมูล เป็นรากเหง้า ได้แก่ เหตุ
๖ คือ โลภเหตุ โทสหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
เหตุ
คำว่า น เหตุ หมายถึงธรรมที่ไม่ใช่เหตุ ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๔๖
(เวันเหตุ ๖) รูป ๒๘ นิพพาน ชื่อว่า น เหตุ

คำว่า อเหตุ หมายถึงธรมที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ได้แก่
อเหตุกจิต ๑๘ อัญญสมานาเจ.๑๒ (ว้นฉันทะ)โมหเจ.ที่ในโมหจิต ๒
รูป ๒๘ นิพพาน ชื่อว่า อเหตุ

คำว่า สเหตุ หมายถึงธรรมที่ประกอบด้วยเหตุ
สเหตุกจิต ๗๑ เจ.๕๒ (เว้นโมหเจ.ในโมหจิต ๒)
ชื่อว่า สเหตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 81 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร