วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 17:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2023, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1700434704718.jpg
1700434704718.jpg [ 124.95 KiB | เปิดดู 1273 ครั้ง ]
:b15: อรรถกถาแก้นิทเทสเหตุปัจจัย
นิทเทสบาลีเหตุปัจจัย

เหตู เหตุ สมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ตํสมุฏฐานานญฺจ รูปานํ. เหตุปจฺจเยน ปจฺจโย

แปลว่า เหตุทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุและ
แก่รูปทั้งหลายที่มีเหตุและธรรมที่สัมปยุตกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐานด้วยเหตุปัจจัย
จากพระบาสนิทเทสนี้ พระอรรถกถาจารย์ได้ตั้งเป็นคำถามว่า

ถาม เพราะเหตุไรจึงกล่าวว่า เหตู เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ทำไมไม่
กล่าวแต่เพียงว่า เหตุสมฺปยุตฺตกานํ

ตอบ ที่กล่าวว่า เหตู เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ก็เพื่อจะกำหนดรรรมให้
มี ทั้งปัจจัย และปัจจยุบบัน คือ เหตูหมายถึงตัวปัจจัย ส่วน เหตุสมุป
ยฺุตกานํ คือธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุ หมายถึงตัวปัจจยุบบัน คือ
ให้รู้ว่าเหตุ ๖ เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุ เท่านั้น (จะ
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่สัมปยุตกับเหตุไม่ได้) เพราะฉะนั้นในที่นี้ จึงใด้กล่าว
บังคับไว้ว่า ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย คือ เหตุปจฺจเยน
เพราะยกเหตุปัจจัย
เป็นประธาน ก็เพื่อจะห้ามความเป็นปัจจัยของเหตุว่าไม่ใช่เป็นโดยปัจจัยอื่น
เพราะเหตุ ๖ เป็นปัจจัย โดยปัจจัยอื่นก็ได้ เช่น เป็นสหชาตปัจจัย เป็นต้น

และที่กล่าวว่า เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ไม่กล่าวว่า ตํ สมฺปยุตฺตกานํ
ก็เพื่อจะแสดง ปัจจยุบบันธรรมให้ชัดเจนว่าเป็นธรรมที่สัมปยุตกับเหตุ
เท่านั้น ถ้าเปลี่ยนเหตุ เป็น ตํ ก็แปลว่า ธรรมที่สัมปยุตกับธรรมนั้น
ก็จะเป็นธรรมที่ไม่ปรากฏความชัดเจน จึงต้องใช้ว่า เหตุสมฺปยุตฺตกานํ

ถาม ส่วนคำต่อไปว่า ตํ สมุฏฐานานํ รูปานํ ทำไมไม่ใช้
จิตฺตสมุฏฐานาน เพราะดำแปลของ ตํ สมุฎฐนานํ รูปานํ คือ รูปที่มีเหตุและ
ธรรมที่สัมปยุตกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ซึ่งหมายความว่า รูปนั้นย่อมเกิด
เพราะจิตเป็นสมุฏฐาน ก็น่าจะใช้ว่า จิตฺตสมุฏฐานานํ แต่ทำไมไม่ใช้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2023, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1700443092279-removebg-preview (1).png
ei_1700443092279-removebg-preview (1).png [ 423.55 KiB | เปิดดู 1233 ครั้ง ]
ตอบ จะกล่าวอย่างนั้นก็ได้เพราะว่าจิตและเจตสิกย่อมยังรูปให้
เกิดได้ เป็นรูปที่เกิดจากจิต เพราะจิตเป็นประธาน แต่ว่ารูปที่มีเหตุ
นั้นไม่ใช่มีแต่รูปที่เกิดจากจิตเท่านั้นยังมีรูปที่เกิดจากกรรมในปฏิสนธิ
กาลลอีกด้วย เพื่อจะสงเคราะห์รูปที่เกิดจากกรรมด้วย จึงได้ใช้ว่า
ตํ สมุฏฐานานํ รูปานํ ไม่ใช้ว่า จิตฺตสมุฏฐานานํ รูปานํ

ถาม เพราะเหตุไร เหตุปัจจัยจึงเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูปได้เฉพาะ
ในปฏิณธิกาลเท่านั้น ในปวัตติกาล ทำไมเป็นไม่ได้

ตอบ เพราะไนปฏิสนธิกาลนั้น กัมมชรูปย่อมเกิดเนื่องกับจิต
โดยเฉพาะ คือในภูมิที่มีขันธ์ ๕ นามรูปเกิดมีได้เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย
คือวิญญาณต้องตั้งขึ้นก่อนนามรูปจึงปรากฎได้ นามคือเจตสิก รูป คือ
กัมมชรูป ต่อมาในปวัตติกาล ถึงแม้จิตมีอยู่แต่กัมมชรูปเหล่านั้นก็เป็น
ไปเนื่องด้วยกรรมโดยเฉพาะ ไม่ได้เนื่องด้วยจิต เพราะถึงแม้จิตจะไม่
เกิดกัมมชรูปก็ยังเกิดได้ เช่น กัมมชรูปของพระอนาคามี หรือพระอรหันต์ที่
เข้านิโรธสมาบัติก็ยังเกิดได้

ถาม เพราะเหตุไร ในปฏิสนธิกาลจิตจึงยังจิตตซรูปให้เกิดขึ้นไม่ได้
ตอบ เพราะขณะปฏิสนธิจิตยังมีกำลังอ่อน เนื่องจากตนถูก
กำลังของกรรมซัดมา จึงตั้งไม่มั่นคง และวัตถุรูปก็ยังตั้งไม่มั่นคง
เหมือนกัน เพราะเกิดพร้อมกันจึงไม่สามารถให้เกิดรูปคือจิตตชรูปได้
แต่กัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิตนั้น ก็มีฐานะเหมือนกับจิตตชรูปเหมือน
กัน เพราะว่ากัมมชรูปในปฏิสนธิกาลนั้น
ต้องอาศัยจิตเกิดเช่นเดียวกับ
จิตตชรูป
การที่ทำนพูดถึงกัมมซรูปและ
จิตตซรูปนี้ ก็พูดด้วยอำนาจของโอกาส
(หมายถึงโอกาสโลก คือ ที่อยู่ของสัตว์ทั้ง ๓๑ ภูมิ โอกาสมี ๓ อย่าง คือ
โอกาสที่เป็นนาม โอกาสที่เป็นรูป และโอกาสที่เป็นนามรูป)

โอกาสที่เป็นนาม ได้แก่อรูปภพ ภพที่มีแต่นามคือจตุโวการภพ
ในภูมินี้แม้จะเว้นรูป คือหทยวัตถุเป็นปัจจัยแล้ว นามทั้งหลายก็เกิดได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2023, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1700443092279-removebg-preview (1).png
ei_1700443092279-removebg-preview (1).png [ 428.59 KiB | เปิดดู 1223 ครั้ง ]
โอกาสที่เป็นรูป ได้แก่อสัญญีภพ กพที่ไม่มีนาม มีแต่รูป คือ
เอกโวการภพ ในภูมินี้แม้จะเว้นนามคือปฏิสนธิจิตเป็นปัจจัยแล้ว รูปทั้งหลาย
ก็เกิดขึ้นได้

โอกาสที่เป็นทั้งนามและรูป ได้แก่ปัญจโวการภพ คือ ภพที่มี
ขันธ์ ๕ ในภูมินี้ ถ้าเว้นรูปคือปฏิสนธิหทยวัตถุเสียแล้ว นามธรรมทั้งหลาย
ก็เกิดไม่ได้ และถ้เว้นปฏิสนธิจิตเสียอีก รูปที่เกิดจากกรรมก็เกิดไม่ได้
เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น ในภพนี้จึงต้องมีทั้งนามและรูปเกิดคู่กันแน่นอน

ถาม ในนิทเทสที่กล่าวว่า เหตุทั้งหลายย่อมเป็นปัจจัยแก่ธรรม
ทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุก็น่าจะพอแล้ว แต่ทำไมยังต้องกล่าวต่อไปอีกว่า
เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลาย ที่มีเหตุและธวรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุนั้นเป็น
สมุฏฐานอีกเล่า

ตอบ ที่ต้องกล่าวเต็มอย่างนั้นก็เพื่อจะห้ามความเป็นปัจจัยของ
เหตุปัจจัยแก่รูปอื่น ๆ ที่เกิดพร้อมกับเหตุในปวัตติกาล เช่นกัมมชรูป
อุตุชรูป อาหารชรูป เพราะรูปเหล่านี้ก็เกิดพร้อมกับจิต คือจิตเกิดก็มี
กัมมชรูปเกิดทุกๆอนุขณะของจิต ส่วนอุตุชรูปและอาหารชรูป ก็เป็นรูปที่
เกิดจากอุตุและอาหาร ไม่ไช่เกิดจากจิต แต่ว่ารูปเหล่านี้ไม่ไช่เป็นรูปที่มี
เหตุ และธรรมที่สัมปยุตกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน เพราะเหตุนี้จึงกล่าวแต่
เพียงว่าเหตุทั้งหลายย่อมเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุ
เท่านั้นไม่พอ จึงต้องกล่าวให้ชัดเจนอีกว่า เป็นปัจจจัยแก่รูปทั้งหลาย
ที่มีเหตุและธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐานด้วย

ในเหตุปัจจัยนิทเทสนี้ท่านยังแสดงอำนาจของเหตุ ๖ โดยประเภท
ต่างๆ อีก คือ เหตุ ๖ เมื่อว่าโดยชาติก็มี ๔ ชาติ คือ ชาติกุศล อกุศล
วิบาก กิริยา
ชาติกุศล ได้ ๔ ภูมิ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ โลกุตตรภูมิ
ชาติอกุศล ได้ภูมิเดียว คือ กามภูมิ ชาติวิบาก ได้ ๔ ภูมิ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 73 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร