วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 04:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2023, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1700442650708.jpg
1700442650708.jpg [ 102.53 KiB | เปิดดู 3064 ครั้ง ]
อรรถกถาแก้อุทเทสเหตุปัจจัย

จากอรรถกถามหาปัฏฐานในคัมภีร์ปัญจปกรณ์ที่แก้อภิธรรม ๕ คัมภีร์
ข้างท้าย (ว้นธัมมสังคณี และวิภังค์) ได้แก่ อุทเทสและนิทเทสปัจจัย ๒๔
อุทเทสเหตุปัจจัยที่ชื่อว่า เหตุปัจจัย เพราะมีเหตุเป็นปัจจัย
ปัจจัยเป็นตัวเหตุ คืออุปการะให้โดยเป็นเหตุ แม้ในปัจจัยอื่นๆ มีอารัมมณ
ปัจจัยเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกันคือ มีอารมณ์เป็นปัจจัย เป็นต้น
คำว่า เหตุปัจจัย ที่ชื่อว่าเหตุ เพราะอรรถว่าเป็นมูลหรือเป็น
รากเหง้า ที่ชื่อว่าปัจจัยเพราะอรรถว่าเป็นอุปการะ เมื่อรวมกันเป็น
เหตุปัจจัย ก็หมายความว่า เป็นธรรมที่มีอุปการะ เพราะอรรถว่า
เป็นมูลให้ เหตุในเหตุปัจจัย ได้แก่อกุศลเหตุ ๓ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
กุศลเหตุ ๓ และอัพยากตเหตุ ๓ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ คือ
เหตุอันเป็นมูลราก ได้แก่เหตุ ๖ เป็นตัวปัจจัย ส่วนคำว่า ปจุจโย หมายถึง
ผลธรรมที่เกิดจากเหตุหรือปัจจัยนี้เป็นตัวปัจจยุบบัน
เพราะฉะนั้นชื่อของปัจจัยทุกปัจจัยจึงรวมเอาธรรมที่เป็นเหตุและเป็น
ผลเข้าไว้ในข้อธรรมอันเดียวกัน มีทั้งปัจจัยและปัจจยุบบัน
ความหมายของเหตุปัจจัย คือธรรมที่มีมูลเป็นอุปการะ เช่นทำความเป็นกุศลเป็นต้น
ให้สำเร็จแก่ธรวมที่เป็นกุศล เหมือนอย่างพืชข้าวสาลี
ยังผลให้สำเร็จเป็นข้าวสาลีเป็นตัน
หมายความว่ากุศลเหตุที่สัมปยุตธรรมกับจิต
เท่านั้นยังความเป็นกุศลให้สำเร็จ และยังรูปที่เกิดจากจิตและรูปที่เกิด
จากกรรมให้เกิดขึ้นด้วย ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้เป็นนิทเทสว่า
เหตุ ๖ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุ และแก่รูปทั้งหลาย
ที่มีเหตุและธรรมที่สัมปยุตกับเหตุนั้น
เป็นสมุฏฐานโดยเหตุปัจจัย "

เหตุนี้ความเป็นกุศล อกุศล อัพยากตะที่สำเร็จ โดยเหตุปัจจัยนั้น
ต้องหมายเอาเหตุที่สัมปยุตกันในจิตแต่ละดวง เท่านั้น

ส่วนความเป็นกุศล อกุศล อัพยากตะ ของสเหตุกจิตทั้งหลาย ไม่ได้
เคิดขึ้นเพราะเหตุ ๖ ที่ส้มปยุตเป็นปัจจัย แต่เกิดขึ้นเพราะเหตุอย่างอื่นคือ
กุศลเกิดขึ้นได้ตัองอาศัยโยนิโสมนสิการเป็นปัจจัย อกุศลเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย
อโยนิโสมนสิการเป็นปัจจัย อัพยากตะคือวิบากเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยกรรม
เป็นปัจจัย และอัพยากตะที่เป็นกิริยาเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยภวังค์เป็นปัจจัย

ด้วยเหตุนื้อเหตุกจิตซึ่งไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖ เลย ก็ยังสำเร็จความ
เป็นอัพยากตะได้ ส่วนเหตุ ๖ ที่เป็นปัจจัยให้เกิดกุศล อกุศล อัพยากตะ
ได้นั้น ต้องหมายเอาเฉพาะสัมปยุตตเหตุที่เกิดในจิตดวงเดียวกันเป็น
ปัจจัย ด้วยอำนาจ เหตุปัจจัยเท่านั้น เพราะธรรมที่มีเหตุอุปการะ ย่อม
ยังธรมนั้นให้ ตั้งมั่นดำรงอยู่ได้เป็นอย่างดี เหมือนอย่างตันไม้ที่ฝังรากอันงอก
ออกแล้วฉันนั้น ส่วนอเหตุกจิต จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ย่อมเป็นธรรม
ที่ตั้งอยู่ไม่มั่นคงเหมือนอย่างสาหร่ายที่ส่องลอยไปตามกระแสน้ำ เพราะไม่
มีรากมั่นคงฉะนั้น ด้วยเหตุนี้ ธรรมที่เป็นอุปการะโดยอรรถว่าเป็นรากเหง้า
ย่อมอุปการะผลธรรมนั้นให้สำเร็จโดยความเป็นธรรมที่ตั้งอยู่ได้มั่นคงอย่างดี
(คือถ้าเหตุมากผลก็แข็งแรงมั่นคงมาก ถ้าเหตุน้อยผลก็มั่นคงน้อย) นี้คือความ
หมายของเหตุปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 87 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร