วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 14:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2023, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1700683070418-removebg-preview (1).png
ei_1700683070418-removebg-preview (1).png [ 390.74 KiB | เปิดดู 1273 ครั้ง ]
๒. บาลีวิธี กุสโล ธมฺโม อกุสลสฺส ธมฺมสฺส อารมฺมณปจฺจเยน ปจฺจโย
(กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย)
กุ. เป็นปัจจัย อกุ. คือ โลกียกุศล ๑๗ เจต ๓๘ --> อกุศล๑๒ เจ.๒๗

บาลือนุวาท
๑. ทานํ ทตฺวา สีลํ สมาทิยิตฺวา อุโปสถกมฺม กตฺวา ตํ อสุลาเทติ
อภินนฺทติ ตํ อารพฺภ ราโค อุปฺปชฺซติ ทิฏฐิ อุปฺปชชฺติ วิจิกิจฉา อุปฺปชชฺติ
อุทฺธจฺจํ อุปปชฺชติ โทมนสฺสํ อุปปชฺชติ (บุคคลผู้มีจิตศรัทธา ถวายทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรรม แล้วชื่นชมยินดีถึงกุศลที่ทำแล้ว เพราะ
ปรารภกุศลนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิด

กุ.๘ เจ๓๖ (เว้นอัปป. ๒) → อกุ.๑๒ เจ.๒๗
บุคคลทำกุศลมาแล้ว เมื่อนึกถึงกุศลนั้น แทนที่จะเกิดกุศล กลับเกิด
อกุศลก็เพราะไม่มีโยนิโสมนสิการ คือขาดปัญญารู้เหตุผลตามความเป็นจริง
ในการทำกุศล ไม่รู้ว่าการทำกุศลจุดประสงค์ก็เพื่อจะให้ละกิเลสเป็นประการ
สำคัญ เพราะกิเลสเป็นสภาพธรรมที่ทำให้จิตเศร้าหมองเร่าร้อน เกิดทุกข์
นานาประการ การทำกุศลจึงต้องทำเพื่อขัดเกลากิเลสให้หมดไป เพื่อ
จิตใจจะได้สะอาดปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง จะได้เป็นปัจจัยแก่การพ้น
ทุกข์ เช่นให้ทานก็เพื่อละความโลภ ความตระหนี่ให้หมดไป ให้รักษาศีลก็
เพื่อละความโกรธ คือละกิเลสหยาบที่ล่วงออกมาทางกายวาจาไมให้เกิดขึ้น
ให้เจริญสมาธิ ก็เพื่อระงับนิวรณ์ที่เป็นกิเลสอย่างกลาง ซึ่งเกิดขึ้นกลุ้มรุม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2023, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1699563021632-removebg-preview.png
ei_1699563021632-removebg-preview.png [ 127.57 KiB | เปิดดู 1270 ครั้ง ]
จิตใจไม่ให้เกิดขึ้นทำให้ใจสงบจากกามคุณ เป็นต้น และไห้เจริญวิปัสสนา
ก็เพื่อละความหลงที่เป็นเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องในจิตใจให้หม

จุดประสงค์ของการทำกุศลก็เพื่อประโยชน์อย่างนี้คือ ประโยชน์ของตน
เพื่อละกิเลสตนจะได้พ้นจากทุกข์ประไยชน์ผู้อื่นก็เพื่อช่วยเหลือให้เขามี
ความสุขพ้นจากทุกข์ คนที่ทำกุศลถ้าไม่รู้เหตุผลอย่างนี้ การทำบุญแทนที่
จะละกิเลสให้หมดไป ก็กลับไปเพิ่มเลสให้มากขึ้นไดยไม่รู้ตัว กุศลที่ทำ
จึงได้เป็นปัจจัยให้เกิดทุกย์ เพราะทำกุศลเพื่อต้องการผลตอบแทน จึงต้อง
ไปรับผลของกุศลที่ที่ทำไว้ ทำให้ต้องท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏผู้ไม่มีที่สิ้้นสุด
และอีกอย่างหนี่งคนส่วนมากไม่รู้ว่าจิตใจอย่างไรเป็นกุศล อกุศล เมื่อจิตใจ
พอใจในอารมณ์ใด จิตก็ไหลไปตามอารมณ์นั้น และส่วนมากอารมณ์ก็มัก
จะไหลไปทางอกุศล มากกว่ากุศล เพราะความคุ้นเคยกับอกุศลมีมากกว่ากุศล
อารมณ์ที่เป็นอกุศลจึงเกิดได้ง่าย เพราะไม่ต้องออกแรงอะไร อยู่
เฉย ๆ จิตไหลไปตามอารมณ์ก็ไหลไปในอกุศลเอง

อกุศลจึงเปรียบเหมือนเจ้าของบ้าน ส่วนกุศลเปรียบเหมือนกับแขก
ที่มาหานานๆจะมาหาสักที เหตุนี้การทำกุศลจึงต้องออกแรงต้องขวนขวาย
กุศลจึงจะเกิดได้ เมื่อกุศลเกิดแล้วไม่รู้จักรักษากุศล กุศลก็เป็นปัจจัยให้
เกิดอกุศลได้ เมื่อนึกถึงกุศลที่ไห้ทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถ ตลอดจน
กุศลที่ทำความดีอื่นๆที่เป็นกามาวจรกุศล มหัคคตกุศล ถ้าไม่มี
โยนิโสมนสิการเข้าใจเหตุผลตามความเป็นจริง ก็เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศล เกิด
กิเลส มีราคะ ทิฏฐะ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ได้

เช่น กุศลแล้วเกิดราคะ เพราะไปนึกถึงความสนุกสนานที่เกี่ยว
กับการทำกุศล มีการทอดกฐิน ผ้าป่าเป็นต้น ได้ไปเห็นสิ่งสวยงาม ได้ยิน
เสียงเพลงไพเราะ ได้อาหารอร่อย เมื่อนึกถึงกุคลแล้วยินดีเพลิดเพลินไป
กับสิ่งเหล่านั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดราคะ หรือไปรักษาศีลแล้วจิตใจสบายเหลือ
เกิน ก็ยินดีติดใจในอารมณ์นั้น หรือไปเจริญสมาธิในสถานที่สงบรมรื่น
ติดใจในสถานที่นั้น อารมณ์เหล่านี้ก็เป็นปัจจัยให้เกิดราคะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2023, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1697430226559-removebg-preview.png
ei_1697430226559-removebg-preview.png [ 460.23 KiB | เปิดดู 1268 ครั้ง ]
กุ.๘ เจ.๒๔ --> โลภจิต ๘ เจ. ๒๒

ทำกุศลแล้วเกิดทิฏฐิ เพราะวิปลาสเห็นผิดจากความจริง เช่นทำ
ทานแล้วปรารถนาความสุข
ความร่ำรวย ปรารถนาไปเกิดในสวรรค์ เพระไม่
รู้ว่าชาติความเกิดนั้นเป็นทุกข์จึงทำบุญพื่อปรารถนาไปเกิดที่ดีๆ ความ
ปรารถนาอย่างนี้เป็นมิจนาทิฏฐิเพราะเห็นผิดจากความจริง เพราะความจริง
มีแต่ทุกข์ ไม่เทียง เป็นอนัตตา เป็นอสุภะไม่งาม แต่ถ้าทำกุศลแล้วรู้ว่ากุศล
ให้ผลเป็นสุข จึงทำกุศลเพื่อให้เป็นปัจจัยแก่การพ้นทุกข์ อย่างนี้ไม่เป็น
มิจฉาทิฏฐิ เพราะเชื่อว่ากรรมนี้มีผล เป็นกัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ เหตุนี้
การทำกุศล ถ้ามีความเข้าใจถูกก็เป็นปัจจัยแก่ปัญญา แต่ถ้าไมรู้เหตุผลก็
เป็นปัจจัยยแก่กิเลสไป อย่างบางคนคิดว่รักษาศีลให้มากๆ จิตใจมีความ
สบายเยื่อกเย็น ก็เข้าใจว่าถึงพระนิพพานได้ หรือเจริญสมาธิให้มากๆ จิต
ใจมีความสุขมีความสงบก็เข้าใจว่าถึงพระนิพพานได้ ล้วนแต่เป็นทิฏฐิที่เห็นผิดทั้งสิ้น

กุ. ๘ เจ.๓๘ --> โลภทิฏฐิคตสํ. ๔ เจ.๒๑

ทำกุศลแล้วเกิดวิจิกิจฉา เพราะตัตสินอารมณ์ไม่ได้ เช่นสงสัย
ว่าทำกุศลแล้วจะได้ความสุขจริงหรือ ทำกุศลแล้วจะได้ไปเกิดในสวรรค์จริง
หรือ สวรรค์มีจริงหรือเปล่า พระนิพพานมีจริงหรือเปล่า กุศลที่ทำแล้วจะ
เป็นที่พึ่งให้มีความสุขให้พ้นจากทุกข์ได้จริงหรือ

กุ.๘ เจ.๓๘ --> โมหวิจิ.๑ เจ.๑๕

ทำกุศลแล้วเกิดอุทธัจจะ คือเมื่อทำกุศลแล้วเกิดความสงสัย ก็
ทำ ให้คิดฟุ้งซ่านไปต่างๆ เช่น มีคนมาเรี่ยไรทำบุญ ทำไปแล้วก็สงสัยว่า
เขาจะเอาไปทำจริงหรือเปล่า หรือว่าเขามาหลอกลวง ทำให้คิดฟุ้งซ่านไป
ต่างๆ ทำให้เกิดกุกกุจจะรำคาญใจอีกด้วยว่าไม่ควรทำเลย หรือรักษาศีล
เจริญสมาธิแล้วจะได้อานิสงส์อย่างนั้น จะได้จริงหรือเปล่า ก็คิดฟุ้งซ่าน
ไปต่างๆ

ก.๘ เจ.๓๘ → โมหอุทธัจจะ ๑ เจ.๑๕

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2023, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1700720032861.jpg
1700720032861.jpg [ 147.01 KiB | เปิดดู 1152 ครั้ง ]
๔. อุทฺธจฺจํ อารพฺภ อุทฺธจฺจํ อุปฺปชฺชติ ทิฏฐิ อุปฺปชฺชติ วิจิกิจฺฉา
อุปฺปชฺชติ โทมนสฺสํ อุปฺปขฺชติ
(บุคคลที่นึกถึงอุทธัจจะ เพราะปรารภ
อุทธัจจะนั้น อุทธัจจะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา โทมนัส ย่อมเกิด)
โมหอุทธัจจะ ๑ เจ.๑๕--> อกุ.๘ (เว้นทิฏฐิคตวิป. ๔ ) เจ.๒๖ (เว้นมานะ )

อุทธัจจะ --> อุทธัจจะ เพราะขาดสติจึงเป็นเหตุให้เกิดฟุ้งซ่าน
ไปในเรื่องต่าง ๆ เช่นจะโกหกให้ใครเขาเชื่อ ก็ต้องคิดฟุ้งซ่านหาเรื่องให้
เขาเชื่อ หรือบางคนคิดฟุ้งซ่านมาก ๆ ก็เป็นบ้าไป

โมหอุทธัจจะ ๑ เจ.๑๕ --> โมหอุทธัจจะ ๑ เจ.๑๕

อุทธัจจะ --> ทิฏฐิ คนที่ฟุ้งซ่านมากๆก็ย่อมเห็นผิดมาก เช่นอยาก
รวยก็ทำทุจริตต่าง ๆ ฟุ้งช่านไปในเรื่องที่อยากรวยและเห็นผิดว่าไม่เป็นบาปด้วย

โมหอุทธัจจะ ๑ เจ.๑๕ --> โลภทิฏฐิคตสํ. ๔ เจ.๒๑
อุทธัจจะ --> วิจิกิจฉา คนที่ฟุ้งซ่านมาก ๆ ก็เป็นเหตุให้เกิด
ความสงสัยไปต่าง ๆ เช่นคิดว่าชาติหน้าจะมีจริงหรือ หลอกลวงเขาแล้วจะ
เป็นบาปหรือเปล่า ทำบาปแล้วจะต้องไปตกนรกจริงหรือเปล่า
โมหอุทธัจจะ ๑ เจ.๑๕ --> โมหวิจิกิจฉา ๑ เจ.๑๕
อุทธัจจะ โทสะ เช่นทำบาปแล้วก็คิดฟุ้งซ่านกลัวเขาจะจับ
ได้ ก็เกิดความกลัว หรือบางคนคิดฟุ้งซ่านมาก ๆ ถึงกับฆ่าตัวตาย
โมหอุทธัจจะ ๑ เจ.๑๕ --> โทสจิต ๒ เจ.๒๒
๕. โทมนสฺสํ อารพฺภ โทมนสฺสํ อุปฺปชฺชติ ทิฏฐิ อุปฺปชฺชติ วิจิกิจฉา
อุปฺปชฺชติ อุทฺธจฺจํ อุปฺปชฺชติ (บุคคลที่นึกถึงโทสะ เพราะปรารภโทสะ
นั้น โทมนัส ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ย่อมเกิด)
โทสมูลจิต ๒ เจ.๒๒ อกุ. ๘ (เวันทิฏฐิวิป. ๔) เจ.๒๖ (เว้นมานะ)
โทสะ --> โทสะ เช่นนึกถึงเรื่องที่โกรธ ก็ทำให้โกรธยิ่งขึ้น หรือ
ฆ่าคนตายก็กลัวเขาจะจับได้ กลัวเขาจะเอาไปประหารชีวิต หรือโกรธคน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 77 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร