วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 01:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2023, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1701396547558.jpg
FB_IMG_1701396547558.jpg [ 204.91 KiB | เปิดดู 1184 ครั้ง ]
อุปนิสสยปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยที่ ๙ ในปัจจัย ๒๔ หรือเป็นปัจจัยที่ ๑๓ ในปัจจุ ๕๒
อุทเทส อุปนิสฺสยปจฺจโย ธรรมเป็นที่อาศัยมีกำลังมากเป็นปัจจัย
หรือธรรมเป็นเหตุมีกำลังยิ่งเป็นปัจจัยให้เกิดผลธรรม เพราะนิสสย แปลว่า
ที่อาศัย หรือเหตุ อุป แปลว่า ยิ่ง อุปนิสสยปัจปัจเป็นปัจจัยที่อาศัยอย่างแรง
กล้าหรือเป็นที่อาศัยมีกำลังมาก หรือเป็นเหตุมีกำลังยิ่งให้เกิดผล คือ
ปัจจยุบบันธรรม

นิสสยปัจจัยกับอุปนิสสยปัจจัยทั้ง ๒ ปัจจัยนี้ ต่างก็เป็นปัจจัยที่
อาศัยให้เกิดผลด้วยกัน แต่กำลังและความสามารถไม่เหมือนกัน คือ
นิสสยปัจจัยมีความสามารถและกำลังน้อยกว่า เป็นปัจจัยได้แต่ใน
ปัจจุบันกาลเท่านั้น ส่วนอุปนิสสยปังจัยเป็นธรรมเครื่องอาศัยที่มีกำลัง
มากกว่า เพราะมีอำนาจที่จะคุ้มครองและส่งเสริมให้ผลนั้นเป็นไปได้
ทั้ง ๓ กาล และกาลวิมุตติด้วย ปัจจัยนี้ท่านจึงเรียกว่า ปัจจัยมหาประเทศ
เพราะเนื้อความและองค์ธรรมของอุปนิสลยปัจจัยนี้ มีเนื่องอยู่ในปัจจัยทั้งปวง
คือเป็นที่อาศัยของปัจจัยทั้งหลาย ความสำคัญที่จะต้องอาศัยอุปนิสสย
ปัจจัยนั้น ท่านอุปมาว่าเหมือนแผ่นดินกับน้ำฝน และอุตุ ทั้ง ๓ อย่างนี้
ย่อมเป็นที่อาศัยอันสำคัญของสัตว์โลกที่ต้องอาศัยแผ่นดินอยู่ ถ้าสิ่ง
ใดสิ่งหนึ่งใน ๓ อย่างนี้ไม่มี สัตว์ทั้งหลายก็ไม่สามารถจะอยู่ได้ แม้ปัจจัยทั้ง
หลายก็เช่นกัน ถ้าไม่มีอุปนิสสยปัจจัยเกิดขึ้นก่อน ปัจจัยทั้งหลายก็ไม่มี เช่น
อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย ถ้าอวิชซาไม่มีแล้ว
ลังขารก็ไม่เกิด ปัจจัยทั้งหลายก็ไม่มี เพราะไม่มีอุปนิสลยปัจจัย

หรืออีกนัยหนึ่งท่านอุปมาว่า เหมือนกับคนแก่ขึ้นบันไดไปสู่ชั้นบนกี
ต้องใช้ไม้เท้ายันกายขึ้นไป แต่ความสำคัญที่ทำให้ขึ้นไปได้เพราะมีขั้นบันได
ชั้นมันไดจึงเปรียบเหมือนเป็นอุปนิสลยปัจจัย คือเป็นเครื่องอาศัยที่สำคัญที่
จะนำคนแก่ให้ขึ้นไปสู่ขั้นบันได ส่วนไม้เท้าที่ช่วยยันกายนั้นเป็นนิสสยปัจจัย
มีความสำคัญน้อยกว่า

หรืออีกนัยหนึ่งท่านอุปมาอุปนิสสยปัจจัยว่า เหมือนบิดามารดาให้
เกิดบุตร ส่วนพี่เลี้ยงนางนมเป็นเหมือนนิสสยปัจจัย เพราะถ้าไม่มีอุป
นิสลยปัจจัยเกิดขึ้นก่อน นิสสยปัจจัยก็มีไม่ได้

หรืออีกนัยหนึ่ง จักขุวัตถุซึ่งเป็นที่อาศัยให้เกิดจักวิญญาณใน
ปัจจุบันนี้เป็นด้วยอำนาจนิสสยปัจจัย แต่ถ้าเป็นอุปนิสสยปัจจัยก็หมายเอา
จักขุวัตถุที่เกิดจากกรรมในอดีตเป็นปัจจัยให้เกิดจักขุวิญญาณ เพราะถ้า
กรรมในอดีตไม่สร้างจักขึปสาทขึ้นก่อน จักขุวิญญาณในปัจจุบันก็มีไม่ได้
ด้วยเหตุนี้อุปนิสสยปัจจัยจึงจัดว่าเป็นปัจจัยที่อาศัย มีกำลังมากกว่านิสสยปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2023, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1701396547558.jpg
FB_IMG_1701396547558.jpg [ 174.21 KiB | เปิดดู 1038 ครั้ง ]
วจนัตถะของอุปนิสสยปัจจัย

ภูโส นิสฺสโย = อุปนิสุสโย (ธรรมอันเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้า ชื่อว่า อุปนิสลย) หรือ

พลวตโต นิสฺสโยติ = อุปนิสฺสโย (ธรรมอันเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมาก ชื่อว่า อุปนิสสย) หรือ

อุปนิสฺสยภาเวน อุปการโก ธมฺโม = อุปนิสฺสยปจฺจโย (ธรรม
ที่เป็นผู้อุปการะโดยความเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้า ชื่อว่า อุปนิสสปัจจัย)

หรือ พลวตรภาเวน อุปการโก ธมฺโม = อุปนิสฺสยปจฺจโย
ที่เป็นผู้อุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมาก ชื่อว่า อุปนิสสยปัจจัย)

อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยประเภทนามรูป บัญญัติ เป็นปัจจัยแก่นาม
รูป เกิดได้ทั้ง ๓ กาลและกาลวิมุตติ มีกิจ ๒ อย่างคือ ซนกกิจ และอุปถัมภกกิจ
ทำให้เกิดขึ้นด้วย และอุปถัมภ์ผลธรรมนั้นให้ตั้งอยู่หรือให้เป็นไปด้วยดีอีกด้วย

อุปนิสสยปัจจัยแจกได้ ๓ ปัจจัย คือ
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย อนันตรูปนิสสยปัจจัย และปกตูปนิสสยปัจจัย

๑. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย คือ อารมณ์เป็นที่อาศัยมีกำลังมาก
ให้เกิดปัจจุยุบบันธรม หมายความว่า อารมณ์นั้นแรงมาก ชัดเจนมาก
หรือหนักหน่วงมาก เป็นปัจจัยให้เกิดจิต เจตสิก เช่นพระนิพพานเป็น
อารมณ์แรงกล้าให้เกิดโลกุตตรจิต เป็นต้น องค์ธรรมของอารัมมณูปนิสส
ปัจจัยก็เหมือนกับอารัมมณาธิปติปัจจัย ต่างกันที่อารัมมณาธิปติปัจจัยหมาย
เอาอารมณ์ที่ดีที่พอใจมากเป็นอติอิฏฐารมณ์ จัดว่าเป็นอธิบดีอารมณ์ เหตุ
นี้องค์ธรรมของปัจจัย ทั้ง ๒ จึงไม่ต่างกันส่วนที่ต่างกันก็ที่กำลังและ
ความสามารถที่เป็นประธานของปัจจัยนั้น ๆ เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2023, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1701396547558.jpg
FB_IMG_1701396547558.jpg [ 167.86 KiB | เปิดดู 1093 ครั้ง ]
ความต่างกันของอารมณ์ ๓ อย่าง คือ
๑.อารัมมณปัจจัย คือสักแต่ว่าเป็นอารมณ์ทั้งดีและไม่ดี
๒. อารัมมณาธิปติปัจจัย คือเอาแต่เฉพาะการมณ์ที่ดีๆ ที่พอใจมาก เป็นอติอิฏฐารมณ์
๓.อารัมมณูปนิสสยปัจจัยคือเอาอารมณ์ที่สำคัญด้วยและเป็นที่อาศัยมีกำลังมากด้วย

อารัมมณูปนิสสยปัจจัย จึงไม่ต้องอธิบายซ้ำอีก เพราะเหมือนกับ
อารัมมณาธิปติปัจจัยทุกประการ ทั้งองค์ธรรม ปัญหาวาระ และสภาคะ
ของปัจจัยซึ่งเป็นประเภทอารัมมณชาติ

องค์ธรรมอารัมมณูปนิสสยปัจจัย

ปัจจัย
อิฏฐนิป. ๑๘ จิต ๘๔ (เว้นโทสะ ๒ โมหะ ๒ ทุกข์กาย ๑)
เจ.๔๗ (เว้นโทจตุกะ ๔ วิจิ.๑) นิพพาน

ปัจจยุบบัน
จิต ๒๘ คือ โลภะ ๘ กุ. ๘ กิ.สํ. ๔ โลกุตตระ ๘ เจตสิก ๔๕
(เว้นโทจตุกะ ๔ วิจิ. ๑ อัปป. ๒)

ปัจจนิก
โลกิยจิต ๘๑ เจ.๕๒ (ขณะที่ไม่ได้ยึดอิฏฐารมณ์) และรูป ๗ หมวด

๒. อนันตรูปนิสสยปัจจัย คือ ความดับไปของจิตดวงก่อน.. เป็น
ปัจจัย มีกำลังมากให้เกิดจิตดวงใหม่ตามลำดับโดยไม่มีระหว่างดัน องค์ธรรม
ของ อนันตรูปนิสสยปัจจัยก็เหมือนกับอนันตรปัจจัย ส่วนที่ต่างกันคือ กำลัง
และความสามารถในกิจการงานของปัจจัยนั้นๆ คือ อนันตรปัจจัยหมายเอา
จิตดวงเก่าดับไปเป็นปัจจัยให้เกิดจิตดวงใหม่ตามลำดับโดยไม่มีระหว่างคั่น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2023, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1701396547558.jpg
FB_IMG_1701396547558.jpg [ 170.55 KiB | เปิดดู 1039 ครั้ง ]
ส่วนอนันตรูปนิสสยปัจจัย หมายเอาจิตเวงเก่าที่ดับไปนั้นเป็น
เหตุมีกำลังยิ่งเพราะสามารถสร้างจิตดวงใหม่ให้เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น
อนันตรูปนิสสมปัจจัยก็คือ อนันตรปัจจัยที่มีกำลังนั่นเอง
การที่ยกมากล่าวอีกในอุปนิสสยปัจจัย ก็เพื่อให้เห็นความสำคัญของอนันตรูปนิสสยปัจจัย
ว่าเป็นปัจจัยที่อาศัยนสำคัญของสัตว์โลก เพราะความเป็นไปของสัตว์โลก นั้นจะเป็นอยู่ได้
ตัองอาศัยสิ่งสำคัญ ๓ ประการ คือ อารมณ์ วิถีจิต กรรม
เพราะจิตที่เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยอารมณ์เป็นปัจจัยสำคัญ อารมณ์จึงปัจจัย
ให้จิตขึ้นวิถีทำการงาน ทำให้เสพอารมณ์เป็นกุศล อกุศล เมื่อ เป็นกรรมก็ต้องรับผลของกรรม

ธรรม ๓ อย่างจึงเป็นที่อาศัยให้สัตว์โลกทั้งหลายท่องเที่ยวไปใน
วัฏฏะไม่มีที่สิ้นสุด เพราะจิตดวงเก่าดับไปเป็นปัจจัยให้เกิดจิตดวงใหม่
ไม่มีระหว่างคั่น ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัยและอนันตรูปนิสสยปัจจัย ปัจจัย
ทั้งสองจึงเป็นปัจจัยสร้างสังสรวัฏฏ์ให้เกิดติดต่อกันไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าตรางใด
ยังไม่ถึงจุติจิตพระรหันต์ ปัจจัยทั้งสองนี้ก็สร้างสังสารวัฏฏ์เรื่อยไป ปัจจัยทั้งสองนี้ก็สร้างสังสารวัฏฏ์เรื่อยไป
อนันตรูปนิสสยปัจจัยเหมือนกับอนันตรปัจจัย จึงไม่ต้องอธิบายซ้ำอีก

องค์ธรรมอนันตรูปนิสสยปัจจัย
ปัจจัย
จิต ๘๙ เจ.๕๒ ที่เกิดก่อน ๆ (เว้นจุติจิตพระอรหันต์)
ปัจจยุบบัน
จิต ๘๙ เจ.๕๒ ที่เกิดหลัง ๆ และจุติจิตพระอรหันต์
ปัจจนิก
รูป ๗ หมวด
๓. ปกตูปนิสสยปัจจัย คือ อุปนิสสยที่เป็นปกติตามสภาวะของตน
หมายความว่า ปัจจัยเป็นที่อาศัยอันมั่นคงเป็นปกติให้เกิดผล คือปัจจยุบบัน
ธรรม ปกตูปนิสสยปัจจัยเป็นปัจจัยที่กว้างขวางมาก เพราะไม่ว่าธรรมอะไร
ที่มีอยู่ในโลก ล้วนนับเนื่องอยู่ในปกตูปนิสสยปัจจัยทั้งนั้น อำนาจของ
ปกตูปนิสสยปัจจัย จึงทำให้อุปนิสสยปัจจัยได้ชื่อว่าเป็นปัจจัยมหาประเทศ

ด้งวจนัตถะว่า
สุฎฺฐุ กริยิตฺถาติ = ปกโต (เหตุธรรมที่ได้ทำมาแล้วด้วยดีนั้นชื่อ
ว่าปกตะ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2023, 04:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




e442b287182ba918cee6b4ede34ba1a2_1697704457632_0.webp.jpg
e442b287182ba918cee6b4ede34ba1a2_1697704457632_0.webp.jpg [ 150.59 KiB | เปิดดู 1041 ครั้ง ]
ปกโต อุปนิสฺสโยติ = ปกตูปนิสฺสโย (เหตุธรรมอันเป็นที่อาศัยมี
กำลังแรงกล้าที่ได้ทำมาแล้วด้วยดีนั้น ชื่อว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย)หรือว่า

อารมฺมณานนุตเรหิ อสํมิสฺโส หุตวา ปกติยาเยว อุปนิสุสโยติ
= ปกตูปนิสฺสโย (เหตุธรรมเป็นที่อาศัยที่มีกำลังกล้าด้วยอำนาจสภาวะ
ของตนเอง ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย และอนันตรปัจจัย
จึงชื่อว่าปกตูปนิสสยปัจจัย

คำว่า "เหตุธรรม" ให้เกิดอุปนิสสยปัจจัย ตามความหมายของ
วจนัตถะนั้นมี ๓ อย่าง คือ อุปปาทิตเหตุ กับ อุปเสวิตเหตุ

อุปปาทิตเหตุ คือเหตุธรรมที่ตนได้กระทำแล้วด้วยตนเอง เช่น
เคยทำบาป ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ หรือทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น
ที่ตนได้กระทำมาแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้ทำเหตุนั้นๆอีกเพราะความชำนาญ
ด้วยอำนาจปกตูปนิสสยปัจจัย

ส่วนอุปเสวิตเหตุ คือเหตุธรรมที่ผู้อื่นได้กระทำแล้ว เป็นปัจจัยให้
คนกระทำตาม เช่น เห็นคนอื่นฉัอโกงแล้วร่ำรวย ก็คิดว่าดีจึงทำตามบ้าง
หรือเห็นผู้อื่นให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสจึงทำตาม
บ้าง อุปเสวิตเหตุ คือ เหตุที่เข้าไปคบกับคนอื่น ทำให้ถ่ายทอดนิสสัย
ของคนนั้นมาสู่ตน
ก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย

ปกตูปนิสสยปัจจัย จึงมีธรรมกว้างขวางมากกว่าปัจจัยอื่น ๆทั้งปัจจัย
และปัจจยุบบันธรรม คำว่ากว้างขวางในปัจจัยนี้ หมายถึงเป็นปัจจัยได้โดย
ประการต่างๆมากมาย เช่น อุตุ ความเย็น ความร้อน โภชนะ อาหารต่างๆ
เสนาสนะ ที่อยู่ ที่อาศัย เครื่องมือเครื่องใช้สอยต่างๆ บุคคล มีบิดามารดา
ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ ญาติพี่น้อง ธรรมะ มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
ปัญญา ราคะ ทิฏฐิ มานะ สุข ทุกข์และบัญญัติต่างๆเป็นต้น (เวันบัญญัติ
ก้มมฐาน) เพราะสิ่งเหล่านี้ได้เคยเสพมาแล้วเป็นปกติ จึงเป็นปกตูปนิสสย
ป้จจัยให้เกิด กุศล อกุศล อัพยากตะ ได้ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต จน
กว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 82 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร