วันเวลาปัจจุบัน 09 พ.ค. 2024, 05:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2023, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1701473187301.jpg
1701473187301.jpg [ 132.84 KiB | เปิดดู 1275 ครั้ง ]
จตุสัจกัมมัฏฐาน

ในการนำเอาสัจจะ ๔ มาเจริญเป็นวิปัสสนานั้น พึงทราบว่า เมื่อโยคีได้ทำ
การน้อมจิตของตนไปด้วยอำนาจของสุตะที่ได้ยินได้ฟังมาเกียวกับพระนิพพาน
และมรรคธรรมที่ว่า "นิพพานและมรรคเป็นสภาวธรรมที่ประเสริฐ แล้วทำการ
เจริญวิปัสสนาพิจารณากำหนดเฉพาะทุกขสัจและธรรมที่เป็นสมุทยสัจเท่านั้น
ซึ่งข้อนี้ตรงกับปาฐะหรือข้อความที่มาในคัมภีร์อัฏฐกถาที่ว่า ตตุถ ปุริมานิ เทฺว
สจฺจานิ วฎฏํ ดังนี้เป็นต้น ก็ได้ชื่อว่าเป็นการเจริญจตุสัจกัมมัฏฐานนั่นเทียว
สาเหตุเพราะว่า เป็นการเจริญมรรคญาณที่รู้อวิยสัจ ๔ และสาเหตุเพราะว่า
นอกจากจะเป็นภาวนาทีเจริญโดยมุ่งหมายเพื่อรู้อริยสัจ ๔ แล้ว ยังเป็นเทตุให้ได้
ทั้งมรรคและผลอันได้ชื่อว่าเป็นสุขชนิดพิเศษเกิดขึ้นด้วย ดังนั้น วิปัสสนานั้น จึงได้
ชื่อว่า จตุสัจกัมมัฏฐาน

จตุสจฺจปฏิเวธาวหํ กมฺมฎฺฐานํ จตุสจฺจกมฺมฎฺฐานํ จตุสจฺจํ วา อุทฺทิสฺส
ปวตฺตํ ภาวนากมฺมํ โยคิโน สุขวิเสสานํ ฐานภูตนฺติ จตุสจฺจกมฺมฎฺฐานํ.


จตุสัจกัมมัฏฐาน คือ กัมมัฏฐานที่นำการแทงตลอดสัจจะ ๔ มาให้ อีกนัยหนึ่ง
ก็คือการกาวนาที่ดำเนินไปโดยเนื่องด้วยสัจจะ ๔ และเป็นเทตุให้ได้รับความสุข
อัน วิเศษ

อนึ่ง ในคัมภีร์อัฏฐกถาท่านอธิบายว่า จตุสัจกัมมัฏฐานนี้ มีความสอดคล้องกัน
ซึ่งข้อนี้ให้แสดงไว้ในคัมภีร์อัฏฐกถาที่อธิบายอานาปานปัพพะดังนี้

ตตฺถ อสฺสาสปสฺสาสปริคฺคาฺสกา สติ ทุกฺขสจฺจํ. ตสฺสา สมุฎฐาปิกา ปุริม-
ตณฺหา สมุทยสจฺจํ. อุภินนํ อปฺปวตฺติ นิโรธสจฺจํ ทุกฺขปริชานโน สมุทยปฺปชทโน
นิโรธารมฺมโณ อริยมคฺโค มคฺคสจฺจํ เอวํ จตุสจฺจวเสน อุสสกฺกิตฺวา นิพฺพุตึ
ปาปุณาตีติ อิทเมกสฺส อสฺสาสปสฺสาสวเสน อภินิวิฎฐสฺส ภิกฺขุโน ยาว
อรหตฺตา นิยฺยานมุขํ


ในอานาปัพพะนั้น สติที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นทุกขสัจ ตัณหา
ในภพก่อนที่ก่อให้เกิดสตินั้น เป็นสมุทยสัจ ความดับแห่งทุกขสัจและสมุทยสัจ
ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ อริยมรรคที่กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย และมีนิโรธะเป็นอารมณ์
เป็นมรรคสัจภิกษุพากเพียรด้วยจตุสัจกัมมัฏฐานอย่างนี้แล้วย่อมบรรลุพระนิพพาน
ดังนั้น อานาปานกัมมัฏฐาน กล่าวคือ การกำหนดลมหายใจเข้าออกนี้ จึงเป็น
ประตูสู่ความหลุดพ้น จนถึงอรหัตมรรคของภิกษุรูปหนึ่งผู้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก

มุขยอริยสัจ

สำหรับโยคีผู้ปฏิบัติตามแนวอานาปานะนี้ พึงทราบว่า สติของเขาย่อมผุดขึ้น
ระลึกวาโยโผฏฐัพพรูปได้ในทุกขณะที่มีการกำหนดว่า "ออกหนอ" "เข้าหนอ" สติ
ที่เกิดขึ้นนี้ ท่านเรียกว่า ภาเวตัพพมัคคสัจ ตามสำนวนนัยที่เรียกว่า นานันตริยนัย
(หรือนานันตริกนัย) ทั้งนี้เพราะว่า สตินั้นได้ชื่อว่าเป็นปุพพภาควิปัสสนามรรค
นั่นเอง จะอย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังไม่ใช่สติขั้นโลกุตตระที่ประกอบกับอริยมรรค
จึงยังไม่ได้ชื่อว่า เป็นอริยมรรคสัจโดยมุขนัยหรือโดยตรง สตินั้นเป็นเพียงโลกิยธรรม
สงเคราะห์เข้าได้ในทุกขอริยสัจเท่านั้น แม้ในกรณีของจตุสัจกัมมัฏฐานนั้น ก็พึงทราบ
ว่าเป็นวิปัสสนาที่โยคีทำการเจริญโดยมุ่งหมายเอามุขยอริยสัจนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2023, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะฉะนั้น ในการกล่าวถึงการเกิดจตุสัจกัมมัฏฐาน พระอัฏฐกถาจารย์
ท่านจึงหมายเอาเฉพาะสติที่เป็นทุกขสัจเท่านั้น อนึ่ง การที่แสดงว่า สตินั่นเทียว
เป็นทุกขสัจนั้นเป็นการกล่าวโดยปธานนัย(สำนวนโวหารที่พูดโดยหยิบยกเอาสติ
ซึ่งเป็นธรรมหลักขึ้นมากล่าว แต่ยังสงเคราะห์เอาจิต เจตสิกทีเกิดร่วมกับสติ
รวมไปถึงรูปธรรมที่เกิดเพราะสตินั้นเป็นเหตุด้วย ดังนั้น การรู้สภาวธรรมที่ยังไม่ใช่
สภาวธรรมหลัากล่าวคือจิตและเจตสิกที่ประกอบกับสติดังกล่าว และรูปที่อาศัยสติ
นั้นเกิดตลอดถึงวาโยโผฏฐัพพรูปกล่าวคือลมหายใจเข้าลมหายใจออกอันเป็นอารมณ์
ของสตินั้น จึงได้ชื่อว่าเป็นการรู้ทุกขสัจเท่านั้น

เพราะฉะนั้น คำว่ สติ ทุกฺขสจฺจํ ที่กล่าวโดยนำเอาสติเป็นประธานนั้นเป็นการ
แสดงให้ทราบดังนี้ว่าโยคีผู้เจริญวิปัสสนาได้ชื่อว่าเป็นผู้กำหนดพิจารณารู้สภาวธรรม
ที่เป็นทุกขสัจซึ่งประกอบด้วยลมหายใจเข้าลมหายใจออก ก็ดี สติที่เกิดขึ้นโดยปรารภ
ลมหายใจเข้าลมหายใจออกนั้น ก็ดี และจิตเจตสิกที่ประกอบกับสตินั้น ก็ดี รูปที่
เป็นที่อาศัยแห่งสตินั้นก็ดี ซึ่งข้อนี้สอดคล้องกับพระธรรมเทสนา สติปัฏฐานสูตร
อานาปานปัพพะ

เมื่อโยคีได้ทำการกำหนดพิจารณาสภาวธรรมที่เป็นทุกขสัจในเบื้องต้น
อย่างนั้นแล้ว ต่อมาในมัคคขณะ โยคีจึงจะสามารถรู้โดยไม่หลง รู้สภาวธรรม
ทั้งหลายเหล่านั้นโดยความเป็นทุกขสัจอย่างแท้จริงชีงในบรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น
การกำหนดพิจารณาจิตและเจตสิกทั้งหลายที่ประกอบกับสตินั้นในช่วงเบื้องต้นนั้น
ได้ชื่อว่าเป็น วิปัสสนาปฏิวิปัสสนา หมายความว่า เป็นวิปัสสนาที่ทำการกำหนด
วิปัสสนานั้นอีกครั้งหนึ่ง

สา ปน สติ ยสฺมื อตฺตภาเว, ตสฺส สมุฎฐาปิกา ตณฺหา, ตสฺสาปิ สมุฎฐาปิกา
เอว นาม โหติ, ตทภาเว อภาวโตติ อาท 'ตสฺสา สมุฎฐาปิกา ปุริมตณฺหา'ติ
ยถา 'สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณนฺติ. ตํวิญฺญาณพืชตํสนฺตติสมฺภูโต สพฺโพปิ โลกิโย
วิญฺญาณปฺปพนฺโธ 'สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ เตฺวว วุจฺจติ สุตฺตนฺตนเยน.

สติที่เป็นปุพพภาคสติปัฏฐานนั้นมีอยู่ในภพชาติใด ตัณหาที่เป็นต้นเหตุให้
เกิดภพชาตินั้นได้ชื่อว่าเป็นต้นเหตุให้เกิดสตินั้นด้วย เพราะหากไม่มีตัณหามาก่อน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2023, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1702032027335-removebg-preview.png
ei_1702032027335-removebg-preview.png [ 82.85 KiB | เปิดดู 1035 ครั้ง ]
สตินั้น ก็ไม่สามารถที่จะมีได้ ดังนั้น พระอรรถกถาจารย์ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ตัณหา
ในภพซาติ ก่อนที่เป็นต้นเหตุไปเกิดสตินั้น จัดเป็นสมุทยสัจ เหมือนกับการตรัส
คำว่า สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ (ที่มาในมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พหุธาตุกสูตร)
ฉันนั้น ซึ่งในที่นั้น หมายความตามนัยแห่งพระสูตรดังนี้ว่า คำว่า "วิญญาณเกิดขึ้น
เพราะ สังขารเป็นปัจจัยนั้น" หมายถึง สวิญญาณกโลกียธรรมทั้งปวงที่เกิดแต่กรรม
วิญญาณ และการสืบต่อจากกรรมวิญญาณนั้น

รูปนามทั้งหมดทั้งปวงในภพชาตินี้ นับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิเป็นต้นมา เป็นสภาว
ธรรมที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของกุศลกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่บุคคลนั้นได้กระทำ
ไว้แล้วในภพก่อน ก็ กุศลกรรมนั้น เป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของตัณหา
กล่าวคือความยินดี ความปรารถนาภพชาติและผลแห่งกรรมนั้น ทั้งยังสามารถ
ทำให้เกิดผลได้ด้วย เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดรูปนาม
ทั้งหมดทั้งปวงในภพชาตินี้ ก็คือ ตัณหา นั่นเอง แม้แต่สติที่ทำการระฝึกกำหนด
เจริญวิปัสสนานั้น ก็ได้ชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่เกิดด้วยอำนาจของตัณหานั้น
เหมือนกับในกรณีที่กล่าวว่า "วิญญาณเกิดขึ้นเพราะสังขารนั้น" เป็นการกล่าว
โดยหมายความว่าวิปากจิตทั้งหลายนั้นย่อมเกิคขึ้นด้วยอำนาจของสังขาวโดยมุขยนัย

ส่วนจิตที่เป็นประเภทกุศลจิต อกุศลจิต และกิวิยาจิตทั้งหลาย ยังไมได้ชื่อว่า
เป็นผลของสังชารโดยตรงหรือโดยมุขยนัยแต่อย่างใค จะอย่างไรก็ตาม จิตทั้งหลาย
เหล่านั้น ได้ชื่อว่ามีวิปากจิตเป็นรากเหง้าหรือเป็นพีชะต้นเหตุ เพราะเป็นจิตที่เกิด
ต่อเนื่องจากวิปากจิต เป็นจิตที่เกิดในวิถีแห่งวิปากจิต เพราะเทตุนั้น การที่บอกว่า
วิญญาณเกิดขึ้นด้วยอำนาจของสังขาร"นั้น โดยสุตตันตนัยแล้ว พึงหมายเอา
โลกิยจิตทั้งหมดทั้งปวง ฉันใด ก็ฉันนั้น รูปนามที่เป็นผลของกรรมในภพชาตินี้ ก็ได้
ชื่อว่าเกิดขึ้นด้วยอำนาจของตัณหาที่บุคคลนั้นได้กระทำไว้แล้วในภพก่อน แม้นติ
ทีทำการกำหนดเกิดขึ้นในวิถีแห่งรูปนามดังกล่าวก็ใด้ชื่อว่าเป็นธรรมที่ตัณหานั้น
สร้างขึ้นหรือเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้นเพราะฉะนั้นตัณหาที่เกิดขึ้นแล้วในภพชาติก่อน
ซึ่งเป็นตันตอ ต้นเทตุแห่งสติอันได้ชื่อว่าทุกขสัจนั้น ท่านจึงเรียกว่า สมุทยสัจ

ก็ สมุทยสัจที่ได้เกิดขึ้นแล้วในภพชาติก่อนนี้ โยคีไม่สามารถที่จะรู้ได้โดย
ปัจจักขญาณ แต่เมื่อใดที่ญาณของโยคีนั้นแก่กล้าเล้วโยคีก็สามารถที่จะนำเอาตัณหา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2023, 06:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1702032027335-removebg-preview (1).png
ei_1702032027335-removebg-preview (1).png [ 172.51 KiB | เปิดดู 1035 ครั้ง ]
ซึ่งเกิดขึ้นในปัจจุบันมากำหนดรู้ด้วยปัจจักญาณได้และสามารถที่จะกำหนดรู้ตัณหา
ซึ่งเป็นอดีตดังกล่าวได้ด้วยอนุมานญาณจะอย่างไรก็ตามตัณทาที่เป็นอดีตกับตัณหา
ที่เป็นปัจจุบันนั้นบอกจากจะมีสภาวะเหมือนกันแล้วยังถือว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
โดยเอกัคคนัย ทั้งนี้เพราะเป็นสภาวธรรมที่กิดขึ้นในชันธสันดานของโยคีบุคคล
คนเดียวกัน เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่โยคีระลึกตัณหาที่เป็นปัจจุบันได้ ก็จะได้ชื่อว่า
เป็นผู้ที่รู้สมุทยสัจได้โดยปัจจักชะนั่นเทียว

พระนิพพานอันเป็นที่ดับทุกขสัจมีสติเป็นต้นและเป็นที่ดับสมุทยสัจตัณหานั้น
ท่านเรียกว่า นิโรธสัจ ส่วนอริยมรรค ๘ ที่รับพระนิพพานนั้นเป็นอารมณ์และทำ
หน้าที่การรู้ว่า ทุกข์สัจทั้งหลายมีสติเป็นต้น เป็นทุกข์ นั้นให้สำเร็จ และทำหน้าที่
ขจัดสมุทยสัจคือตัณหาให้หมดไปด้วยนั้น ท่านเรียกว่า มรรคสัจ ซึ่งได้แสดงการ
เจริญนิโรธสัจและมรรคสัจไปแล้วในลักษณะที่เป็นการน้อมจิตปรารณาตามที่ตน
เคยได้ยินมาว่า พระนิทพานและมรรคเป็นสิ่งที่ประเสริฐ" ซึ่งผู้ปฏิบัติสามารถ
กระทำได้ในส่วนเบื้องต้นของการปฏิบัติ เพราะเหตุนั้น ในส่วนเบื้องต้นนั้น
โยคีควรทำการน้อมจิตหวังนิโรธและมรรคว่า เมื่อตนเองได้ประพฤติปฏิบัติด้วย
ปฏิปทานี้แล้วจะทำให้หลุดพ้นจากการเกิดแก่เจ็บตายหลุดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวงได้
ข็งสอดคล้องตามคำในวิสุทธิมรรคที่ว่า

อทฺธา อิมาย ปฏิปทาย ชรามรณมฺหา ปริมุจฺจิสฺสามิ
เราจักหลุดพ้นจากชรามรณะ ด้วยปฏิปทาการปฏิบัติวิปัสสนานี้อย่างแน่นอน
เมื่อโยคีทำการน้อมจิตเช่นนี้แล้ว กำหนดรู้ทุกขสัจและสมุทยสัจซึ่งเป็น
รูปนามมีสมหายใจเข้าลมหายใจออกที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน การเจริญของโยคีนั้น
ได้ชื่อว่าเป็นการเจริญวิปัสสนาภาวนาที่เรียกว่า จตุสัจกัมมัฏฐาน นั่นเทียว สำหรับ
โยคีผู้ที่ทำการเจริญเช่นนั้น ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่พัฒนาญาณของตนขึ้นตามลำดับ
จนกระทั่งสามารถเข้าถึงการดับกิเลส ทั้งนี้โดยเป็นไปตามลำดับแห่งวิสุทธิมีทิฏฐิ
วิสุทธิ เป็นต้น ก็ดี โดยลำดับแห่งญาณทัสสนวิสุทธิ ๔ มีปฐมมรรคญาณเป็นต้น ก็ดี
ข้อนี้หมายความว่าโยคีนั้น จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยลำดับตามที่กล่าวมาแล้วนี้
เพราะฉะนั้น ในคัมภีร์อัฏฐกถาเมื่อท่านประสงค์จะแสดงให้ทราบถึงการบรรลุ
นั้น ท่านจึงได้กล่าวว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร