วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 15:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2023, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




pngtree-a-sailboat-gliding-across-the-open-sea-embarking-on-a-peaceful-cruise-photo-photo-image_30447040.jpg
pngtree-a-sailboat-gliding-across-the-open-sea-embarking-on-a-peaceful-cruise-photo-photo-image_30447040.jpg [ 87.38 KiB | เปิดดู 1869 ครั้ง ]
การรู้การเกิดดับของเวทนา

ทุกๆครั้งที่มีการกำหนดรู้ถึงความรู้สึกหรือเวทนาที่เกิดขึ้นภายในจิตใจและ
กายไม่ว่าจะเป็นความสุข ความดีใจ ซึ่งเรียกว่า "สุขเวทนา" หรือความทุกข์ใจ
ความไม่สบายใจ ความเสียใจ ซึ่งเรียกว่า "ทุกขเวทนา" หรือความรู้สึกที่เป็นกลางๆ
หรือเฉยๆซึ่งเรียกว่า "อุเบกขาเวทนา" โดยกำหนดว่า "สุขหนอ ดีหนอ ทุกข์หนอ
เฉยหนอ" ดังนี้เป็นต้น โยคีก็จะสามารถถึงความรู้สึกทั้งทลายเหล่านั้น ประหนึ่งว่า
มองเห็น ความรู้สึกเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วดับไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาก็การรู้เช่นนั้น
ท่านเรียกว่าอุทยัพพยญาณ ซึ่งเป็นญาณที่หยั่งรู้ถึงอุทยะกล่าวคือการเกิดขึ้นใน
บางครั้งซึ่งเรียกว่าสมุทยะ บ้าง นิพพัตติลักษณะ บ้าง และ รู้ถึงวยะกล่าวคือการดับ
ซึ่งเรียกว่า นิโรธะ บ้าง วิปริณามลักษณะ บ้าง ได้ตามความเป็นจริงอย่างแจ่มแจ้ง

โยคีนั้นยังสามารถพิจารณากำหนดรู้อีกหลากหลายนัย เช่น รู้ว่า "เนื่องจาก
ในภพก่อนนั้น ตนเองยังไม่ปราศจากอวิชชากล่าวคือความไม่รู้ จึงทำให้เวทนา
หรือความรู้สึกหรือการเสวยอารมณ์นี้เกิดขึ้นได้ ก็ถ้าปราศจากอวิชชาแล้ว เวทนา
ดังกล่าวก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้"ดังนี้บ้างและยังพิจารณารู้ว่า"การที่เวทนานี้เกิดขึ้น
ก็เพราะว่ายังมีตัณหาความอยากความต้องการอยู่ ถ้าเมื่อใดปราศจากตัณหาแล้ว
เวทนานี้ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้" ดังนี้บ้าง นอกจากนี้ ยังพิจารณากำหนดรู้ดังนี้ว่า
"เพราะมีกรรมที่ได้กระทำไว้ เวทนานี้ จึงเกิด หากไม่มีกรรม เวทนานี้ ก็ไม่สามารถ
เกิดขึ้นได้ เพราะมีผัสสะที่กระทบสัมผัสกับอารมณ์ในขณะปัจจุบันนี้ จึงทำให้
เวทนานี้เกิดขึ้น ถ้าไม่มีผัสสะดังกล่าว เวทนานั้นก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้"

การพิจารณากำหนดรู้ตามที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ก็เป็นอุทยัพพยญาณเช่นกัน
ซึ่งทำหน้าที่อนุมานหรือรู้โดยอนุมานญาณในธรรมทั้งหลายที่เรียกว่าสมุทยะ
กล่าวคือเหตุเกิด และวยะนิโรธะกล่าวคือเหตุดับ ก็การรู้เหตุที่เป็นปัจจุบันนอกจาก
ผัสสะ โดยนัยเป็นต้นว่า"เพราะมีรูปเป็นที่อาศัย ความรู้สึกหรือเวทนานี้ จึงเกิด
ถ้าไม่มีรูปเป็นที่อาศัย เวทนานี้ ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะมีอารมณ์ เวทนา
จึงเกิด ถ้าไม่มีอารมณ์ เวทนานี้ ก็เกิดไม่ได้" การรู้เช่นนี้เป็นการรู้ที่สอดคล้องกับ
ปาฐะที่มาในพระบาลีดังนี้ว่า ผสฺสสมุทยา เวทนาสมุทโย ผสฺสนิโรธา เวทนา-นิโรโธ
การเกิดเวทนา ย่อมมีได้เพราะการเกิดผัสสะเป็นเหตุ การดับแห่งเวทนา
ย่อมมีได้เพราะการดับแห่งผัสสะเป็นเหตุ ก็การรู้อุทยะและวยะกล่าวคือการเกิด
และการดับของสัญญาและสังขารทั้งหลายที่ยังไม่ได้กล่าวถึง ณ ที่นี้นั้น พึงทราบ
ว่าเหมือนกันกับลักษณะการรู้อุทยะและวยะของเวทนานั่นเอง สมดังที่พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสไว้ว่า อิติ เวทนาย สมุทโย อิติ เวทนาย อตฺถงฺคโม อิติ สญฺญาย สมุทโย ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 79 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร