วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 13:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2023, 07:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1702184415592.jpg
1702184415592.jpg [ 88.08 KiB | เปิดดู 1288 ครั้ง ]
ปฏิสังขาญาณ

โส เอวํ สพฺพรวโยนิคติฐีตินิวาสคเตหิ สเภทเกหิ สงฺขาเรหิ มุจฺจิตุกาโม
สพฺพสฺมา สงฺขารคตา มุจฺจิตุํ ปุน เต เอวํ สงฺขาเร ปฏิสงฺขานุปสฺสนาญาเณน
ติลกฺขณํ อาโรเปตฺวา ปวิคฺคณฺหาติ,.

(วิสุทธิ ๒/๓๒๗)

พระโยคาวจรผู้นั้นปรารถนาที่จะหลุดพ้นจากสังขาร ที่มีความแตกดับซึ่ง
ตั้งอยู่ในภพ โยนิ...ทั้งปวง จะต้องกำหนดโดยยกสังขารเหล่านั้นนั่นแหละขึ้น
ไตรลักษณ์ด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (หรือปฏิสังขาญาณ) ทั้งนี้เพื่อจะได้หลุดพ้น
จากสังขารทั้งปวงนั่นเอง

ถ้าบุคคลไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวสังขารว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข
เป็นอัตตาแล้ว ก็ย่อมเข้าถึงพระนิพพานอย่างแน่นอน บุคคลเช่นนี้ แาในเวลาที่
ยังมิได้ดับขันนธ์ ก็จะไม่มีความกังวลหรือมีทุกข์ที่เกี่ยวเนื่องกับสังขารแต่อย่างใด
ส่วนภายหลังจากที่ท่านดับขันธ์แล้ว ทุกข์ดังกล่าวก็จะไม่มีโดยประการทั้งปวง
อนึ่ง บุคคลผู้ต้องการจะหลุดพ้นจากสังขารด้วยอำนาจของมุญจิตุกัมยตาญาณ
เมื่อพยายามทำความรู้แจ้งสังขารทั้งหลายว่า เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็น
อนัตตา โดยนำสังขารดังกล่าว มากำหนดใหม่อีกครั้งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถ
ปล่อยวางในสังขารเหล่านั้นได้โดยพยายามกำหนดจนกระทั่งเห็นความเกิดดับของ
สังขารเหล่านั้น หากทำได้อย่างนี้ อาการอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอาการทั้งหมด
๔๐ คือ อนิจจัง ๑๐ ทุกขัง ๒๕ และอนัตตา ๕ ก็จะปรากฎขึ้นตามความสมควร
สรุปแล้วก็คือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ หรืออนัตตลักษณะ ลักษณะใด
ลักษณะหนึ่ง จะปรากฎให้เห็นในทุกๆครั้งที่กำหนดสังขาร การกำหนดเห็นอย่างนี้
เรียกว่า ปฏิสังขาญาณ(ญาณที่กลับเห็นอีกครั้งหนึ่ง)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2023, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนิจจลักษณะ(อาการที่เห็นสังขารว่าไม่เที่ยง)

พระโยคาวจรสามารถเห็นลักษณะของนามรูปสังขารต่างๆ ดังต่อไปนี้
ก. ในบางครั้งเห็นเป็นสิ่งที่มีความสิ้สุด คือไม่จีรังยั่งยืน เรียกตามภาษา
บาลิว่า อนัจจันติกะ
ข. ในบางครั้งเห็นเป็นสิ่งชั่วคราวชั่วขณะ เรียกว่า ตาวกาลิกะ
ค. ในบางครั้งเห็นเป็นสิ่งที่อยู่ในกรอบของสภาพความเกิด -ดับ คือ อยู่ใน
ท่ามกลางของความเกิด-ดับ หลังจากเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นสภาวะที่
ไม่มีอยู่ก่อนเกิดหรือหลังดับ แค่จะมีอยู่เฉพาะในระหว่างความเกิดกับ
ความดับ ลักษณะการเห็นเช่นนี้ เรียกว่า อุปปาทวยปริจฉินนะ

อิกนัยหนึ่ง สามารถเห็นลักษณะของนามรูปสังขาร ต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. เห็นเป็น อนิจจัง คือ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
๒. เห็นเป็น ปโลกธรรม คือ เป็นสิ่งที่จะต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย และแตกสลาย
ไปในที่สุด อุปมาเหมือนกับการพังทลายของตลิ่ง หรือทำนบที่ก่อขึ้นด้วย

กองทราย หรือเหมือนกับกระดาษที่ถูกฉีกขยำ หรือเหมือนกับไฟที่
ถูกน้ำสาดเข้าก็จะดับลงในชั่วพริบตา
๓. เป็นเป็น จละ คือ เป็นสิ่งหวันไหวง่าย เช่นเกิดแล้วก็แก่ แก่แล้วก็เจ็บ
เจ็บแล้วก็ตายในที่สุด เมื่อกำหนดเห็นเป็นสิ่งที่เกิดแล้วดับตลอดเวลา
อยู่เช่นนี้ วิปัสสนาของบุคคลนั้นท่านเรียกว่า จลานุปัสสนา
๔. เห็นเป็น ปภังคุ คือ เป็นสิ่งที่พุพังง่าย
๕. เห็นเป็น อัทธุวะ คือเป็นสิ่งไม่มั่นคง ไม่ยังยืน สามารถแตกสลายไป
เมื่อใด ก็ได้
๖. เห็นเป็น วิปริณามธรรม คือ เป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนไปดำรงอยู่ในสภาพเดิม
เช่น จากเล็กก็โต จากโตก็แก่ จากแก่ก็ตาย ดังนี้เป็นต้น
๗. เห็นเป็น อสารกะ คือเป็นสิ่งที่ไม่มีแก่นสาร
๘. เห็นเป็น วิภวะ คือเป็นสิ่งที่ปราศจากความงดงาม หมายความว่าคนเรานี้
เมื่อยังไม่เข้าใจสันตติฆนะ(นามรูปที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง) ต่างก็คิดว่า
ร่างกายและ จิตใจนี้มีมาตั้งแต่ยังเด็กๆ และก็ค่อย เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่
จนสามารถดำรงอยู่ได้จนกระทั่งทุกวันนี้ ดุจต้นไม้ที่เจริญเติบโตมาจาก
เมล็ดพันธุ์ฉะนั้น แต่เมือเข้าใจแล้วย่อมเห็นว่า อาการของกายและจิตที
เกิดขึ้นก่อนนั้นเป็นคนละอย่างกับอาการทีเกิดขึ้นภายหลังด้วยว่าอาการ
ก่อนๆนั้นได้ดับไปแล้ว ก่อนที่อาการหลังๆจะเกิดขึ้นเสียอีก เพราะฉะนั้น
นามรูป ที่เห็นอยู่นี้จึงมิใช่สิ่งที่เจริญงอกงาม มาจากนามรูปก่อนๆแต่
อย่างใดเลย
๙. เห็นเป็น สังขตะ คือเป็นสิ่งที่เกิดจากการปรุงแต่ง ของเหตุปัจจัยอันได้แก่
กรรม จิต อุตุ และอาหาร เป็นต้น มิได้เกิดขึ้นมาลอยๆ
๑๐. เห็นเป็น มรณธรรม คือเป็นสิ่งที่แตกสลายตายไปเป็นธรรมดา
การเห็น ๑๐ ประการนี้เป็นลักษณะของอนิจจัง คือความไม่เที่ยง เฉพาะใน
คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคนั้นพระพุทธองค์ แสดงไว้เพียง ๑๐ ข้อเท่านั้น ส่วนบทที่
แสดงด้วย ก. ข. ค. ต้นๆนั้น พระอรรถกถาจารย์ท่านเป็นผู้แสดง เพราะฉะนั้น
ให้นับบทที่แสดงด้วย ก. ข. ค. เข้าใน ข้อ ๑ คือ อนิจจัง แล้วก็จะได้อาการไม่เที่ยง
๑๐ อย่างเคร่งครัด และแม้แต่กรณีของทุกขัง-อนัตตา
ก็พึงทราบโดยวิธีเดียวกันนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2023, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ลักษณะ(อาการที่เห็นสังขารเป็นทุกข์)
ก.ในบางครั้งพระโยคาวจรจะเห็นนามรูปสังขารเป็น อภิณหสัมปฏิปิฬนะ
คือเป็นสิ่งที่ถูกความเกิด ดับเบียดเยนอยู่ตลอดเลลา ไม่มีสังขารใดหนี
ความเกิด ดับไปได้พ้น
ข. เห็นเป็น ทุกขมะ คือเป็นสิงที่ทนได้ยาก
ค. เห็นเป็น ทุกขวัตถุ คือเป็นที่รองรับความทุกข์อันมีประการต่างๆ
๑. ในบางครั้งเห็นเป็น ทุกขะ คือสิ่งที่เป็นทุกข์
๒. เห็นเป็น โรคะ คือเห็นเป็นเหมือนกับโรคร้าย
๓. เห็นเป็น คัณฑะ คือเห็นเป็นเหมือนกับฝีดาษ (เพราะเป็นสิ่ง ที่มีความ
เจ็บปวด อันหมายถึงความทุกข์ ความไม่แน่นอน และความแปรเปลี่ยน
จึงเหมือนกับฝีดาษ หมายความว่า นามรูปนี้เกิดขึ้นประเดี๋ยวเดียวก็ดับไป
เหมือนกับฝีดาษที่เกิดตามตัว พอหนองก่อตัวสุกเต็มที่แล้วก็แตกไป
อีกอย่างหนึ่งที่เหมือนกับแผลฝีดาษนั้นเพราะ เป็นเทตุให้อาส วกิเลสไหล
ซึมออกดุจน้ำหนองไหลออกจากฝีฉะนั้น)
๔. เห็นเป็น สัลละ คือเห็นเป็นเหมือนกับขวากหนามที่ที่มตำเข้าไปที่เท้า
(ขวากหนามที่ทิ่มแทงเข้าไป ทำให้เกิดความเจ็บปวดสุดที่จะทนได้
ครั้นจะบ่งออกก็ยากเย็นแสนเข็ญยิ่งนัก ความทุกข์ในร่างกายและจิตใจ
ของคนเราก็เช่นเดียวกัน คือเป็นสิ่งที่ทำให้ทรมานยากที่จะขจัดได้)
๕. เห็นเป็น อฆะ คือเห็นเป็นสิ่งชั่วร้าย (เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าฟังหลาย
ติเตียน เพราะเป็นสิ่งที่ทำลายประโยชน์สุข และเพราะเป็นพื้นฐานรองรับ
ความชั่วร้ายทั้งปวง จึงเปรียบเหมือน อฆะ ความชั่วร้าย)
๖. เห็นเป็น อฆมูละ คือเห็นเป็นมูลเหตุแห่ง อกุศลธรรมทั้งปวง
๗. เห็นเป็น อาพาธะ คือเห็นเป็นเหมือนโรคภัยไข้เจ็บ
๘. เห็นเป็น อีติ คือเห็นเป็นเหมือนภัยพิบัติที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่างๆ เช่น
สูญเสียญาติพี่น้อง(ญาติพยสนะ)เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2023, 03:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๙. เห็นเป็น อุปัทวะ คือเห็นเป็นเหมือนอันตราย ที่ทำลายล้างผลาญและ
อันตรายที่เบียดเบียนของมนุษย์ด้วยกัน
๑๐. เห็นเป็น ภยะ คือเห็นเป็นสิ่งน่ากลัว (เหตุที่น่ากลัว เพราะเป็นสิ่งที่ตรง
กันข้ามกับนิพพานซึ่งเป็นสิ่งที่พ้นจากภัยโดยสิ้นเชิง)
๑๑. เห็นเป็น อุปสัคคะ คือเห็นเป็นอุปสรรคคอยหลอกลวงมิให้เกิดประโยชน์
๑๒. เห็นเป็น อตาณะ คือเห็นว่าให้การปกปักรักษาไม่ใด้
๑๓. เห็นเป็น อเลณะ คือเห็นว่าไม่สามารถเป็นที่หลบภัยได้
๑๔. เห็นเป็น อสรณะ คือเห็นว่าเป็นที่พึ่งพิงอาศัยไม่ได้ (ถึงแม้ว่าจะเป็น
นามรูปที่ดีเลิศเพียงไรก็ตาม แต่กีไม่สามารถที่จะหยุดยั้งภัยพิบัตได้
จึงไม่สามารถเป็นที่พึ่งพิงได้)
๑๕. เห็นเป็น อาทีนวะ คือเห็นว่าเป็นสิ่งให้โทษ
๑๖. เห็นเป็น วธกะ คือเห็นเป็นเหมือนนักฆ่า
๑๗. เห็นเป็น สาสวะ คือเห็นเป็นสิ่งที่เกื้อหนุนอาสวกิเลส
๑๘. เห็นเป็น มารามิสะ คือเห็นเป็นอาหารของกิเลสตัณหา
๑๙. เห็นเป็น ชาติธัมมะ คือเห็นเป็นสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
๒๐. เห็นเป็น ชราธัมมะ คือเห็นเป็นสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา
๒๑. เห็นเป็น พยาธิธัมมะ คือเห็นเป็นสิ่งที่มีความเจ็บเป็นธรรมดา
๒๒. เห็นเป็น โสกธัมมะ คือเห็นเป็นสิ่งที่มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา
๒๓. เห็นเป็น ปริเทวธัมมะ คือเห็นเป็นสิ่งที่มีการร้องให้เป็นธรรมดา
๒๔. เห็นเป็น อุปายาสธัมมะ คือเห็นเป็นสิ่งที่มีความคับแค้นเป็นธรรมดา
๒๕. เห็นเป็น สังกิเลสิกธัมมะ คือเห็นเป็นสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา

ทุกขวัตถุทั้ง ๒๕ ข้อที่แสดงมานี้เป็นอาการของทุกข์ที่ควรพิจารณาให้เห็น
ตามความเหมาะสม แต่ยังมีข้อที่ควรจำอีก คือ ในขณะที่เกิดสัมมสนญาณ หรือใน
ขณะที่ปฏิสังขาญาณยังไม่แก่กล้าพอ เมื่อโยคีพิจารณาเห็นทุกข์ประการต่างๆแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นอาการของทุกข์ เช่น เห็นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก จึงตรงกับนัยแห่ง
พระบาลีที่ว่า ทุกขมโต ทุกฺขวตฺถุโต ทุกขโต โรคโต ดังนี้เป็นต้น ดังนั้น ในคัมภีร์
วิสุทธิมรรค ท่านจึงได้แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับอาการเหล่านี้อย่างพิสดารไว้ในตอนที่
ว่าด้วยสัมมสนญาณและปฏิสังขาญาณทั้งสอง ส่วนที่ต่างกัน คือ สัมมสนญาณ
ไม่สามารถ ทุกขเวทนาอย่างเดียวได้ แต่ปฏิสังขารนั้น สามารถกำหนดรู้ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2023, 04:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตลักษณะ ๕ (อาการที่ไม่ใช่อัตตา)

ก. ในบางครั้งพระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นนาม รูปสังขารในขณะกำหนด)
ว่าเป็น อัสสามิกะ คือเป็นเพียงสภาวธรรมที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
ข. ในบางครั้งเห็นเป็น อนิสสระ คือเป็นเพียงสภาวธรรมที่ไม่มีใครเป็นผู้
บังคับบัญชา
ค. ในบางครั้งเห็นเป็น อวสวัคติ คือเป็นเพียงสภาวธรรมที่ไม่อยู่ในอำนาจ
ของใคร
๑. เห็นเป็น อนัตตา คือเป็นเพียงสภาวธรวม ไม่ใช่อัตตาผู้เป็นใหญ่ ไมใช่
อัตตาผู้ตั้งอยู่ตลอดกาล ไม่ใช่อัตตาที่เดินเหินได้ ไม่ใช่อัตตาผู้เสวย ไม่ใช่
อัตตาผู้เนรมิต
๒. เห็นเป็น ประ คือเป็นเหมือนคนแปลกหน้าเนื่องจากไม่สามารถจะจัดแจง
ให้เป็นไปตามที่ตนปรารถนาได้
๓. เห็นเป็น ริตตะ คือเป็นเพียงสภาวธรรมที่ว่างเปล่า ไม่มีความยั่งยืน
ไม่มีความสุข ไม่มีความงดงาม
๔. เห็นเป็น ตุจฉะ คือเป็นเพียงสภาวธรรมที่ไม่มีเนื้อแท้แก่นสารอะไร
๕. เห็นเป็น สุญญะ คือเป็นสภาวธรรมที่ปราศจากอัตตา
(หมายความว่า โดยทั่วไปแล้ว อัตตานี้เชื่อกันว่า เป็นเจ้าชีวิต เป็นอาตมัน
เป็นสัตวะ เป็นวิญญาณที่สิงสถิตอยู่ตลอดกาล ซึ่งผู้คนทั้งหลายพากันยึดมั่น
ถือมัน ด้วยความหลงว่า เป็นเจ้าของร่างกายนี้ เป็นพระเจ้าที่สิงสถิตอยู่ในร่างกายนี้
เป็นผู้ออกคำสั่งให้เดิน กิน เป็นต้น เป็นผู้เสวยทั้งความดี ความชั่ว เป็นพระเจ้า
ผู้เนรมิตสรรพสิ่งให้เป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ เป็นผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตาม
ปรารถนา แต่สำหรับพระโยคาวจรแล้วไม่เชื่อเช่นนั้นจะพิจารณาเห็นเป็นสภาวธรรม
ปราศจากอัตตาโดยสิ้นเชิง)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2023, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะของอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาทั้ง ๔๐ นี้ ท่านเรียกว่า โต ๔๐
เพราะทรงแสดงด้วยโตปัจจัย เป็นต้นว่า อนิจฺจโต ทุกขโต... และเรียกญาณที่
พิจารณารู้นามรูปสังขารด้วยอาการเหล่านั้นว่า วิปัสสนา ๔๐ สำหรับอาการทั้งทลาย
ดังกล่าว อาจจะปรากฎในญาณของผู้มีปัญญาทึบมาแต่กำเนิด หรือผู้มีพหูสูตรน้อย
ได้บ้าง แต่จะปรากฎไม่มากเหมือนกับของคนที่มีปัญญามากมาแต่กำเนิดหรือเป็น
ผู้มีพหูสูตร และอาการเหล่านี้จะไปปรากฎชัดเป็นพิเศษยิ่งๆขึ้นอีกในวิปัสสนาญาณ
ของมรรคเบื้องสูง ดังนั้น พระโยคาวจรต้องเชื่อมันว่า การที่พิจารณาเห็นอาการ
อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างถูกต้องนั่นแหละเป็นวิปัสสนาญาณที่บริบูรณ์สามารถนำไป
สู่มรรคญาณได้แน่นอน เพราะว่าอริยมรรคนั้นจะเกิดถัดจากวุฏฐานคามินีวิปัสสนา
อย่างแน่นอน ซึ่งตรงกับพระบาลีปฏิสัมภิทามรรคว่า ปญฺจกขนฺเธ อนิจฺจโต
ปสฺสนฺโต อนุโลมิกํ ขนฺตี ปฏิลภติ, ปญฺจนฺนํ ขนฺธานํ นิโรโธ นิจฺจํ นิพฺพานนฺติ
ปสฺสนฺโต สมฺมตฺตนิยามํ โอกฺกมติ..
เห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอนิจจัง ย่อมได้
อนุโลมิกขันติ (ปัญญา) เมื่อเห็นความดับของขันธ์ ๕ ว่าเป็นนิพพานอย่างแน่นอน
ก็เข้าถึงอริยมรรค

ในกรณีของบุคคลบางคนนั้น ปฏิสังขาญาณจะแก่กล้าอย่างรวดเร็วมาก
แต่สำหรับบางคนต้องใช้เวลาค่อนวันก็มี หนึ่งวันเต็มๆก็มี สอง-สามวันก็มี
ญาณถึงจะแก่กล้า และในช่วงที่ญาณยังไม่แก่กล้านั้น จะเห็นสังขารเป็นสิ่งที่
ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าพึงพอใจอย่างชัดเจน แต่ยังไม่สามารถกำหนดได้สม่ำเสมอ
เหมือนสังขารุเปกขาญาณ จึงทำให้คิดว่ากำหนดได้ไม่ดี ทั้งๆที่ตนเองก็กำหนดได้ดี
แต่เมื่อญาณนี้แก่กล้าแล้ว ความรู้สึกนี้ก็จะหายไปเอง เพราะเหตุนี้ ปฏิสังขาญาณ
อาจแบ่งได้ ๒ ส่วน คือ ส่วนแรกกำหนดได้ไม่ดี ส่วนที่ ๒ กำหนดได้อย่าง
แคล่วคล่องว่องไว เหมือนกับในตอน อุทยัพพยญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
ส่วนแรกมีอุปกิเลส ส่วนที่ ๒ ไม่มีอุปกิเลส และแม้แต่ในภังคญาณเองก็แบ่งเป็น
สองส่วน โดยแบ่งเหมือนกับปฏิสังขาญาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 83 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร