วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 15:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2023, 03:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1702429736379.jpg
1702429736379.jpg [ 132.22 KiB | เปิดดู 900 ครั้ง ]
อนุโลม - โคตรกู - มรรค ผลญาณ

เมื่อสังขารุเปกขาญาณแก่กล้าบริบูรณ์เต็มที่พอที่จะยังอนุโลมญาณให้เกิดขึ้นได้
อธิโมกข์คือศรัทธาก็มีกำลังดีขึ้น และด้วยอำนาจของศรัทธานี้แหละ ที่ทำให้จิตเกิด
ความผ่องใสได้เป็นพิเศษพร้อมทั้งยังทำไห้ความเพียรดำเนินไปโดยสม่ำเสมอ สติที่
กำหนดอยู่ก็มีความมั่นคง จิตใจเป็นสมาธิแน่วแน่ แม้สังขารุเปกขาญานเองก็มี
ความชัดเจนยิ่งกว่าเดิม ถึงตอนนี้พ่ะโยคาวจรสามารถรู้ได้ว่า การกำหนดของตน
มีความก้าวหน้าขึ้นไปมาก หลังจากนั้น เมือนำสามัญญลักษณะ ๓ อย่าง คือ อนิจจัง
ทุกขัง และอนัตตา ลักษณะใดลักษณะ หนึ่งมาพิจารณาแล้ว อย่างน้อยๆ สทิสา-
นุปัสสนาวิถีกาจเกิดขึ้น ๓ หรือ ๓ ครั้ง ดังนี้ คือในครั้งแรก ถ้ากำหนดอนิจจัง
พอครั้งที่ ๒-๓ ก็จะทำกำหนดอนิจจังเช่นกัน ทรือถ้าครั้งที่หนึ่งกำทนดทุกขัง พอครั้งที่
๒-๓ ก็จะกำหนด ทุกขัง เช่นกัน หรือถ้าครั้งแรกกำหนดอนัตตา พอครั้งที่ ๒ ๓
ก็กำหนลอนัตตาเช่นกันหมายความว่าการกำหนดพิจารณาโดยอาการเพียงลักษณะ
เดียวสามารถเกิดขึ้นได้ถึง ๒ ๓ ครั้ง

อนิจจังนี้ฟังทราบว่า เป็นลักษณะใดลักษณะ หนึ่งในอาการ ๑๐ อย่างที่ได้แสดง
มาแล้วนั่นเอง ส่วนทุกขังก็หมายเอาอาการอย่างใดอย่างหนึ่งในอาการ ๒๕ อย่าง
และอนัตตาก็หมายเอาอาการอย่างใดอย่างหนึ่งในอาการ ๕ อย่างเช่นกัน

วุฏฐานคามินีวิปัสสนา(อนุโลมญาณ)

เมื่อสังขารุเปกขาญาณถึงที่สุดแล้วจะได้ชื่อว่า สิกขาปัตตสังขารุเปกขา และ
เนื่องจากอยู่ติดกับอริยมรรคจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา (วิปัสสนา
ที่กำลังจะเข้าถึงอริยมรรค) อนึ่ง อริยมรรคนี้จะไม่กำหนดสังขารนิมิต (ซึ่งเป็นอารมเณ์
ของวิปัสสนา) มาเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าลุก(ผละตัวออก)จากนิมิตแล้ว
และต่อจากนั้นจึงทำให้ปวัตตะกล่าวคือ กิเลส กรรมและวิบากที่เกี่ยวข้องสงบระงับไป
เพราะฉะนั้นจึงถือได้ว่า ผละตัวออกจากปวัตตะด้วยสาเหตุที่มรรคเป็นสภาวธรรม
ที่ออก(พ้น)จากนิมิตและปวัตตะทั้ง ๓ นี้ จึงได้ชื่อว่า วุฏฐานะ ส่วนสังขารุเปกขาญาน
อนุโลมญาณ และโคตรภูญาณ ทั้ง ๓ นี้มีความต่อเนื่องเป็นวิถีเดียวกันกับมรรค
จึงเรียกว่า วุฏฐานคามินี ดังที่ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ท่านได้กล่าวไว้ว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2023, 05:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สังขารุเปกขาญาณทีถึงที่สุดแล้วพร้อมทั้งอนุโลมญาณเรียกว่าวุฏฐานคามินี
วิปัสสนา ถ้าวุฏฐานคามินีวิปัสสนากำหนดโดยอนัตตลักษณะ อริยมรรคจะมีชื่อว่า
สุญญตวิโมกข์ ถ้ากำหนดโดยอนิจลักษณะ อริยมรรคจะมีชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์
และถ้ากำหนดโดยทุกขลักษณะ อริยมรคจะมีชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์

สรุปความว่า ในคำพูดประโยคแรก ท่านแสดงว่า สังขารุเปกขาญาณที่ถึงที่
สุดแล้วและอนุโลมญาณได้ชื่อว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา ส่วนคำที่ว่า "ถ้าวุฏฐาน-
คามินีวิปัสสนากำหนดโดยอนัตตลักษณะ" ดังนี้ นั้นเป็นการแสดงถึงความเป็น
สทิสานุปัสสนา หมายความว่า ทั้งสังขารุเปกขาญาณและอนุโลมญาณต่างก็กำหนด
อนัตตาเหมือนกัน ส่วนในลักษณะของอนิจจังทุกขัง ก็พึงทราบโดยทำนองเดียวกันนี้

สิขาปตฺตวิปสฺสนาติ วา วุฎฺฐานคามินีติ วา สงฺขารุเปกฺขาทิญาญตฺตยสฺเสว
เอตํ นาม. สา ทิ สิชํ อุตฺตมภาวํ ปตฺตตฺตา สิขาปฺปตฺตา, วุฎฐานํ คจฺฉตีติ
วุฎฐานคามินี, วุฎฐานํ วุจฺจติ พหิทฺธานิมิตฺตภูตโต อภินิวิฏฺฐวตฺถุโต เจว.
อชุฌตฺตปวตฺตโต จ วุฎฐหนโต มคฺโค, ตํ คจฺฉตีติ วุฏฐานคามินี, มคเคน สทฺธึ
ฆฏิยตีติ อตฺโถ.

(วิสุทธิ. ๒/๓๓๙)

ชื่อทั้ง ๒ คือ สิขาปัตตวิปัสสนา และ วุฏฐานคามินี นี้ เป็นชื่อของสังขารุ-
เปกขาญาณ อนุโลมญาณ และโคตรภูญาณ
(มหาฎีกาแก้ว่า สงฺขารุเปกขาอนุโลมโคตฺรภูสญฺญิตสฺส ญาณตฺตยสฺส)
จริงอยู่ วิปัสสนาทั้ง ๓ นั้น บรรลุถึงที่สุดแล้ว คือบรรลุถึงความเป็นเลิศ
แห่งวิปัสสนาทั้งปวงแล้ว ฉะนั้น จึงมีชื่อว่าสิขาปัตตะ และเพราะเข้าถึงวุฏฐานะ
(คือมรรค) แล้ว ฉะนั้นจึงมีชื่อว่า วุฎฐานคามินี อนึ่ง (ท่านเรียก อริยมรรคว่า
วุฏฐานะ) ในที่นี้ "วุฎฐานะ" ท่านหมายถึงอริยมรรค (วุฏฐานะ แปลว่า ลุกออก เช่น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2023, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุกออกจากอาบัติคือแสดงอาบัติแล้วดังนี้เป็นต้น) เพราะสามารถลุกออก* (โดยวิธี
ที่ไม่ต้องกำหนดเป็นอารมณ์ และห้ามมีให้เกิดขึ้นอีก) จากสังขารภายใน - ภายนอก*
เป็นสิ่งที่ควรกำหนดและเป็นอารมณ์ภายนอกของวิปัสสนาและจากกระแสคือ
กองกิเลสและ วิบากอันเป็นสิ่งภายในสันดานของตน อนึ่ง ธรรมใดเข้าถึงมรรคอัน
มีชื่อว่า วุฏฐานะ ธรรมนั้นท่านเรียกว่า วุฏฐานคามินี อธิบายว่า ธรรมทีต่อเนื่อง
กับอริยมรรค ท่านเรียกว่า วุฏฐานคามีนี

วิถีจิตของสิขาปัตตสังขารุเปกขาหรือสทิสานุปัสสนา ซึ่งนับเนื่องในวุฏฐาน-
คามินีวิปัสสนานั้นมีดังนี้ คือ ภวังคจลนะเกิดขึ้น ๒ ครั้ง มโนทวาราวัชชนะ ๑ ครั้ง
มหากุศลญาณสัมปยุตตชวนะ ๗ ครั้ง และหลังจากนั้นก็เกิดภวังคจิตเป็นลำดับต่อไป
พึงทราบว่าวิถีจิตนี้เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นลำดับ ๒ ถึง ๓ ครั้ง และพึงสังเกตว่าใน
วิถีจิต นี้จะไม่มีตทารัมมณจิตเกิดหลังชวนจิตซึ่งเป็นพลววิปัสสนา (วิปัสสนาจิตที
มีพลังแรง) ดังที่ท่านกล่าวไว้ในสัมโมหวิโนทนีอรรถกถาว่า ติลกฺขณารมฺมณิก(พลว)
วิปสฺสนาย ตทารมฺมณํ น สพฺภติ, วุฎฐานคามินิยา พลววิปสฺสนาย ตทารมฺมณํ น
ลพฺภติ = วิปัสสนา(พลังแรง)ที่มีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ไม่มีตทารัมมณะ(ในวิถีจิต)
และ วิปัสสนา พลังแรงที่เป็นวุฏฐานคามินีก็ไม่ได้เช่นกัน

ในสทิสานุปัสสนาวิถี ซึ่งเกิดขึ้นถึง ๒-๓ ครั้งนั้น เฉพาะครั้งสุดท้าย(วาระ
สุดท้าย) ภวังคจิตจักเกิดขึ้นหลังจากสัตตมชวนจิต(ชวนจิตดวงที่ ๗) มากน้อย
ตาม แต่ความเหมาะสม และในขณะนั้นนั่นเอง มโนทวาราวัชชนจิตก็จักเกิด
โดยพิจารณานามธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรูปธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่กำลัง
เกิดดับอยู่ โดยยกขึ้นสู่อาการของไตรลักษณ์อาการใดอาการหนึ่ง เหมือนกับที่
สทิสานุปัสสนาวิถีเคยพิจารณามาแล้ว ต่อจากนั้น วิปัสสนาชวนจิต ๒-๓ ครั้ง
---------------------‐-----‐-----------------------------------------------------------
คำว่า"ลุกออก" นั้นในมหาฎีกาอธิบายไว้ว่า วุฏฐทนญฺจ เนสํ อารมฺมณากรณํ อายตี อนุปฺ
ปตฺติธมฺมตา ปาทญฺจ = การลุกออกคือการไม่กระทำ(นำ)สิ่งเหล่านั้นมาเป็นอารมณ์
และไม่ให้โอกาสแก่สภาวธรรมคือกิเลสและวิบากเกิดขึ้นได้อีก เป็นการปราศจาก(ระงับ)
สภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว เหมือนดังคนเป็นไข้แล้ว
ก็หายจากไข้ฉันนั้น เป็นสำนวนโวหารพิเศษในภาษาบาลี)

*คำว่า "ภายนอก" ในที่นี้มิได้หมายเอาเฉพาะสันดานของผู้อื่น หรือ อนินทรียพัทธะ (สิ่งที่ไม่มีอินทรีย์)
เท่านั้น แม้ธรรมภายในสันดานของตน หากเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาก็จัดอยู่ในพวก พทิทธา (ภายนอก)
เหมือนกับ นี้เป็นคำบรรยายของมหาฎีกา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2023, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จักเกิดขึ้นโดยพิจารณากำหนดนามรูปดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยอาการอย่างนี้
ว่า "ลักษณะการพิจารณากำหนดตอนนี้คล้ายกันกับที่กำหนดในระหว่างภายใน
๒ - ๓ วิถีทีเพิ่งฝานมานั่นเอง"

อนึ่ง ในบรรดาชวนจิต ๓ ครั้งหรือ ๓ ดวงนั้น ปฐมชวนจิตมีชื่อว่า บริกรรม
ชวนจิตดวงที่ ๒ มีชื่อว่า อุปจาระ ส่วนดวงที่ ๓ มีชื่อว่า อนุโลม

บริกรรม หมายถึง ชวนจิตที่ทำการเตรียมพร้อมล่วงหน้า อุปจาระ หมายถึง
ชวนจิตเข้าใกล้มรรค อนุโลม หมายถึง ชวนจิตที่เหมาะสมกับญาณบูรพภาคมี
อุทยัพพยญาณเป็นต้นและโพธิปักขิยธรรม(ซึ่งเป็นอปรภาคธรรมส่วนปลาย)ซึ่งนับ
เข้าในมรรคจิตตุปบาท (การอุบัติขึ้นของมรรคจิตพร้อมด้วยสัมปยุตตธรรม เรียกว่า
มัคคจิตตุปบาท) ก็คำว่า บริกรรม อุปจาระ อนุโลม นี้เป็นชื่อพิเศษของชวนจิต
๓ ดวง แต่ถ้าจะเรียกโดยรวมกันแล้ว จะเรียกว่า อาเสวนชวนจิต บริกรรมชวนจิต
อุปจารชวนจิต
หรือ อนุโลมชวนจิตก็ได้ ส่วนญาณที่นับเช้าในอนุโลมชวนะทั้ง ๓
เหล่านี้ เรียกว่า อนุโลมญาณ และอนุโลมชวนะทั้ง ๓ นี้จักปรากฎเกิดขึ้นพร้อมทั้ง
อาวัชชนะ โดยจะปรากฎแก่โยคาวจร เหมือนกับการกำหนดรอบเดียว หรือครั้ง
เดียวพร้อมกัน แต่จะไม่ปรากฎแยกกันเป็นอย่างๆ เหมือนกับในขณะที่เห็นรูปหรือ
ได้ยินเสียงในตอนแรก อาวัชชนจิตเกิดแล้ว ชวนจิต (๗ ดวง) ก็ตามมาเรียงกัน
เป็นกลุ่ม ปรากฏเหมือนกับว่า เกิดขึ้นพร้อมกันทีเดียวทั้งหมดฉะนั้น

อนึ่ง การยกหลักฐานมายืนยันคำกล่าวที่ว่า วิปัสสนาชวนจิตเกิดขึ้น ๗ ครั้ง
และสทิสานุปัสสนาวิถีเกิดขึ้น ๒-๓ ครั้งนั้น มีปรากฎในอรรถกถา-ฎีกา ต่อไปนี้

ตสฺส ทานิ มคฺโค อุปฺปชฺชิสฺสตีติ สงฺขารุเปกฺขาสงฺขาเร อนิจฺจาติ วา ทุกขาติ
วา อนตฺตาติ วา สมฺมสิตฺวา ภวงฺคํ โอตรติ, ภวงฺคานนฺตรํ สงฺขารุเปกขาย
กตนเยเนว สงฺขาเร อนิจฺจาติ วา ทุกฺขาติ วา อนตฺตาติ วา อารมฺม กุรุมานํ
อุปฺปชฺชติ มโนทฺวาราวชฺชนํ, ตโต ภวงฺคํ อาวฏฺเฏตฺวา อุปฺปนฺนสฺส ตสฺส
กิริยจิตฺตสฺสานนฺตรํ อวีจิกํ สนฺตติมนุปฺปพนฺธมานํ ตเถว สงฺขาเร อารมฺมณํ
กตฺวา อุปฺปชฺชติ ปฐมชวนจิตฺตํ, ยํ ปริกมุมนฺติ วุจฺจติ.

(วิสุทธิ ๒/๓๔๙)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2023, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1704957679235-removebg-preview (1).png
ei_1704957679235-removebg-preview (1).png [ 294.34 KiB | เปิดดู 175 ครั้ง ]
หลังจากที่โยคีเกิดความคิดว่ามรรคกำลังจะเกิดขึ้นในตอนนี้นั้น
สังขารุเปกขาญาณก็จะทำหน้าที่พิจารณากองสังขารว่า เป็นกองที่ไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ หรือไม่ใชอัตตา(อย่างใดอย่างหนึ่ง)แล้วย่อมตกสู่ภวังค์ และถัดจากภวังค์
นั้นก็จักเกิดมในทวาราวัชชนะพึ่งพิจารณากองสังขารเป็นอารมณ์ว่าเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ หร่อไม่ใช่อัตตา (อย่างใดอย่างหนึ่ง)ตามแนวทางที่สังขารุเปกขาได้ทำ
มาแล้วต่อจากนั้น อาวัซนกิริยาจิตก็เกิดขึ้นมาเพีอตัดภวะแสภวังค์ ถัดจากนั้น
ปฐมชวนจิตที่พิจารณากองสังขารเป็นอารมณ์ โดยลักษณะเหมือนกับวิถีที่ผ่าน
มานั้นเองก็เกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรนั้นโดยติดต่อสืบสานวิถีจิตให้เป็นไปโดยไม่
ขาดระยะ ปฐมชวนจิตดังกล่าวนี้ท่านเรียกว่า บริกรรม

อนิจฺจาติ วา ทุกฺขาติ วา อนตฺตาติ วา สมฺมสิตฺวา ภวงฺคํ โอตรตีตื อนิจฺจาทีสุ
เอเกนากาเรน สมฺมสนฺตี สตฺตกฺขตฺตุํ ปวตฺติตฺวา ภิชฺชนฺตีติ ภวงฺคํ โอติณฺณา นาม
โหติ. ตโต ปรํ ภวงฺคสฺส วาโรติ กตฺวา
ตเถวาติ ยถา อตีตาสุ ทฺวตฺติชวนวีถิสุ สงฺขารุเปกฺขา อนิจฺจาติ วา ทุกขาติ
วา อนตฺตาติ วา สงฺขาเร อารมฺมณมกาสิ ตเถว.


(วิสุทธิ ฎี ๒/๕๒๔.๕๓๐)

คำว่า "หลังจากที่โยคีเกิดความคิดว่า มรรคกำลังจะเกิดขึ้นในตอนนี้นั้น
สั่งขารุเปกขาญาณก็จะทำหน้าที่พิจารณา ฯลฯ แล้วตกสู่ภวังค์" นี้ อธิบายว่า
(เมื่อสังขารุเปกขาญาณ)กำหนดพิจารณาโดยอาการของไตรลักษณ์อาการใด
อาการหนึ่ง แล้วดำเนินไปถึงเจ็ดครั้ง จึงแตกดับ (อย่างนี้)ชื่อว่าเป็นการตกสู่ภวังค์
ภายหลังจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของภวังค์ต่อไป

คำว่า"โดยลักษณะเหมือนกับวิถีจิตที่ผ่านมานั้นนั่นเอง"อธิบายว่าได้พิจารณ
กองสั่งขารเป็นอารมณ์ โดยลักษณะว่า ไม่เที่ยงบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอนัตตาบ้าง
เหมือนกับสังขารุเปกขาญาณ ที่เกิดขึ้นในชวนวิถี ๒-๓ ครั้ง ที่ผ่านมา ฉะนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 90 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร