วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 15:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2023, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Screenshot_20231216-160824_Google.jpg
Screenshot_20231216-160824_Google.jpg [ 109.94 KiB | เปิดดู 1040 ครั้ง ]
ลักษณะความปรากฏของมรรคจิต

หลังจากทีละทิ้งอารมณ์ และจิตที่กำหนดซึ่งได้ชื่อว่า สังขารแล้ว จะปรากฏ
การเข้าถึงความดับแห่งสังขาร(เข้าถึงพระนิพพาน)ก่อน แล้วหลังจากนั้นจะเห็นความ
ตั้งอยู่สภาวะความดับของจิตนั้นเพียงชั่วขณะเดียว หลังจากนั้น ก็จะปรรกฏ
เหมือนกับตื่นจากภวังค์ หรือเหมือนกับผุดขึ้นจากผิวน้ำ คือหลังจากที่จิตเจ้าถึง
ความดับแล้ว ก็จะออกมาทำการพิจารณา ซึ่งเวียกว่า ปัจจเวกขณะ ถ้าหากรัก
ปฏิบัติเป็นผู้มีความรู้เรื่องปริยัติ ก็จะสามารถตัดสินได้ทันทีว่า จิตที่เข้าสภาวะ
ความดับแห่งสังขารเป็นครั้งแรกนั้น ได้แก่ โคตรภูจิต ต่อจากนั้นจะเป็นวาระของ
มรรคจิตซึ่งเป็นจิตที่ปราศจากสังขารและตั้งอยู่เพียงชั่ว ๑ ขณะ ส่วนจิตดวงสุดท้าย
(ของวิถี)ซึ่งอุบัติขึ้นเพื่อเสวยผลต่อจากมรรคนั้น ได้แก่ ผลจิต

เกี่ยวกับเรื่องนั้ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้อธิบายไว้ด้วยอุปมาดังต่อไปนี้


อุปมาเช่นบุรุษผู้ต้องการที่จะข้ามเหมืองน้ำขนาดใหญ่พอประมาณ(ครั้นเตรียม
การพร้อมแล้ว) บุรุษนั้นได้วิ่งด้วยความเร็วสูงแล้วใช้มือคว้าเชือกหรือไม้มีผูกห้อย
ไว้กับกิ่งไม้ ไกล้ฝั่งของเหมืองทางที่ตนกำลังจะกระโดดข้ามนี้ แล้วโหนเชือกหรือ
ไม้พุ่งตัวกระโดด น้อมไปทางฝั่งทางโน้น พอเห็นว่าตัวเองกระโดดขึ้นมาอยู่เหนือ
ฝั่งตรงกันข้ามแล้วจึงสลัดเชือกหรือไม้ที่ตนกาะอยู่นั้นทิ้ง แล้วกระโดดตัวลงสู่
พื้นฝั่งตรงกันข้ามด้วยอาการที่โงนเงน คือยังทรงตัวได้ไม่ดี แล้วค่อยๆทรงตัว
อย่างช้าๆ ฉันใด

แม้พระโยคาวจรนี้ก็ฉันนั้น คือในเบื้องต้น นักปฏิบัติผู้ปรารถนาที่จะข้ามภพ
ไปหานิพพานอันเป็นฝั่งตรงกันข้ามกับภพ โยนิ คติ ฐิติ และนิวาสนั้น เบื้องต้นจะ
ต้องวิ่งด้วยความเร็วสูงแล้วโหนเชือกคือรูป หรือไม้คือนามธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง
มีเวทนา เป็นต้นที่ผูกห้อยไว้ที่กิ่งไม้คืออัตภาพ แล้วพิจารณาอาวัชชนจิตที่นำหน้า
อนุโลมญาณว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็นของที่ไม่อยู่ในบังคับบัญชาก็ดี
เสร็จแล้วกระโดดข้ามด้วยอนุโลมจิตดวงที่ ๑ โดยที่ยังไม่ปล่อยอารมณ์ที่พิจารณา
นั้นในทันทีทันใด แล้วน้อมจิตไปสู่ฝั่งพระนิพพานด้วยอนุโลมจิตดวงที่ ๒ เหมือนกับ
บุรุษกำลังน้อมกาย กระโดดไปฝั่งตรงกันข้ามฉันนั้น แล้วจึงขยับเข้าใกล้นิพพานซึ่ง
กำลังจะถึงอยู่รอมร่อแล้วด้วยอนุโลมจิตดวงที่ ๓ เหมือนกับบุรุษกำลังกระโดดมา
ถึงเหนือพื้นฝั่งตรงกันข้ามของเหมืองน้ำฉันนั้น เสร็จแล้วทันทีที่จิต(อนุโลมจิต)นั้น
ดับลง ก็รีบสลัดทิ้งอารมณ์สังขารนั้น แล้วตกไปในนิพพานอันปราศจากสังขาร
ด้วยโคตรภูมิ แต่เนื่องจากยังไม่สามารถรับนิพพานอย่างเดียวเท่านั้นมาเป็นอารมณ์
จึงทำอารมณ์ยังไม่แน่นอน แต่เมื่อได้บรรลุมรรคญาณแล้ว อารมณ์จึงจะตั้งอยู่โดย
แน่วแน่และแน่นอนดุจบุรุษผู้ข้ามฝาก ซึ่งกำลังตกถึงพื้นของฝั่งตรงกันข้ามด้วย
อาการที่โงนเงน เพราะยังทรงตัวได้ไม่ดีฉันนั้น

อนึ่ง การยกอุปมาอุปไมยของพระอรรถกถาจารย์นี้ ช่างมีความเหมาะสมกัน
เสียเหลือเกิน และนอกจากนี้ ในพระบาลี มัชฌิมปัณณาสก์ มหามาลุกยปุตตสูตร
และอังคุตตรนิกาย นวนิบาต มหาวรรค ปัญจสูตร เป็นต้น ก็ทรงแสดงไว้เหมือนกันดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2023, 03:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อานนท์ภิกษุในพระธรมวินัยนี้สงบระงับจากกามและอกุศลธรรมทั้งปวงแล้ว
ย่อมบรรลุปฐมฌานที่ประกอบด้วยวิตก(ความตรึก)และวิจาร(ความตรอง)อันมี
ความอิ่มใจและความสุขใจที่เกิดแต่วิเวก(ความปราศจากนิวรณ์)ภิกษุนั้นย่อมกำหนด
พิจารณาธรรมทั้งหลายกล่าวคือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณซึ่งเกิดขึ้น
ขณะแห่งปฐมฌานนั้นว่า เป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดั่งโรคที่รักษาไม่หายขาด
เป็นดั่งฝี เป็นดั่งลูกศร เป็นดั่งบาป เป็นสิ่งที่คอยเบียดเบียนดุจอาพาธ เป็นธรรม
แปลกหน้า เป็นภาพลวงตา เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา(สิ่งที่ไม่ใช่อัตดา) ดังนี้
ครั้นกำหนดพิจารณาอย่างนี้แล้วย่อมปฏิเสธจิต * จากรูปธรรม-นามธรรมเหล่านั้น
และเมื่อปฏิเสธได้แล้วย่อมสามารถน้อมนำจิตไปสู่นิพพานธาตุ ซึ่งเป็นธาตุที่
ปราศจากความตาย มีคำถามว่า จะน้อมนำไปได้อย่างไร? วิสัชชนาว่า พึงน้อมนำ
เข้าหานิพพานอย่างนี้ว่า "นิพพานธาตุอันเป็นการละอุปธิทั้งปวงและเป็นความสิ้นไป
แห่งกิเลสตัณหา ทั้งเป็นการสำรอกความกำหนัดยินดี และเป็นความดับแห่งสังขาร
ทั้งปวงนี้ เป็นสภาวะที่สงบและประณีต" ดังนี้

อนึ่ง ในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นนั้นมิได้หมายความว่า จะต้องพิจารณาโดย
กำหนดออกเสียงว่า "เอตํ สนตํ, เอตํ ปณีตํ" แต่เป็นเพียงการรู้แจ้งถึงความดับของ
สังขารโดยอาการอันสงบ เหมือนกับได้เข้าไปรู้เข้าไปเห็นทีเดียว ส่วนญาณที่ ว่า
สภาพความของสังขารเป็นสิ่งสงบ เป็นสิ่งประเลิริฐดีเลิส นั้นจะปรากฎในช่วง
เวลาของปัจเวกขณญาณเท่านั้น ดังที่ท่านอธิบายไว้ในอรรถกถา ของมัชฌิมปันณาสก์
--------------------------------------------------------------------------
* คำว่า "ปฏิเสธ" นี้ในอังคุตตรอรรถกถาขยายไว้ว่า นิปผนฺนวเสน นิวตฺเคติ = ปฏิเสธหรือห้ามด้วยอำนาจ
แห่งการยังกิจให้สำเร็จ อนึ่ง ข้อที่ว่า "พระโยคาวจรปฏิเสธจิต" นั้นหมายถึงการผละจากอารมณ์อันเป็น
สังขารภายหลังที่ได้บรรลุวิปัสสนาตามลำดับไปจนถึงอนุโลมญาณและโคตรภูจิตแล้วส่วนในมัชฌิมนิกาย
อรรถกถา ท่านอธิบายว่า หรติ โมเจติ อปเนติ = เก็บเข้าที่เดิม คือปล่อย ได้แก่ นำออก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2023, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ด้วยการกำหนดนิพพานเป็นอารมเณ์นั้นแหละชื่อว่าย่อมน้อมนำมรรคจิตเข้าไป
(มรรคจิตที่กำหนดนิพพานเป็นอารมณ์เกิดขึ้นท่านเรียกว่าน้อมนำจิตเข้าหานิพพาน)
ในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นนั้น มิได้เป็นการกำหนดออกเสียง ว่า "เอตํ สนฺตํ เอตํ
ปณีตํ"(นิพพานนี้สงบหนอ นิพพานนี้ประเสริฐหนอ) แต่เป็นการแทงตลอดนิพพาน
นั้นโดยอาการอันสงบ นี้ชื่อว่าย่อมน้อมนำจิตไปสู่พระนิพพาน

ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ได้แสดงความเกิดขึ้นแห่งมรรคญาณซึ่งเป็นญาณ
ที่เห็นพระนิพพานด้วยอาการที่ตรงกันข้ามกับอาการนั้น ภายหลังที่อนุโลมญาณ
เกิดขึ้น โดยมีการกำหนดอาการอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอาการ ๔๐ อันประกอ
ด้วยอาการไม่เที่ยง ๑๐ อาการ ที่เป็นทุกข์ ๒๕ และอาการที่เป็นอนัตตา ๕
โดยทรงจำแนกเป็น ๔๐ ตอน ซึ่งใน ๔๐ ตอนที่ว่านี้ จะขอยกมาอธิบายเพียง ๖ ตอน
ดังต่อไปนี้
ปญฺจกฺขนฺเธ อนิจฺจโต ปสฺสนฺโต อนุโลมิกํ ขนฺตี ปฏิลภติ, ปญฺจนฺนํ ขนฺธานํ
นิโรโธ นิจฺจํ นิพฺพานนฺติ ปสฺสนฺโต สมฺมตฺตนิยามํ โอกฺกมติ.

(ขุ. ปฏิ. ๓๐/๓๗/๔๔๖)
เมื่อพระโยคาวจรพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นของไม่เที่ยงย่อมได้
อนุโลมญาณ และเมื่อได้เห็นว่าความดับของขันธ์ ๕ คือนิพพานอันเที่ยงแท้แล้ว
ย่อมหยั่งลงสู่อริยมรรค

ในข้อความที่ยกมานี้คำว่า "ปญฺจกฺขนฺเธ" เป็นเพียงคำสามัญซึ่งกล่าวรวมๆกัน
เรียกว่าเป็น สัพพสังคาหิกวาจา (คำพูดที่กล่าวรวมเอาขันธ์ที่บุคคลจะพึงกำหนด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2023, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งหมด แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่า ให้กำหนดพร้อมกันทีเดียวทีเดียวทั้งหมด
แต่แท้จริง จะต้องเลือกกำทนดขันธ์ใดขันธ์หนึ่งนามในนามหนึ่งเท่านั้นในอนุโลมญาณ
จึงจะเกิดได้ ด้งได้ยกมาแสดงไว้แล้วจากคัภีวิสุทธิมรรคเป็นต้นว่า รูปรชฺชุํ วา
เวทนาทีสุอญฺญตรทฺฑํ วา...
ซึ่งหมายความว่า เมือเจริญรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือนามอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เวทนา สัญญา เป็นต้นย่อมได้อนุโลมญาณ
นอกจากนี้ในคัมภีร์อรรถกถาอื่นๆ ท่านยังได้แสดงถึงความเกิดขึ้นของโคตรภูญาณ
และอริยมรรคภายหลังจากทีอนุโมญาณเกิดขึ้น ซึ่งมีทั้งอนุโลมญาณที่กำหนดรูป
เป็นอาวมณ์และอนุโลมญาณ ที่กำหนดนามเป็นอาวมณ์ด้วยปาฐะ ว่า รูปา วุฏฐาติ
อรูปา วุฏฐาติ
แต่ไม่ได้แสดงว่าโคตรภูและมรรคญาณเกิดขึ้นต่อจากญาณที่กำหนด
รวมนามรูปทั้งหมดพร้อมกันโดยตรง แะคำว่า เอกปฺปหาเรน ปญฺจหิ ขนฺเธหิ
วุฏฐาติ
นั้น ก็ไม่ไช่เป็นคำตรงไปตรงมา หรือที่เรียกว่านิปปริยาย แต่เป็นคำขนิด
สนฺธายภาสิตคือเป็นคำที่กล่าวโดยมุ่งหมายเอาเฉพาะวิปัสสนาญาณและมรรคญาณ
ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแก่บุคคลผู้มีปัญญาหลักแหลม ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นเพียงคำพูด
โดยปริยายเท่านั้น

เกี่ยวกับความหมายนี้ ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกาท่าน ขยายความพร้อมทั้งแสดง
เหตุผลที่ตรงกันข้ามไว้ว่า

อญฺญถา เอเกเนว โลกิยจิตฺเตน ปญฺจนฺนํ ขนฺธานํ ปริคฺคหปริชานนาทีนํ
อสมฺภวโต, น หิ สนิทสฺสนสปฺปฏิฆาหิ เอกชฺ อารมุมณํ กาตุํ สกฺกา.


ไม่มีจิตแม้สักดวงในโลกที่จะรับรู้เอาอารมณ์คือขันธ์ ๕ โดยพร้อมกัน ที่จริง
สนิทัสสนะกับสัปปฎิมะเป็นต้น นี้ไม่สามารถที่จะทำอารมณ์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว
กันได้
ส่วนข้อความที่ยกมาจากปฏิสัมภิทามรรคนั้นท่านมุ่งหมายให้รู้ว่าเมื่อโยคารจร
กำลังกำหนดนามรูปอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งกำลังเกิด-ดับอยู่อนุโลมญาณก็จะเกิดโดย
ยึดนามรูปดังกล่าวเป็นอารมณ์ ต่อจากนั้น โคตรภูญาณ และมรรคญาณรึงรู้แจ้ง
ในภาวะที่ว่างเปล่าคือปราศจากความดับของนามรูปทั้งปวงด้วยลักษณะที่ทำให้ดู
เหมือนเป็นนิจจัง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 67 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร