วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 18:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2023, 03:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1703191741118-removebg-preview.png
ei_1703191741118-removebg-preview.png [ 214.83 KiB | เปิดดู 705 ครั้ง ]
กิเลสที่ประหาณ
ลำดับนี้จักได้แสดงการประหาณกิเลสของมรรคแต่ละมรรคพอเป็นแนวทาง
แก่นักปฏิบัติผู้ใคร่ในการศึกษาต่อไป

ส์โยชเนสุ ตาว สกฺกายทิฏฺฐิ วิจิกิจฺฉา สีลพฺพตปรามาโส อปายคมนียา จ
กามราคปฏิฆาติ เอเต ปญฺจ ธมฺมา ปฐมญาณวชฺฌา, เสสา กามราคปฏิฆา
โอฬาริกา ทุติยญาณวชฺฌา สุขุมา ตติยญาณชฺฌา, รูปราคาทโย ปญฺจปิ
จตุตฺญาณวชฺฌา เอว.

(วิสุทธิ ๒/(๓๖๘)

ในบรรดาสังโยชน์ ๑๐ ปฐมมรรค (โสดาปัตติมรรค) สามารถละสังโยชน์ได้
๕ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีสัมพลปรามาส และกามราคะ โทสะ บางส่วน
ที่เป็นเหตุให้ไปเกิดในอบาย

ทุติยมรรค(สกทาคามิมรรค)ละกามราคะและโทสะ ชนิดหยาบได้

ตติยมรรค(อนาคามิมรรค)ละกามราคะและโทสะชนิดละเอียดได้โดยเด็ดขาด

ส่วนจตุตถมรรค(อรหัตตมรรค)ละสังโยชน์ที่เหลือทั้งหมดได้โดยสิ้นเชิง
(สังโยชน์ ที่เหลือ ได้แก่ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิธชา)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2023, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลเสสุ ทิฏฐิวิจิกิจฺฉา ปฐมญาณวชฺฌา โทโส ตติยญาณวชฺโฌ โลภ-โมห-
มาน-ถีน-อุทฺธจฺจ-อหิริก-อโนตฺตปฺปานิ จตุตฺถญาณวชฺฌานิ.

(วิสุทธิ ๒/๓๖๘)

ในบรรดากิเลส ๑๐ อย่าง ปฐมมรรคละกิเลส ๒ อย่าง คือ ทิฏฐิและวิจิกิจฉา
ตติยมรรคละกิเลสคือโทสะ อรหัตตมรรคละกิเลสคือโลภะ โมหะ มานะ ถีนะ
อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ

(ส่วนทุติยมรรคซึ่งไม่ได้ระบุไว้นั้นละโลภะและโทสะชนิดหยาบ หมายความว่า
ละไม่ได้เด็ดขาด ได้แต่ทำให้กิเลสดังกล่าวเบาบางลงเท่านั้น อนึ่ง ในบทบาลีนั้น
ไม่มี เอวสัพห์มาปังคับ จึงรู้ใด้ว่า โทสะที่เป็นเหตุให้ไปเกิดในอบายนั้นถูกละไป
ตั้งแต่ปฐมมรรคและทุติยมรรคแล้ว ดังจะเห็นว่า ผู้ที่เป็นพระโสดาบันแล้วจะไม่ไป
บังเกิดในอบายภูมิ ส่วนกิเลสมี โลภะ โมหะ เป็นต้น ๗ อย่างที่เป็นเหตุให้ไป
บังเกิดในอบายก็ดี ที่เป็นส่วนหยาบก็ดี พึงละได้ด้วยอริยมรรคเบื้องต่ำ ๓ มรรค คือ
โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรคและอนาคามิมรรค สำหรับกิเลสที่เกี่ยวกับกาม
หรือโลกะอย่างละเอียดนั้น พึงทราบว่า ละได้เด็ดขาดด้วยอนาคามิมรรคเท่านั้น)

มิจฺฉตฺเตสุ มิจฺฉาทิฏฺฐิ มุสาวาโท มิจฺฉากมฺมนฺโต มิจฺฉาอาชีโวติ อิเม
ปฐมญาณวชฺฌา. มิจฺฉาสงฺกปฺโป ปิสุณวาจา ผรุณวาจาติ อิเม ตติยญาณ-
วชุฌา เจตนาเยว เจตฺถ วาจาติ เวทิตพฺพา. สมฺผปฺปลาปมิจฺฉาวายามสติสมาธิ-
วิมุตฺติญาณานิ จตุตฺถญาณวชฺฌานิ.

(วิสุทธิ ๒/๓๖๘)

ในบรรดามิจฉัตตธรรม ๑๐ อย่าง (ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา
มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณ
มิจฉาวิมุตติ) ปฐมมรรคละได้ ๔ อย่าง คือ มิจฉาทิฏฐิ มุสาวาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ของมิจฉาวาจา มิจฉาก้มมันตะ และมิจฉาอาชีวะ ตติยมรรคละได้ ๓ อย่าง คือ
มิจฉาสังกัปปะ ปิสุณวาจาและผรุสวาจา ซึ่งทั้ง ๒ นี้เป็นส่วนหนึ่งของมิจฉาวาจา
จตุตถมรรคละได้ ๖ อย่าง คือ สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
มิจฉาวาจา มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาวิมุตติ และมิจฉาญาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2023, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง พึงทราบว่า วาจา ในทีนี้หมายถึงเจตนาเท่านั้น วาจาโดยตรงนั้น
หมายถึง เสียงที่เปล่งออก วาจานั้นเป็นรูป ชื่อว่ารูปเป็นอัปปหาศัพพธรรม คือ
ไม่ใช่เป็นสิ่งที่มรรคควรละ เพราะฉะนั้น เพื่อให้ตรงกับธรรมทีมรรคจะพึงละได้
จึงอธิบายวาจาโดยโยงไปถึงเจตนาอันเป็นต้นเหตุของการกระทำทั้งปวง ดังนั้น
ท่านจึงอธิบายว่า วาจาในที่นี้หมายเอาเจตนา และเจตนานั้นก็ต้องเป็นอกุศล
เจตนาด้วย จึงจะเป็นปหาตัพพธรรม เพราะฉะนั้น คำว่า มิจฉาวาจา ปิสุณาวาจา
ผรุสวาจา นั้น โดยแท้จริงแล้ว มิได้หมายเอาเสียงที่เปล่งออกมา แต่หมายถึงเจตนา
เพราะส่วนมากถ้าไม่มีเจตนา คำพูดที่จะพูดในสิ่งนั้นๆก็เกิดขึ้นไม่ได้ เว้นแต่ใน
บุคคลบางท่าน เช่น พระปิลินทวัจฉเถระ ท่านกล่าวคำหยาบโดยปราศจากอกุศล
เจตนา แต่เป็นการกล่าวด้วยอำนาจนิสัยพื้นเพเดิมชื่งเรียกว่าวาสนาของท่าน

อธิบายว่า ในมิจฉัตตธรรม ๑๐ อย่างทีกล่าวมานี้ อกุศลเจตนาซึ่งปรากฎใน
รูปของวจีทุจริต ๔ ชื่อว่า มิจฉาวาจา
อกุศลเจตนาซึ่งปรากฏในรูปของกายทุจริต ๓ ชื่อว่า มิจฉากัมมันตะ
อกุศลเจตนาซึ่งปรากฎในรูปของกายทุจริต ๓ และ วจีทุจจริต ๔ ซึ่งเกี่ยวเนื่อง
กับอาชีพ ชื่อว่า มิจฉาอาชีวะ
อกุศลจิต(พร้อมทั้งเจตสิก) หรือเรียกอีกอย่างว่า อกุศลจิตตุปบาท ซึ่งปรากฏ
โดยอาการระลึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับทางโลก เช่น ระลึกถึงบุตร ภรรยา ระลึกถึงความ
สนุกสนานตั้งแต่เด็กๆ ระลึกถึงการทะเลาะวิวาทที่เคยทำมา ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า
มิจฉาสติ

โมหะ ทีเห็นสิ่งไม่ดีที่ตนได้ทำไปแล้วว่าเป็นสิ่งดี ชื่อว่า มิจฉาญาณ
การที่ตนยังไม่หลุดพ้น แต่สำคัญว่าตนหลุดพ้น หรือการเห็นธรรมที่ไม่
หลุดพ้นจากกิเลสว่าเป็นธรรมที่หลุดพ้นจากกิเลส ชื่อว่า มิจฉาวิมุตติ ซึ่งโดย
องค์ธรรมแล้ว ได้แก่ โลภจิตตุปบาท ซึ่งจำแนกได้ ๒ อย่าง คือ ส่วนที่เป็น
อปายคมนียะ (เป็นเหตุให้ไปเกิดในอบาย) ที่พึงละได้ด้วยปฐมมรรค(โสดาปัตติมรรค
และสวนที่ไม่ใช่อปายคมนิยะ ทั้งที่เป็นของหยาบและละเอียดอันเกี่ยวเนื่องกับ
กามราคะ ซึ่งพึงละได้ด้วยทุติยมรรคและตติยมรรค ส่วนที่เกี่ยวกับภวราคะพึงละ
ได้ด้วยอรหัตตมรรค
สำหรับองค์ธรรมของมิจฉัตตธรรมที่เหลือนั้นเป็นที่ทราบโดยทั่วๆ ไปอยู่แล้ว
จึงไม่นำมากล่าวไว้ในที่นี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2023, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โทสะ หรือเรียกอีกอย่างว่า ปฏิฆะ ซึ่งเกิดขึ้น เพราะโลกธรรมบางอย่าง คือ
การสูญเสียลาภ สูญเสียบริวาร ประสบทุกข์ ถูกสังคมรังเกียจนั้น พึงละด้วย
อนาคามิมรรค

โลภะ ความยินดีเกินขึ้นเพราะการได้ลาภ ได้บริวาร มีความสุขทั้งกาย
และใจ และได้รับความยกย่องนั้น พึงงละได้ด้วยอรหัตตมรรค แต่อาจารย์บางท่าน
(เอเกวาทะ) กล่าวว่า "โลภะ ความยินดีในการได้บริวารและในการ
ยกย่องจากผู้อื่นนั้น พึ่งละได้ด้วยมรรคที่ ๓ (อนาคามิมรรค)"

ความไม่พอใจในการที่บุคคลอื่นเข้ามาอยู่ในวัด หรือ บริเวณที่เป็นส่วน
ครอบครองของตน หรือความหวงแหนที่พักอาศัย ท่านเรียกว่า อามัจฉริยะ
แต่ถ้าเป็นความไม่พอใจในการที่โจรผู้ร้ายพักอาศัยอยู่ในบ้านหรือในวัด อย่างนี้
ไม่เรียกว่า อาวาสมัจฉริยะ ดังในคัมภีร์อัฏฐสาลินี (อภิ.อฎ ๑/๔๓๒) ท่านกล่าวไว้ว่า
ภณฺฑนการกาทีนํ ปน ตตฺถ วาส์ อนิจฺฉโต อาวาสมจฺฉริยํ นาม น โหติ
= ผู้ไม่ต้องการให้ที่พักอาศัยแก่คนพาล ไม่ชื่อว่า เป็นคนตระหนี่ที่พักอาศัย

ความไม่ปรารถนา ความทนไม่ได้ที่ได้เห็นผู้อื่นเข้ามาดีสนิทกับทายก ทายิกา
หรือญาติมิตรของตน อย่างนี้เรียกว่า กุลมัจฉริยะ แต่ถ้าเป็นความไม่ต้องการให้ผู้อื่น
เข้าไปคบหากับญาติมิตรซึ่งเป็นคนเลวอย่างนี้ไม่จัดว่าเป็นมัจฉริยะดังที่ท่านกล่าวไว้
ในคัมภีร์อัฏฐสาลินีว่า ปาปปุคฺคลสฺส ปน อุปสงฺกมนํ อนิจฺฉนฺโตปิ มจฺฉริยํ นาม
น โหติ.
= ผู้ไม่ต้องการให้คนอื่นเข้าหาญาติมิตรของตนซึ่งเป็นคนพาล ไม่ชื่อว่า
เป็นคนตระหนี่ตระกูล

ความหวงแหนสมบัติตน ความปรารถนาอยากได้แต่ผู้เดียว ไม่ปรารถให้
ผู้อื่นได้อย่างตน อย่างนี้เรียกว่า ลาภมัจฉริยะ แต่ถ้าเป็นความไม่ปรารถาที่จะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 77 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร