ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

สมถะกับวิปัสสนาควบคู่กันไป
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=64862
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 10 ก.ย. 2024, 08:14 ]
หัวข้อกระทู้:  สมถะกับวิปัสสนาควบคู่กันไป

ยุคนัทธนัย

สำหรับโยคีผู้ได้ฌานหรือที่เรียกว่าฌานลาภีบุคคลย่อมสามารถที่จะนำเอาฌาน
กำหนดพิจารณาเป็นวิปัสสนาหลังจากที่ได้เข้าปฐมฌานแล้ว จากนั้น เมื่อได้
เข้าทุติยฌานแล้วก็จะนำทุติยฌานนั้นมากำหนดวิปัสสนาอีกครั้ง ทำโดยวิธีการนี้
ตามลำดับแห่งฌาน โดยเข้าฌานขั้นหนึ่งแล้วออก จากนั้นก็เข้าวิปัสสนา
กันไปมาอย่างนี้ เป็นการเจริญควบคู่กัน ระหว่างสมถะและวิปัสสนาพร้อมๆกันไป
จนกระทั่งมรรคเกิดขึ้น ภาวนาที่โยคีผู้นี้เจริญเรียกว่า ยุคนัทธภาวนานัย "หลักการ
เจริญภาวนา ที่นำเอาสมถะและวิปัสสนามาเจริญควบคู่กันไป" จะอย่างไรก็ตาม
วิธีการนี้ เนื่องจากว่า เป็นการเอาสมถะและวิปัสสนามาเป็นบาทในครั้งแรก ดังนั้น
วิธีการนี้จึงสงเคราะห์ เข้าในสมถปุพพังคมนัย

สรุปประเด็นหลัก
สำหรับวิปัสสนายานิกบุคคลนั้นไม่ได้ทำให้อุปจารสมาธิและวิธีละวิปัสสมาธิ
เกิดขึ้นก่อน แต่มุ่งเจริญวิปัสสนาทันทีทันใด ซึ่งบุคคลเช่นนี้ยอมไม่มีอุปจารสมาธิ
ละอัปปนาสมาธิ แต่จะได้วิปัสสนาญาณเกิดเป็นลำดับแรก ครั้นเมื่อวิปัสสนา
บริบูรณ์เต็มทีแล้ว สมาธิก็จะเกิดขึ้น ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญ เป็นประเด็น
หลักที่ควรจดจำซึ่งได้นำมาจากคัมภีร์อรรถกถาที่ท่านได้แสดงวิธีการเจริญวิปัสสนา
แบบวิปัสสนาปุพพังคมนัยไว้

สำหรับอรรถกถาที่ท่านได้แสดงวิธีการเจริญวิปัสสนา ๒ อย่างนี้
ความจริงป็นคำพูดที่ท่านกล่าวตามพระบาลีนั่นเอง เพียงแต่พระอรรถกถาจารย์ท่านได้
เพิ่มเติมบางอย่างเข้ามา เพื่อให้ความายปรากฎชัดเท่านั้น แต่โดยส่วนมากแล้ว
ความหมายเท่ากับพระบาลีเป็นหลัก ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ท่านลอกมาจาก
พระบาลีก็ได้ เพราะฉะนั้น คำพูดของพระอรถกถาจารย์จึงไม่ควรที่ใครๆจะมีความ
สงสัยหรือลังเลว่าตรงกับพระบาลีพุทธพจน์หรือไม่ เกี่ยวกับประเด็นนี้ หากโยคี
ทั้งหลายต้องการศึกษารายละเอียดก็จงไปดูในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธกถา
และในคัมภีร์ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฏิปทารรค ส่วนในวิปัสสนาชุนีนี้

ไฟล์แนป:
20180919_080738.png
20180919_080738.png [ 220.39 KiB | เปิดดู 2233 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/