ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

อธิบายตายเกิดเกี่ยวกับทุคติปฏิสนธิ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=64932
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 04 ต.ค. 2024, 09:12 ]
หัวข้อกระทู้:  อธิบายตายเกิดเกี่ยวกับทุคติปฏิสนธิ

อธิบาย เรื่องตายเกิตเกี่ยวกับทุคติปฏิสนธิ
[๖๒๓] ข้อนี้เป็นอย่างไร ?

เบื้องต้น บาปกรรมตามที่ตนได้สั่งสมไว้บ้าง กรรมนิมิตบ้าง ย่อมมาสู่คลองในมโน
ทวารของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในสุคติภูมิชั้นกามาวจร ผู้เป็นคนมีบาปกรรมนอนอยู่บนเตียงอัน
เป็นที่ตาย โดยมีพระบาลีมีอาทิว่า "ในสมัยนั้น กรรมทั้งหลายที่ทำให้ก่อนนั้น คล้องอยู่
แก่บุคคลนั้น ดังนี้ จุติจิตทำอารมณ์แกภวังค์ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นในลำดับแห่งชวนวิถึ
อันปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตนั้นเกิดขึ้นมีตทารัมมณเป็นที่สุด ครั้นจุติจิตนั้นพอดับลงแล้ว
ปฏิสนธิจิตอันกำลังกิเลสที่ยังตัดไม่ไม่ได้ ชักน่านับเนื่องอยู่ทุคติ ก็ปรารภกรรมหรือ
กรรมนิมิตที่มาสู่คลองนั้นเองเกิดขึ้น

นี้เป็นปฏิสนธิอารมณ์เป็นอดีต ในลำดับแห่งจุติซึ่งมีอารมณ์เป็นอดีต
ในมรณสมัยของบุคคลผู้มีบาปกรรมอีกคนหนึ่ง ทุคตินิมิตมีวรรณรูปแห่งเปลวเพลิง
เป็นต้น ในทุคติมินรกเป็นต้น ด้วยอ่านาจกรรมมีประการตังกล่าวแล้ว มาสู่คลองในมโน
ทวาร เมื่อภวังตจิตเกิดขึ้นแล้วดับไป ๒ วาระ วิถีจิต ๓ ดวง คือ อาวัชชนะ ๑ ชวนะ ๕
เพราะเป็นจิตมีกำลังอ่อนด้วยความที่มรณะใกล้เข้ามา ตทารัมมณะ ๒ ปรารภอารมณ์นั้น
เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น ต่อจากนั้น จุติจิตดวง ๑ กระทำอารมณ์แห่งภวังค์ให้เป็นอารมณ์เกิด
ขึ้น ด้วยอาการเพียงเท่านี้ ขณะจิต ๑๑ ขณะเป็นอดีต ลำดับนั้น ปฏิสนธิจิตย่อมเกิดขึ้น
แก่บุคคลในอารมณ์นั้นแหละซึ่งมีอายุชั่ว ๕ ขณะที่เหลือ

นี้เป็นปฏิสนธิที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน ในลำดับแห่งจุติที่มีอารมณ์เป็นอดีต
ในมรณสมัยของบุคคลผู้มีบาปกรรมอีกคนหนึ่ง อารมณ์ทรามอันเป็นเหตุแห่งกิเลส
มีราคะเป็นต้น ในทวารใดทวารหนึ่งบรรดาทวารทั้ง ๕ ย่อมมาสู่คลอง ขวนะ ๕ เพราะเป็น
จิตมีกำลังอ่อนด้วยความที่มรณะใกล้เข้ามา และตทารัมมณะ ๒ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคสนั้น
ในที่สุดแห่งโวฏฐัพพนะที่เกิดขึ้นตามลำตับ ต่อจากนั้นจุติจิต ๑ กระทำอารมณ์แห่งภวังค์
ให้เป็นอารมณ์ ก็ด้วยอาการเพียงเท่านั้น ขณะจิต ๑๕ คือ ภวังค์ ๒ อาวัยชนะ ๑ ทัสสนะ
๑ สัมปฏิจฉนะ ๑ สันติรณะ ๑ โวฏฐัพพนะ ๑ ขวนะ ๕ ตทารัมมณะ ๒ จุติจิต ๑ ย่อม
เป็นอดีต ลำดับนั้น ปฏิสนธิจิตย่อมเกิตขึ้นในอารมณ์นั้นแหละซึ่งมีขณะจิตเดียวที่ยังเหลือ
อยู่ แม้ปฏิสนธินี้ก็เป็นปฏิสนธิมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน ในลำดับแห่งจุติที่มีอารมณ์เป็นอดีต.

ไฟล์แนป:
Screenshot_20241001_055851_TikTok.jpg
Screenshot_20241001_055851_TikTok.jpg [ 157.11 KiB | เปิดดู 967 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 04 ต.ค. 2024, 11:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อธิบายตายเกิดเกี่ยวกับทุคติปฏิสนธิ

อาการแห่งความเป็นไปแห่งทุคติปฏิสนธิ อันมีเอารมณ์เป็นอดีตและเป็นปัจจุบัน ใน
ลำดับแห่งสุคติจุติที่มีอารมณ์เป็นอดีตเท่านี้.

| บทว่า ตานิ โยค ปุพฺเพ กตานิ กมฺมานิ แปลว่า กรรมทั้งหลายที่ทำไว้ก่อน
นั้น บทาว่า อสฺส โยค อาสนฺนมรณสฺส ปุคฺคลส แปลว่า ของบุคคลผู้ใกล้ตายนั้น บทว่า
โอสมฺพนฺติ แปลว่า คล้องอยู่ คือเข้าไปตั้งอยู่ในจิตของบุคคลนั้นในภูมิ เหมือนเงาแห่งยอด
เขาใหญ่ในเวลาเย็น
(๑๕๒) สองบทว่า ตสฺมึ นิรุทฺเธ แปลความว่า ครั้นจุติจิตนั้นนั้นพอดับแล้ว คือใน
ลำดับแห่งการดับของจุตินั้นนั่นเอง. บทว่า ตเทว ความว่า กรรมหรือกรรมนิมิตนั่นเอง
อารมณ์ของชวนวิถีตามที่กล่าวแล้ว. กรรมเป็นต้นปรากฎได้ ในเมื่อกิเลสมีอวิชชา
และตัณหาเป็นต้น ยังตัดไม่ได้ และย่อมจะมีโดยปรารภกรรมหรือกรามนิมิตนั้น โดยมี
แนวโน้ม คือน้อมไปในภพอื่นแห่งจิตสันดาน. ฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ปฏิสนธิจิต
อันกำลังกิเลสที่ยังตัดไม่ได้ ชักนำถลำไป. ก็เมื่อสันดานถูกซักนำใน ปฏิสนซึ่งเป็น
ส่วนหนึ่งของสันดานนั้น ย่อมถูกชักน่ากลับด้วยด้วย ก็ถาวะที่สันดานถูกซักนำถลำไป เว้น
จากภาวะที่ถูกชักนำถลำไปส่วนหนึ่ง จะมีอยู่ก็หามิได้แล. ก็ในที่ทั่วไป อาจารย์ทั้งหลายย่อม
วินิจฉัยว่า จุติที่น้อมไปในทุคติปฏิสนธิมีขวนะแรก ๆ เป็นอกุศล จุตินอกนี้มีขวนะแรก ๆ
เป็นกุศล. ข้อนี้ สมด้วยพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเนื่องอยู่ด้วยความ
ยินดีในนิมิต หรือเนื่องอยู่ด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ข้อที่บุคคล
จะพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เป็นฐานะ
ที่จะมีได้. เพราะเหตุนั้น อกุศลย่อมเป็นอนุสัยแก่ปฏิสนธิในทุคติ และกุศลย่อมเป็นอุปนิสัย
แก่ปฏิสนธิในสุคติ ส่วนพระอรหันต์ตัดกิเลสได้เด็ดขาดแล้วโดยประการทั้งปวง นิมิตมี
กรรมเป็นต้นจึงไม่ปรากฏ เพราะความที่เป็นผู้มีการก้าวไปสู่ภพทั้งปวงอันระงับแล้ว ฉะนั้น
กรรมแม้ที่มีอยู่ก็อ่อนไม่ยังปฏิสนธิให้เกิด เพราะไม่ได้ธรรมอันเป็นสหาย

คำว่า ด้วยอำนาจกรรมมีประการดังงกล่าวแล้ว คือด้วยอำนาจบาปกรรม อธิบาย
ว่า อันบาปกรรรมนั้นให้ปรากฏ คำว่า มีวรรณรูปแห่งเปลวเพลิงเป็นต้น ในทุคติมีนรก
เป็นต้น นี้ ท่านอาจารย์กล่าวไว้ด้วยอำนาจภาวะที่เหมือนกับวรรรณรูปนั้น เพราะว่า
วรรณรูปมีเพลิงเป็นต้นเช่นนั้นเอง มาสู่คลองทวารของบุคคนั้นในเวลานั้น ก็หา
มิได้ ในบรรดาบทเหล่านั้น ด้วย อาทิ ศัพท์ว่า อคฺคิชาลวณฺณาทิกํ ท่านอาจารย์ย่อมรวม

ไฟล์แนป:
Screenshot_20241004_143929_TikTok.jpg
Screenshot_20241004_143929_TikTok.jpg [ 222.97 KiB | เปิดดู 833 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 04 ต.ค. 2024, 14:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อธิบายตายเกิดเกี่ยวกับทุคติปฏิสนธิ

ถึงวรรณรูปแห่ง เวตรณีนรก สิมพลีนรก นรกดาบใบไม้ และนรกบำไม้ เป็นต้น. อนึ่ง ด้วย
แาทิ ศัพท์ว่า นรกาทีสุ ท่านอาจารย์ก็รวบรวมเอาวรรณรูป ที่นับเนื่องอยู่ในสถานที่สัญจร
ไปเนืองนิตย์ของเปรตและสัตว์เดียรัจฉาน

คำว่า มาสู่ครองในมโนทวาร ความว่า วรรณายตนะที่ถูกกำลังกรรมได้ตั้งขึ้น ๆ ย่อม
ถึงความเป็นอารมณ์ในมโนทวารอย่างเดียว เหมือนกับคนฝันเห็น และเหมือนกับคนได้ทิพย
จักษุ. มีวิถีจิต ๓ คือ อาวัชชนะ ๑ ชวนะ ๕ ตทารมณ์ ๒

คำว่า อารมณ์ทรามอันเป็นเหตุแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น ท่านอาจารย์กล่าวถึง
อนิฏฐารมณ์ที่ควรเป็นอารมณ์ของอกุศลวิบาก เพราะอนิฏฐารมณ์นั้นย่อนเป็นเเหตุ แม
แห่งราคะด้วยอำนาจความดำริ. อีกอย่างหนึ่ง ความที่อารมณ์เป็นเหตุแห่งกิเลสมีราคะ
เป็นต้น ที่เกิดร่วมกับกรรมอันยังอกุศลวิบากให้เกิด และที่เกิดร่วมกับเจตนาในชวนวิถีใกล้
จุติ ซึ่งเหมือนกับกรรมนั่นแหละ ชื่อว่า ความเป็นอารมณ์ทราม เพราะว่าอารมณ์นั้นเป็น
อารมณ์ของกรรมที่ทำให้เดือดร้อนตามในภายหลัง เป็นธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ด้วยอำนาจ
กรรม ควรเป็นอารมณ์แห่งอกุศลวิบาก. ส่วนวิบากแห่งอกุศลกรรมอันเป็นไปในอิฏฐารมณ์
โดยประการอื่น ไม่ควรจะมีนิมิตแห่งอกุศลกรรมเป็นอารมณ์. เพราะว่าอกุศลวิบากควรจะ
เป็นอิฏฐารมณ์ ก็หามิได้แล.

ก็กรรมนิมิตที่เป็นปัจจัยมาสู่คลองในปัญจทวาร พึงเห็นว่า เกิดขึ้นในความสืบต่อ
แห่งอารมณ์ของกรรมที่ทำไว้ในเวลาใกล้ตาย และเป็นเหมือนกับอารมณ์นั้น. ว่าโดยประ
การอื่น กรรมนิมิตนั้นแหละ พึงเป็นธรรมชาติยังอารมณ์ปฏิสนธิให้ปรากฏ และกรรมนิมิต
นั่นแหละ พึงเป็นธรรมชาติยังปฏิสนธิให้เกิด. ขวนะที่ใกล้ต่อจุติอันเป็นไปเหมือนอย่างเป็น
อุปจารแห่งปฏิสนธิ และเหมือนอย่างไม่ทำอารมณ์ของปฏิสนธิให้เกิดขึ้นว่า ท่านพึงปฏิบัติ
อยู่ในที่นี้ ดังนี้ จะพึงเป็นธรรมชาติยังปฏิสนธิให้เกิดก็หาไม่. ข้อนี้ สมดังพระบาลีที่ตรัส
ไว้ว่า เพราะเป็นกรรมที่ได้กระทำแล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว.

ถามว่า ก็ชวนะที่เป็นไปอยู่ หมือนดังอยู่ในวิถีที่เสมอกันกับชวนะนั้น ในเวลานั้นจะ
พึงเป็นกรรมที่ได้กระทำแล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ได้อย่างไร ?

ตอบว่า ขวนะเหล่านั้นให้ผลในเวลานั้น ก็หามิได้ และจะเป็นธรรมชาติที่เป็นผล
ของวิถีเสมอกัน เหมือนอย่างโลโกียะ โลกุตตระ ก็หามิได้ พระผู้มีพระภาคใต้สรัสการให้

ไฟล์แนป:
Screenshot_20241001_055628_TikTok.jpg
Screenshot_20241001_055628_TikTok.jpg [ 167.9 KiB | เปิดดู 856 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 04 ต.ค. 2024, 15:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อธิบายตายเกิดเกี่ยวกับทุคติปฏิสนธิ

ปฏิสนธิในเจตนาที่เกิดร่วมด้วยมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ ที่ได้สมาทานพรั่งพร้อมในเวลา
ใกล้จะตายไว้ในพระสูตร โดยนัยมีอาทิว่า กรรมชั่วมีผลเป็นทุกข์นั้น ย่อมเป็นอันเขาทำไว้
ก่อนแล้วทีเดียว หรือเป็นอันเขาทำไว้ในภายหลัง หรือมีมิจฉาทิฏฐิที่เขาได้สมาทานพรั่ง-
พร้อมแล้วในเวลาจะตาย ด้วยเหตุนั้น เบื้องหน้าแต่ความตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก. อนึ่ง มิจฉาทิฏฐิหรือสัมมาทิฏฐิ ใช่ว่าจะเป็นอันเขาสมาทาน
พรั่งพร้อมด้วยชวนะอันเป็นไปในทวารทั้ง ๕ อย่างทุรพลไม่. ข้อนี้ สมด้วยคำที่ท่านอาจารย์
กล่าวในสัมโมหวิโนทนีว่า ก็กิจอันเป็นที่สุดแห่งชวนะ มีการรับรู้กุศลธรรมและอกุศล
รรมเป็นต้น ทั้งหมดนี้ย่อมมีด้วยจิตทางมโนทวารเท่านั้น หามิได้ด้วยจิตทางปัญจไม่
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงห้ามวิถีจิตซึ่งแล่นไปร่วมกันในการทำกิจทั้งหมดนี้

ก็คำว่า ไม่รับรู้ธรรมอะไร ๆ ดังนี้ ในกิจของจุติจิตนั้น ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นประธาน และกล่าวว่า ไม่รับรู้กุศลหรืออกุศลแม้แต่อย่างเดียว.สุข
หรือทุกข์ไปตามด้วยความเป็นไปแห่งความแจ่มแจ้งเฉพาะของจิตเหล่าใด ความเป็นไปนั้น
แห่งจิตเหล่านั้น ท่านห้ามไว้ในปัญจทวาร และการยึดมั่นกุศลกรรมและอกุศลกรรม ก็เป็น
เข่นนั้นเหมือนกันแล. ด้วยการออมธิบายอย่างนี้ว่า ก็จุติมีในลำดับของตทารมณ์ และอุปบัติ
มีในลำดับของจุตินั้น ย่อมเป็นธรรรมชาติเป็นไปทางมโนทวารเท่านั้น มิได้นับเนื่องอยู่ใน
วิถีจิตที่แล่นไปร่วมกัน ดังนี้ ในที่นี้พึงเห็นว่า ท่านกล่าวจุติอันเป็นลำดับแห่งตทารมณ์อัน
มีในปัญจทวาร และปฏิสนธิอันเป็นลำดับแห่งจุตินั้น. ในข้อนั้นพึงทราบว่า ทรงหมายถึง
ปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในรูปเป็นต้น อันมีอายุเหลืออยู่ชั่ว ๕ ขณะจิต จึงตรัสไว้ว่า จิตที่เป็นอุปบัติ
มีในปัญจทวาร และปฏิสนธิ อันเป็นลำดับแห่งจุตินั้น ในข้อนี้พึงทราบ ทรงหมายถึง
ปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในรูปที่มีอยู่เหลือชั่ว ๕ ขณะจิต จึงตรัสว่า จิตที่เป็นอุปบัติ
อารมณ์เป็นปัจจุบัน เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่ภวังค์ที่มีอารมณ์เป็นอดีต ดังนี้.

ไฟล์แนป:
Screenshot_20241004_143326_TikTok.jpg
Screenshot_20241004_143326_TikTok.jpg [ 162.86 KiB | เปิดดู 837 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/