ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

อธิบายกรรม ๔ อย่างอีกนัยหนึ่ง
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=65074
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 14 พ.ย. 2024, 16:08 ]
หัวข้อกระทู้:  อธิบายกรรม ๔ อย่างอีกนัยหนึ่ง

อธิบาย กรรม ๔ อย่าง อีกนัยหนึ่ง

[๖๘๗] กรรม ๔ แม้อื่นอีก คือ ~
๑. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด.
๒. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน.
๓. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น.
๔. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน.
ในบรรดากรรม ๔ อย่างนั้น กรรมที่ชื่อว่า ชนกกรรม เป็นได้ทั้งกุศลกรรม ทั้ง
อกุศลกรรม ชนกกรรมนั้นย่อมยังวิบากขันธ์ที่เป็นรูปาวจรและที่เป็นอรูปาวจร ให้เกิดทั้ง
ในปฏิสนธิกาล ทั้งในปวัตติกาล.
ส่วน อุปัตถัมภกกรรม ไม่สามารให้วิบากเกิดได้ เมื่อปฏิสนธิที่กรรมอื่นให้แล้ว
ย่อมอุปถัมภ์สุขและทุกข์ที่เกิดขึ้น ในวิบากที่กรรมอื่นอื่นให้แล้วให้เป็นไปได้นาน.

อุปปีฬกกรรม เมื่อปฏิสนธิอันกรรมอื่นให้แล้ว ย่อมเบียดเบียนบีบคั้นสุขและทุกข์
ที่เกิดขึ้น ในวิบากอันกรรมอื่นให้แล้วไม่ให้เป็นไปได้นาน.
ส่วน อุปฆาตกกรรม ตนเองเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ย่อมตัครอนกรรมที่มีกำลัง
น้อย ห้ามกันวิบากของกรรมอื่นนั้นเสีย ย่อมเปิดช่องให้นวิบากของตน ก็แลเมื่อกรรมเปิด
ช่องให้อย่างนี้แล้ว วิบากนั้นก็เรียกได้ว่าเกิดขึ้นแล้ว.

ความต่างกันแห่งกรรม และความต่างกันแห่งวิบากแห่งกรรมทั้ง ๑๒ อย่าง ดัง
กล่าวมาฉะนี้ ย่อมเป็นอันปรากฏโดยสภาพที่เป็นจริงแก่กรรมวิบากญาณของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเท่านั้น ไม่สาธารณ์กับพระสาวกทั้งหลาย อนึ่ง ความต่างกันแห่งกรรมและความ
ต่างกันแห่งวิบาก อันภิกษุผู้เจริญวิปัสสนาจะพึงรู้ได้ไดยเอกเทศ.
เพราะเหตุนั้น ความแปลกกันแห่งกรรมอันข้าพเจ้าก็ได้ประกาศแล้ว ด้วยการแสดง
เพียงหัวข้อ ฉะนี้แล.

กรรม ๔ อย่าง อีกนัยหนึ่ง

(๖๘๗) กรรมที่ยังความสืบต่อแห่งวิบากให้บังเกิด ด้วยอำนาจการให้ปฏิสนธิ
เป็นต้น จัดเป็นขนกกรรม. ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ชนกกรรมนั้นย่อมยัง
วิบากขันธ์ที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ให้เกิดทั้งในปฏิสนธิกาลทั้งในปวัตติกาล. กรรม
ที่เป็นเหตุแห่งความสืบต่อสุขและทุกข์ และแห่งความเนื่องกันของนามรูปให้เป็นไปได้นาน
ยิ่ง เป็นอุบัตถัมภกกรรม. ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจาจารย์จึงกล่าวว่า อุปัตถัมภกกรรม
อุปกัมภ์สุขและทุกข์ให้เป็นไปได้นาน. อุปปีฬกกรรม เมื่อความเนื่องกันแห่งทุกทุกขและสุข
กำลังเป็นไปอยู่ ก็ทำให้ความเนื่องกันแห่งสุขและทุกข์นั้นค่อย ๆ ลดลง.ด้วยเหตุนั้น
ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า อุปปีฬกรรมอย่อมบีบคั้นสุขและทุกข์ไม่ให้เป็นไปได้นาน. บทว่า
ฆาเฏตฺวา แปลว่า ตัดรอน ธรรมดาว่าการตัดรอนของกรรม คือการห้ามกันวิบากของกรรม
อื่นนั้นนั่นเอง เพราะหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ห้ามกันวิบากกรรมอื่นนั้นเสีย
ก็การห้ามกันวิบากของกรรมอื่นนั้น ก็คือเป็นการเปิดช่องให้วิบากของตนเกิดขึ้น เพราะ
เหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ย่อมเปิดช่องให้แก่วิบากของตน. กรรมที่เปิดช่องให้เพื่อ
การให้ผล ย่อมชื่อว่าเป็นอันให้ผลแล้วนั่นเอง เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ก็แล
เมื่อกรรมเปิดช่องให้อย่างนี้แล้ว วิบากนั้นก็เรียกได้ว่าเกิดขึ้นแล้ว. อุปปีฬกกรมม ย่อม

ไฟล์แนป:
1731569049275~2.jpg
1731569049275~2.jpg [ 270.83 KiB | เปิดดู 1162 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 14 พ.ย. 2024, 19:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อธิบายกรรม ๔ อย่างอีกนัยหนึ่ง

ตัดรอนวิบากของกรรมอื่น, ไม่ให้วิบากของตนเกิดขึ้น. ส่วน อุปฆาตกกกรรม ตัดรอนกรรม
ที่มีกำลังน้อยกว่า แล้วให้วิบากของตนเกิดขึ้น อุปปีฬกกรรมและอุปฆาตกกรรมนี้
ต่างกันดังกล่าวมานี้ฉะนี้. อุปปีฬกกรรม เบียดเบียนวิบากด้วยการเข้าไปยังปัจจัย มีความ
ผู้มีอาพาธมากเป็นต้น ให้ตกลงไป. อุปฆาตกกรรม ตัดรอนวิบากนั้นแหละ เหมือน
อย่างนั้น. กรรมเมื่อมีการตัดรอนแล้วให้ผลด้วยการให้ช่องแก่วิบากของตน ควรเป็นชนก
กรรมอย่างเดียว, ธรรมดาว่า ความเป็นชนกกรรมเป็นต้น เมื่อมุ่งถึงวิบากก็ควรปรารถนา
ไม่ใช่มุ่งถึงกรรม เพราะเหตุนั้น ความเป็นกรรมตัดรอนวิบากอย่างเดียว ย่อมดูเหมือน
สมควรแล้ว เรื่องนี้ควรสอดส่องดู.
(๒๒๕) บทว่า กมฺมนฺตรํ แปลว่า ความต่างกันแห่งกรรม คือความแตกต่างอย่าง
แรงและไม่แรงแห่งกรรมทั้งหลาย. บทว่า วิปากนฺตรํ แปลว่า ความต่างกันแห่งวิบาก คือ
ความแตกต่างโดยที่วิบากนั้นเป็นสิ่งเลวและประณีตเป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง เมื่อทำกรรมใด
ย่อมมีการเกิดขึ้นแห่งกฏัตตารูป อันเป็นวิบากในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล กรรมนั้น
ชื่อว่า ชนกกรรม. อนึ่ง เมื่อทำกรรมใดไว้ ย่อมมีความสืบเนื่องกันสิ้นกาลนาน แห่งการ
บำรุงเลี้ยงตามควรแก่อานุภาพแห่งชนกกรรม ด้วยความไม่เกิดขึ้นแห่งปัจจัยที่เบียดเบียน
ตัดรอน และด้วยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยที่เพิ่มพูนแห่งผลที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนา
อันกรรมอื่นให้เกิด กรรมนั้นชื่อว่า อุปัตถัมภกกรรม. ผลแห่งกุศลก็ดี ผลแห่งอกุศลก็ดี
ที่ชนกกรรมให้บังเกิดแล้ว ถูกกรรมใดที่เป็นข้าศึกเบียดเบียน เพื่อเป็นเหตุแห่งโรคและ
ความเสมอกันแห่งธาตุเป็นต้น กรรมนั้นชื่อว่า อุปปิฬกกรรม. อนึ่ง กรรมใดย่อมเข้าไปฆ่า
คือตัดรอนผล ซึ่งแม้เป็นผลสมควรที่จะสืบต่อไปได้นานยิ่ง ด้วยอำนาจความสามารถแห่ง
ชนกกรรม ด้วยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยที่ตัดรอน กรรมนั้นชื่อว่า อุปฆาตกกรรม. ในบรรดา
กรรมเหล่านั้น อาจารย์บางพวกย่อมพรรณนาความที่กรรมอย่างที่สองเป็นกุศล ด้วยอำนาจ
ยังความเป็นผู้มีอาพาธน้อยและความเป็นผู้มีอายุยืนให้เป็นไปแก่บุคคลผู้มีชื่ออย่างนี้ ย่อม
พรรณนาความที่กรรมสองอย่างเบื้องหลังเป็นอกุศล ด้วยอำนาจยังความเป็นผู้มีอาพาธ
มากและความเป็นผู้มีอายุน้อยให้เป็นไป.
ส่วนกรรมที่สนับสนุน ที่บีบคั้น และตัดรอนอกุศลวิบากในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น
ของเหล่าเนรยิกสัตว์มีพระเทวทัตเป็นต้น ของเหล่าอบายสัตว์มีนาคเป็นต้น และของพวก
เปรตที่ยังขีพอยู่ได้ด้วยทาน ที่พวกญาติหรือมิตรอำมาตย์ตามเพิ่มให้จากโลกนี้ จะไม่มีก็หา
มิได้ เพราะเหตุนั้น ความที่กรรมทั้งสี่เป็นอกุศลจึงไม่ผิด. ความแตกต่างแห่งกรรมเป็นต้น
ท่านอาจารย์กล่าวว่า ไม่สาธารณ์กับพระสาวกทั้งหลาย เพราะความเป็นอารมณ์แห่งญาณ
ที่ไม่สาธารณ์ทีเดียว ด้วยความที่เป็นอารมณ์ของพระพุทธเจ้าเป็นส่วนเฉพาะ. จะพึงรู้ได้
โดยเอกเทศ คือ ไม่อาจะรู้ได้โดยไม่มีเหลือ เพราะมิใช่เป็นวิสัย. การกำหนดปัจจัยย่อม
ไม่ครบถ้วน ในเพราะความไม่รู้ทั้งหมดทั้งสิ้นแล.

ไฟล์แนป:
Photoroom-20241114_135839.png
Photoroom-20241114_135839.png [ 559.27 KiB | เปิดดู 1155 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/