ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ความแตกต่างกันระหว่างตัณหากับอุปาทาน http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=65087 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 17 พ.ย. 2024, 10:37 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | ความแตกต่างกันระหว่างตัณหากับอุปาทาน | ||
ความแตกต่างกันระหว่างตัณหากับอุปาทาน ใน อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา ว่า เอตฺถ จ ทุพฺพลตณฺหา นาม พลวติ อุปาทานานํ แปลความว่า ในที่นี้ตัณหาที่มีกำลังน้อยเรียกว่า ตัณหา ตัณหาที่มีกำลังมากเรียกว่า อุปาทาน อีกนัยหนึ่งว่า ปริเยสนทุกฺขมูลํ ตณฺหา อารกฺขมูลํ อุปาทานํ อยเมเตสํ วิเสโส แปลความว่า ตัณหามีทุกข์ในการแสวงหาเป็นมูล อุปาทานมีทุกข์ในการระวังรักษาเป็นมูล ตัณหา คือ ความพอใจในอารมณ์ที่ตนได้พบครั้งแรก อุปาทาน คือ ความติดใจใน อารมณ์ที่ตนได้พบนั้นไม่หาย ครุ่นคิดอยู่เสมอ ตัณหา คือ ความอยากได้ในอารมณ์ที่ตนได้พบครั้งแรก อุปาทาน คือความยึดมั่น ในอารมณ์ที่ตนได้มาแล้ว โดยไม่ยอมปล่อยวาง จึงได้มีข้ออุปมาไว้ว่า ตัณหา เหมือนกับต้นไม้ที่ยังเล็ก ๆ อยู่ ถอนทิ้งให้ง่าย อุปาทาน เหมือนต้นไม้ที่ใหญ่โตแล้ว ย่อมยากแก่การถอน เพราะรากแก้วยึดมั่นเสียแล้ว อัปปิจฉตาคุณ คือมีความปรารถนานัอย ที่เรียกกันว่า ไม่มีความอยากใหญ่ เป็น ปฏิปักษ์แก่ตัณหา ทำให้ตัณหามีกำลังลดน้อยอยถอยลง สันตุฏฐิคุณ คือ ความมีสันโดษ ก็เป็นปฏิปักษ์แก่อุปาทาน สันโดษหรือ สันตุฏฐิ ได้แก่ มีความพอใจเท่าที่ตนมีอยู่ พอใจแสวงหาตามควรแก่กำลังและพอใจแสวงโดยสุจริต เพียงแต่มี สันโดษเท่านี้ ก็เป็นคุณแก่ตนเองและแก่ผู้อื่นเป็นอย่างมาก ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่ตัณหา ในบท ตัณหา เป็นปัจจัยแก่อุปาทานนี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้วก็เป็นได้ ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยดังต่อไปนี้ ก. ตัณหาเป็นปัจจัยแก่ กามุปาทาน ด้วยอำนาจแห่งอุปนิสยปัจจัย ปัจจัยเดืยว เท่านั้น ข. ตัณหาเป็นปัจจัยแก่ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทานนั้น ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๗ ปัจจัย คือ ๑. เหตุปัจจัย ๒. สหชาตปัจจัย ๓. อัญญมัญญภัย ๔. นิสสยปัจจัย ๕. สัมปยุตตปัจจัย ๖. อัตถิปัจจัย ๗. อวิคตปัจจัย
|
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |